วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ถือสองสัญชาติ เป็นนายกได้หรือไม่

ถือสองสัญชาติ เป็นนายกได้หรือไม่


รัฐธรรมนูญทุกฉบับ รวมถึงฉบับปัจจุบันจะมีบทบัญญัติว่าด้วยคุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง สส. ฉบับปัจจุบัน (๒๕๕๐) บัญญัติอยู่ในมาตรา ๑๐๑ และ ข้อห้ามในมาตรา ๑๐๒

มาตรา ๑๐๑
บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(๓) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า สามสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
(๔) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
(ข) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
(ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา
(ง) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี
(๕) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วนต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (๔) ด้วย แต่ลักษณะดังกล่าวในกรณีใดที่กำหนดถึงจังหวัด ให้หมายถึงกลุ่มจังหวัด
(๖) คุณสมบัติอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

มาตรา ๑๐๒
บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๑) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๒) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๓) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๐๐ (๑) (๒) หรือ (๔)
(๔) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(๕) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๗) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวย ผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๘) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
(๙) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๑๐) เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้ว ยังไม่เกินสองปี
(๑๑) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(๑๒) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(๑๓) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา ๒๖๓
(๑๔) เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๗๔ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง

มาตรา ๑๐๑ (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด หมายถึง ได้สัญชาติไทยมาแต่กำเนิด โดย เกิดในราชอาณาจักรไทย หรือ มีบิดา หรือมารดา (บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งก็ได้) มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย เช่น ด.ช.ดำ มีบิดาเป็นคนไทย มารดาเป็นคนอังกฤษ เกิดที่ประเทศอังกฤษ ด.ช.ดำ ได้สัญชาติไทย ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยว่า นายอภิสิทธิฯ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน มีสัญชาติไทย

ข้อห้ามในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ดูที่มาตรา ๑๐๒ มีทั้งหมด ๑๔ ข้อ มีข้อใดหรือไม่ที่บัญญัติห้ามไม่ให้บุคคลสัญชาติไทยและมีสัญชาติอื่นร่วมด้วยลงสมัครรับเลือกตั้ง ถ้าไม่มี คือทำได้ เพราะจะห้ามต้องมีกฎหมายบัญญัติห้าม เมื่อไม่ปรากฎข้อใดห้าม นายอภิสิทธิึจึงไม่ใช่ผู้ขาดคุณสมบัติในการลงสมัครรับเลือกตั้งแต่อย่างใด ขณะนี้ วันพุธที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลา ๒๑.๕๒ น. ยังไม่มีนักวิชาการคนใดในระบบอินเตอร์เนต ตอบคำถามนี้ด้วยรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นพื้นฐาน เรียกว่าสูงสุดกลับสู่สามัญ ผู้เขียนจึงปวดใจเกินบรรยาย

15 ความคิดเห็น:

  1. ด้วยความเคารพในความเห็น แต่ผมไม่อาจเห็นพ้องด้วย เห็นว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นสมาชิกรัฐสภา ถือว่าเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ 1 ในอำนาจอธิปไตยของชาติ สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร
    ต้องตีความกฎหมายโดยเคร่งครัด เมื่อ รธน.บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งไว้ในมาตรา 101(1)มีสัญชาติไทยโดยการเกิด เมื่อบุคคลสัญชาติไทยและ/หรือมีสัญชาติอื่นร่วมด้วยลงสมัครรับเลือกตั้งเป้น ส.ส.หรือ ส.ว. จึงน่าจะมีคุณสมบัติต้องห้ามตาม รธน.มาตรา 101(1)นอกจากนี้รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติ ตามมาตรา 174(1)มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ดังนั้น บุคคลสัญชาติไทยและ/หรือมีสัญชาติอื่นร่วมด้วย จึงน่าจะมีคุณสมบัติต้องห้ามเป็นรัฐมนตรีตาม รธน.มาตรา 174 (1) อีกด้วยครับ
    ด้วยความเคารพ
    ทนายเนติราษฎร์ นาคโฉม
    4 ก.พ.54

