วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเรียกค่าสินไหมฯ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา กรณีศึกษาคดีหมิ่นประมาทออนไลน์

คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เช่นคดีหมิ่นประมาทในอินเตอร์เนต เรียกค่าสินไหมได้เลยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่

เมื่อปรากฎความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ประกอบมาตรา 328 คดีดังกล่าวเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องด้วยคดีอาญา หากเข้าลักษณะเป็นกรณีหมิ่นประมาทตามกฎหมายแพ่ง มาตรา 423

มาตรา 423 ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืน ต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น ก็ดีหรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดย ประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อ ความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อ ความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
ผู้ใดส่งข่าวสาส์นอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเอง หรือผู้รับข่าวสาส์นนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่า เพียงที่ส่งข่าวสาส์นเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหม ทดแทนไม่
ประกอบมาตรา 438
มาตรา 438 ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหาย ต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหาย อันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย

เมื่อพิจารณาได้ความว่า ข้อความที่จำเลยโพสท์ในเนตนั้นไม่เป็นความจริง ไม่ว่าจะเป็นการแกล้งด่าทอด้วยอารมณ์โกรธหรือไม่ก็ตาม แม้ได้กระทำด้วยความสนุกสนานไม่พอใจ เช่นดำโพสท์ข้อความด่าแดงว่า เป็นพ่อค้ายาบ้า ทั้งๆ ที่ทราบว่าไม่จริง เข้าลักษณะตามมาตรา 423 หรือมีการโพสท์ข้อความด่า ผู้หญิงว่าเป็นนางงามตู้กระจก ทั้งๆ ที่ทราบว่าไม่เป็นความจริง เข้าลักษณะตามมาตรา 423 เช่นกัน ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หรืออาญาสินไหม ซึ่งหากพนักงานอัยการเป็นโจทก์แล้ว พนักงานอัยการสามารถขอให้ศาลสั่งเรื่องค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายได้ในคดีอาญาเลย ไม่จำต้องนำมาฟ้องเป็นคดีใหม่ โดยอาศัย ป.วิอาญามาตรา 44 และนอกจากนี้ผู้เสียหายเองยังสามารถเรียกรวมไปกับคดีอาญาได้โดยไม่ต้องผ่านพนักงานอัยการเช่นกัน ตามมาตรา 44/1 โดยต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน โดยหลักควรยื่นคำร้องในนัดแรกที่มีการพิจารณาคดี หากไม่มีการสืบพยานด้วยจำเลยรับสารภาพ ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนศาลมีคำวิินิจฉัยพิพากษาคดี (ควรเตรียมคำร้องไปให้เรียบร้อยในนัดแรก)

มาตรา 44 การเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนตาม มาตรา ก่อนพนักงาน อัยการจะขอรวมไปกับคดีอาญาหรือจะยื่นคำร้องในระยะใดระหว่าง ที่คดีอาญากำลังพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นก็ได้
คำพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคา ให้รวมเป็นส่วนหนึ่ง แห่งคำพิพากษาในคดีอาญา

มาตรา 44/1 ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทด แทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยให้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่น คำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้อง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งและผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหาย และจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคำร้องนั้นยังขาด สาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้อง แก้ไขคำร้องให้ชัดเจนก็ได้
คำร้องตามวรรคหนึ่ง จะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังตับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอัน เนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้ และต้องไม่ขัดขืนหรือแย้ง กับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงงานอัยการได้ดำเนินการตามความใน มาตรา 43 แล้ว ผู้เสียหายจำยื่นคำรืองตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์อีกไม่ได้

กฎหมายนี้ เอื้อประโยชน์แก่ผู้เสียหาย ให้สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ โดยไม่ต้องรอผลคดีอาญาเพื่อนำไปฟ้องเป็นคดีละเมิด อีกทั้งไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม

ตัวอย่างคำร้องขอ (ขอแบบฟอร์มได้ที่ศาล แล้วนำมาเขียนข้อความตามนี้ )

ข้อ ๑ .คดีนี้ศาลได้โปรดมีคำสั่ง นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ ............ เวลา ...... น. ดังความแจ้งแล้วนั้น
ข้อ ๒. ผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในคดีนี้โดยตรง และเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ผู้ร้องมีความประสงค์จะขอเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำความผิดของจำเลยอันเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหายทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายดังนี้
๒.๑ ค่ารักษาพยาบาลอันได้แก่ค่าผ่าตัดและทำศัลยกรรมในเป็นจำนวนเงิน............. บาท รายละเอียดปรากฎตามเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๑ (ถ่ายเอกสารใบเสร็จรับรองสำเนาถูกต้องติดกับ 40 ก.)
๒.๒.ค่าทำศัลยกรรมจากแพทย์ผู้ชำนาญ..... ครั้ง เป็นจำนานเงิน ............ บาท
๒.๓.ค่าสินไหมทดแทนกรณี....(ทุพลภาพเช่นดวงตาบอดสนิทเสียแขน เสียขา เสียโฉมอย่างติดตัว) ไปตลอดชีวิตเป็น จำนวนเงิน ..........บาท
รวมเป็นเงินค่าสินไหมทดแทนทั้งสิ้น............................................................................................. บาท

