วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของคำว่า ชัก ใช้ แสดง ประดับ "ธง"

หลังจากบทความเรื่องการแสดงธง ได้เผยแพร่ และเกิดปัญหาจนข้าพเจ้าต้องจัดการแก้ไขปัญหาให้เกิดความเข้าใจลุล่วงไปได้ มีผู้สอบถามและขอให้เขียนความหมายของคำว่า ใช้ ชัก แสดง ประดับ เพื่อประกอบความเข้าใจและจะได้ใช้ให้ถูกต้องเสียตามบทนิยาม

ความหมายต่างๆ มีกฎหมาย ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแสดงธงฯ พ.ศ. ๒๕๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองและสามบัญญัติไวัชัดแล้ว ดังนี้

การใช้ธงหมายความว่า การนําธงที่อยู่ในสภาพพร้อมแล้วไปทําให้ปรากฏ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์หรือใช้ในโอกาสใดโอกาสหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้

การชักธงหมายความว่า การเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสา หรือการเชิญธงลงจากยอดเสาตามกาหนดเวลาหรือตามโอกาสที่กำาหนดไว้ในระเบียบนี้


การแสดงธง"

หมายความว่า การที่บุคคลหรือคณะบุคคลได้ทําหรือสร้างให้ปรากฏเป็นรูปร่างไม่ว่าจะเป็นวัตถุ รูป ภาพ หรือสสาร ท่ีมีลักษณะเป็นสีท่ีมีความหมายถึงธง หรือแถบสธงที่ กำาหนดไว้ในระเบียบนี้


คำสามคำนี้จึงมีความหมายไม่เหมือนกัน การชักธง ใช้ธง นี้ใช้กับธงจริงๆ ที่เป็นผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ประกอบด้วยสามสีสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ส่วนการแสดงธงนี้ หมายเฉพาะวัตถุ รูป ภาพ หรือสสาร ซึงการแสดงธงต้องได้รับอนุญาต เช่น การนำภาพธงมาใช้เป็นโลโก้สินค้าต้องขออนุญาตก่อน การประดับธง ปัจจุบันมีกฎหมายอนุญาตให้กระทำได้ในสถานที่ ซึ่งเป็นอาคารสถานที่จริงๆ เท่านั้น


สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปตรวจพิจารณา โดยให้ถือเป็นหลักการว่า สถานที่ราชการ สถาบันการศึกษา สถานศึกษา ที่ทำการรัฐวิสาหกิจ และองค์กรอื่นๆ ของรัฐ นอกจากจะมีการชักธงขึ้นและลงตามเวลาเฉพาะในแต่ละวันแล้ว

ให้ประดับธงชาติในที่อันสมควรเป็นการถาวร และสม่ำเสมอด้วย เพื่อสร้างความรู้สึกนิยมและภาคภูมิใจในความเป็นชาติ อีกทั้งเป็นการเผยแพร่ธงชาติไทยให้เป็นที่ปรากฏชินตาแก่ผู้พบเห็น ส่วนสถานที่ต่างๆ ของเอกชนให้อนุโลมตามความเหมาะสม และมอบให้กระทรวงวัฒนธรรมและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีสอดส่องดูแล และให้คำแนะนำในการจัดทำธงชาติและสีธงชาติให้ได้มาตราฐานและเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ลักลั่นกันหรือดัดแปลงตามอำเภอใจจนผิดไปจากลักษณะและสีที่ควรจะเป็น


การใช้ธง กฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ในการต่างๆ เช่น ในการคลุมศพ เพื่อประดับเกรียติยศ หรือประดับร่วมกับธงชาติอื่นเป็นต้น ซึ่งล้วนแต่ต้องมีกฎหมายให้การอนุญาตเสียก่อน รวมถึงการประดับธง ก็ต้องมีกฎหมายอนุญาต ซึ่งปัจจุบันมีแล้ว ให้เอกชนสามารถประดับธงได้ตลอดเวลาการชักธง ต้องมีกฎหมายอนุญาตให้ชัก ไม่ใช่นึกอยากชักขึ้นชักลงก็ชัก กฎหมายอนุญาตให้ชักเวลา ๘.๐๐ น. และ ๑๘.๐๐ น. เท่านั้น เที่ยงบ่ายไปชักเล่นไม่ได้

การแสดงธงไม่ใช่การประดับธง เพราะการแสดงธงคือการแสดงรูป ภาพ ของธง ไม่ใช่ผืนธง การประดับธงในกรณีอื่นนอกจากตามอาคารบ้านเรือน ต้องมีกฎหมายอนุญาตเป็นครั้งๆ เช่นการประดับธงอาเซียน ไม่ใช่อนุญาตครั้งหนึ่งแล้วจะหมายถึงทุกครั้งประดับได้ ต้องมีมติให้ประดับในทุกๆ ครั้งการประดับธง
อาเซียน

มติ ครม.
11 มกราคม 2554
http://hq.prd.go.th/prTechnicalDM/ewt_news.php?nid=648&filename=index

ติดตามอ่านกฎหมายอนุญาตให้ชัก ใช้ แสดงได้ในกรณีอย่างใดบ้าง

http://www.opm.go.th/OpmInter/content/legal/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%2
A%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%87%20update.pdf


ข้อสังเกตุ ในอดีต การประดับธงตามบ้านเรือน จะทำตลอดเวลาไม่ได้ ต้องทำในวันเวลาสำคัญที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ต่อมาจึงมีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ ดังนั้น การกระทำใดๆ ต่อธง จะทำโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นไปได้เลย มิเช่นนั้นแล้ว กฎหมายแม่บทอย่าง พรบ.ธง จะมีไว้ทำใม ก็มีไว้เพื่ออนุญาตให้กระทำต่อธงได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ข้อกฎหมายว่าด้วยการแสดงธง




ตามที่ข้าพเจ้าได้เคยเขียนบทความเรื่อง "การแสดงธงจะกระทำโดยพละการไม่ได้" ได้มีความเข้าใจผิดของท่าน ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธง ว่าข้าพเจ้าเขียนบทความทำนองว่า การนำภาพธงชาติไทยมาใช้เป็นภาพประจำตัวในเฟชบุคนั้น ทำไม่ได้ เป็นการกระทำอันเหยียดหยามหรือไม่สมควร บัดนี้ ได้มีการปรับความเข้าใจในส่วนนี้แล้ว ข้าพเจ้าได้ทำการชี้แจงประเด็นของบทความดังกล่าวแล้วว่า มิใช่กระทำไม่ได้เพราะเป็นการดูหมิ่นหรือเหยียดหยามธงแต่อย่างไร หากแต่การนำธงขึ้นแสดงโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นข้อห้ามโดยบทบัญญัติของกฎหมาย ว่า การแสดงธงต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการธง ในส่วนนี้ข้าพเจ้าเขียนโดยข้อกฎหมายไม่มีการนำความเห็นตนเองเข้าประกอบ