    ตอบลบ
  2. ด้วยความเคารพต่อความเห็นคุณเนติราษฎร์ ดิฉันยืนยันตามนั้นค่ะ มาตรา 101(1)ระบุเพียงว่า มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และพื้นฐานทฤษฎีกฎหมายมหาชนในการจำกัดสิทธิของบุคคลต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้ง จะตีความโดยขยายความว่า มีสัญชาติไทยโดยการเกิดหมายถึง มีสัญชาติไทยอย่างเดียวตามที่คุณเนติราษฎร์ตีความมานั้ไม่ได้ค่ะ เหมือนกับ ปอ. ม. 217 ที่บอกว่า ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น ท่านจะไปตีความโดยขยายความว่า หมายถึง ทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้นไม่ได้ค่ะ ในส่วนการตีความของดิฉันนั้น ได้ตีความโดยเคร่งครัดแล้ว และได้นำบทบัญญัติว่าด้วยสัญชาติตาม พรบ.สัญชาติมาวิเคราะห์ประกอบด้วยมิได้กล่าวอ้างอย่างลอยๆ หรือกล่าวอ้างตามความรู้สึก ด้วยดิฉันมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในพรรคการเมืองใด และมิใช่ผู้รับใช้รัฐบาลใด จึงมองทุกอย่างตามหลักการและทฤษฎี ขอยืนยันตามนั้นค่ะ

    ด้วยความเคารพค่ะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ6/2/54 21:52

    คำว่า "มีสัญชาติไทยโดยการเกิด"

    ตีความกันง่ายๆไม่ต้องยืดยาว เกิดที่ไหนก็เป็นคนที่นั่น จะพลิกจะหงายจะตะแคง มันก็ตีความได้อย่างเดียวว่ามีสัญชาตืไทยโดยการเกิด.....เกิดที่ประเทศไทยต่อให้พ่อแม่เป็นคนชาติไหน แต่เกิดประเทศใดให้ถือว่าเป็นพลเมืองของประเทศนั้น แม้ว่าบิดา หรือมารดาจะมิใช่คนไทย แต่มีจุดประสงค์ที่จะให้บุตรหรือธิดาเกิด หรือ แจ้งเกิดที่ประเทศนั้นๆ โดยหลักข้อเท็จจริงว่าบุตรเกิดที่ประเทศนั้นๆจริงๆย่อมถือว่าเป็นคนไทย และเป็นคนไทยโดยการเกิด

    พลเมืองของแต่ล่ะประเทศแบ่งออกเป็น 2 แบบ โดยดูอเมริกาเป็นตัวอย่าง(เพราะมีหลายชาติ)
    1.พลเมืองที่มีสัญชาติโดยการเกิด
    2.พลเมืองที่มีสัญชาติโดยการโอน
    แน่นอนครับว่าพลเมืองที่มีสิทธิ์มากกว่าย่อมเป็นพลเมืองที่มีสัญชาติของประเทศนั้นโดยการเกิด บุคคลคนนั้นย่อมถือเป็นพลเมืองชั้นหนึ่งอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง รฐน. ของทางประเทศสหรัฐเองก็มีการบัญญัติไว้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะยังไงก็ตีความได้อย่างเดียว

    ยกตัวอย่างบุคคลสำคัญนะครับ เช่น นายอาโนล ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นพลเมืองอเมริกันโดยการโอน แน่นอนครับในคุรสัมบัติของผู้ว่าการรัฐย่อมไม่จำกัดสิทธิของผู้ที่มีสัญชาติในการโอน เข้าลงสมัครรับเลือกตั้งนายอาโนล จึงมีสิทธิ์ที่จะลงสมัครได้ แต่ลงสมัคร ปธน. ไม่ได้เพราะเขาระบุไว้ชัดเจนว่าจะต้องเป็นผู้มีสัญชาติอเมริกันโดยกำเนิด