ดังนั้นผู้ร้องจึงขอประทานกราบเรียนต่อศาลขอศาลได้โปรดบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้องด้วย


ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ลงชื่อ........................................................... ผู้ร้อง
คำร้องฉบับนี้ข้าพเจ้านาย/นางสาว....................................ทนายความผู้ร้องเป็นผู้เรียง/เขียน
ลงชื่อ...........................................................ผู้เรียง /เขียน


ในกรณีหมินประมาท ความเสียหายได้แก่ชื่อเสียง หากผูู้ถูกหมิ่นประมาทเป็นผู้มีชื่อเสียงมาก ความเสียหายก็มาก หรือหากผู้ถูกหมิ่นประมาทเป็นผู้มีผู้คนยอมรับนับถือมาก ความเสียหายก็มาก (กรณีด่าครูบาอาจารย์ว่าเป็นนางงามตู้กระจก เสียหายมาก) ให้เปลี่ยนข้อ 2.1 เป็น

ข้อ ๒. ผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในคดีนี้โดยตรง และเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ผู้ร้องมีความประสงค์จะขอเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำความผิดของจำเลยอันเป็นการละเมิดต่อผู้เสียหายทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายดังนี้
๒.๑ ค่าสินไหมทดแทนกรณีที่ผู้ร้องเสื่อมเสียชื่อเสียง อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาเงินได้จำนวน .......... บาท
๒.๒ ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นได้แก่ (หากผู้ร้องต้องถูกสั่งพักงาน เลิกจ้าง หรืออะไรก็ตามที่มีผลกระทบต่อรายได้) เป็นจำนวน..............บาท
๒.๓ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์รายวันจำนวน ..........ฉบับ และเป็นเวลาทั้งสิ้น..........วัน โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ซึ่งในข้อนี้ศาลไม่น่าจะให้ เพราะติดที่วรรคท้าย แต่ก็ลองขอไป ไม่ให้ก็ไม่มีอะไรเสียหายแก่ตัวผู้ขอเลย)

ดังนั้นผู้ร้องจึงขอประทานกราบเรียนต่อศาลขอศาลได้โปรดบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้องด้วย


ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ลงชื่อ........................................................... ผู้ร้อง
คำร้องฉบับนี้ข้าพเจ้านาย/นางสาว....................................ทนายความผู้ร้องเป็นผู้เรียง/เขียน
ลงชื่อ...........................................................ผู้เรียง /เขียน

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เล่นงานพวกโพสท์คำหยาบในเนตอย่างไรให้เข็ด

เนื่องจากการโพสท์คำหยาบคายทางอินเตอร์เนตเป็นความผิดฐานลามกตามมาตรา

มาตรา ๓๘๘ ผู้ใดกระทำการอันควรขายหน้า ต่อหน้าธารกำนัล โดยเปลือย หรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

จากองค์ประกอบความผิด จะเห็นได้ว่า่ คดีนี้เป็นความผิดต่อแผ่นดิน ในลักษณะความผิดลหุโทษที่รัฐเป็นผู้เสียหาย เจ้าพนักงานจึงสามารถดำเนินคดีได้เอง

กรณี คุณ pantakongmha มีการโพสท์ข้อความเป็นร้อยข้อความที่มีถ้อยคำลามกอนาจาร หากนำข้อความดังกล่าวไปกล่าวโทษยังสถานีตำรวจทั่วประเทศไทย เหนือ ใต้ หรือเฉพาะแค่ในกรุงเทพทุกโรงพัก เพียงสถานีละหนึ่งข้อความ เท่ากับผู้คุณ pantakongmha ต้องเดินทางไปจ่ายค่าปรับทั่วประเทศไทย หรือทั่วกรุงเทพ หากเป็นจังหวัดเดียวกัน และพนักงานสอบสวนนัดห่างกันโรงพักละหนึ่งสัปดาห์ คุณ pantakongmha ไม่ต้องทำมาหากินตายแน่ๆ จ่ายค่าปรับข้อความละห้าร้อย รวมเป็นเงินค่าปรับร้อยข้อความ ห้าหมื่นบาทไม่รวมค่าเดินทาง