และเป็นการเขียนขึ้นด้วยความกังวลว่า การนำภาพธงขึ้นประกอบในเฟชบุค อาจจะทำให้เกิดปัญหา เช่น หากมีผู้ร้องเรียนหรือดำเนินคดีกับผู้แสดงภาพ ไม่ว่าจะโดยการกลั่นแกล้งส่วนตัวก็ดี แม้ในภายหลังการพิจารณาคดีจะปรากฎว่า การกระทำดังกล่าวไม่มีความผิด แต่การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมนั้นย่อมมีความยุ่งยาก จะต้องมีการสู้คดี ประกันตัว ทำให้เสียเวลาและทรัพย์สิน จึงแนะนำให้ผู้ที่นำภาพขึ้นแสดงเอาลงเสีย หากใครไม่เอาลง ข้าพเจ้าก็ไม่เคยกล่าวว่าแต่อย่างใด ส่วนลูกศิษย์ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีสิทธิในฐานะอาจารย์ที่จะห้ามไม่ให้กระทำ แต่มีผู้เข้าใจว่า ข้าพเจ้าปลุกปั่นให้หยุดการแสดงความไว้อาลัย จึงมีการด่าทอหยาบคาย ดูหมิ่น หมิ่นประมาทกันมากมายในบทความดังกล่าว เพื่อให้เรื่องราวไม่บานปลายข้าพเจ้าจึงลบบทความดังกล่าวและได้ประสานงานปรับความเข้าใจไปยังคุณ พฤติพล ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธง เพื่อเรียนชี้แจงข้อกฎหมายให้ท่านเข้าใจ

บทความนี้จึงได้เขียนขึ้นใหม่ในฐานะนักวิชาการกฎหมาย เพื่อนำเสนอข้อกฎหมายที่หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่เข้าใจ และมิได้มีเจตนาจะห้ามหรือสั่งผู้ใดไม่ให้กระทำ

โดยข้อกฎหมายดังนี้

มาตรา ๕ ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและชาติไทย ได้แก่

(๑) ธงชาติ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่ กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์


มาตรา ๔๕
การใช้ ชัก หรือแสดงธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยหรือชาติไทยตามมาตรา ๕ ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี



มาตรา ๔๘

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี


ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแสดงธงฯ พ.ศ. ๒๕๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองและสาม

การแสดงธง"

หมายความว่า การที่บุคคลหรือคณะบุคคลได้​ทําหรือสร้างให้

ปรากฏเป็นรูปร่างไม่ว่าจะเป็นวัตถุ รูป ภาพ หรือสสาร ท่ีมีลักษณะเป็นสีท่ีมีความ​หมายถึงธง หรือแถบสธงที่ กำาหนดไว้ในระเบียบนี้
http://www.opm.go.th/OpmInter/content/legal/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%20%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%9A/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%87%20update.pdf



โดยในมาตรา ๑๕ ทวิ ที่ได้แก้ไขครั้งทีสาม บัญญัติว่า

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕ ทวิ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนต​รีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงต่างประเทศในราชอาณาจั​ก พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบี​ยบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงต่างประเทศในราชอาณาจั​กร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"
ข้อ ๑๕ ทวิ การแสดงธงชาติไว้ที่สิ่งบรร​จุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อ สิ่งผูกมัดผลิตภัณฑ์ สินค้าใดๆ อาคาร สถานที่ ยานพาหนะ เครื่องแต่งกาย ร่างกายหรือสิ่งอื่นใด ที่มิได้มีลักษณะเป็นการเหย​ียดหยามต่อธงชาติ ประเทศไทย หรือชาติไทย ให้ทำได้โดยสมควรในกรณีดังต​่อไปนี้

(
๑) เป็นการแสดงธงชาติที่กระทำโ​ดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานอื่นของรัฐ

(
๒) เป็นการแสดงธงชาติที่กระทำโ​ดยเอกชนเพื่อประโยชน์ทางการ​พาณิชย์

(
๓) เป็นการแสดงธงชาติที่กระทำโ​ดยเอกชนในกรณีอื่นๆ นอกจาก (๒)

หลักเกณฑ์และวิธีการขอความเ​ห็นชอบในกรณีตาม (๒) และ (๓) ให้เป็นไปตามประกาศสำนักนาย​กรัฐมนตรี"


ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี

--------------------
ที่มา
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0E/00147241.PDF

ดังนั้น การแสดงธง ยังคงต้องได้รับอนุญาตจากรัฐเสียก่อน ปัจจุบัน วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ยังไม่มีประกาศอนุญาตให้แสดงธงได้ แต่มี ประกาศอนุญาตให้เอกชน ประดับธง การประดับธง ไม่ใช่การแสดงธง
ตามบทนิยามของกฎหมาย

สำนักงานคณะกรรมการ​กฤษฎีการับไปตรวจพิจารณา โดยให้ถือเป็นหลักการว่า สถานที่ราชการ สถาบันการศึกษา สถานศึกษา ที่ทำการรัฐวิสาหกิจ และองค์กรอื่นๆ ของรัฐ นอกจากจะมีการชักธงขึ้นและล​งตามเวลาเฉพาะในแต่ละวันแล้​ว
ให้ประดับธงชาติในที่อันสมค​วรเป็นการถาวร และสม่ำเสมอด้วย เพื่อสร้างความรู้สึกนิยมแล​ะภาคภูมิใจในความเป็นชาติ อีกทั้งเป็นการเผยแพร่ธงชาติไทยให้เป็นที่ปรากฏชินตาแก่ผู้พบเห็น ส่วนสถานที่ต่างๆ ของเอกชนให้อนุโลมตามความเห​มาะสม และมอบให้กระทรวงวัฒนธรรมแล​ะสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐม​นตรีสอดส่องดูแล และให้คำแนะนำในการจัดทำธงช​าติและสีธงชาติให้ได้มาตราฐ​านและเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ลักลั่นกันหรือดัดแปลงตา​มอำเภอใจจนผิดไปจากลักษณะแล​ะสีที่ควรจะเป็น


ที่มา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

ไม่พบว่ามีการอนุญาตให้แสดงธง ได้

ในส่วนที่มีการกล่าวว่าข้าพเจ้าไม่อัพเดทกฎหมาย แสดงข้อกฎหมายผิด ไม่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่นั้น เป็นความเข้าใจผิดของท่าน ทำให้ผู้อื่นพากันเข้าใจผิดตาม จึงขออนุญาตอธิบายไว้ตรงนี้

การแก้ไขกฎหมายไม่ใช่การยกเ​ลิก กฎหมายเดิมยังคงอยู่ทุกประก​าร ตัวอย่างเช่น ระเบียบสำนักนายกว่าด้วยการ​ชักหรือแสดงธง พ.ศ.๒๕๒๙

ตามลิงค์ที่แนบ

http://www.opm.go.th/OpmInter/content/legal/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%20%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%9A/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%87%20update.pdf


ขอให้พิจารณาข้อ ๑๕ ทวิ ข้อ ๑๕ ทวินี้ เป็นการแก้ไขจาก กฎหมายปี ๒๙ โดยแก้ไขในปี ๒๕๔๖ เมื่อมีการแก้ไข ในพรบ.ปี ๒๙ ข้อ ๑๕ ทวิจะเป็นกฎหมายใหม่ แต่จะมีฟุตโนตไว้ว่า แก้ไข ปี ๔๖


ข้อ ๑๕ แก้ไขเพ่ิมเติมโดยระเบียบสํ​านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ​ใช้การชัก หรือการแสดงธงชาติและธง
ของตางประเทศในราชอาณาจ ่ กร ั (ฉบบท ั ่ี๒) พ.ศ. ๒๕๔๖

