พรบ.สัญชาติ เป็นกฎหมายมหาชน ซึ่งมีวิธีคิดหรือนิติวิธีทางกฎหมายมหาชนว่า "การกระทำใดๆ จะำกระทำได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายให้อำนาจ" ตาม พรบ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ประกอบที่แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด พ.ศ. 2551 ไม่มีมาตราใดอนุญาตให้คนไทยถือสัญชาติอื่นได้ อีกทั้งยังพูดถึงการเสียสัญชาติและถอนสัญชาติด้วย เพียงแต่ไม่มีสภาพบังคับ (Law enforcement) ที่จะลงโทษคนสัญชาติไทยที่ถือหลายสัญชาติ เราจึงพบว่า คนไทยถือหลายสัญชาิติและเข้าใจผิดว่าสามารถกระทำได้ นั่นเป็นเพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติลงโทษต่างหาก ไม่ใช่ว่ากฎหมายอนุญาตให้กระทำได้
พรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 ประกอบแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551
การได้สัญชาติไทยเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย แบ่งได้ดังนี้
1. มีบิดา หรือมารดา (บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งก็ได้) มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย เช่น ด.ช.ดำ มีบิดาเป็นคนไทย มารดาเป็นคนอังกฤษ เกิดที่ประเทศอังกฤษ ด.ช.ดำ ได้สัญชาติไทย
โดยหลักเมื่อกฎหมายใช้คำว่า บิดา ต้องถือเอาโดยชอบด้วยกฎหมาย คือจดทะเบียนสมรสกับมารดา หรือจดทะเบียนรับรองบุตร เพราะคำว่า บิดา กับคำว่า บุพการีมีความหมายที่ต่างกัน แต่ในเรื่องนี้ พรบ. สัญชาติฉบับแก้ไขเพิ่มเติมได้มีการบัญญัติรองรับว่า หมายถึงบิดาตามความเป็นจริง แม้ว่าจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาก็ตาม หรือไม่ได้รับรองบุตรก็ตาม ดังนั้น หากท่านไปอ่านตำรา หรือบทความที่บอกว่า บิดาต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็อย่าไปเข้าใจว่าผู้เขียน เขียนผิด เพราะเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก่อนจะมีการแก้ไขกฎหมาย
2 ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย
3. หญิงต่างด้าว สมรสกับชายไทย ได้สัญชาติตามสามี
4. การขอแปลงสัญชาติ โดยมีคุณสมบัติตามมาตรา 10
มาตรา ๑๐ คนต่างด้าวซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้ อาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยได้
(๑) บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ
(๒) มีความประพฤติดี
(๓) มีอาชีพเป็นหลักฐาน
(๔) มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
(๕) มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อยกเว้น (4) (5) ของมาตรา 10
มาตรา ๑๑ บทบัญญัติในมาตรา ๑๐ (๔)และ(๕) มิให้นำมาใช้บังคับ ถ้าผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
(๑) ได้กระทำความดีความชอบเป็นพิเศษต่อประเทศไทย หรือได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ทางราชการซึ่งรัฐมนตรีเห็นสมควร
(๒) เป็นบุตร ภริยา หรือสามีของผู้ซึ่งได้แปลงสัญชาติเป็นไทย หรือของผู้ได้กลับคืนสัญชาติไทย
(๓) เป็นผู้ได้เคยมีสัญชาติไทยมาก่อน