เห็นตัวอย่างหรือยังว่า การโพสท์ข้อความหยาบคาย อย่าสะใจแค่ปลายนิ้ว อย่าเอามันส์เพียงเพราะคิดว่า ไม่มีใครรู้ว่าเราเป็นใคร ปัจจุบันผู้เขียนสามารถตามตัวคุณ pantakongmha ได้แล้ว ทั้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และเครือข่ายอินเตอร์เนตที่ใช้ และพบว่าเป็นผู้มีหน้าตาในสมาคมผู้ปกครองโรงเรียนแห่งหนึ่งแถวรามคำแหง สังคมรู้เข้าจะอับอายแค่ไหน ลองอ่านสำนวนหยาบคายของคุณ pantakongmha ได้ที่นี่




ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่ค่ะ

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การดำเนินคดีกับผู้โพสท์ข้อความลามก ทำได้ทั่วประเทศ

ในกรณีความผิดฐานกระทำการอันเป็นการลามก ตาม ปอ. ม. 388
มาตรา ๓๘๘ ผู้ใดกระทำการอันควรขายหน้า ต่อหน้าธารกำนัล โดยเปลือย หรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

โดยโพสท์ข้อความลามกเผยแพร่ในระบบอินเตอร์เนตนั้น สามารถร้องทุกข์กล่าวโทษได้หลายท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาต้องลำบากในการเดินทางไปเพื่อรับข้อกล่าวหาและเข้าสู่กระบวนการสอบสวนจนถึงกระบวนการยุติธรรม โดยมีหลักกฎหมายสนับสนุนดังนี้

เขตอำนาจสอบสวนตาม ป.วิอาญามาตรา 18

มาตรา 18 ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัด ธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และ ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่า นายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้

สำหรับในจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี ให้ข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหา มีที่อยู่ หรือถูกจับ ภายในเขตอำนาจ ของตนได้

ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน มาตรา 19 มาตรา 20 และ มาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดย ปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้น เป็นผู้รับผิดชอบในการ สอบสวนความผิดนั้น ๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือ เพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่ อยู่หรือถูกจับ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน

ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคน การดำเนินการ สอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้า ในท้องที่นั้นหรือผู้รักษาการแทน

ปัญหาที่จะต้องนำมาทำความเข้าใจ คือ คำว่า ความผิดที่ เกิด อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดนั้นคืออะไร

ในการจะทราบเรื่องความผิด เกิด อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดนั้น เราจะต้องพิจารณาเสียก่อนว่าจะมีการฟ้องร้องดำเนินคดี กันในข้อหาใด เช่น หากคดีที่ต้องการดำเนินคดีเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ท้องที่ที่ทรัพย์นั้นถูกลักไปเป็นท้องที่ที่ความผิดเกิด เช่น
นายดำ มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดอยุธยา แต่มาทำงานที่บ้านนายแดงที่กรุงเทพ เขตบางเขน แล้วได้ลักเอาทรัพย์จากบ้านนายแดงไป ดังนั้น สน.บางเขนจึงเป็นสถานีตำรวจที่มีเขตอำนาจการสอบสวน นายตำรวจดังกล่าว (ร้อยเวร) สามารถดำเนินการสอบสวนได้

หากความผิดที่จะดำเนินคดีเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา เช่น
นายดำมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดธนบุรี ล่อลวง ด.ญ.แดง จากห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งย่านบางนา ไปข่มขืนกระทำชำเราที่โรงแรมย่านดอนเมือง ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราจึงเกิดในเขต สน.ดอนเมือง สน.ดอนเมืองมีอำนาจวินิจฉัย

ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น เช่น
ดำ ให้แดงดื่มยาพิษที่บ้านของแดงซึ่งอยู่ในเขต สน.ดอนเมือง ต่อมา แดงถูกนำส่งโรงพยาบาลประชาชื่น ในเขต สน.ประชาชื่น แล้วถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาล สน.ประชาชื่นไม่มีอำนาจสอบสวน เพราะการถึงแก่ความตายนั้นเป็นผลของความผิด มิใช่ท้องที่ที่ความผิดเกิด หากแต่ สน.ดอนเมืองอันเป็นสถานที่ที่วางยาพิษต่างหากเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิด สน.ดอนเมืองจึงมีอำนาจสอบสวน
เป็นไปได้หรือไม่ที่ความผิดหนึ่ง จะเกิดขึ้นได้ในหลายท้องที่ ขอตอบว่าเป็นไปได้ เช่น

ความผิดฐานกระทำการลามก โดยโพสท์ข้อความลามกเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเตอร์เนต ที่เผยแพร่ไปทั่วประเทศด้วย ทุกจังหวัดและทุกสถานีตำรวจทั่วประเทศไทย จึงเป็นสถานีตำรวจที่มีเขตอำนาจสอบสวน