และต่อมา ปี ๒๕๔๗ ประกาศฉบับดังกล่าวได้มีการ​แก้ไขอีกครั้งหนึ่งโดยแก้ไข​ในข้อเดิมคือ ๑๕ ทวิ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0E/00147241.PDF

ขอให้สังเกตุว่า ๑๕ ทวิ เดิมตามลิงค์ที่สอง ไม่ต่างกับตามลิงค์นี้แม้แต​่ตัวอักษรเดียว

อุปมาเหมือนท่านเปลี่ยนเสื้​อผ้า จะเปลี่ยนออกเฉพาะเสื้อผ้า แต่ไม่ได้ตัดขาตัดแขนท่าน ดังนั้น แม้ข้าพเจ้าจะแสดงกฎหมายปี ๒๕๒๙ ซึ่งเป็นกฎหมายเดิม ก็ไม่ทำให้กฎหมายนั้นผิดเพี​้ยนแต่อย่างใด

ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ได้แสดงข้อกฎ​หมายผิดพลาด หรือไม่ได้บกพร่องดังที่ถู​กกล่าวหาแต่อย่างใด




วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของคำว่า "ไม่สมบูรณ์" "ไม่บริบูรณ์" และ "โมฆะ"

ในตัวบทกฎหมายมีคำอยู่สามคำที่นักเรียนกฎหมายมักไม่ค่อยมีความเข้าใจ และบางทีคิดว่าเป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน ได้แก่คำว่า "ไม่สมบูรณ์" "ไม่บริบูรณ์" และ "โมฆะ" อีกทั้งเมื่อไปอ่านคำพิพากษาเกี่ยวกับคำว่า "ไม่บริบูรณ์" แล้วยังพบว่า ศาลฎีกาใช้คำว่าไม่สมบูรณ์ประกอบด้วย เช่น "ไม่สมบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิ" จึงทำให้นักเรียกกฎหมายเกิดความสับสน แท้จริงแล้วคำสองคำนี้มีความหมายต่างกัน
คำว่า "ไม่สมบูรณ์" หมายถึง สัญญานั้นไม่เกิดขึ้นเลย ด้วยเหตุองค์ประกอบแห่งการเกิดขึ้นของสัญญานั้นไม่ครบ โดยปกติ สัญญาเกิดเมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกัน เว้นแต่ในสัญญาบางอย่างที่กฎหมายกำหนดแบบของสัญญา (แบบของสัญญามิใช่แบบของนิติกรรม เป็นคนละกรณีกัน) แบบของนิติกรรมหากไม่ทำตามแบบแล้วกฎหมายบัญญัติไว้เป็นโมฆะ

แบบของนิติกรรมมีสี่อย่างได้แก่
๑. ทำเป็นหนังสือ
๒. ทำเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
๓. จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
๔. ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

ส่วนกรณีสัญญานั้น เกิดขึ้นโดยองค์ประกอบคือคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกัน เว้นแต่ในบางสัญญา การส่งมอบถือเป็นอีกหนึ่งองค์ของสัญญา ถ้าแม้คำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกัน แต่ถ้ากฎหมายกำหนดแบบของสัญญาให้ส่งมอบด้วย ถ้ามิได้มีการส่งมอบ สัญญาย่อมไม่เกิด กฎหมายใช้คำว่า "ไม่สมบูรณ์"

มาตรา 523 การให้นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งม​อบทรัพย์สิน ที่ให้
มาตรา 525 การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื​้อขายกันจะต้องทำเป็น หนังสือและจดทะเบียนต่อพนัก​งานเจ้าหน้าที่นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้า​หน้าที่ใน กรณีเช่นนี้การให้ย่อมเป็นอันสมบูรณ์โดยมิพักต้องส่งมอ​บ
มาตรา 462 ที่บัญญัติว่าการส่งมอบนั้นจะทำอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ สุดแต่ว่าเป็นผลให้ทรัพย์สินนั้นไปอยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ

คำว่าอยู่ในเงื้อมมือ หมายถึง อยู่ในความครอบครองดูแลของผู้ซื้อ
จะเห็นได้ว่า มาตรา ๕๒๓ นั้น บัญญัติให้การส่งมอบเป็นองค์ประกอบของสัญญาให้ ถ้าไม่ส่งมอบให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้รับ (นำมาตรา ๔๖๒ มาใช้โดย Analogy )สัญญาให้ย่อมไม่สมบูรณ์ ไม่มีการให้กันเกิดขึ้นเลย

ตัวอย่าง ดำ กล่าวกับแดงว่าดำให้โทรศัพท์มือถือแก่แดง ตราบที่ดำยังไม่ส่งมอบโทรศัพท์มือถือให้แก่แดงกรรมสิทธิในโทรศัพท์ยังเป็นของดำอยู่ ยังไม่โอนไปยังแดง ซึ่งต่างจากสัญญาทั่วๆ ไปที่คำเสนอสนองถูกต้องตรงกันสัญญาย่อมเกิดโดยมิพักต้องส่งมอบ

มาตรา ๕๒๕ ยังบัญญัติว่า การให้ทรัพย์สินที่การซื้อขายต้องทำตามแบบ หากได้ทำตามแบบแล้ว ถือว่ามีการส่งมอบแล้ว เช่น ดำ กล่าวกับแดงว่าดำยกที่ดินให้แดงหนึ่งแปลง ที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่การซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อดำและแดงพากันไปทำตามแบบที่สำนักงานที่ดินเรียบร้อยแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินย่อมเป็นของแดงโดยที่ดำไม่ต้องไปยกที่ดินมาส่งมอบให้แดงอีก

ดังนั้น คำว่า "ไม่สมบูรณ์" จึงแปลว่า สัญญานั้นไม่เกิดด้วยขาดองค์ประกอบการเกิดของสัญญานั่นเอง

