วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

ความระงับแห่งสัญญาหมั้น

ความระงับแห่งสัญญาหมั้น

1. คู่หมั้นทั้งสองฝ่ายตกลงเลิกสัญญา

2. คู่หมั้นถึงแก่ความตายก่อนสมรส อีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้องค่าทดแทนไม่ได้ ของหมั้นสินสอดไม่ว่าฝ่ายใดตาย ฝ่ายหญิงไม่ต้องคืน 1441

3. คู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาหมั้น

() . 1442 ชายบอกเลิกสัญญาหมั้น

1. มีเหตุสำคัญ

2. เกิดขึ้นแก่หญิงคู่หมั้น

3. ทำให้ไม่สมควรสมรสด้วย

ชายบอกเลิกสัญญาหมั้น หญิงคืนของหมั้น

640/2494 โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำพิธีแต่งงานกันตามประเพณี แต่จำเลยที่ ไม่ยอมร่วมหลับนอนด้วย และแยกห้องนอน โจทก์เข้าไปจับเอวจำเลยออกมาจากห้องที่จำเลยเคยนอน จำเลยเอาแจกันตีศรีษะโจทก์แต่เลือดไหลเย็บถึง 7 เข็ม โจทก์รักษาพยาบาลอยู่ 15 วันจึงหาย เมื่อโจทก์หายแล้วโจทก์ออกไปจากบ้านจำเลย ฝ่ายจำเลยเชิญนายทะเบียนมาจดทะเบียนแต่โจทก์ไม่ยอมจด เช่นนี้ การที่จำเลยเจตนาทำร้ายร่างกายโจทก์จนบาดเจ็บเช่นนี้เป็นเหตุสำคัญพอที่โจทก์จะปฏิเสธการสมรสกับจำเลยได้จึงมีสิทธิเรียกเงินหมั้นคืนจาก ล.

1235/2506 การที่หญิงคู่หมั้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานซึ่งขายอื่นขี่เพื่อไปดูภาพยนต์ในเวลากลางคืน มีเพื่อนไปด้วยกันรวม 7-8 คน ชาวบ้านคิดและเดาว่าหญิงมีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวกับขายนั้น เพียงเท่านี้ยังไม่ถือว่าเป็นเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น

1036/2524 จำเลยแต่งงานและอยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์เป็นเวลา 3 เดือนเศษแล้ว จะอ้างนิสัย อารมณ์ และความประพฤติของโจทก์มาปฏิเสธไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ย่อมไม่มีเหตุผลรับฟังพฤติการณ์ของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสำคัญอันเกิดแต่โจทก์ ซึ่งจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้น

() มาตรา 1443 หญิงบอกเลิกสัญญาหมั้น

1. มีเหตุสำคัญเกิด

2. เกิดขึ้นแก่ชายคู่หมั้น

3. ทำให้ไม่สมควรสมรสด้วย หญิงไม่ต้องคืนของหมั้น

234/2508 การที่ชายคู่หมั้นเลี้ยงหญิงโสเภณีไว้ในบ้านเป็นภริยา เป็นการกระทำอันเป็นปฎิปักษ์ต่อจิตใจหญิงคู่หมั้นอย่างร้ายแรง จึงเป็นเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น หญิงคู่หมั้นจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นและมีสิทธิจะไม่ต้องคืนของหมั้น

3731/2533 โจทก์ได้หญิงรับใช้ในบ้านโจทก์ เป็นภริยามาเป็นเวลานานถือได้ว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาอยู่ จึงมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่โจทก์ทำให้จำเลยซึ่งเป็นคู่หมั้นของโจทก์ไม่สมควร สมรส กับโจทก์จำเลยมิใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยไม่ต้องคืนของหมั้นให้แก่โจทก์

แต่การที่ชายเพียงแต่ไปร่วมประเวณีกับหญิงอื่นโดยไม่แสดงออกถึงการยกย่องเลี้ยงดู ไม่ถือเป็นเหตุสำคัญ แต่ถ้าชายไปเป็นชู้กับภริยาผู้อื่น หรือข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นเป็นเหตุสำคัญ

เหตุสำคัญนี้อาจเกิดเพราะการกระทำของคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้ เช่น หญิงคู่หมั้นขับรถโดยประมาท

รถคว่ำ ทำให้ชายคู่หมั้นพิการ ตาบอด ถือว่าเป็นเหตุสำคัญ หญิงคู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้นได้