ทั้งนี้การเข้ารับการสอบสวนไม่ต้องมีผู้เสียหายหรือเจ้าทุกข์แต่อย่างใด เพราะความผิดนี้เป็นความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหายและเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ดังนั้น ผู้แจ้งความกล่าวโทษจึงไม่มีภาระอย่างใดๆ เลยในการดำเนินคดี เพียงแค่ ส่งกระทู้ หรือหลักฐานการโพสท์ข้อความลามกไปยังเจ้าพนักงานตำรวจ เจ้าพนักงานตำรวจจะสามารถดำเนินคดีได้ทันที แต่ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องเดินทางไปพบพนักงานสอบสวนทั่่วราชอาณาจักร แล้วแต่ท้องที่ที่รับเรื่องราวดังกล่าวไว้ทำการสอบสวน


แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การโพสท์คำลามกในเนต ติดคุกได้


การโพสต์ถ้อยคำลามกหยาบคายในเนต ผิดอาญา

ผู้เขียนเป็นสมาชิกเว็บบอร์ดสนุกการเมือง จากการท่องเว็บบอร์ด ผู้เขียนพบว่ามีการกล่าวถ้อยคำด่าทอกันอย่างหยาบคาย ลามก และสื่อความมุ่งหมายในทางเพศ เช่น ลูกกระหรี่ออทิสติก นมยาน อยากกินกล้วย ผู้เขียนขอนำกรณีศึกษาจากสมาชิกท่านหนึ่งใช้นามแฝงว่า pantakongmha มาแสดงเป็นตัวอย่าง ซึ่งจริงๆ แล้วมีอีกมาก หากเข้าไปในกูเกิ้ลแล้วพิมพ์คำว่า ความเห้นล่าสุดของ pantakongmha จะมาหมดเยอะมาก เป็นร้อยๆ ความเห็น

เอ้าสมาชิก Red Club.....ทั้งหลาย อย่าลืมไปดู E บ้ามันนินทาข้ามบอร์ดด้วยก็แล้วกันนะครับ พี่น้อง.....นี่ขนาดไม่ได้พยายามจะเข้าไปเกี่ยวข้อง..นังชะนีตัวนี้ ก็พยายามที่จะมาขอกินกล้วย...กะผมตลอดเวลา ดูท่ามันจะบ้าข้ามปีแน่ ๆ....สงสัยจะแล้งน้ำหรือขาดฮอร์โมน เกิน...เดือนแหง ๆ ถึงชอบแส่ และสอด ตอดใส่ไปแทบจะทุกกระทู้...นี่ก็ถือโอกาสสุมหัวอีกแล้วเสือ.....ไม่เลือกแบบนี้ มิน่า....ถึงหากล้วยกินไม่ค่อยจะได้...อดอยากปากแห้ง...แหมเอาธรรมะขึ้นมาบังหน้า...ที่แท้ก็สันดานก็ไม่ต่างจากหมาข้างบ้านผมเลย....กัดไม่เลือ...ก เพราะคนเขาไม่ให้ความสนใจ..ถึงจบไม่
ค่อยเป็น....น่าเห็นใจนะ โรคจิตชัด ๆ.....นังชะนีนี่ สงสัยต้องหาไม่กวาด
หรือสากไปให้ขี่...แก้คัน??? จริงไหมครับพี่น้อง....เฮ้อกรูละเบื่อจริงจริ๊ง
พยายามไม่ยุ่งกะมัน มันก็ยังดันอยากจะยุ่งกะเรา...สงสัยอยากมากกกก..

ธรรม....ไม่ได้ช่วยให้อะไรมันดีขึ้นเลย??? จิตต่ำอาฆาตแรงส์.....
ผมว่าท่านประธานก็คงจะทราบดี....ว่าอะไรเป็นอะไร?? โดยเฉพาะอ้าย
จอมยุทธชุดขาวหน้าตัวเมีย....ชอบนินทาลับหลัง....สงสัยจะตุ๊ดแหง ๆ
เห็นเอาเรื่องไปฟ้องแม่....เรื่องนาธาน...น่าสงสารจังวุ๊ย????


เอ?? เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ผมจะบาปไหมเนี่ย...ที่ไปตอแยกับยัยโรคจิต?
ที่มันคิดเอาหลงตัวเอง...ใครหนอที่ยากจะไปยุ่งด้วย ขอร้องช่วยไปไกล ๆ
แบบต่างคนต่างอยู่ก็น่าจะดีอะนะ แต่ถ้าทางคงจะยากส์หากเป็นีคนโรคจิต?