คำว่า "ไม่บริบูรณ์" หมายถึง ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพย์สิทธิ์ (บางท่านมักใช้คำว่า ไม่สมบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิ แต่มิใช่ไม่สมบูรณ์ในความหมายของกฎหมาย หากแต่ใช้โดยนัยเป็นคำทั่วไป ซึ่งผู้เขียนขอเลี่ยงไม่ใช้ด้วยการใช้คำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายจะทำให้เกิดความสับสน และเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง) แต่บริบูรณ์ในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ
มาตรา 1299 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่น ท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอัน เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและ ได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่
เช่น ดำยอมให้แดงเดินผ่านที่ดินของตนเป็นภาระจำยอม ซึ่งกรณีนี้ต้องไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ดำและแดงไม่ได้ไปทำ ดังนี้ ระหว่างดำและแดงเป็นบุคคลสิทธิ แดงย่อมเดินผ่านที่ดินของดำได้ แต่เมื่อดำได้โอนขายที่ดินดังกล่าวให้ขาวแล้ว ขาวไม่อยู่ในบังคับสิทธิที่ต้องยอมให้แดงเดินผ่าน ขาวจะปิดกั้นทางเดินเสียก็ย่อมทำได้ เพราะสิทธิของแดงเป็นแต่เพียงบุคคลสิทธิที่มีเหนือดำเท่านั้น มิใช่ทรัพยสิทธิที่มีเหนือทางภาระจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6208/2545
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินก​ับโจทก์ โดยมีข้อตกลงกันในวันกำหนดโอนที​่ดินที่จะซื้อจะขายดังกล่าวว่า จำเลยยินยอมที่จะจดทะเบียนภารจำ​ยอมเพื่อให้โจทก์มีสิทธิในการใช​้ถนนเข้า - ออก จากที่ดินของโจทก์ในที่ดินที่เป​็นถนนทุกแปลงที่จำเลยมีกรรมสิทธ​ิ์ เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เ​กิดบุคคลสิทธิขึ้นในอันที่จะเรี​ยกร้องบังคับกันได้ระหว่างโจทก์​กับจำเลย แม้โดยสัญญานี้โจทก์จะไม่ได้มาซ​ึ่งทรัพย์สิทธิในทางภารจำยอมโดย​บริบูรณ์ เพราะไม่ได้จดทะเบียนการได้มากั​บพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎ​หมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แต่บทมาตรานี้ก็หาได้บัญญัติให้​เป็นผลไปถึงว่านิติกรรมหรือสัญญ​านั้นเป็นโมฆะเสียเปล่าไปไม่ สัญญาดังกล่าว จึงยังคงมีผลก่อให้เกิดบุคคลสิท​ธิในอันที่จะเรียกร้องบังคับกัน​ได้ในระหว่างคู่สัญญาและเมื่อที​่ดินของจำเลยต้องตกอยู่ในภารจำย​อม ภารจำยอมดังกล่าวจะสิ้นไปก็ด้วย​เหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ​ชย์ มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399เมื่อภารจำยอมยังไม่สิ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเล​ยจดทะเบียนภารจำยอมตามข้อตกลงท้​ายสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวได้
คำว่า "โมฆะ" หมายถึง ความสูญเปล่า เสียเปล่ามาแต่เริ่มต้น เสมือนนิติกรรมนั้นไม่เกิดขึ้นเลย

มาตรา
172 โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้และผู้มี ส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้

ความเสียเปล่าแห่งนิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้น เสมือนกับว่านิติกรรมนั้นไม่เกิดขึ้นเลย แท้จริงนิติกรรมได้เกิดขึ้นเพราะสัญญาเกิดตามหลักทั่วไปคือคำเสนอสนองถูกต้องตรงกันเกิดเป็นสัญญาแล้ว แต่นิติกรรมนั้นเสียเปล่าเพราะไม่ได้ทำตามแบบ เช่น ดำทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากแดงแต่มิได้ทำเป็นหนังสือต่อกัน สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นโมฆะ
มาตรา 572 อันว่าเช่าซื้อนั้น คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สิน ออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สิน นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวน เท่านั้นเท่านี้คราว
สัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ

จึงต้องถือเสมือนสัญญาเช่าซื้อมิได้เกิดขึ้นเลย บางท่านไปเข้าใจว่า การใช้คำว่า เสมือนไม่เกิดเป็นการใช้คำฟุ่มเฟือย ทำให้สับสน แท้จริงแล้วไม่ใช่ เป็นการใช้ถ้อยคำโดยชอบแล้ว เพราะการไม่เกิดขึ้นเลยคือนัยของคำว่า "ไม่สมบูรณ์" อันมีองค์ประกอบของการเกิดขึ้นของสัญญาด้วยการส่งมอบบังคับอยู่ ส่วนการถือเสมือนไม่เกิดขึ้นเลยนั้น ไม่มีองค์ประกอบการเกิดขึ้นของสัญญาใดๆ บังคับอยู่ สัญญาได้เกิดขึ้นแล้วจากคำเสนอและสนองที่ถูกต้องตรงกัน เพียงแต่บังคับไม่ได้เสมือนกับไม่ได้เกิดขึ้นเลย เพราะไม่ได้ทำตามแบบแห่งนิติกรรมต่างหาก ผู้เขียนจึงขอยืนยันว่า การใช้คำว่า เสมือนไม่เกิดขึ้นเลยในกรณีโมฆะกรรมนั้นชอบแล้ว

กล่าวโดยสรุป
ไม่สมบูรณ์ คือ การไม่เกิดขึ้นเลยของสัญญา เพราะเหตุไม่ครบองค์ประกอบแห่งการเกิดขึ้นของสัญญา
ไม่บริบูรณ์ คือ ความไม่บริบูรณ์ในฐานะเป็นทรัพยสิทธิ แต่สัญญาได้เกิดขึ้นครบถ้วนและบริบูรณ์ในฐานะบุคคลสิทธิแล้ว

โมฆะ คือ ความเสียเปล่าของนิติกรรมสัญญาที่ถือเสมือนนิติกรรมสัญญานั้นไม่เกิดขึ้นเลย เพราะไม่ได้ทำตามแบบแห่งนิติกรรม (การเกิดของสัญญาครบองค์แล้ว)

คำสามคำนี้จึงมีความหมายที่ต่างกัน

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การนำภาพบุคคลอื่นมาใช้ในเฟชบุค



ในปัจจุบัน เฟชบุค เป็นช่องทางการสื่อสารช่องทางหนึ่งที่สามารถขยายวงการสื่อสารได้กว้างมาก และมีประโยชน์มาก แต่ก็มีหลายท่านที่นำเฟชบุคไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น เปิดเฟชบุคขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการกระจายข้อความหรือรูปภาพหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และรัชทายาท ปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือ ผู้กระทำความผิด มิได้นำรูปของตนเองแสดงในหน้าเพจของเฟชบุค แต่กลับไปคัดลอกรูปของผู้อื่นมาใช้ เพื่อปิดบังตัวตนที่แท้จริง ทำให้เจ้าของภาพอาจจะถูกมองจากผู้ที่ขาดความเข้าใจว่าเป็นเจ้าของเพจที่ผิดกฎหมายนั้นเอง สำหรับบทความนี้จะได้นำเสนอปัญหาข้อกฎหมายของการนำภาพของผู้อื่นมาใช้ในเฟชบุคของตน ในหลายๆ กรณี รวมถึงกรณีนำมาใช้ในทางผิดกฎหมายด้วย

โปรแกรมของเฟชบุค สามารถแสดงภาพของเจ้าของเพจได้ และมีโปรแกรมให้อัพโหลดรูปภาพต่างๆ เป็นอัลบัม เจ้าของเพจสามารถนำภาพต่างๆ ขึ้นอัพโหลดเพื่อแสดงต่อสาธารณชนได้ รวมถึงอัพโหลดรูปภาพมาเป็นรูปประจำตัวของตน หลายๆ ท่าน มิได้แสดงรูปของตนขึ้นเป็นรูปประจำตัว แต่ได้นำภาพที่มีการเผยแพร่ในระบบอินเตอร์เนตขึ้นแสดงเป็นภาพประจำตัว ทั้งนี้ บางท่าน ได้แสดงภาพของผู้อื่นให้เข้าใจว่าเป็นภาพตน บางท่านมิได้มีเจตนาแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นภาพตน เช่น ผู้เขียนเอง บางครั้งใช้ภาพเด็กไหว้เป็นภาพประจำตัวในเฟชบุค เพราะเฟชบุคของผู้เขียนใช้ประโยชน์ในการเผยแผ่พระสัทธรรมตามพระไตรปิฎก และเผยแพร่และสอนกฎหมาย รวมถึงใช้ในการติดต่อสื่อสารกับลูกศิษย์ บางครั้งผู้เขียนก็แสดงภาพของตนเอง แต่ผู้เขียนได้จัดทำอัลบัมภาพของตนเองไว้ ผู้ที่ได้อ่านเฟชบุคก็จะทราบได้ว่าผู้เขียนเป็นใคร และการที่ผู้เขียนเผยแผ่พระสัทธรรมตามพระไตรปิฎกก็ดี การสอนกฎหมายก็ดี ย่อมไม่เจือสมกับภาพ (เด็กไม่สามารถทำได้) การกระทำดังกล่าว จึงไม่ใช่การแสดงภาพบุคคลอื่นโดยมีเจตนาให้เข้าใจว่าเป็นภาพตน ทั้งผู้เขียนไม่ได้ใช้ภาพต่างๆ ที่แสดงเพื่อประโยชน์ในทางการค้าแต่อย่างใด รวมถึงได้พิจารณาว่าภาพถ่ายนั้นเป็นภาพถ่ายทั่วไป ไม่ใช่ภาพที่ระบุไว้ว่ามีลิขสิทธิ์ เช่นมีลายน้ำ หรือชื่อของผู้ถ่ายภาพระบุไว้  จึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายของผู้อื่น

