การผิดสัญญาหมั้น
มาตรา 1438 การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ถ้าได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้นข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
มาตรา 1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย
มาตรา 1440 ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส
ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมด หรือเป็นส่วนหนึ่งของค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึงของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้
อธิบาย การผิดสัญญาหมั้น คือการที่คู่หมั้นฝ่ายหนึ่งปฏิเสธไม่ยอมสมรสกับคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่ถูกปฏิเสธจะฟ้องบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมสมรสกับตนไม่ได้ หรือหากมีการตกลงกันว่าจะให้เบี้ยปรับแก่กันหากมีการผิดสัญญาหมั้นให้ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ เพื่อป้องกันมิให้ชายหญิงจำใจต้องสมรสกันเนื่องจากกลัวว่าต้องถูกบังคับเบี้ยปรับ
แต่หากมีการผิดสัญญาหมั้นกฎหมายให้สิทธิแก่คู่หมั้นเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทนได้ และในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย
83/2542 การที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการหมั้นแล้ว แต่ไม่มีการสมรสโดยเป็นความผิดของจำเลยตาม ป.พ.พ. ม. 1437 วรรคสาม,1439 และ 1440(2) เมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้แต่งงานกันตามประเพณีและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้เพราะมิใช่กรณีจำเลยผิดสัญญาหมั้น
3319/2525 โจทก์ จำเลย หมั้นกันโดยตกลงกำหนดวันทำการสมรสกันในเดือน 12 ต่อมาโจทก์ขอเลื่อนไป แต่แล้วโจทก์ก็มิได้มาสมรสกับจำเลยกลับบอกให้รอต่อไปโดยไม่ได้ติดต่อกลับมาอีก ฝ่ายจำเลยได้เตือนแล้วจนเวลาล่วงเลยไป 6 ปี จำเลยจึงไปสมรสกับชายอื่น เมื่อ โจทก์มิได้นำพาจะสมรสกับจำเลย ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น ล. ไม่จำต้องคืนของหมั้น
3366/2525 โจทก์ จำเลย ได้หมั้นกันและอยู่กินกันเป็นสามี ภรรยา แต่จำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยรับผิดค่าทดแทน ตามมาตรา 1439 1440
5937/2533 โจทก์หมั้นและแต่งงานตามประเพณีกับจำเลยที่ 1 (ญ) แต่จำเลยที่ 1 อยู่กับโจทก์เพียง คืนเดียวโดยมิได้มีการร่วมประเวณีกัน เพราะจำเลยอ้างว่าเหนื่อยขอผัดเป็นพรุ่งนี้ วันรุ่งขึ้น จำเลยที่ 1 ออกจากบ้านไปไม่กลับมาอยู่กินกันอีกเลยโดยไม่ปรากฏสาเหตุ โจทก์ออกตามหาตลอดมาแต่ไม่พบ จำเลยที่ 1 เคยแสดงท่าทีไม่อยากกลับไปแต่งงานกลับโจทก์ ดังนี้มีพฤติการณ์เช่นนี้น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 หลบหนีไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์