ขอไปตั้งสติก่อนสักอาทิตย์เด้อ พี่น้อง.....กลัวจุกย้อย ๆ โผล่

เมื่อพิจารณาดูข้อความดังกล่าว วิญญูชนทั่วไป จะเห็นได้ทันทีว่าเป็นการใช้ถ้อยคำลามกอนาจาร และหยาบคายในที่สาธารณะ ซึ่งระบบเว็บบอร์ดนั้นถือเป็นที่สาธารณะ เพราะมีการเผยแพร่ในระบบอินเตอร์เนตทั่วโลก การโพสท์ข้อความดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา หนึ่งข้อความต่อหนึ่งกรรม หากมีถ้อยคำหยาบคายมากข้อความ ก็หลายกรรม
มาตรา ๓๘๘ ผู้ใดกระทำการอันควรขายหน้า ต่อหน้าธารกำนัล โดยเปลือย หรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาทข้อสังเกตประการแรก คำว่า “การอันควรขายหน้า” นั้น ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า คือเป็นที่อับอายแก่ผู้พบเห็น ไม่จำกัดเฉพาะที่เกี่ยวกับความใคร่หรือทางเพศเท่านั้น แต่จำกัดเฉพาะเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย เช่น แต่งกายชุดประกวดนางงาม หรือว่ายน้ำ มาเดินซื้อของในตลาดนัดสนามหลวง เป็นความผิดฐานนี้
ศาสตราจารย์หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า “การเปิดเผยร่างกาย” นั้น หมายความว่า เฉพาะอวัยวะที่ควรปกปิด เช่นของลับ ถ้าเป็นกรณีหญิงเปิดหน้าอก ต้องดูจารีตประเพณีและอายุ เช่น มารดาเปิดนมให้ลูกกิน ต้องถือว่าไม่ผิด แต่ถ้าเข้าไปเปิดนมเป็นการแสดงในไนต์คลับก็เป็นความผิด

ข้อสังเกตประการที่สอง คำว่า “ธารกำนัล” คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๗๐/๒๔๘๒, ๑๒๓๑/๒๔๘๒ วินิจฉัยว่า หมายความถึง การกระทำที่ประชาชนเห็นได้ คำว่า “กระทำการลามกอย่างอื่น” ตามมาตรา ๓๘๘ คำ
พิพากษาฎีกาที่ ๑๐๖๙/๒๕๐๖ วินิจฉัยว่า ไม่ได้หมายความเฉพาะเกี่ยวกับร่างกายเท่านั้น หมายถึง วาจาด้วย จำเลยกล่าวคำว่า หยิกแก้มโคตรแม่คุณครับต่อหน้าธารกำนัลเป็นความผิดตามมาตรานี้ด้วย

โดยท่านอาจารย์สถิตย์ ไพเราะ
ฎ 1069/2506 เย็ดโคตรแม่มึง เป็นความผิดตามมาตรานี้
ฎ 699/2490 เจ้าหน้าที่หัวควย เป็นความผิดตามมาตรานี้
นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมสนทนา อาจจะมีความผิดฐานตัวการร่วม ได้ หากไปอ้างอิงความเห็นหยาบคายนั้นมาแสดงความชอบใจ
ปัญหาต้องพิจารณาต่อไปว่า การที่บอร์ดสนุกการเมืองปล่อยให้สมาชิกใช้ถ้อยคำหยาบคาย เรียกขานกลุ่มคนทางการเมืองว่า เหลืองขี้ แดงเมนส์นั้น โดยไม่มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด ทางเว็บไซด์จะมีความผิดด้วยหรือไม่ เป็นข้อน่าพิจารณา



วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กฎหมายแพ่งว่าด้วยบุคคล 4 การสิ้นสภาพบุคคล

การสิ้นสภาพบุคคล

มาตรา 15

สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก สิ้นสุดลงเมื่อตาย

การสิ้นสภาพบุคคลโดยการตายแบ่งออกเป็น 2 กรณี

1. กรณีตายธรรมดา คือ ตายจริง ๆ เป็นการสิ้นสภาพบุคคลอย่างถาวร

1. การตายโดยผลของกฎหมาย คือ การสาบสูญ

ทำไมต้องศึกษาเรื่องความตาย

การตายเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งสิ้นสุดสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ และการตายของบุคคลหนึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดสิทธิแก่บุคคลอื่นได้

ก. การจ้างแรงงานซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่ตัวนายจ้าง ย่อมระงับไปด้วยมรณะแห่งนายจ้าง (584)

ข. ยืมใช้คงรูป ย่อมระงับไปด้วยมรณะแห่งผู้ยืม (648)

ค. สัญญาตัวแทนย่อมระงับไปเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย (826)

ง. ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งตาย (1055(5))

จ. สิทธิอาศัยสิ้นเมื่อผู้ได้สิทธิตาย (สิทธิอาศัยนั้นจะโอนมิได้แม้โดยทางมรดก (1404))

ฉ. ผู้ทรงสิทธิเก็บกินถึงแก่ความตาย สิทธินั้นย่อมสิ้นไปเสมอ (1418)

