คำถาม นายดำ จดทะเบียนรับ ด.ญ.แดง เป็นบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อ ด.ญ. แดง โตขึ้น นายดำ ประสงค์จะแต่งงานกับ ด.ญ.แดง และจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมาย ให้วินิจฉัยว่านายดำ สามารถกระทำได้หรือไม่ เป็นกรณีที่กฎหมายห้ามไว้หรือไม่ และจะมีผลเป็นอย่างไร
การตอบข้อสอบกฎหมาย ต้องแบ่งเป็นสามช่วง อันนี้เป็นการตอบแบบ ป.ตรี ถ้าสอบเนฯ ตอบแบบนี้ไม่ได้ เพราะจะทำไม่ทัน ยิ่งสอบผู้ช่วยยิ่งไม่ทัน เพราะการสอบเนฯ มีเวลา 23 นาทีในแต่ละข้อเพื่อนอ่านคำถาม คิด และ เขียนตอบ การสอบผู้ช่วยมีเวลา 18 นาทีสำหรับแต่ละข้อ การเขียนข้อสอบในระดับปริญญาตรีต้องแบ่งเนื้อหาการเขียนออกเป็นสามช่วง ช่วงที่ 1 เรียกว่า "หลักกฎหมาย" ช่วงที่ 2 เรียกว่า "วินิจฉัย" ช่วงที่ 3 เรียกว่า "สรุป" กรณีตามปัญหาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักกฎหมายเกี่ยวข้องไว้ดังนี้ (อันนี้ต้องเขียนเป็นรูปแบบตามนี้เลย ถ้าเป็นอาญา ก็บอกอาญา เป็นกฎหมายไหนก็บอกกฎหมายนั้น ) หลักกฎหมายที่ 1 ...................................(ใส่ตัวบทไป ไม่ต้องใส่เลขมาตรา) หลักกฎหมายที่ 2...................................... หลักกฎหมายที่ 3........................................ มีกี่หลักก็ใส่ไป ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า (ใช้คำนี้เวลาขึ้นต้นส่วนวินิจฉัย) นายดำ จดทะเบียนรับ ด.ญ.แดง เป็นบุตรบุญธรรม นายดำจึงเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมและ ด.ญ.แดงเป็นบุตรบุญธรรมของนายดำตามกฎหมาย บุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ (อันนี้เป็นหลักกฎหมายที่เรายกมาสอดใส้) หากนายดำประสงค์จะสมรสกับ ด.ญ.แดง นิติกรรมการรับบุตรบุญธรรมที่นายดำได้ทำไว้นั้นเป็นอันต้องยกเลิกกันไป นายดำและ ด.ญ. แดง จึงไม่ใช่บุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมกันอีกต่อไป อย่างไรก็ดี (เราใช้คำนี้ ต่อเมื่อการตอบต้องตอบในอีกมุมหนึ่งที่ขัดกับย่อหน้าแรก) กฎหมายมิได้บัญญัติให้การสมรสที่ฝ่าฝืนต่อการรับบุตรบุญธรรมนั้นเป็นโมฆะ ดังนั้น จึงไม่ใช่กรณีที่กฎหมายห้ามทำการสมรส การสมรสของนายดำและด.ญ.แดงจึงสมบูรณ์ จึงวินิจฉัยว่า (ส่วนสรุปนี้ ให้ดูที่คำถาม เขาถามว่าอะไร เขาบอกให้วินิจฉัย ต้องตอบจึงวินิจฉัย ถ้าเขาถามว่า ดังนั้น ต้องตอบดังนี้ ถ้าถามดังนี้ต้องตอบดังนั้น ถ้าบอกว่า ถ้าท่านเป็นศาลท่านจะพิพากษาคดีนี้อย่างไร ต้องตอบว่า จึงพิพากษาว่า เหมือนผีเน่ากับโลงผุ ให้มันล้อกันไปเสมอ) การสมรสมีผลสมบูรณ์ (ตอบสั้นๆ ไม่ต้องให้เหตุผลอะไรอีก ถ้าเป็นอาญา ก็ตอบสั้นๆ เช่น นายดำมีความผิดฐาน.... แล้วพอ) จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น (อันนี้การลงจบแบบสวยงามเหมือนเล่นขิมแล้วลงท่อนเอื้อน) เมื่อเีขียนตามวิธีดังกล่าวจะได้ฉบับแบบเต็มตามนี้ กรณีตามปัญหาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักกฎหมายเกี่ยวข้องไว้ดังนี้ หลักกฎหมายที่ 1 ................................... หลักกฎหมายที่ 2...................................... หลักกฎหมายที่ 3........................................ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายดำ จดทะเบียนรับ ด.ญ.แดง เป็นบุตรบุญธรรม นายดำจึงเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมและ ด.ญ.แดงเป็นบุตรบุญธรรมของนายดำตามกฎหมาย บุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ หากนายดำประสงค์จะสมรสกับ ด.ญ.แดง นิติกรรมการรับบุตรบุญธรรมที่นายดำได้ทำไว้นั้นเป็นอันต้องยกเลิกกันไป นายดำและ ด.ญ. แดง จึงไม่ใช่บุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมกันอีกต่อไป อย่างไรก็ดี กฎหมายมิได้บัญญัติให้การสมรสที่ฝ่าฝืนต่อการรับบุตรบุญธรรมนั้นเป็นโมฆะ ดังนั้น จึงไม่ใช่กรณีที่กฎหมายห้ามทำการสมรส การสมรสของนายดำและด.ญ.แดงจึงสมบูรณ์ จึงวินิจฉัยว่า การสมรสมีผลสมบูรณ์ จากหลักกฎหมายประกอบเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สุดท้าย ทั้งหมดต้องอาศัยทักษะ จึงต้องฝึกฝนให้ดี ให้ชำนาญ มิเช่นนั้นเวลาตอบข้อสอบจริงๆ จะไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและไม่ตกหล่นคลอบคลุมได้ทั้งหมดอย่างมีคุณภาพ |
ขอบคุณค่ะ...สำหรับการบอกวิธีการเขียนตอบ...ทำให้หนูเข้าใจมากขึ้น...