2165/2538 การที่โจทก์ทำการหมั้นและแต่งงานตามประเพณีกับจำเลยที่ 1 โจทก์โจทก์ย่อมต้องการจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องตามกฏหมายจากการที่โจทก์ชวนจำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนหลายครั้งหลังจากวันแต่งงาน ฉะนั้นการที่ ล. 2-3 4 ซึ่งเป็นบิดา มารดา และพี่ชายจำเลยที่ 1 ไล่โจทก์ออกจากบ้านแล้วจำเลยที่ 1 ก็มิได้กระทำการอย่างใดเพื่อให้โจทกกลับมาอยู่กับจำเลยอีก ดังนี้ จำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น
ค่าทดแทนความเสียหายอาจเรียกได้ดังนี้
(1) ต่อกายหรือชื่อเสียแห่งชายหรือหญิงนั้น
- ชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้นที่เรียกได้ สิทธิเช่นนี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดา มารดา หรือบุคคลผู้กระทำกระทำการในฐาน
เช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามควร
945/2491 ค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการแต่งงานไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส
90/2512 ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูกันในวันทำพิธีแต่งงานไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสอันจะเรียกค่าทดแทนได้
ค่าเสื้อผ้า (ชุดแต่งงาน) เป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส เรียกค่าทดแทนได้
2165/2538 ผ้ารับไหว้ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส
(3) ค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวกับอาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส
3366/25 หลังจากแต่งงานแล้ว โจทก์ได้ลาออกจากงานบริษัท เมื่อจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรส โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายในการที่ไม่ได้ทำงานดังกล่าวได้ แต่เมื่อต่อมาโจทก์ได้เข้าทำงานใหม่ แม้จะลาออกจากงานอีกครั้งหนึ่ง ก็มิใช่ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรสใหม่ในระยะนั้นทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนเป็นที่เห็นได้ว่า ไม่อาจจะจดทะเบียนสมรสกันได้แน่นอนจึงไม่กำหนดค่าทดแทนในตอนนี้ให้แก่โจทก์
มีผู้ใหญ่ฝ่ายชายมาพูดสู่ขอฝ่ายหญิงแล้วด้วยวาจา และตกลงเรื่องค่าสินสอดทองหมั้นแล้วแต่ไม่ได้มีการวางเงินสินสอด แบบนี้เรียกว่าเป็นการหมั้นได้มั้ย และได้มีการกำหนดวันแต่งงานเรียบร้อยแล้ว แต่ฝ่ายชายไปมีคนอื่นก่อน ฝ่ายหญิงสามารถเรียกร้องอะไรได้มั้ย
ตอบลบไม่ถือว่าเป็นการหมั้นค่ะ ของหมั้นต้องให้วันหมั้น ถ้าไม่มีของหมั้นไม่ชื่อว่าหมั้น เรียกอะไรไม่ได้เลยค่ะ
ลบใช่ค่ะ การหมั้นต้องมีของหมั้น ถ้าเพียงแค่พูดกล่าวกันแค่วาจา ใครก็กล่าวได้ค่ะ กฎหมายจึงต้องบัญญัติให้มีการหมั้นต้องมีของหมั้น การหมั้้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่่ายชาย ได้มอบทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นแก่หญิง (มิใช่ฝ่ายหญิงนะ) เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกันหญิงนั้น ค่ะ