ช. การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย (1501)

ซ. ความปกครองสิ้นสุดเมื่อผู้อยู่ในปกครองตาย (1598/6)

ฌ. ความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลงเมื่อผู้ปกครองตาย (1598/7)

ญ. เมื่อบุคคลใดตายมรดกตกแก่ทายาท (1599)

การตายเป็นเหตุให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ ตาม ป.วิอาญา 39 (1)

โทษระงับเมื่อผู้กระทำความผิดตาย ปอ. ม. 38

ทำไมต้องศึกษาเรื่องเวลาตาย

มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องรู้เวลาตาย หรือรู้ว่าใครตายก่อนตายหลังใคร กรณีนี้มักเกิดขึ้นในการตายหมู่ เมื่อมีผู้พบเหตุปรากฎว่าคนตายกันหมดแล้ว เราต้องรู้ว่าใครตายก่อนใครเพราะมีผลในการจัดสรรทรัพย์มรดก เช่น นายดำและนางแดงเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรด้วยกันคือ นายเอ และ นางสาวหนึ่ง ซึ่งนายเอจดทะเบียนสมรสกับ นางบี และมีบุตรด้วยกันคืน ด.ช. ซี ปรากฎว่า นายดำ นางแดง นายเอ เดินทางไปต่างจังหวัดด้วยกันประสบอุบัติเหตุรถคว่ำตายนายดำและนายเอถึงแก่ความตาย ปัญหาว่ามรดกของนายดำและนางแดง จะตกได้แก่ใคร

ถ้าปรากฎว่านายดำตายคนแรก มรดก ก็ตกได้แก่นางแดง นายเอ และนางสาวหนึ่ง

ทันทีที่นายดำตาย สมมุติว่านายดำมีมรดก 3 ล้านบาท ก็ตกแก่นางแดง นายเอ และนางสาวหนึ่งคนละ 1 ล้านบาท ต่อมานายเอตายตามนายดำไป มรดกส่วนที่นายเอได้รับมา 1 ล้านบาทเป็นทรัพย์สินของนายเอ จะตกได้แก่ทายาทของนายเอ คือนางบี และ ด.ช.ซี คนละ 5 แสนบาท

แต่ถ้าปรากฎว่านายเอตายก่อนนายดำ นายเอก็จะไม่ได้รับมรดกของนายดำ ดังนั้นถ้าต่อมานายดำตาย เงิน 3 ล้านก็จะได้แก่ นางแดงและนางสาวหนึ่ง และ ด.ช.ซี (โดยการรับมรดกแทนทีนายเอ) คนละ 1 ล้านบาท ซึ่งกรณีนี้ นางบีจะไม่ได้รับส่วนแบ่ง แต่ด.ช. ซีจะได้ไปคนเดียว 1 ล้านบาท

ในขณะเดียวกันทรัพย์สินในส่วนของนายเอ ก็ต้องนำมาแบ่งให้ทายาทคือนายดำ นางแดง นางบี และด.ช.ซี สมมุติว่านายเอมีทรัพย์สิน 4 ล้านบาท ก็ต้องแบ่งกันคนละ 1 ล้านบาท ต่อมานายดำตาย ทรัพย์สินของนายดำเดิมมี 3 ล้านรวมกับส่วนของนายบีอีก 1 ล้านก็กลายเป็น 4 ล้าน เมื่อนายดำตายแล้วจึงจะตกได้แก่นางแดง นางสาวหนึ่ง และด.ช. ซี (โดยการรับมรดกแทนที)

ดังนี้คือความสำคัญของลำดับแห่งการตาย ทำการศึกษากันต่อว่าถ้าเราไม่รู้ว่าใครตายก่อนตายหลังจะทำยังไง กรณีนี้กฎหมายหาทางออกไว้ให้ในมาตรา 17

มาตรา 17 ในกรณีบุคคลหลายคนตายในเหตุภยันตรายร่วมกัน ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะกำหนดได้ว่าคนไหนตายก่อนหลัง ให้ถือว่าตายพร้อมกัน

จากตัวอย่างเดิม ถ้าเราไม่รู้ว่านายดำกับนายเอใครตายก่อนกัน ก็ต้องถือว่าตายพร้อมกัน ดังนั้น มรดกของใครก็แบ่งของมันไป ของนายดำก็ได้แก่นางแดง นางสาวหนึ่ง

เด็กชายซีจะไม่สามารถรับมรดกแทนที่ได้ เพราะไม่ใช่กรณี ทายาทตาม 1629 (1) ตายก่อนเจ้ามรดก (ดูหลักเรื่องรับมรดกแทนที่ 1639) ส่วนมรดกของนายเอ ก็ได้แก่นางบี และเด็กชายซี