    เช่นเดียวกัน นายบารัค โอบาม่า เป็นลูกครึ่งครับมีพ่อเป็นต่างด้าว แต่ตัวเขาเกิดที่อเมริกา จึงให้ถือว่านายบารัค โอบาม่าเป็นผลเมืองอเมริกัน และถือสัญชาติอเมริกันโดยการเกิดทันที ถึงแม้ว่าตอนเด็กจะย้ายไปอยู่ อินโดนิเซีย ก็ตาม

    ตามหลักเหตุผลดังกล่าว นายกอภิสิทธิ์ เกิดที่ไหนล่ะครับ เกิดที่ประเทศไทย สูติบัตรก็ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด หากตีความแล้วย่อมไม่ขัดกับหลักรัฐธรรมแต่อย่างใด มีคุณสมบัติถูกต้องทุกประการ....

    ผมอยากถามหน่อยว่า "มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด" มันยังตีความว่าอย่างอื่นได้อีกหรือ หากตีความอย่างที่ทนายคนดังกล่าวว่าจริง ขอถามว่าทำไมนายบารัค โอบาม่า จึงยังลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของอเมริกาได้ ทั้งๆที่ตอนเด็กเองก็มีสัญชาติอินโด หรืออยากจะบอกว่า รฐน. 2 ฉบับเขียนเหมือนกันแต่ตีความไม่เหมือนกัน

    ทนายประชาชน

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ6/2/54 21:54

    อีกข้อนึงคือ สส.พรรคปชป. อย่างนาย ศิริโชค โสภา

    มีบิดาเป็นคนชาติลาว แต่ตัวเขาเป็นคนชาติไทย เพราะตัวเขาเกิดที่ประเทศไทย

    นายศิริโชคเคยยกข้อที่ว่า รฐน.บัญญัติคุณสมบัติของ สส.ว่า ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด มาโต้เถียงกับนายพร้อมพงษ์ มาครั้งนึงแล้วพร้อมนำสูติบัตรมาเป็นเครื่องยืนยัน ทำให้นายพร้อมพงษ์ถึงกับหน้าแตกมาแล้ว เพราะฉะนั้นข้อกล่าวหาดังกล่าวถึงเป็นข้อกล่าวหาที่เก่ามาก..

    การตีความกฎหมายจะยึดถือตามใจตนเองไม่ได้ แต่จะต้องยึดถือตามที่กฎหมายบัญญัติอย่างเคร่งครัดตามหลักและรูปแบบของกฎหมายมหาชน อยู่ดีๆนึกอยากจะเพิ่มหรือยากจะใส่ตามอำเภอใจนะครับ

    ด้วยความเคารพ

    ทนายประชาชน

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ23/2/54 16:25

    เขียนได้ชัดเจนดีมากเลยค่ะ
    ขอส่งต่อให้เพื่อน ๆ ที่ไม่สนใจอ่ากฎหมายได้อ่านนะคะ :)