(๔) เป็นสามีของผู้มีสัญชาติไทย
หมายความว่า มาตรา 11 (1)-(4) คือ
- ทำความดี
- เป็นบุตร ภริยา หรือสามี ของผู้ซึ่งได้แปลงสัญชาติ เป็นไทย เช่น นางกิมง้วนได้รับการแปลงสัญชาติไทยมาก่อน และสมรสกับนายกิมเฮง นายกิมเฮงถือเป็นบุคคลตามนี้
- หรือมีสัญชาติไทยมาก่อน
- หรือเป็นสามีของหญิงที่มีสัญชาติไทย
บุคคลเหล่านี้ได้รับยกเว้น ไม่ต้องมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยเป็นเวลา 5 ปี หรือไม่ต้องมีความรู้ภาษาไทยตามกฎกระทรวงก็สามารถขอแปลงสัญชาติได้เลย แต่ต้องบรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย มีการงานเป็นหลักแหล่ง มีความประพฤติดี เช่น นายสตีฟ แต่งงานกับนางขาว นายสตีฟ ขอสัญชาติได้ แม้จะไม่มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรมาก่อนหน้านี้ถึงห้าปีก็ตาม
5. ขอแปลงสัญชาติโดยมีผู้ขอแปลงสัญชาติแทน ได้แก่ บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ และ ผู้ปกครองดูแล ไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา ผู้อนุบาลหรือผู้รับบุตรบุญธรรมขอแปลงสัญชาติให้
โดยหลักเมื่อกฎหมายใช้คำว่า บิดา ต้องถือเอาโดยชอบด้วยกฎหมาย คือจดทะเบียนสมรสกับมารดา หรือจดทะเบียนรับรองบุตร เพราะคำว่า บิดา กับคำว่า บุพการีมีความหมายที่ต่างกัน แต่ในเรื่องนี้ พรบ. สัญชาติฉบับแก้ไขเพิ่มเติมได้มีการบัญญัติรองรับว่า หมายถึงบิดาตามความเป็นจริง แม้ว่าจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาก็ตาม หรือไม่ได้รับรองบุตรก็ตาม ดังนั้น หากท่านไปอ่านตำรา หรือบทความที่บอกว่า บิดาต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็อย่าไปเข้าใจว่าผู้เขียน เขียนผิด เพราะเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก่อนจะมีการแก้ไขกฎหมาย
2 ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย
3. หญิงต่างด้าว สมรสกับชายไทย ได้สัญชาติตามสามี
4. การขอแปลงสัญชาติ โดยมีคุณสมบัติตามมาตรา 10
มาตรา ๑๐ คนต่างด้าวซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้ อาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยได้
(๑) บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ
(๒) มีความประพฤติดี
(๓) มีอาชีพเป็นหลักฐาน
(๔) มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
(๕) มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อยกเว้น (4) (5) ของมาตรา 10
มาตรา ๑๑ บทบัญญัติในมาตรา ๑๐ (๔)และ(๕) มิให้นำมาใช้บังคับ ถ้าผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
(๑) ได้กระทำความดีความชอบเป็นพิเศษต่อประเทศไทย หรือได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ทางราชการซึ่งรัฐมนตรีเห็นสมควร
(๒) เป็นบุตร ภริยา หรือสามีของผู้ซึ่งได้แปลงสัญชาติเป็นไทย หรือของผู้ได้กลับคืนสัญชาติไทย
(๓) เป็นผู้ได้เคยมีสัญชาติไทยมาก่อน
(๔) เป็นสามีของผู้มีสัญชาติไทย
หมายความว่า มาตรา 11 (1)-(4) คือ
- ทำความดี
- เป็นบุตร ภริยา หรือสามี ของผู้ซึ่งได้แปลงสัญชาติ เป็นไทย เช่น นางกิมง้วนได้รับการแปลงสัญชาติไทยมาก่อน และสมรสกับนายกิมเฮง นายกิมเฮงถือเป็นบุคคลตามนี้