ค่าทดแทนในการเลิกสัญญาหมั้น

มาตรา 1444 ถ้าเหตุอันทำให้คู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้นเป็นเพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งได้กระทำภายหลังการหมั้นคู่หมั้นผู้กระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้น ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนแก่คู่หมั้นผู้ใช้สิทธิ บอกเลิกสัญญาหมั้นเสมือนเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น

อธิบาย การเลิกสัญญาหมั้นตามมาตรานี้เกิดจากการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้น ซึ่งโดยหลักแล้วหากเป็นกรณีเลิกสัญญาหมั้นไม่อาจเรียกค่าทดแทนได้ เพราะไม่ใช่เรื่องผิดสัญญาหมั้น แต่มีข้อยกเว้นอยู่ว่าถ้าเป็นการเลิกสัญญาหมั้นเพราะคู่หมั้นอีกฝ่ายกระทำชั่วอย่างร้ายแรงแล้วสามารถเรียกค่าทดแทนได้ ซึ่งคู่หมั้นฝ่ายที่ถูกบอกเลิกต้องรับผิดเสมือนเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น

หลักเกณฑ์สำคัญ 1. กระทำชั่วอย่างร้ายแรง|

2. ภายหลังการหมั้น

3. รับผิดเสมือนเป็นผู้บอกเลิกสัญญาหมั้น ตาม 1439 1440

การกระทำชั่วอย่างร้ายแรงเช่น กระทำผิดอาญาร้ายแรง เล่นการพนันเป็นอาจิณ เป็นชู้กับภริยาผู้อื่น เป็นต้น

มาตรา 1445 ชายคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นซึ่งได้ร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าหญิงได้หมั้นกับชายคู่หมั้นนั้นแล้วได้ เมื่อชายคู่หมั้นได้บอกเลิกสัญญาหมั้นตามมาตรา 1442 แล้ว

อธิบาย คำว่าร่วมประเวณีหมายถึงหญิงคู่หมั้นยินยอม

หลักเกณฑ์สำคัญ 1. เป็นเรื่องชายคู่หมั้นเรียกค่าทดแทนจากชายอื่น

2. ซึ่งร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น

3. โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าหญิงนั้นได้หมั้นแล้ว

4. โดยต้องบอกเลิกสัญญาหมั้นกับหญิงตาม 1442 ก่อน ส่วนเรียกจากหญิงตาม 1444

มาตรา 1446 ชายคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นซึ่งได้ข่มขืนกระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราหญิงคู่หมั้นโดยรู้หรือควรจะรู้ว่าหญิงได้หมั้นแล้วได้โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น

อธิบาย เป็นการคุ้มครองสิทธิของชายคู่หมั้นไม่ให้ชายอื่นมาล่วงเกินหญิงคู่หมั้นในทางประเวณี โดยข่มขืนกระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราหญิงคู่หมั้นโดยรู้หรือควรจะรู้ว่าหญิงได้หมั้นแล้ว ชายคู่หมั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นได้โดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น การรู้ว่าหญิงมีคู่หมั้นนั้นไม่จำต้องรู้ว่าชายคู่หมั้นเป็นใครก็ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของชายคู่หมั้นแล้ว ถ้าเพียงแต่ทำอนาจารเท่านั้นยังไม่ถึงขั้นพยายามข่มขืนหรือข่มขืนกระทำชำเราชายคู่หมั้นจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ ส่วนหญิงคู่หมั้นไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่มาร่วมประเวณีกับชายคู่หมั้น

หลักเกณฑ์สำคัญ 1. เป็นเรื่องชายคู่หมั้นเรียกค่าทดแทนจากชายอื่น

2. ซึ่งข่มขืนกระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราหญิงคู่หมั้น

3. โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าหญิงนั้นได้หมั้นแล้ว

4. โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น

มาตรา 1447 ค่าทดแทนอันจะพึงชดใช้แก่กันตามหมวดนี้ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์

สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามหมวดนี้นอกจากค่าทดแทนตามมาตรา 1440 (2) ไม่อาจโอนกันได้และไม่ตกทอดไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้เป็นหนังสือ หรือผู้เสียหายได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว

อธิบาย การกำหนดค่าทดแทนนั้น ศาลเป็นผู้กำหนดตามจำนวนที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงพฤติการณ์

สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตาม 1439 มีอายุความ 6 เดือนตาม 1447/1 แต่การเรียกสินสอดคืนกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น