    สาริศา
    dao@si-am.com

    ตอบลบ
  6. สวัสดีครับคุณ natjar2001
    ขออภัยที่ผมต้องมาแสดงในความคิดเห็นเรื่องนี้ ความจริงผมอยากจะแสดงในหัวข้อของวันที่ ๔ ก.พ.๕๔ แต่ไม่สามารถส่งข้อความไปได้ จึงต้องมาแสดงในข้อความของวันที่ ๒ ก.พ.นี้ครับ ผมมีความจำเป็นต้องนำเรื่องสัญชาติไปพรีเซ้นท์ในที่ประชุม แต่ผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่องนี้ ดังนั้นจึงขอความรบกวนถามอาจารย์ตามประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ครับ
    ๑. ตามที่อาจารย์ยกหลักกฎหมายของอังกฤษว่าเด็ก ที่เกิดในประเทศอังกฤษ แต่บิดามารดามิได้เป็นอังกฤษ จะได้สัญชาติอังกฤษได้ด้วยบิดามารดาตั้งรกราก ทำมาหากินอยู่ในประเทศอังกฤษ หรือได้รับอนุญาติให้อยู่ในประเทศอังกฤษแบบถาวร ดังนีั้น ท่านนายกอภิสิทธิ์ ฯ ก็ได้สัญชาติอังกฤษถูกต้องไหมครับ แต่มีเว็บไซด์บางแห่งบอกว่ายังไม่ได้ เพราะในสูติบัตรของนายกอภิสิทธิ์ ระบุรับรองสถานที่เกิดว่าเกิดในอังกฤษเท่านั้น แต่ถ้าอยากได้สัญชาติอังกฤษต้องไปยื่นคำร้องเพื่อให้ได้สัญชาติอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นฐานะของนายกอภิสิทธิ์ จึงเป็นแค่พลเมืองอังกฤษ อาจารย์ว่าความเห็นเขาถูกต้องไหมครับ เพราะถ้าเที่ยบกับ พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย ตามมาตรา ๗ (๒) ก็ไม่เห็นจะมีมาตราไหนบัญญัติต่อว่าให้ต้องไปยื่นคำร้องอีก หรือว่ากฎหมายของอังกฤษเขามีขั้นตอนตรงนี้เพิ่มมาอีกครับ
    ๒. จากข้อ ๑ การที่นายกอภิสิทธิ์ จะได้สัญชาติอังกฤษ แสดงว่าบิดามารดาของท่านนายกต้องเข้าไปตั้งรกรากทำมาหากินในอังกฤษ หรือได้รับอนุญาตให้อยู่แบบถาวร จึงจะได้สัญชาติอังกฤษ ถูกต้องไหมครับ ซึ่งข้อมูลตรงนี้ผมหาไม่พบว่าบิดามารดานายกเข้าไปอยู่ในอังกฤษในฐานะอะไรและได้อยู่ชั่วคราวหรือถาวร ท่านอาจารย์พอจะมีคำตอบในข้อนี้หรือไม่ครับ
    ๓. พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย มีการกล่าวถึงการเสียสัญชาติอยู่หลายกรณี เช่น แปลงสัญชาติ, สมรส, การสละ, ถูกถอนสัญชาติ และรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว อย่างไรก็ตามการถูกถอนสัญชาติ(โดยรัฐบาล) ก็ไม่มีกรณีที่คนไทยสามารถถูกถอนสัญชาติในกรณีการได้สัญชาติมาโดยการเกิด
    จากบิดาหรือมารดาที่เป็นคนไทย ดังนั้นที่มีผู้โจมตีว่านายกอภิสิทธิ์ เมื่อมีสัญชาติอังกฤษแล้ว ก็จะต้องถอนสัญชาติไทย จึงเป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้องใช่ไหมครับ ยกเว้นถ้าเขาเจตนาสละสัญชาติเอง ขณะเดียวกันอดีตนายกทักษิณ เมื่อได้สัญชาติมอนเตเนโกรแล้ว เขาก็ไม่อาจถูกถอนสัญชาติไทยได้เช่นเดียวกันถูกต้องไหมครับ ฉะนั้นผมสามารถตอบโจทย์ได้ว่าคนไทยสามารถถือสองสัญชาติได้ ถูกต้องไหมครับ ผมขอความเห็นอาจารย์ด้วยครับ
    ๔. จากข้อ ๓ กฎหมายสัญชาติของอังกฤษ กับกฤหมายสัญชาติของมอนเตเนโกร เขามีบทบังคับว่าให้ต้องสละสัญชาติเดิมก่อนไหมครับ เพราะผมไม่ทราบ และยอมรับว่าไม่ค่อยรู้เรื่องกฎหมายต่างประเทศ และไม่มีความชำนาญในการแปลภาษาอังกฤษเลย แต่ พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย ผมอ่านดูแล้วไม่เห็นมีบอกว่าต้องสละสัญชาติอื่นก่อน เว้นแต่ประสงค์จะสละเองเช่นเรื่องที่หญิงสมรสกับคนต่างด้าว เป็นต้น หรือไม่ก็คนที่ได้สัญชาติไทย (ยกเว้นโดยการเกิดจากบิดาหรือมารดาไทย) จะทำเงื่อนไขอะไรตามกฎหมายให้ถูกถอนสัญชาติเอง แสดงว่ากฎหมายของไทยเราก็ไม่ห้ามเด็ดขาดเช่นกันในการที่คนสัญชาติอื่นจะมาถือสัญชาติของเราด้วยถูกต้องไหมครับ
    ข้อสุดท้าย นอกจากกรณีที่อาจารย์ยกตัวอย่างการได้สัญชาติอังกฤษซึ่งมีสองกรณีคือ ได้มาตามหลักสืบสายโลหิต(พ่ออังกฤษแม่อังกฤษ) กับหลักดินแดนแล้ว ยังมีการได้มาโดยกรณีอื่นอีกไหมครับ เช่น การแปลงสัญชาติ
    การสมรสกับคนอังกฤษ เป็นต้น เพราะผมไม่ทราบจะค้นหาได้ที่ไหน จึงขอความกรุณาอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยตอบปัญหาแก่กระผมตามข้อต่าง ๆ ที่กล่าวมาด้วยครับ หากเป็นไปได้ขอให้ตอบอย่างช้าวันที่ ๓๑ มีนาคม ครับ
    เพราะ ๑ เมษายน ผมต้องพรีเซ้นท์ในที่ประชุมแล้ว ขอความกรุณาด้วยครับ