ติดตามอ่านเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายของผู้อื่น
http://natjar2001law.blogspot.com/2011/07/blog-post_24.html

ประเด็นสำคัญสำหรับบทความนี้ คือ การที่มีบุคคลนำภาพถ่ายบุคคลอื่นมาแสดงในเฟชบุคของตนแล้วนำไปใช้กระทำความผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ เช่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และรัชทายาท จะต้องรับผิดอย่างไรต่อเจ้าของภาพในทางอาญาและทางแพ่งหรือไม่ มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ต้องนำมาพิจารณาเป็นหลักดังนี้

พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

http://www.mof.go.th/contact/19072550.pdf

มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

กรณีมาตรา ๑๖ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฎเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่ผู้กระทำความผิดทำการตัดต่อ หรือดัดแปลงด้วยวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่น (เจ้าของภาพ) เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง มาตรานี้ยังคงมีความไม่ชัดเจนต่อกรณีนี้ ทั้งยังไม่เคยมีคดีตัวอย่างในการใช้บทบัญญัติมาตรานี้ ปัญหาว่า ผู้กระทำความผิด นำภาพถ่ายบุคคลอื่นไปใช้โดยมิได้มีการตัดต่อ และมิใช่เพื่อประโยชน์ในทางการค้า จะมีความผิดหรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่า เมื่อกฎหมายฉบับดังกล่าวมีลักษณะเป็นกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายมหาชนต้องตีความโดยเคร่งครัดจะตีความโดยขยายความเพื่อเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดหรือจำเลยมิได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักทฤษฎีการใช้กฎหมายอาญา อีกทั้ง
เมื่อกฎหมายไม่บัญญัติห้ามโดยชัดแจ้งย่อมไม่มีความผิด ผู้เขียนจึงเห็นว่า พฤติกรรมดังกล่าวไม่ผิดต่อบทบัญญัติมาตรานี้

แต่อย่างไรก็ดี การกระทำของผู้กระทำความผิดย่อมเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติกฎหมายแพ่ง เจ้าของภาพเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ มีสิทธิขัดขวางการใช้ภาพถ่ายของตนเองได้ การที่ผู้กระทำความผิดนำภาพของผู้อื่นไปใช้เพื่อแสดงว่าตนเป็นบุคคลอื่น เจ้าของภาพถ่ายที่แท้จริงย่อมได้รับความเสียหาย เป็นการจงใจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เป็นละเมิด เจ้าของภาพย่อมมีสิทธิฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้ (ถ้าหากตามตัวผู้กระทำความผิดได้) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๒๐

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเพื่อคุ้มครองกรณีการนำภาพของผู้อื่นไปใช้ในทางเสื่อมเสียหรือเสียหายไว้โดยตรง ผู้เขียนเห็นว่า หากต้องการให้ พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ครอบคลุมถึงกรณีนี้ สมควรที่จะแก้ไขกฎหมายโดยเพิ่มเติมกรณีนำภาพถ่ายของผู้อื่นไปใช้ในทางเสื่อมเสียนี้เสียให้ชัดเจนเสีย และตราบเท่าที่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง ภาพถ่ายของท่านจึงอาจถูกนำไปใช้ในทางเสื่อมเสียได้ตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อท่านได้นำภาพถ่ายของตนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แล้ว ในส่วนนี้ต้องพร้อมรับกับความเสียหายด้วยกฎหมายยังไม่สามารถเยียวยาได้ตรงจุดและเข้าถึงการกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อคุ้มครองท่านได้อย่างชัดเจน

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นินทาผู้บังคับบัญชา หรือเจ้านาย ระวังหมิ่นประมาท



บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในสรร​เสริญหรือนินทา

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>​>>>>>>>>>>>

ดูกรอตุละ
การนินทาหรือการสรรเสริญนี้​มีมาแต่
โบราณ มิใช่มีเพียงวันนี้
คนย่อมนินทาแม้ผู้นั่งนิ่ง
แม้ผู้พูดมาก
แม้พูดพอประมาณ
ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
บุรุษผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดี​ยว หรือถูกสรรเสริญโดยส่วนเดีย​ว
ไม่มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีในบัดนี้

http://www.84000.org/tipit​aka/pitaka2/v.php?B=25&A=8​62&Z=894

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิต​ิวุตตกะ-สุตตนิบาต

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

การนินทาผู้บังคับบัญชา หรือเจ้านาย และเพื่อนร่วมงาน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วสำหรับผู้ใต้บังคับ บัญชา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือ ถ้าการนินทานั้น เป็นการนินทาในข้อที่แปลความหมายได้ว่า ผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงานกระทำผิดวินัยข้าราชการ หรือกระทำการอันเป็นการฉ้อราษฎรบังหลวง เบียดบังเวลาราชการโดยไม่เป็นความจริง

จริงอยู่ แม้ในทางธรรมะ ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก แต่ในทางกฎหมาย หาได้ให้สิทธิผู้ใดกล่าวใส่ความ นินทาผู้ใดไม่

มาตรา ๓๒๖ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบความผิดในความผิดฐานหมิ่นประมาท

๑.ใส่ความผู้อื่น

อธิบาย อย่างไรเรียกว่าการใส่ความ
การใส่ความคือการกล่าวคำให้ร้าย ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง ก็ถือว่าเป็นการกล่าวให้ร้าย (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า นินทา) เช่น กล่าวว่า ผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการไม่ค่อยอยู่ปฏิบัติหน้าที่ เดี๋ยวไปโน่นมานี่ มีราชการบ่อย การกล่าวเช่นนั้น ได้กล่าวโดยมีเจตนาใส่ความให้ผู้ฟังเข้าใจว่า ผู้บังคับบัญชาหนีราชการ ทิ้งงานราชการ อันเป็นการบังหลวง (เป็นการกล่าวหาในข้อสำคัญร้ายแรงเมื่อนำสภาพความเป็นข้าราชการระดับหัวหน้าส่วนราชการมาคำนึงประกอบ) ทั้งๆ ที่ความจริงผู้บังคับบัญชาได้รับคำสั่งเป็นหนังสือให้เดินทางเพื่อปฏิบัติราชการนอกหน่วยงาน เช่น ประชุม อบรมฯลฯ เป็นต้น