- หรือมีสัญชาติไทยมาก่อน
- หรือเป็นสามีของหญิงที่มีสัญชาติไทย
บุคคลเหล่านี้ได้รับยกเว้น ไม่ต้องมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยเป็นเวลา 5 ปี หรือไม่ต้องมีความรู้ภาษาไทยตามกฎกระทรวงก็สามารถขอแปลงสัญชาติได้เลย แต่ต้องบรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย มีการงานเป็นหลักแหล่ง มีความประพฤติดี เช่น นายสตีฟ แต่งงานกับนางขาว นายสตีฟ ขอสัญชาติได้ แม้จะไม่มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรมาก่อนหน้านี้ถึงห้าปีก็ตาม
5. ขอแปลงสัญชาติโดยมีผู้ขอแปลงสัญชาติแทน ได้แก่ บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ และ ผู้ปกครองดูแล ไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา ผู้อนุบาลหรือผู้รับบุตรบุญธรรมขอแปลงสัญชาติให้
การเสียสัญชาติไทย
1. ผู้ได้สัญชาติไทยมาโดยเกิดในราชอาณาจักรไทย มีบิดา และ มารดา เป็นคนไทย ไม่เสียสัญชาติด้วยเหตุอย่างใดๆ เว้นแต่ตนเองจะสละสัญชาติเอง และไม่มีใคร มีอำนาจถอนสัญชาติของเขา เช่น ทักษิณ แม้จะถือสัญชาติมอนเตร แต่เมื่อเขาไม่ยอมสละสัญชาติไทย ก็ไม่มีใครมีอำนาจถอนสัญชาติของเขา ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 15
มาตรา ๑๕ นอกจากกรณีตามมาตรา ๑๔ ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นหรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทย ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้สละสัญชาติไทย ให้อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรี
2. ผู้ซึ่งถือสัญชาติตามบิดาหรือมารดา ถ้าประสงค์จะถือสัญชาติอื่น ให้สละสัญชาติไทย คำว่า "ให้" เป็นบทบังคับเด็ดขาด ว่าต้องสละสัญชาติไทย แต่อย่างไรก็ดี หากไม่สละก็ไม่มีบทลงโทษ แต่อาจถูกบังคับถอนสัญชาติถ้ามีเหตุตามกฎหมาย ซึ่งถ้าไม่มีการถอนสัญชาติ ก็ยังคือได้อยู่ กรณีนี้เป็นการขาดสภาพบังคับอย่างเด็ดขาดทางกฎหมาย เป็นจุดอ่อนของกฎหมายนี้ ตามมาตรา 14 ส่วนที่มาตรา 14 บัญญัติในตอนท้ายว่า "เว้นแต่ในระหว่างประเทศไทยมีการรบหรืออยู่ในสถานะสงคราม รัฐมนตรีจะสั่งระงับการสละสัญชาติไทยรายใดก็ได้" นั้นเป็นเพราะ หากเราให้ถอนสัญชาติแล้ว เราจะตามตัวกลับมารับโทษยาก ไม่ใช่ไม่ได้ แต่ยาก แต่ถ้าให้ถือสัญชาติไว้จะเป็นผลดีในการตามตัวหรือขอตัวข้ามแดนได้
3. ชายหรือหญิงที่สมรสกับคนต่างด้าว จะสละสัญชาติไทยก็ทำได้ หากมีความประสงค์ ถ้าไม่ประสงค์ไม่สละก็ได้ แต่ต้องดูกฎหมายที่ประเทศนั้นว่าเขายอมหรือไม่ บางประเทศหากจะถือสัญชาติเขาต้องสละสัญชาติเดิม แต่บางประเทศก็ไม่บัญญัติไว้
การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้สละสัญชาติไทย ให้อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรี
2. ผู้ซึ่งถือสัญชาติตามบิดาหรือมารดา ถ้าประสงค์จะถือสัญชาติอื่น ให้สละสัญชาติไทย คำว่า "ให้" เป็นบทบังคับเด็ดขาด ว่าต้องสละสัญชาติไทย แต่อย่างไรก็ดี หากไม่สละก็ไม่มีบทลงโทษ แต่อาจถูกบังคับถอนสัญชาติถ้ามีเหตุตามกฎหมาย ซึ่งถ้าไม่มีการถอนสัญชาติ ก็ยังคือได้อยู่ กรณีนี้เป็นการขาดสภาพบังคับอย่างเด็ดขาดทางกฎหมาย เป็นจุดอ่อนของกฎหมายนี้ ตามมาตรา 14 ส่วนที่มาตรา 14 บัญญัติในตอนท้ายว่า "เว้นแต่ในระหว่างประเทศไทยมีการรบหรืออยู่ในสถานะสงคราม รัฐมนตรีจะสั่งระงับการสละสัญชาติไทยรายใดก็ได้" นั้นเป็นเพราะ หากเราให้ถอนสัญชาติแล้ว เราจะตามตัวกลับมารับโทษยาก ไม่ใช่ไม่ได้ แต่ยาก แต่ถ้าให้ถือสัญชาติไว้จะเป็นผลดีในการตามตัวหรือขอตัวข้ามแดนได้
3. ชายหรือหญิงที่สมรสกับคนต่างด้าว จะสละสัญชาติไทยก็ทำได้ หากมีความประสงค์ ถ้าไม่ประสงค์ไม่สละก็ได้ แต่ต้องดูกฎหมายที่ประเทศนั้นว่าเขายอมหรือไม่ บางประเทศหากจะถือสัญชาติเขาต้องสละสัญชาติเดิม แต่บางประเทศก็ไม่บัญญัติไว้
การถอนสัญชาติไทย
1. หญิงต่างด้าวสมรสกับชายไทย อาจถูกถอนสัญชาติได้เมื่อเข้าเหตุตามมาตรา 16
มาตรา ๑๖ หญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าวและได้สัญชาติไทยโดยการสมรส อาจถูกถอนสัญชาติไทยได้เมื่อปรากฏว่า
(๑) การสมรสนั้นได้เป็นไปโดยปกปิดข้อเท็จจริง หรือแสดงข้อความเท็จอันเป็นสาระสำคัญ การสมรสโดยไม่ประสงค์จะเป็นสามีภริยากันค่ะ รับจ้างแต่งว่างั้นเหอะ
(๒) กระทำการใด ๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐ หรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ
(๓) กระทำการใด ๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การถอนสัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรี
2. ผู้ซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทย แต่มีบิดา หรือ มารดาเป็นคนต่างด้าว อาจถูกถอนสัญชาติได้ ตามมาตรา 17
มาตรา ๑๗ ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวอาจถูกถอนสัญชาติไทยได้ เมื่อปรากฏว่า
(๑) ไปอยู่ในต่างประเทศที่บิดาหรือมารดามีหรือเคยมีสัญชาติเป็นเวลาติดต่อกันเกินห้าปีนับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะ
(๒) มีหลักฐานแสดงว่าใช้สัญชาติของบิดาหรือมารดาหรือสัญชาติอื่นหรือฝักใฝ่อยู่ในสัญชาติของบิดาหรือมารดาหรือสัญชาติอื่น
(๓) กระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐหรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ
(๔) กระทำการใดๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การถอนสัญชาติไทยตาม (๑) หรือ (๒) ให้รัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง ส่วนการถอนสัญชาติไทยตาม (๓) หรือ (๔) เมื่อพนักงานอัยการร้องขอ ให้ศาลเป็นผู้สั่ง
3. ผู้ซึ่งได้สัญชาติไทย โดยรัฐมนตรีสั่งเฉพาะราย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสอง อาจถูกถอนสัญชาติ โดยดุลยพินิจรัฐมนตรีเช่นกัน (เขาให้เขามีสิทธิถอน)
มาตรา ๑๘ เมื่อมีพฤติการณ์อันเป็นการสมควรเพื่อความมั่นคงหรือประโยชน์ของรัฐ รัฐมนตรีมีอำนาจถอนสัญชาติไทยของผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคสอง
4. ผู้ซึ่งได้สัญชาติโดยการแปลงสัญชาติ โดยรัฐมนตรีมีอำนาจถอน เมื่อมีเหตุตามมาตรา 19