    ตอบลบ
  7. สวัสดีค่ะ โห ขอโทษด้วยค่ะ ข้อความทั้งหมดติดสแปมค่ะ เพิ่งเห็นว่าติดสแปม ตอบให้นะคะ

    ๑. ตอนนี้ไม่ทราบแน่ชัดว่า กฎหมายอังกฤษต้องให้มีการยื่นขอสัญชาติอีกหรือไม่ แต่เท่าที่ทราบแต่เดิมได้โดยอัตโนมัติแบบของไทยเรานี่หล่ะค่ะ อย่างไรคำตอบนี้จะชัดหากสอบถามไปที่สถานกงศุลอังกฤษประจำประเทศไทย ลองสอบถามไปว่า เด็กที่มีบิดามารดาเป็นคนสัญชาติอื่น แต่คลอดที่อังกฤษจะได้สัญชาติอังกฤษหรือไม่และมีเงื่อนไขอย่างไร

    ๒. ไม่ปรากฎว่าบิดามารดาของท่านนายกอภิสิทธิเข้าไปอยู่อังกฤษด้วยฐานะใดโดยปรากฎเป็นหลักฐานเลยค่ะ มีแต่กล่าวกันไปมา แต่ไม่ปรากฎหลักฐานเลยค่ะ

    ๓. ไม่มีใครมีสิทธิถอนสัญชาติได้นอกจากสละสัญชาติเองถูกต้องแล้วค่ะ

    ๔. เท่าที่ทราบอังกฤษกับอเมริกาไม่บังคับให้ถอนสัญชาติค่ะ ถ้าอย่างไรลองถามไปที่กงศุลอังกฤษประจำประเทศไทยชัวร์ที่สุดสำหรับกฎหมายในเวลานี้

    นอกจากนี้แล้ว ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องแจ้งสัญชาติทุกสัญชาติในการสมัคร สส. ไม่เป็นการทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดต้องเสียหายตามมาตรา ๑๕๗ ปอ. อีกด้วย ที่กล่าวๆ กันนั้น ไม่ถูกต้องค่ะ เพราะตาม ๑๕๗ ต้องปรากฎมีความเสียหายที่กฎหมายรองรับด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  8. อีกประเด็นหนึ่งนะคะ ที่กล่าวกันว่า นายกถือสองสัญชาติทำให้ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายไทยไม่เป็นการถูกต้องค่ะ เพราะความรับผิดใดๆ เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญติเรื่องหลักดินแดนหลักบุคคลตามที่เราเรียนๆ กันมาอยู่แล้ว และไม่มีข้อยกเว้นของกฎหมายใดแม้แต่ฉบับเดียวที่บอกว่า ใช้บังคับกับคนที่ถือสัญชาติอื่นร่วมด้วยไม่ได้ นัทคิดว่า เพื่อความชัวร์ในข้อกฎหมาย ขอให้สอบถามไปยังสถานทูตอังกฤษดีที่สุด และอาจจะเดินทางไปขอเอกสารมาประกอบการบรรยายด้วยก็ดีค่ะ ถ้าได้ความอย่างไร รบกวนแจ้งด้วยนะคะ จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านมากขึ้นค่ะ