ข้อควรระวัง มาตรา 17 นี้จะนำมาใช้ได้ต่อเมื่อบุคคลหลายคนตายในเหตุภยันตรายร่วมกัน เช่น รถสองคันชนกัน คนขับรถตายทั้งสองคัน ดังนี้แม้อยู่คนละคันก็ถือว่าเป็นภยันตรายร่วมกัน และต้องเป็นการพ้นวิสัยคือไม่สามารถรู้ได้หรือตรวจสอบได้แน่นอนว่าใครตายก่อนหรือตายหลัง ดังนี้ถ้าไม่ใช่เหตุภยันตรายร่วมกัน หรือ สามารถรู้ได้ว่าใครตายก่อนตายหลังจะนำมาตรา 17 มาใช้วินิจฉัยไม่ได้

กฎหมายแพ่งว่าด้วยบุคคล 3 การนับอายุของบุคคล

เหตุที่ต้องรู้อายุของบุคคลก็เพราะกฎหมายแพ่งได้กำหนดเรื่องความสามารถในการทำนิติกรรมไว้ โดยบัญญัติให้ผู้ที่บรรลุนิติภาวะเท่านั้นสามารถทำนิติกรรมได้โดยสมบูรณ์ ซึ่งบุคคลจะบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
หรือในทางอาญา อายุของบุคคลมีความสำคัญในการกำหนดโทษหรือความรับผิดทางอาญา เช่น
- เด็กอายุไม่เกิน 10 ปี กระทำความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ (ม. 73)
- เด็กอายุกว่า 10 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี กระทำความผิดเด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลดำเนินการบางอย่างเพื่อตักเตือน ควบคุมความประพฤติ (ม. 74)
- ผู้มีอายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี กระทำความผิด ศาลจะลงโทษหรือไม่ก็ได้ ถ้าเห็นสมควรลงโทษก็ให้ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง (ม.75)
- ผู้มีอายุกว่า 18 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กระทำความผิด ศาลจะลดโทษให้หรือไม่ก็ได้ ถ้าลดก็ให้ลดลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่ง (ม. 76)
หรือในการกำหนดขอบอำนาจศาล วิธีพิจารณาคดีเด็ก ม. 4 โดยกำหนดว่า เด็กคือผู้ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี บริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 14 เยาวชนคือผู้มีอายุเกิน 14 แต่ไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ เมื่อกระทำความผิด ต้องพิจารณาคดีนั้นยังศาลเยาวชนและครอบครัว
ดังนั้นจึงถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้อายุของบุคคล แต่หากว่าเราไม่สามารถ
รู้วันเดือนปีเกิด ของบุคคลที่แน่นอนแล้วเราจะคำนวนอายุของเขาอย่างไร
มาตรา 16 การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ในกรณีที่รู้ว่าเกิดในเดือนใดแต่ไม่รู้วันเกิด ให้นับวันที่หนึ่งแห่งเดือนนั้นเป็นวันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใด ให้นับอายุบุคคลนั้นตั้งแต่วันต้นปีปฏิทิน ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด
เช่น เด็กหญิงแอม เกิดวันที่ 17 กันยายน 2536 ดังนี้ เด็กหญิงแอมจะอายุครบ 20 ปีในวันที่ 16 กันยายน 2556
แต่ถ้าเราไม่รู้วัน เดือน ปี ที่แน่นอน กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้
1. กรณีไม่รู้วันเกิดแต่รู้เดือนเกิดและปีเกิด เช่น รู้ว่าเด็กหญิงแอมเกิดเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 กฎหมายกำหนดให้เด็กหญิงแอม เกิดวันที่ 1 กันยายน 2536 (วันที่หนึ่งแห่งเดือนนั้นเป็นวันเกิด) เด็กหญิงแอมจะอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 31  สิงหาคม 2556
2. กรณีไม่รู้วันและเดือนเกิดแต่รู้ปีเกิด เช่น รู้ว่าเด็กหญิงแอมเกิดปี 2536 กฎหมายกำหนดให้เด็กหญิงแอมเกิดวันที่ 1 มกราคม 2536 (วันต้นปีปฏิทินที่บุคคลนั้นเกิด) ดังนั้นเด็กหญิงแอมจะมีอายุครบ 20 ปี วันที่ 31 ธันวาคม 2555
3. กรณีไม่รู้วัน เดือน และปีเกิดเลย อันนี้ไม่ค่อยเกิด จากประวัติศาสตร์เคยเกิดขึ้นเหมือนกันในปี 2464 เป็นการตัดสินตามคำพิพากษาฎีกาที่ 489/2464 โดยสอบถามผู้ใกล้ชิดว่าน่าจะเกิดในปีใด หรือถ้าในสมัยนี้อาจตรวจสอบทางการแพทย์ได้ เมื่อทราบแล้วว่าเกิดในปีใด จึงค่อยปรับตาม ข้อ 2