ลบอ่านรายละเอียดในบทความนี้ค่ะ
ตอบลบhttp://natjar2001law.blogspot.com/2011/01/blog-post.html
ดิฉันไม่จ่ายตามสัญญาหมั้น ดิฉันต้องรับโทษแค่ใหนค่ะ (ดิฉันต้องเลี้ยงแม่พ่อที่แก่มาก ฝ่ายชายไม่ได้มาช่วยอะไรเลยค่ะ ) ขอบคุณมากค่ะ
ตอบลบดิฉันไม่ทราบว่าคุณถามอะไรน่ะค่ะ ถามลอยๆ. แบบไม่ทราบข้อเท็จจริง ต้องขออภัยที่ไม่สามารถตอบอะไรได้เลย จ่ายอะไร เพราะเหตุใด ใครผิดสัญญา ผิดสัญญาอย่างไร แม้แต่การหมั้นได้มีแล้วหรือไม่ ของหมั้นให้เมื่อไหร่ให้อย่างไร ข้อเท็จจริงเหล่านี้คุณไม่ได้แจ้งมาเลยค่ะ ขออภัยค่ะ ตอบให้ไม่ได้เลย
ลบถ้าเราไม่มีเงินจะจ่ายค่าเสียหายจะติดคุกรึปล่าว
ตอบลบฝ่ายชายหมั้นฝ่ายหญิงไว้ว่าจะไปแต่งแต่เมื่อครบกำหนดฝ่ายชายไม่ไปแต่ง แล้วฝ่ายหญิงไม่ยอมไปฟ้องศาลข้อหาผิดคำหมั้นสัญญาเขาเรียกค่าเสียหาย300000แต่เราไม่มีเขาก็เลยจะยึดทรัพย์แต่ถ้าทรัพสินเราไม่มีเลยเราจะติดคุกรึปล่าว
ลบไม่มีโทษทางอาญาค่ะ
ลบขอถามหน่อยครับ..เมื่อผมได้ทำการหมั้นหมายแล้วและมีความตั้งใจที่จะสมรสกับฝ่ายหญิง แต่แล้วฝ่ายหญิงกลับพบว่าเรามีการติดต่อกับแฟนเก่าซึ่ง ณ ปัจจุบันเป็นเพียงเพื่อนกัน แล้ว เป็นเหตุให้ฝ่ายหญิงไม่ยอมที่จะทำการสมรสด้วย รวมถึงจะไม่ยอมคืนของหมั้น เพราะให้เหตุผลว่าฝ่ายชายทำผิดสัญญาการหมั้น แบบนี้ถือว่าเป็นการทำผิดสัญญาการหมั้นของฝ่ายชายรึเปล่าครับ กับการแค่โทรศัพท์ แล้วฝ่ายหญิงมีสิทธิที่จะยึดของหมั็ยมั๊ยครับเพราะฝ่ายหญิงเองเป็นฝ่ายที่ไม่อยากแต่ง
ตอบลบรบกวนด้วยครับ เครียดมาก
ไม่เป็นการผิดสัญญาหมั้นค่ะ
ลบมีคนมาหมั้นดิฉัน โดยวางเงินหมั้นไว้ 50,000 บาท แล้วตกลงกันว่าวันแต่งจะให้อีก 150,000 บาท แต่วันหมั้นเขามาหมั้นแค่คนเดียว ไม่มีญาติผู้ใหญ่มาด้วย อ้างว่าญาติผู้ใหญ่ไมว่าง เดี๋ยวจะมาวันแต่งงาน แต่ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายดิฉันมีประมาณ 10 คน ที่มาเป็นศักขีพยาน เวลาผ่านไป 1 ปี เขากลับไปมีคนใหม่ ซึ่งตอนนี้ควงกันออกหน้าออกตาและที่รู้มาคือเขาไปตกลงจะแต่งงานกับคนใหม่ แบบนี้ถือว่าผิดสัญญาหมั้นใช่มั้ยค่ะ แล้วถ้าดิฉันจะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้มั้ย แต่ไม่มีหลักฐานอะไรเลย รูปถ่ายก็มีไม่ มีแต่พยานที่เป็นญาติผู้ใหญ่ฝ่ายดิฉัน แบบนี้มีโอกาสจะชนะคดีมั้ยค่ะ และดิฉันสามารถเรียกค่าเสียได้เท่าไหร่ รบกวนตอบด้วยนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าคะ
ตอบลบผมได้เขียนหนังสือรับรอง..ไว้ในกระดาษปล่าวกับแม่ของฝ่ายหญิ่งไว้และลงชื่อไว้ด้วย.ว่าจะไปสู่ขอ..แต่พอถึงเวลา..ไม่สามารถที่จะหาเงิน..ไปสู่ขอได้ตามกำหนด..โดยตกลงในกระดาษรับรองว่า..จะสู่ขอหมั้นโดยจะให้ทอง..2.บาท..เงินอีก..3.หมื่น..แต่ตอนนี้ไม่สามรถหาได้ทัน..เลยรบกวนสอบถามว่า..จะผิดกดหมาย..อาญามั้ยคับ..และทางแม่ฝ่ายหญิง..จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือฟ้อง..ศาลได้หรือมั้ยคับ..แต่ฝ่ายหญิงได้ลงบันทึกประจำวันทางสถานีตำรวจไว้ก่อนแล้วว่าจะอยู่กินกับกระผมโดยเต็มใจ..
ตอบลบ