    ตอบลบ
  9. การแปลงสัญชาติเป็นอังกฤษนั้นทำได้ค่ะ คล้ายกับประเทศไทยเราเลยค่ะ คือต้องมีการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษและต้องขอต่อ รัฐมนตรีว่าการกระรวงมหาดไทยของอังกฤษ ค่ะ

    โดยมีคุณสมบัติดังนี้

    1. ถือวีซ่าถาวร (หรือมีสิทธิที่ “เทียบเท่า” ได้สำหรับจุดประสงค์เดียวกันนี้ เช่น สิทธิอยู่อาศัย มีสัญชาติไอร์แลนด์ หรือมีถิ่นที่อยู่อาศัยถาวรในสถานะพลเมืองหรือสมาชิกของสหภาพยุโรป/เขต เศรษฐกิจยุโรป เป็นต้น)


    2. ได้พักอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักรอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นระยะเวลา 3 ปี

    3. มี “บุคลิกภาพที่ดี” หรือมี “ประวัติที่ดี” ตามที่กระทรวงมหาดไทยของอังกฤษกำหนดไว้ (ในทางปฏิบัตินั้น กระทรวงมหาดไทยของอังกฤษจะดำเนินการตรวจสอบกับตำรวจและกระทรวงต่างๆ ของรัฐบาลให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าว)


    4. แสดงให้เห็นว่ามีความรู้อย่างพอเพียงในการใช้ชีวิตในสหราชอาณาจักรได้ โดยผ่านการสอบ “ชีวิตในสหราชอาณาจักร” (Life in United Kingdom Test) หรือผ่านการเข้าร่วมในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษและสิทธิความเป็นพลเมืองทั้ง
    สองอย่าง หลักฐานการพิสูจน์นี้ต้องจัดเตรียมเพื่อประกอบการสมัครขอรับการแปลงสัญชาติ
    ของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วจะมีการยกเว้นเงื่อนไขความจำเป็นทางด้านความรู้และการใช้ภาษานี้สำหรับบุคคลที่มีอายุ 65 ปีบริบูรณ์ หรือมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และอาจจะดำเนินการละเว้นได้สำหรับบุคคลที่มีอายุระหว่าง 60-65 ปี เช่นกัน


    5. มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาเวลส์ ภาษาสก็อตแกลลิก ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ สำหรับบุคคลที่ได้สอบผ่านชีวิตในสหราชอาณาจักรถือว่าผ่านเกณฑ์ทางด้านการใช้ ภาษาอังกฤษ

    6. นับย้อนหลังไปจากวันที่กรมตรวจคนเข้าเมือง (IND) ได้รับคำร้องของท่าน ท่านต้องมีวีซ่าประเภทอยู่ในสหราชอาณาจักรอย่างถาวร (Indefinite Leave to Remain) มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี และ

    7. ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ท่านไม่ได้ออกไปนอกสหราชอาณาจักรมากกว่า 270 วัน (ประมาณ 9 เดือน) และ

    8. ตลอดระยะเวลา 12 เดือนสุดท้ายที่ผ่านมา ท่านไม่ได้ออกไปนอกสหราชอาณาจักรมากกว่า 90 วัน และ


    9. ตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ท่านได้อยู่ในสหราชอาณาจักร ท่านไม่เคยทำความผิดกฎหมายเข้าเมืองเลย (เช่น วีซ่าขาด เป็นต้น)