มาตรา ๑๙ รัฐมนตรีมีอำนาจถอนสัญชาติไทยแก่ผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ เมื่อปรากฏว่า
(๑) การแปลงสัญชาตินั้นได้เป็นไปโดยปกปิดข้อเท็จจริงหรือแสดงข้อความเท็จอันเป็นสาระสำคัญ
(๒) มีหลักฐานแสดงว่าผู้แปลงสัญชาตินั้นยังใช้สัญชาติเดิม ผู้ที่ได้รับการแปลงสัญชาติ ห้ามถือสัญชาติเดิมค่ะ อันนี้ของเราเหมือนกับหลายๆ ประเทศ
(๓) กระทำการใด ๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐ หรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ
(๔) กระทำการใด ๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(๕) ไปอยู่ในต่างประเทศโดยไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทยเป็นเวลาเกินห้าปี
(๖) ยังคงมีสัญชาติของประเทศที่ทำสงครามกับประเทศไทย
การถอนสัญชาติไทยตามมาตรานี้ จะขยายไปถึงบุตรของผู้ถูกถอนสัญชาติไทยในเมื่อบุตรนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะและได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๑๒ วรรคสองด้วยก็ได้ และเมื่อรัฐมนตรีสั่งถอนสัญชาติไทยแล้วให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
มาตรา ๑๖ หญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าวและได้สัญชาติไทยโดยการสมรส อาจถูกถอนสัญชาติไทยได้เมื่อปรากฏว่า
(๑) การสมรสนั้นได้เป็นไปโดยปกปิดข้อเท็จจริง หรือแสดงข้อความเท็จอันเป็นสาระสำคัญ การสมรสโดยไม่ประสงค์จะเป็นสามีภริยากันค่ะ รับจ้างแต่งว่างั้นเหอะ
(๒) กระทำการใด ๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐ หรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ
(๓) กระทำการใด ๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การถอนสัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรี
2. ผู้ซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทย แต่มีบิดา หรือ มารดาเป็นคนต่างด้าว อาจถูกถอนสัญชาติได้ ตามมาตรา 17
มาตรา ๑๗ ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวอาจถูกถอนสัญชาติไทยได้ เมื่อปรากฏว่า
(๑) ไปอยู่ในต่างประเทศที่บิดาหรือมารดามีหรือเคยมีสัญชาติเป็นเวลาติดต่อกันเกินห้าปีนับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะ
(๒) มีหลักฐานแสดงว่าใช้สัญชาติของบิดาหรือมารดาหรือสัญชาติอื่นหรือฝักใฝ่อยู่ในสัญชาติของบิดาหรือมารดาหรือสัญชาติอื่น
(๓) กระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐหรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ
(๔) กระทำการใดๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การถอนสัญชาติไทยตาม (๑) หรือ (๒) ให้รัฐมนตรีเป็นผู้สั่ง ส่วนการถอนสัญชาติไทยตาม (๓) หรือ (๔) เมื่อพนักงานอัยการร้องขอ ให้ศาลเป็นผู้สั่ง
3. ผู้ซึ่งได้สัญชาติไทย โดยรัฐมนตรีสั่งเฉพาะราย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสอง อาจถูกถอนสัญชาติ โดยดุลยพินิจรัฐมนตรีเช่นกัน (เขาให้เขามีสิทธิถอน)
มาตรา ๑๘ เมื่อมีพฤติการณ์อันเป็นการสมควรเพื่อความมั่นคงหรือประโยชน์ของรัฐ รัฐมนตรีมีอำนาจถอนสัญชาติไทยของผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคสอง
4. ผู้ซึ่งได้สัญชาติโดยการแปลงสัญชาติ โดยรัฐมนตรีมีอำนาจถอน เมื่อมีเหตุตามมาตรา 19
มาตรา ๑๙ รัฐมนตรีมีอำนาจถอนสัญชาติไทยแก่ผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ เมื่อปรากฏว่า
(๑) การแปลงสัญชาตินั้นได้เป็นไปโดยปกปิดข้อเท็จจริงหรือแสดงข้อความเท็จอันเป็นสาระสำคัญ
(๒) มีหลักฐานแสดงว่าผู้แปลงสัญชาตินั้นยังใช้สัญชาติเดิม ผู้ที่ได้รับการแปลงสัญชาติ ห้ามถือสัญชาติเดิมค่ะ อันนี้ของเราเหมือนกับหลายๆ ประเทศ
(๓) กระทำการใด ๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐ หรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ
(๔) กระทำการใด ๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(๕) ไปอยู่ในต่างประเทศโดยไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทยเป็นเวลาเกินห้าปี
(๖) ยังคงมีสัญชาติของประเทศที่ทำสงครามกับประเทศไทย
การถอนสัญชาติไทยตามมาตรานี้ จะขยายไปถึงบุตรของผู้ถูกถอนสัญชาติไทยในเมื่อบุตรนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะและได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๑๒ วรรคสองด้วยก็ได้ และเมื่อรัฐมนตรีสั่งถอนสัญชาติไทยแล้วให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
ดังนั้น ขอให้พึงเข้าใจว่า ประเทศไทย ไม่มีกฎหมายอนุญาตให้ถือสัญชาติได้หลายสัญชาติ แต่ก็ไม่มีบทลงโทษสำหรับการถือสัญชาติมากกว่าสัญชาติเดียว
กฏหมายไทยเรื่องสัญชาตินั้น เนื้อหาส่วนใหญ่มักเน้นไปที่คนต่างด้าว แต่กับคนไทยเองที่มีหลายสัญชาติ ซึ่งโดยทั่วไปนั้นมักมีสองสัญชาติ เช่นคนไทยที่อยู่ทางชายแดนที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และคนไทยที่ไปอาศัยอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานาน ซึ่งคนเหล่านี้มักมีสองสัญชาติ กฏหมายไทยก็ไม่ได้ระบุโทษหรือความผิดนั้นๆ จนทำให้มักมีปัญหาเกิดขึ้นกับคดีอาญาต่างๆ เช่นบางครั้งคนไทยถือสัญชาติต่างประเทศ ส่วนใหญ่มักมีพาสปอร์ตสองเล่ม เมื่อยู่ในเมืองไทยเกิดทำความผิดขึ้นมา เวลาหลบหนีก็มักจะใช้พาสปอร์ตต่างชาติเป็นการเดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งทางตม.อาจตรวจพบหรือไม่พบก็ได้ กฏหมายไทยระบุโทษแต่เยาวชนหรือคนที่เกิดแล้วได้สัญชาติไทยตามบิดามารดาหรือตามสถานที่เกิด ว่า เมื่ออายุครบยี่สิบปีจะต้องระบุเลือกสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง และเมื่อผู้ถือสองสัญชาติกำหนดครบเกณฑ์ทหารหากไม่มาทำการคัดเลือกตามกฏหมายไทย ก็มีความผิดอาญาฐานหลบหนีการคัดเลือกทหาร ซึ่งที่ถูกแล้ว น่าที่จะมีการระบุกฏหมายเกียวกับการถือสัญชาติให้แน่นอนไปเสียเลยว่า บุคคลควรมีสัญชาติเดียว เมื่อไปอยู่ต่างประเทศ แล้วมีสัญชาติตามประเทศนั้นก็ให้สละสัญชาติไทยไปเสียก่อนและ เมื่อหย่าหรือจะกลับมาอาศัยยังประเทศไทย ก็ค่อยขอสัญชาติคืน ซึ่งกฏหมายไทยไม่มี แต่กลับเอื้อชาวต่างชาติให้ถือสัญชาติไทยได้ ตามช่องทางของกฏหมาย ซึ่งน่ากลัวว่าจะกระทบความมั่นคงของชาติได้สักวันหนึ่ง ครับ
ตอบลบ