๒. ใส่ความต่อบุคคลที่สาม
บุคคลที่สามหมายถึง ใครก็ได้ที่ไม่ใช่เรา เช่น การกล่าวนั้นได้กล่าวต่อเพื่อนร่วมงานหรือบุคคลภายนอกหน่วยงาน จึงเป็นการใส่ความต่อบุคคลที่สามแล้ว

๓. ทำให้ผู้ถูกใส่ความนั้นเสียหาย ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ในข้อนี้ เอาความรู้สึกของบุคคลที่สามเป็นหลักว่า เมื่อได้ฟังแล้ว รู้สึกดูหมิ่น ดูถูกหรือเกลียดชังผู้ถูกใส่ความหรือไม่ กรณีดังกล่าว ผู้ฟังจะเข้าใจว่า ผู้บังคับบัญชาละทิ้งงานราชการ ทำให้รู้สึกดูหมิ่นเกลียดชังผู้บังคับบัญชา


ดังนั้น ถ้าสงสัยว่า ผู้บังคับบัญชาไม่อยู่ปฏิบัติราชการในหน่วยงานนั้น ได้เดินทางออกนอกหน่วยงานด้วยเหตุใด มีคำสั่งหรือหนังสือจากผู้บังคับบัญชาในระดับสูงกว่าหรือไม่ ควรที่จะสอบถามจากผู้บังคับบัญชา มิใช่คาดเดาเอาเองแล้วนำความไปกล่าวให้เขาได้รับความเสียหาย นอกจากจะผิดวินัยราชการแล้ว ยังมีความผิดทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาอีกด้วย


การนำภาพถ่ายบุคคลอื่นมาใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

เป็นที่รู้กันดีว่า ระบบอินเตอร์เนตเป็นระบบที่กระจายข่าวสารและข้อมูลต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ไปยังทั่วโลก หลายๆ ท่านจึงมักนำภาพถ่ายสวยๆ รวมถึงภาพถ่ายจำลองต่างๆ รวมถึงภาพถ่ายตัวเจ้าของภาพเอง ออกเผยแพร่ในระบบอินเตอร์เนต เช่น เฟชบุค ปิกาซ่า ฯลฯ ปัญหาว่า การที่มีผู้ชอบใจถูกใจภาพถ่ายต่างๆ แล้วนำไปใช้ประโยชน์ใดๆ ก็ตาม เป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่


ความรู้เบื้องต้นเกียวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ควรทราบก่อนอ่านต่อไป

http://natjar2001law.blogspot.com/2011/03/blog-post_02.html
งานภาพถ่ายเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์(5) งานภาพถ่าย ได้แก่งานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือบันทึกภาพโดยใช้แสงผ่านเลนซ์ไปยังฟิล์มหรือกระจก และล้างด้วยน้ำยาซึ่งมีสูตรเฉพาะหรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันทำให้เกิดภาพขึ้น หรือการบันทึกภาพโดยเครื่องมือหรือวิธีการอย่างอื่น

ใครมีสิทธิในงานลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"ผู้สร้างสรรค์" หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้


ดังนั้น กรณีภาพถ่าย ผู้มีสิทธิในภาพถ่ายคือผู้ถ่ายภาพและหากเป็นการถ่ายภาพบุคคล บุคคลตามภาพนั้นเป็นผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์นั่นเอง (พิจารณาเปรียบเทียบกับ ผู้เขียนและผลงานเขียน ผู้ถ่ายภาพคือผู้เขียน บุคคลตามภาพคือผลงานที่เขียน)

การนำภาพถ่ายของผู้อื่นมาใช้เป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

เช่น นางสาวสุดสวย ได้ถ่ายภาพของตนไว้ แล้วนำขึ้นจัดอัลบัมในเฟชบุค หรือเผยแพร่ในระบบอินเตอร์เนต ต่อมา สถานเสริมความงามสุดแสบ เห็นภาพของนางสาวสุดสวย สวยดี ผิวหน้าเรียบเนียน จึงได้นำภาพของนางสาวสุดสวยมาทำเป็นแผ่นพับโฆษณา หรือนำไปประกอบการโฆษณาสถานเสริมความงามของตนในเว็บไซด์ของตน กรณีดังกล่าวเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นางสาวสุดสวย
แต่อย่างไรก็ดี การนำภาพต่างๆ ที่มีการเผยแพร่ในระบบอินเตอร์เนตมาใช้เพื่อประโยชน์ที่มิใช่ในการแสวงหากำไร เช่น นำภาพมาประกอบกระทู้ธรรมะ ประกอบการเรียนการสอนต่างๆ ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตรา ๓๒ ถึง ๔๓

http://www.lawsiam.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=46

ดังนั้น การนำภาพใดๆ มาใช้ในงานวิชาการ หรืองานใดๆ ที่ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และไม่เป็นการทำให้เจ้าของภาพได้รับความเสียหาย จึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

บทความต่อไป ผู้เขียนจะได้เขียนถึง กรณีนำภาพของผู้อื่นไปใช้เป็นภาพของตน (ในหน้าเพจเฟชบุค) เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าตนเป็นบุคคลนั้นๆ จะมีความผิดตามกฎหมายอย่างไร



วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการลงโทษแบบมหันตโทษในกฎหมายตราสามดวง


ในพระไอยการกระบดศึก ได้บัญญัติลงโทษเหล่ากลุ่มกระบด ซึ่งหมายถึงผู้ที่ขายชาติขายแผ่นดิน เอาใจเข้ากับฝ่ายข้าศึก รวมถึงคิดปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมีโทษหนักเรียกว่ามหันตโทษ และน่ากลัวอยู่ถึง เทวะดึงษกรรมกร ดังนี้

สถาน หนึ่ง ให้ต่อยกระบาลให้ศีรษะแยกออก แล้วเอาคีมคีบก้อนเหล็กที่เผาไฟจนแดงใส่ลงไปให้มันสมองพลุ่งฟูขึ้น

สถาน หนึ่ง ให้ตัดเพียงหนังที่หน้าจดปากจดหูจดคอแล้วให้มุ่นกระหมวดผมเอาไม้ท่อนสอด ใช้คนโยกข้างละคน เอาหนังและผมออกแล้วจึงเอากรวดทรายหยาบขัดกระบาลศีรษะ ชำระให้ขาวสะอาดเหมือนพรรณสีสังข์(คือให้มีสีขาวเหมือนสีของหอยสังข์)

สถาน หนึ่ง เอาขอเกี่ยวปากไว้ แล้วเอาประทีปตามไว้ในปาก หรือไม่ก็เอาสิ่งคมๆแหวะหรือผ่าปากจนถึงใบหูทั้ง2ข้าง แล้วเอาขอเกี่ยวให้อ้าไว้

สถานหนึ่ง ให้เอาผ้าชุบน้ำมัน พันทั้งกายแล้วเอาเพลิงจุด

สถานหนึ่ง ให้เชือดเนื้อเป็นริ้วๆตั้งแต่ใต้คอจนถึงข้อเท้าแล้วผูกเชือกฉุดคร่าตีด่า ให้เดินเลียริ้วเนื้อหนังของตนจนกว่าจะตาย