    ตอบลบ
  10. อีกประเด็นหนึ่งนะคะ ที่กล่าวกันว่า นายกถือสองสัญชาติทำให้ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายไทยไม่เป็นการถูกต้องค่ะ เพราะความรับผิดใดๆ เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญติเรื่องหลักดินแดนหลักบุคคลตามที่เราเรียนๆ กันมาอยู่แล้ว และไม่มีข้อยกเว้นของกฎหมายใดแม้แต่ฉบับเดียวที่บอกว่า ใช้บังคับกับคนที่ถือสัญชาติอื่นร่วมด้วยไม่ได้ นัทคิดว่า เพื่อความชัวร์ในข้อกฎหมาย ขอให้สอบถามไปยังสถานทูตอังกฤษดีที่สุด และอาจจะเดินทางไปขอเอกสารมาประกอบการบรรยายด้วยก็ดีค่ะ ถ้าได้ความอย่างไร รบกวนแจ้งด้วยนะคะ จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านมากขึ้นค่ะ
    26/3/2554, 22:05
    natjar2001law กล่าวว่า...
    การแปลงสัญชาติเป็นอังกฤษนั้นทำได้ค่ะ คล้ายกับประเทศไทยเราเลยค่ะ คือต้องมีการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษและต้องขอต่อ รัฐมนตรีว่าการกระรวงมหาดไทยของอังกฤษ ค่ะ

    โดยมีคุณสมบัติดังนี้

    1. ถือวีซ่าถาวร (หรือมีสิทธิที่ “เทียบเท่า” ได้สำหรับจุดประสงค์เดียวกันนี้ เช่น สิทธิอยู่อาศัย มีสัญชาติไอร์แลนด์ หรือมีถิ่นที่อยู่อาศัยถาวรในสถานะพลเมืองหรือสมาชิกของสหภาพยุโรป/เขต เศรษฐกิจยุโรป เป็นต้น)


    2. ได้พักอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักรอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นระยะเวลา 3 ปี

    3. มี “บุคลิกภาพที่ดี” หรือมี “ประวัติที่ดี” ตามที่กระทรวงมหาดไทยของอังกฤษกำหนดไว้ (ในทางปฏิบัตินั้น กระทรวงมหาดไทยของอังกฤษจะดำเนินการตรวจสอบกับตำรวจและกระทรวงต่างๆ ของรัฐบาลให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าว)


    4. แสดงให้เห็นว่ามีความรู้อย่างพอเพียงในการใช้ชีวิตในสหราชอาณาจักรได้ โดยผ่านการสอบ “ชีวิตในสหราชอาณาจักร” (Life in United Kingdom Test) หรือผ่านการเข้าร่วมในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษและสิทธิความเป็นพลเมืองทั้ง
    สองอย่าง หลักฐานการพิสูจน์นี้ต้องจัดเตรียมเพื่อประกอบการสมัครขอรับการแปลงสัญชาติ
    ของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วจะมีการยกเว้นเงื่อนไขความจำเป็นทางด้านความรู้และการใช้ภาษานี้สำหรับบุคคลที่มีอายุ 65 ปีบริบูรณ์ หรือมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และอาจจะดำเนินการละเว้นได้สำหรับบุคคลที่มีอายุระหว่าง 60-65 ปี เช่นกัน


    5. มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาเวลส์ ภาษาสก็อตแกลลิก ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ สำหรับบุคคลที่ได้สอบผ่านชีวิตในสหราชอาณาจักรถือว่าผ่านเกณฑ์ทางด้านการใช้ ภาษาอังกฤษ

    6. นับย้อนหลังไปจากวันที่กรมตรวจคนเข้าเมือง (IND) ได้รับคำร้องของท่าน ท่านต้องมีวีซ่าประเภทอยู่ในสหราชอาณาจักรอย่างถาวร (Indefinite Leave to Remain) มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี และ

    7. ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ท่านไม่ได้ออกไปนอกสหราชอาณาจักรมากกว่า 270 วัน (ประมาณ 9 เดือน) และ

    8. ตลอดระยะเวลา 12 เดือนสุดท้ายที่ผ่านมา ท่านไม่ได้ออกไปนอกสหราชอาณาจักรมากกว่า 90 วัน และ