ตอบลบถ้าตอบสั้นๆแต่ก็คุ้มเนื้อหาที่โจทย์จะถามก็ได้ใช่รึป๊าวครับ
ตอบลบสั้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับมากประเด็นหรือเปล่าจ้า แต่ละประเด็นต้องตอบให้ครบทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจึงจะถูกต้อง
ตอบลบขอบคุณนะคะ อาจารย์ก้อย ^^
ตอบลบทำให้หนูเข้าใจมากยิ่งขึ้นเลยคะ
อ. ครับพอดีผมทำงานด้านงาน ระบบ เกี่ยวกับงานท่อ(งานท่อแก็สชีวภาพ)ดังนั้นหน่วนงานที่เข้ามาตรวจคงจะหนีไม่พ้นคือ กระทรวงสิ่งแวดล้อมหรืองานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นผมต้องรู้กฎหมายพวกนี่มั้ยครับ และมีกฎหมายตัวไหนที่สามารถอ้างอิงกันได้ครับช่วยเสนอมาให้ผมด้วยนะครับ
ตอบลบโต้ง
banyongsriprang@hotmail.com
ไม่มีความรู้เกี่ยวกับงานด้านนี้เลยค่ะ ต้องขอโทษด้วยค่ะ ไม่สามารถให้ความรู้ได้ เกรงว่าจะผิดพลาดเปนอันตรายค่ะ
ตอบลบ.ในเรื่องนี้ไม่มีความรู้เลยค่ะ ต้องขอโทษด้วยค่ะ
ตอบลบสำหรับการเขียนตอบข้อสอบเนฯ ตัดส่วนแรกออก เฉพาะวินิจฉัยไม่สั้นอย่างนี้แน่ เพราะประเด็นเยอะ หลายประเด็น ถ้ามัวเขียนตัวบทจะไม่ทันค่ะ
ตอบลบขอบคุณค่ะ พี่นัท
ตอบลบขอบคุณมากๆๆๆครับ.....มีประโยชน์มากๆๆๆๆๆ (ไพศาล)
ตอบลบแล้วตัวบท ย่อเอาได้มั้ยครับ
ตอบลบถ้าใช้แบบตามความเข้าใจอะครับ ไม่ใช่ลอกมาทั้งหมดอะ เพราะผมจำไม่ได้แน่ๆเลย
แต่ต้องไม่ทำให้สาระสำคัญของตัวบทเปลี่ยนแปลงไป คำในตัวบทแต่ละคำมีความหมายในตัวเองค่ะ ต้องท่องจำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยค่ะ
ตอบลบหนูเพิ่งเรียนนิติศาสตร์ปีหนึ่ง ยังไม่เคยฝึกเขียนตอบกฎหมายมาก่อนจะลองเอามาปรับใช้ในการสอบดูนะคะ ขอบคุณค่ะ
ตอบลบ(แคทรียา)
ผมเรียนนิติฯ มสธ เพิ่งสอบตกไปเพราะข้อเขียนนี่แหละครับ
ตอบลบที่คิดว่าตกก็คงเพราะไม่มีหลักในการเขียน
ขอบคุณมากนะครับสำหรับบทความดีๆ
ผมเรียนนิติศาสตร์ปีหนึ่งครับ นึกว่าทำได้เพราะอ่านเตรียมตัวหนึ่งเดือนเต็ม เข้าห้องสอบเต็มหนึ่งร้อยคะเเนน ข้อสอบห้าข้อ สามชั่วโมง นั่งทำเสร์จหมดมั่นใจเพราะอ่านมาครบทุกประเด็น ผลสอบออกมาได้ 55 คะเเนน ช้ำใจมากครับ ตายตรงข้อสอบตุ๋กตานี่เเหละครับเขียนไม่เป็นไม่เคยได้ฝึกเขียน มาตราได้หมดเเต่เขียนไม่เข้าประเด็นอาจารย์จะหาตัวอย่างมาให้ฝึกทำพร้อมเฉลยจะได้ไหมครับ ช้ำใจจริงๆ Y-Y
ตอบลบขอบคุณที่ให้แนวทางที่ดีกับผม ผมจะเอาไปปรับใช้กับการเขียนตอบกฎหมายของผม
ตอบลบที่จำเลขมาตราไม่ได้ ขอบคุณมากคับ