สถานหนึ่ง ให้เอาห่วงเหล็กสวมข้อศอกข้อเข่า แล้วเอาหลักเหล็กสอดตรึงไว้กับพื้นดิน แล้วเอาเพลิงลนให้รอบจนกว่าจะตาย

สถานหนึ่ง ให้เอาเบ็ดใหญ่ 2 คม เกี่ยวเพิกเนื้อหนังเอ็นใหญ่เอ็นน้อยให้หลุดขาดออกมาจนกว่าจะสิ้นมังสา

สถาน หนึ่ง ให้เอามีดที่มีคมเชือดเนื้อให้ตกออกมาจากกายทีละตำลึงจนกว่าจะสิ้นมังสา

สถาน หนึ่ง ให้แล่และสับฟันทั่วร่างกาย แล้วเอาแปลงหวีชุบน้ำแสบกรีดขุดลอกหนังและเนื้อกับเอ็นเล็กเอ็นน้อยออกให้ สิ้น ให้เหลือแต่กระดูก

สถานหนึ่ง ให้เอาน้ำมันเดือดๆราด รดสาดลงมาแต่ศีรษะ จนกว่าจะตาย

สถานหนึ่ง ให้เอาฝูงสุนัขซึ่งกักขังไว้ให้อดอยาก กัดทึ้งเนื้อหนังร่างกายกินให้เหลือแต่กระดูก

สถานหนึ่ง ให้เอาขวานฝ่าอกทั้งที่เป็นเหมือนแหกโครงเนื้อ

สถานหนึ่ง ให้แทงด้วยหอกทีละน้อยๆ จนกว่าจะตาย

สถานหนึ่ง ให้ขุดหลุมฝังเพียงเอวแล้วเอาฟางปกลงคลอกด้วยเพลิง พอหนังไหม้ก็ให้เอาเหล็กไถให้เป็นริ้วเล็กริ้วใหญ่ ท่อนเล็กท่อนใหญ่

โทษตามพระอัยการกระบดศึกนี้ลางทีจะได้ลงแก่นักโทษถึง ๗ ชั่วโคตร ทั้งโคตรพ่อและโคตรแม่ ซึ่งถือว่าเป็นโทษร้ายแรงมาก

หมายเหตุ ต้นฉบับบันทึกโทษไว้ ๒๑ สถานทั้งมหันตโทษและมิถึงขนาดมหันตโทษดังนี้

ให้ลงโทษกรรมกร ๒๑ สถาน ๆ หนึ่งคือให้ต่อยกระบาน
ศีศะเลิกออกเสียแล้ว เอาคิมคีบก้อนเหลกแดงใหญ่ใส่ลง ให้มันสะหมองศีศะพลุ่งฟูขึ้นดั่งม่อเคี่ยวน้ำส้มพะอูม สถานหนึ่งคือให้ตัดแต่หนังจำระเบื้องหน้า ถึงไพรปากเบื้องบนทังสองข้างเปนกำหนด ถึงหมวกหูทังสองข้างเปนกำหนด ถึงเกลียวฅอชายผมเบื้องหลังเปนกำหนดแล้วให้มุ่นกระหมวดผมเข้าทังสิ้น เอาท่อนไม้สอดเข้าข้างละคนโยกถอนคลอนสั่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายหยาบขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์ สถานหนึ่งคือให้เอาขอเกี่ยวปากให้อ้าไว้แล้วตามประทับไว้ในปาก ไนยหนึ่งเอาปากสิ่วอันคมนั้นแสะแหวะผ่าปากจนหมวกหูทังสองข้าง แล้วเอาฃอเกี่ยวให้อ้าปากไว้ให้โลหิตไหลออกเตมปาก สถานหนึ่งคือเอาผ้าชุ่มน้ำมันพันให้ทั่วกายแล้วเอาเพลิงจุด สถานหนึ่งคือให้เอาผ้าชุบน้ำมันพันนิ้วมือสิ้นทัง ๑๐ นิ้วแล้วเอาเพลิงจุด สถานหนึ่งคือเชือดเนื้อให้เปน อย่าให้ขาดให้เนื่องด้วยหนังตั้งแต่ใต้ฅอลงไปถึงข้อเท้าแล้วเอาเชือกผูกจำให้เดิรเหยียบย่ำริ้ว แห่งตนให้ฉุดคร่าตีจำให้เดิรไปกว่าจะตาย สถานหนึ่งคือเชือดเนื้อให้เนื่องด้วยหนังเปน
แต่ใต้ฅอลงมาถึงเอวแล้วเชือดแต่เอวให้เปน ลงมาถึงข้อเท้า กระทำเนื้อเบื้องบนนั้นให้เปนริ้วตกปกคลุมลงมาเหมือนนุ่งผ้าคากรอง สถานหนึ่งคือเอาหว่งเหลกสวมข้อสอกทังสองข้างข้อเฃ่าทังสองข้างให้หมั้นแล้วเอาหลักเหลกสอดลงในวงเหลกแย่งขึงตรึงลงไว้กับแผ่นดินอย่าให้ไหวตัวได้ แล้วเอาเพลิงลนให้รอบตัวกว่าจะตายสถานหนึ่งคือเอาเบดใหญ่มีคมสองข้างเกี่ยวทั่วกาย เพิกหนังเนื้อแลเอน ให้หลุดขาดออกมากว่าจะตาย สถานหนึ่งคือให้เอามีดที่คมเชือดเนื้อให้ตกออกมาจากกาย แต่ทิละตำลึงกว่าจะสิ้นมังสะ สถานหนึ่งคือให้แล่สับฟันทั่วกายแล้วเอาแปรงหวีชุบน้ำแสบกรีดครูดขุดเซาะหนังแลเนื้อแลเอน ให้ลอกออกมาให้สิ้นให้อยู่แต่ร่างกระดูก สถานหนึ่งคือให้นอนลงโดยข้าง ๆ หนึ่งแล้ว ให้เอาหลาวเหลกตอกลงไปโดยช่องหูให้แน่นกับแผ่นดิน แล้วจับเท้าทังสองหันเวียนไปดังบุทคลทำบังเวียน สถานหนึ่งคือทำมิให้เนื้อพังหนังขาด เอาลูกศีลาบดทุบกระดูกให้แหลกย่อยแล้วรวบผมเข้าทังสิ้น ยกขึ้นหย่อนลงกระทำให้เนื้อเปนกองเปนลอมแล้วพับห่อเนื้อหนังกับทังกระดูกนั้นทอดวางไว้ ทำดั่งตั่งอันทำด้วยฟางซึ่งวางไว้เชดเท้า สถานหนึ่งคือเคี่ยวน้ำมันให้เดือดพลุ่งพล่าน แล้วรดสาดลงมาแต่ศีศะกว่าจะตาย สถานหนึ่งคือให้กักขังสูนักขร้ายทังหลายไว้ ให้อดอาหารหลายวันให้เตมหยาก แล้วปล่อยออกให้กัดทิ้งเนื้อหนังกินให้เหลือแต่ร่างกระดูกเปล่า สถานหนึ่งคือให้เอาขวานผ่าอกทังเปนแหกออกดั่งโครงเนื้อ สถานหนึ่งคือให้แทงด้วยหอกทีละน้อย ๆ กว่าจะตาย สถานหนึ่งคือให้ขุดหลุมฝังเพียงเอวแล้วเอาฟางปกลงคลอกด้วยเพลิงภอหนังไหม แล้วไถด้วยไถเหลกให้เปนท่อน เปนริ้ว สถานหนึ่งคือให้เชือดเนื้อล่ำออกทอดด้วยน้ำมันเหมือนทอดขนมให้กินเนื้อตนเองสถานหนึ่งคือให้ตีด้วยไม้ตะบอง เปนต้น สถานหนึ่งคือให้ทวนด้วยไม้หวายทังหนาม แลโทษทังนี้ควรด้วยสถานใดให้เอาแต่สถานหนึ่ง