    9. ตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ท่านได้อยู่ในสหราชอาณาจักร ท่านไม่เคยทำความผิดกฎหมายเข้าเมืองเลย (เช่น วีซ่าขาด เป็นต้น)
    26/3/2554, 22:36
    natjar2001law กล่าวว่า...
    สำหรับเรื่องที่คุณจะไปรายงานนั้นขอให้เริ่มจาก พรบ.สัญชาติ อธิบายถึงการได้มาซึ่งสัญชาติไทยเสียก่อน และการถอนสัญชาติจะกระทำไม่ได้ เช่นเดียวกันกับ คุณทักษิณที่ไม่อาจถูกถอนสัญชาติได้

    ตอบลบ
  11. ต่อมาอธิบายถึง รัฐธรรมนูญว่าด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้ง สส. และการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การตีความกฎหมายซึ่งต้องเคร่งครัด เมื่อกฎหมายไม่ได้ตัดสิทธิจะทำไม่ได้ ถ้าให้ดีคุณลงรายละเอียดเรื่อง ทฤษฎีพื้นฐาน นิติวิธีกฎหมายเอกชนและมหาชนเลยยิ่งดี นัทเขียนไว้ค่ะ ชัดเจนมาก แต่จำไม่ได้ว่าเป้นบทความเดือนไหน คุณไปที่กูเกิ้ล พิมพ์คำว่า นิติวิธีกฎหมายมหาชน natjar2001law ก็จะพบค่ะ
    26/3/2554, 22:48
    natjar2001law กล่าวว่า...
    หลังจากนั้นจึงอธิบายถึงการได้มาซึ่งสัญชาติอังกฤษตามกฎหมายอังกฤษเปรียบเทียบกับกฎหมายไทย ถ้าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปตามที่นัทเขียนไว้ทุกประการ ให้แน่ใจต้องตรวจสอบอีกรอบนะคะ เพราะบทความนี้เขียนได้ระยะหนึ่งแล้ว และอธิบายไปด้วยว่า ไม่มีกฎหมายบังคับให้คนไทยต้องแจ้งสัญชาติที่ตนถือทุกสัญชาติ ประเทศไทยเป็นระบบประมวลกฎหมาย ต้องพิจารณาตามากฎหมายลายลักษณ์อักษรซึ่งออกโดยสภา เพราะเป็นกฎหมายของรัฐสภา (รัฐสภาเป้นบ่อเกิดกฎหมาย) ไม่ใช่ใช้จารีตประเพณีหรืออะไร จะเอามา Analogy ไม่ได้ (เข้ากูเกิ้ลพิมพ์คำว่า การ Analogy ) จะพบบทความนัทเป็นบทความหน้าแรกเรื่องแรก เพราะคนไทยไม่ค่อยมีใครเขียนเรื่องนี้ค่ะ ส่วนใหญ่มีแต่ตำราต่างประเทศเสียมาก นอกจากต้องไปหาในมหาวิทยาลัยค่ะ ในอินเตอรืเนตไม่พบว่ามีค่ะ
    26/3/2554, 22:52
    natjar2001law กล่าวว่า...
    ต่อมา อธิบายถึง ลักษณะมาตรา ๑๕๗ และอธิบายว่า ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ในเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้มีหน้าที่แจ้งสัญชาติทุกสัญชาติ และจะละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างไร กรณีนี้เป็นกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ตามมาตรา ๒ ค่ะ หลัก ไม่มีกฎหมายไม่มีความผิด ไม่มีโทษค่ะ คิดว่าเพียงแค่นี้น่าจะชัดเจนสำหรับเจ้านายคุณแล้วหล่ะค่ะ

    ตอบลบ
  12. สวัสดีค่ะ

    แวะมาทักทายนะคะ

    http://rattanapornnursinghome.blogspot.com

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ4/6/54 22:06

    จารย์..เชื้อชาติกับสัญชาติ..แตกต่างกันหรือป่าว..อธิบายหน่อยครับ..

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ7/6/54 21:10

    การถือสัญชาติเป็นที่รู้กันว่าเกิดในประเทศใดจะต้องได้สัญชาติของประเทศนั้นและ ก.ม.รัฐธรรมนูญ มาตรา 174 ได้ระบุไว้ว่าจะต้องถือสัญชาติไทยโดยการเกิด นั้นหมายถึงต้องเกิดในประเทศไทยเท่านั้น

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น