วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

การดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ ฉบับเข้าใจง่าย

ก่อนอื่น ขอทำความเข้าใจทฤษฎีกฎหมายระหว่างประเทศตามพื้นฐานทฤษฎีให้เข้าใจเป็นเบื้องต้นเสียก่อน

การเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาระหว่างประเทศนั้นมีขั้นตอนตามกฎหมาย แต่ผู้เขียนขออธิบายง่ายๆ ไม่เน้นถ้อยคำภาษากฎหมายระหว่างประเทศมากนัก เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้

การที่ประเทศต่างๆ ร่วมกันทำสนธิสัญญาระหว่างกัน โดยมีประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นตัวตั้งตัวตีนั้น ประเทศต่างๆ ที่พึงพอใจต่ออนุสัญญาดังกล่าวจะมาลงนาม เข้าชื่อ ว่าฉันสนใจ ขอเข้าร่วมด้วย หลังจากลงนามกันแล้ว ต้องมีการทำสัญญากันอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า การให้สัตยาบัน ดังนั้น ลำพังเพียงแต่ลงนามครั้งแรก ยังไม่ถือว่าเป็นภาคีสมาชิก เมื่อให้สัตยาบันแล้ว แต่ละประเทศ ต้องไปดำเนินการออกกฎหมายภายในประเทศ ให้สอดคล้องกับสัญญาที่ได้ลงนาม เรียกว่า ออกกฎหมายอนุวัติการณ์ตามสนธิสัญญาที่เราไปลงนามไว้

ยกตัวอย่างเช่นกรณีการก่อการร้าย การก่อการร้ายนี้ เราให้สัตยาบันและออกกฎหมายอนุวัติการไว้แล้ว โดยแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๕ เพิ่มเติมเข้าไป ว่าด้วยการก่อการร้าย จึงถือว่า เราได้ดำเนินการครบถ้วนแล้ว ที่เหลือหากต้องการให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน เราต้องดำเนินการขอตัวผู้ร้ายไปยังประเทศที่เป็นภาคี กรณีมอนเตฯ
มีรัฐธรมนูญภายในประเทศ ห้ามส่งตัวพลเมืองของตนเองไปรับโทษยังประเทศอื่น ไม่ใช่ประเด็นว่าการกระทำของ ทักษิณเป็นการก่อการร้ายหรือไม่

อุปมาเหมือน เวลาเรารักชอบใครสักคน ตกลงคบหากัน เราจะบอกรักกัน นั่นคือการลงนาม เสร็จแล้วคบหาดูใจกัน ในช่วงนี้ยังไม่มีความผูกพันต่อกัน จะคบจะเลิกยังไงก็ทำได้ เมื่อตกลงกันได้ว่าจะแต่งงานกัน ทั้งสองฝ่ายต้องมาทำการจดทะเบียนสมรสกัน อุปมาเหมือนการให้สัตยาบัณในสนธิสัญญา ในช่วงนี้ความผูกพันทางกฎหมายเริ่มขึ้นแล้ว ก่อนจะจดทะเบียนสมรสทั้งสองฝ่ายต้องจัดการปัญหาหน้าที่การงาน ให้ลงตัวจัดสรรบ้านช่องห้องหอสำหรับที่จะอยู่ร่วมกัน อุปมาเหมือนเตรียมออกกฎหมายอนุวัติการณ์ แล้วจึงมาจดทะเบียนสมรสกัน เมื่อจดทะเบียนสมรสเสร็จแล้ว ทั้งสองฝ่ายก็ย้ายมาอยู่ร่วมกัน อุปมาเหมือนการออกกฎหมายภายในประเทศอนุวัติการณ์ให้เป็นไปตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ดังนั้น หากมีการลงนามแต่มิได้ให้สัตยาบัณ ก็ยังไม่อาจถือว่าเป็นคู่สัญญา โดยเฉพาะในสนธิสัญญาพหุภาคี ซึ่งมีสมาชิกหลากหลายมากมาย

ประเทศต่างๆ 108 ประเทศจึงเข้าร่วมลงนามในธรรมนุญกรุงโรม รวมถึงประเทศไทย แต่ประเทศไทย ไม่ได้เข้าให้สัตยาบัณอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น ประเทศไทยจึงไม่ถือว่าเป็นภาคีสมาชิกธรรมนุญกรุงโรม ไม่อยู่ในบังคับของศาลอาญาระหว่างประเทศ

แต่อย่างไรก็ดี ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญาแล้วแต่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ก็ต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์แห่งสนธิสัญญาที่ได้ลงนามไป ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา และอิสราเอล ได้เพิกถอนการลงนามของตน และแถลงว่าขอถอนตัวจากการลงนาม กล่าวง่ายๆ คือ ไม่ยอมรับ และไม่ให้ความสนใจกับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศอีกต่อไป จึงไม่เคยมีกรณีที่สหรัฐอเมริกานำใครขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศหรือถูกฟ้องในศาลอาญาระหว่างประเทศเลย

สำหรับประเทศไทย ที่ยังมิได้ให้สัตยาบัณ สาเหตุหลักคงติดอยู่ที่ว่ารัฐธรรมนุญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการประกาศสงคราม หากเกิดมีการทำสงคราม ซึ่งมีข้อหาอาชญากรสงครามระบุอยู่ในธรรมนูญกรุงโรม พระมหากษัตริย์ไทยมิต้องทรงขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศดอกหรือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น