คำว่า "ภายใต้บังคับมาตรา..." ศึกษากรณีการเลือกตั้งปี 54




คำว่า "ภายใต้บังคับมาตรา..." นี้ เป็นปัญหาที่ทำให้นักกฎหมายได้รับความปวดหัวในการตีความหรือวินิจฉัยพอสมควร เพราะคำนี้ไม่ได้รับการศึกษาอย่างแตกฉานในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท แต่หากเป็นที่เนติบัณฑิตแล้ว จะได้รับการเรียนการสอนอย่างลึกซึ้ง ด้วยเหตุ ผู้ที่ผ่านการเรียนเนติบัณฑิตส่วนมากจะเข้าสู่การเป็นผู้พิพากษา อัยการ ซึ่งต้องใช้มาตรานี้กันเป็นประจำ ดังนั้น จึงไม่แปลกสำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาเนติบัณฑิต (บางท่าน) จะไม่ค่อยมีความเข้าใจ

มาตรา ๘๘ ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นและมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง ในกรณีที่ผู้สมัครผู้ใดได้รับคะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นหรือไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่เฉพาะตำแหน่งที่ได้รับคะแนนน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้งและให้นำความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับ

ในการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีจำนวนผู้สมัครเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนตำแหน่งที่ต้องเลือกตั้งใหม่ ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และถ้ามีผู้สมัครผู้ใดได้คะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นอีกหรือได้ไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยดำเนินการตามวรรคหนึ่งอีกครั้งหนึ่ง

ในการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสอง ถ้ามีจำนวนผู้สมัครเท่ากับจำนวนที่ต้องเลือกตั้งใหม่ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเรียงตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งตามจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต้องเลือกตั้งใหม่นั้น โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งให้ผู้สมัครเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งภายในระยะเวลาตามมาตรา ๘

ในกรณีที่มีการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามวรรคสอง หากปรากฏว่ามีผู้สมัครน้อยกว่าจำนวนที่ต้องเลือกตั้งใหม่หรือไม่มีผู้สมัคร ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มเติม เพื่อให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบจำนวนและให้นำความในวรรคสองและวรรคสาม และความในส่วนที่ ๕ ผู้สมัครและการสมัครรับเลือกตั้ง ๒. การสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หลักเกณฑ์สำคัญในมาตรา ๘๘
ในกรณีที่ผู้สมัครผู้ใดได้รับคะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นหรือไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่
โดยให้รับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่เฉพาะตำแหน่งที่ได้รับคะแนนน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่มากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้ง

เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์สำคัญตามนี้แล้วจะได้ความว่า ถ้าในเขตเลือกตั้งใด
๑. ผู้สมัครได้รับคะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละยี่สิบของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง หรือ
๒.ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ยังได้คะแนนเสียงไม่มากกว่า (หมายถึงน้อยกว่าและเท่ากับด้วย แต่ถ้ากฎหมายเขียนว่าไม่น้อยกว่า ได้คะแนนเสียงเท่ากับคะแนนเสียงของผู้ไม่ประสงค์ออกเสียงจะไม่อยู่ในบังคับ ยกตัวอย่างเช่น ข้อหนึ่งกฎหมายใช้คำว่า ไม่น้อยกว่า หมายความว่า ถ้าได้คะแนนเสียงเท่ากับร้อยละยี่สิบพอดีไม่ต้องเลือกตั้งใหม่ ส่วนข้อสอง ถ้าได้คะแนนเสียงเท่ากับคะแนนเสียงของผู้โหวตโนก็ยังคงต้องเลือกตั้งใหม่) คะแนนเสียงของผู้ไม่ประสงค์จะออกเสียงเลือกตั้ง (โหวตโน) ต้องมีการเลือกตั้งใหม่

มาตรา ๘๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๘๘ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง แต่ในเขตเลือกตั้งที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเรียงตามลำดับลงมาในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งตามจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น

ปัญหาว่า มาตรา ๘๙ ต้องบังคับเงื่อนไขของจำนวนคะแนนเสียงตามมาตรา ๘๙ หรือไม่
ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติว่า "ภายใต้
บังคับของมาตรา..." ย่อมแสดงว่า มาตรานั้นต้องอยู่ภายใต้บังคับ กล่าวคือ ต้องใช้เงื่อนไขตามมาตราที่บังคับเหนือกว่า ในกรณีนี้ มาตรา ๘๙ ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา ๘๘ ดังนั้น มาตรา ๘๙ ไม่ว่าจะใช้ในกรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งได้คะแนนเสียงกี่คนก็ตาม ก็ยังคงต้องบังคับเงื่อนไขของคะแนนเสียงตามมาตรา ๘๘

และเรื่องนี้เป็นหลักสากลในการพิจารณาข้อกฎหมายมาช้านาน ตัวอย่างเช่น

ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๘
มาตรา 288 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 55 ถ้าบุคคลใด กล่าวอ้างว่าจำเลย หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออก ขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อ ศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้กล่าวอ้างนั้นนำส่งสำเนาคำร้องขอแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษา และจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงาน บังคับคดีโดยลำดับ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำร้องขอเช่นว่านี้ ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทนั้นไว้ในระหว่าง รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลดั่งที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้

มาตรา
55 เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของ บุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้


บทบัญญัติมาตรา ๒๘๘ เป็นเรื่องที่บุคคลมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ศาลปล่อยทรัพย์ที่ยึดได้ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ใครก็จะยื่นคำร้องขอให้ปล่อยได้ จะมีอำนาจยื่นคำร้องก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขในมาตรา ๕๕ เสียก่อน คือจะต้องเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิ หรือมีกฎหมายรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลได้ เช่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ
ดังนั้นผู้ซึ่งไม่มีกรรมสิทธิในทรัพย์ที่ยึดไม่อาจร้องขอต่อศาลให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1823/2493 ว่าประเด็นเรื่องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดมีว่า ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกยึดหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 และ 55 ผู้ใช้สิทธิทางศาลขอให้ปล่อยทรัพย์หาต้องมีกรรมสิทธิ์หรือทรัพยสิทธิในทรัพย์นั้นไม่ ผู้มีส่วนได้เสีย (ซึ่งในคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้คือกรมป่าไม้ผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาไม้หวงห้าม) มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ขอให้ปล่อยไม้หวงห้ามที่ถูกยึดได้

คำพิพากษาฎีกาที่
1824/2493 ก็วินิจฉัยอย่างเดียวกัน โดยถือว่าผู้รับสัมปทานจากรัฐบาลให้มีสิทธิเข้าถือเอาไม้ในป่าตามที่กำหนดไว้ ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้

กล่าวโดยสรุป เสียงโหวตโนยังคงครอบมาถึงมาตรา ๘๙ อย่างไม่ต้องสงสัย