วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กฎหมายสิบหกหลังคาเรือนกับคำให้สัมภาษณ์ของ อ. สุขุม นวลสกุล

จากคำให้สัมภาษณ์ของ อ.สุขุม นวลสกุล ที่ปรากฎอยู่ตามลิงค์นี้



จากคำสัมภาษณ์ในส่วนนี้

Q : อย่างคนที่เขาเห็นด้วยกับคำวินิจฉัย เขาบอกว่าคำวินิจฉัยของศาลเคลียร์แล้ว อาจารย์มองอย่างนั้นหรือไม่

A : ไม่เคลียร์ เพราะตอนแรกบอกว่าเรื่อง 15 วัน พอดูคำวินิจฉัยส่วนตนมันไม่ใช่นี่ มันเป็นเรื่องของการไม่ครบกระบวนการ แต่วันนั้นที่ประกาศออกมาในคดี แต่คดีที่ 2 นี่เคลียร์ (หมายถึงคดี 258 ล้าน) วันนั้น 1 คนที่พูดถึงเงื่อนไข 15 วัน แต่ที่เหลือไม่ได้พูดถึงแต่มันออกมาเป็นคำวินิจฉัยกลาง เนี่ยมันก็ไม่เคลียร์วันนั้น แต่ว่าเคลียร์ที่ว่ามันไม่ยุบ แต่วันแรกที่คำวินิจฉัยกลางออกมา มันไม่ใช่นี่ นั่นมัน 1 ใน 4

ด้วยความเคารพต่อความเห็นของท่าน
ในเรื่องเงื่อนไขเวลา
15 วันนั้น เป็นเรื่องของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด กฎหมายกำหนดให้ยื่นภายในสิบห้าวัน ซึ่งศาลได้เขียนคำวินิจฉัยในส่วนนี้ชัดเจนแล้ว เรื่องของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศิลธรรมอันดีของประชาชน

คำวินิจฉัยในสองคดี ต่างเป็นการวินิจฉัยด้วยหลักกฎหมายที่ว่า ไม่ปฏิบัติตาม

ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับกรณีเงิน 29 ล้านนั่นเอง เพียงแต่ กรณีเงิน 29 ล้านนั้น เป็นเรื่องของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนในเรื่องระยะเวลา แต่กรณีเป็นกรณีไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ เรื่องใดที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องทำตามขั้นตอนก็ต้องทำตามขั้นตอน คดีเงิน 29 ล หรือ 258 ล้านก็มีขั้นตอนตามมาตรา 93 และ 95 ให้ทำ หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบและศิลธรรมอันดีของประชาชน

กรณีนี้ขั้นตอนตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 95 พรบ.พรรคการเมือง คือ เมื่อปรากฏตอนายทะเบียน หรือเมื่อนายทะเบียนไดรับแจงจากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและไดตรวจสอบแลวเห็นวาพรรคการเมืองใดกระทําการตามมาตรา ๙๔ ใหนายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแจงตออัยการสูงสุด พรอมดวยหลักฐาน

ดังนั้น นายทะเบียนต้องขอความเห็นชอบในความเห็นของตน เช่นนายทะเบียนเห็นว่าผิด ต้องขอให้กกต.รับรองความเห็นแล้วส่งความเห็นพร้อมหลักฐานไปยังอัยการสูงสุด กกต.มีหน้าที่เห็นตามนายทะเบียน ไม่มีหน้าที่เห็นเอง (เห็นตามหมายความว่า ให้เขาเป็นผู้เห็นก่อน แล้วค่อยเห็นตามเขา เห็นตามไม่ใช่เห็นด้วย ซึ่งอาจจะไม่เห็นด้วยก็ได้ นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) การเห็นนี้เป็นอำนาจของนายทะเบียนไม่ใช่อำนาจของกกต. ดังนั้น กระบวนการทั้งหมดจึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย ที่กฎหมายได้บัญญัติไว้


Q : เห็นด้วยกับที่บางคนบอกหรือไม่ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะ “ตัวกฎหมาย”

A : ไม่ทราบ...ผมไม่ค่อยแม่นเรื่องกฎหมาย แต่ผมไม่เห็นด้วยกับกฎหมายยุบพรรคแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพราะว่าทำผิด 2-3 คนแล้วยุบทั้งหมดเนี่ย อย่างพรรคที่ผ่านมาที่ถูกยุบ ผมก็ไม่เห็นด้วย ผมก็วิจารณ์ทุกครั้งไป ไม่เห็นด้วยตลอด

ในอดีต มีกฎหมายมังรายศาสตร์บัญญัติเรื่องความรับผิดร่วมกัน ในกฎหมายสิบหกหลังคาเรือน ที่บัญญัติให้คนที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันต้องสอดส่องดูแลกันและกัน หากมีบ้านใดที่ถูกโจรปล้น แล้วบ้านเรือนใกล้เคียงสิบหกหลังนั้น ไม่สามารถหาตัวคนกระทำความผิดได้ จะต้องร่วมกันรับผิดต่อบ้านที่ถูกปล้น ด้วยวิธีคิดดังกล่าวจึงทำให้เกิดบทบัญญัติเรืองนี้ขึ้นมา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น