คำพิพากษาฎีกาที่ 7841/2552

พนักงานอัยการจังหวัดกระบี่
โจทก์
นายประวิทย์หรือส้อแหละ งานแข็ง กับพวก
จำเลย




ป.พ.พ. มาตรา 16 บัญญัติว่า การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532 จึงต้องนับอายุแต่วันเกิดคือนับแต่วันที่ 5 มีนาคม 2532 เป็นหนึ่งวันเต็ม ผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/5 คดีได้ความว่า เหตุเกิดวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ดังนั้นขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์แล้ว กรณีจึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 และ 317

กฎหมายสิบหกหลังคาเรือนกับคำให้สัมภาษณ์ของ อ. สุขุม นวลสกุล

จากคำให้สัมภาษณ์ของ อ.สุขุม นวลสกุล ที่ปรากฎอยู่ตามลิงค์นี้



จากคำสัมภาษณ์ในส่วนนี้

Q : อย่างคนที่เขาเห็นด้วยกับคำวินิจฉัย เขาบอกว่าคำวินิจฉัยของศาลเคลียร์แล้ว อาจารย์มองอย่างนั้นหรือไม่

A : ไม่เคลียร์ เพราะตอนแรกบอกว่าเรื่อง 15 วัน พอดูคำวินิจฉัยส่วนตนมันไม่ใช่นี่ มันเป็นเรื่องของการไม่ครบกระบวนการ แต่วันนั้นที่ประกาศออกมาในคดี แต่คดีที่ 2 นี่เคลียร์ (หมายถึงคดี 258 ล้าน) วันนั้น 1 คนที่พูดถึงเงื่อนไข 15 วัน แต่ที่เหลือไม่ได้พูดถึงแต่มันออกมาเป็นคำวินิจฉัยกลาง เนี่ยมันก็ไม่เคลียร์วันนั้น แต่ว่าเคลียร์ที่ว่ามันไม่ยุบ แต่วันแรกที่คำวินิจฉัยกลางออกมา มันไม่ใช่นี่ นั่นมัน 1 ใน 4

ด้วยความเคารพต่อความเห็นของท่าน
ในเรื่องเงื่อนไขเวลา
15 วันนั้น เป็นเรื่องของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด กฎหมายกำหนดให้ยื่นภายในสิบห้าวัน ซึ่งศาลได้เขียนคำวินิจฉัยในส่วนนี้ชัดเจนแล้ว เรื่องของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศิลธรรมอันดีของประชาชน

คำวินิจฉัยในสองคดี ต่างเป็นการวินิจฉัยด้วยหลักกฎหมายที่ว่า ไม่ปฏิบัติตาม

ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับกรณีเงิน 29 ล้านนั่นเอง เพียงแต่ กรณีเงิน 29 ล้านนั้น เป็นเรื่องของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนในเรื่องระยะเวลา แต่กรณีเป็นกรณีไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ เรื่องใดที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องทำตามขั้นตอนก็ต้องทำตามขั้นตอน คดีเงิน 29 ล หรือ 258 ล้านก็มีขั้นตอนตามมาตรา 93 และ 95 ให้ทำ หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบและศิลธรรมอันดีของประชาชน

กรณีนี้ขั้นตอนตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 95 พรบ.พรรคการเมือง คือ เมื่อปรากฏตอนายทะเบียน หรือเมื่อนายทะเบียนไดรับแจงจากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและไดตรวจสอบแลวเห็นวาพรรคการเมืองใดกระทําการตามมาตรา ๙๔ ใหนายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแจงตออัยการสูงสุด พรอมดวยหลักฐาน

ดังนั้น นายทะเบียนต้องขอความเห็นชอบในความเห็นของตน เช่นนายทะเบียนเห็นว่าผิด ต้องขอให้กกต.รับรองความเห็นแล้วส่งความเห็นพร้อมหลักฐานไปยังอัยการสูงสุด กกต.มีหน้าที่เห็นตามนายทะเบียน ไม่มีหน้าที่เห็นเอง (เห็นตามหมายความว่า ให้เขาเป็นผู้เห็นก่อน แล้วค่อยเห็นตามเขา เห็นตามไม่ใช่เห็นด้วย ซึ่งอาจจะไม่เห็นด้วยก็ได้ นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) การเห็นนี้เป็นอำนาจของนายทะเบียนไม่ใช่อำนาจของกกต. ดังนั้น กระบวนการทั้งหมดจึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย ที่กฎหมายได้บัญญัติไว้


Q : เห็นด้วยกับที่บางคนบอกหรือไม่ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะ “ตัวกฎหมาย”

A : ไม่ทราบ...ผมไม่ค่อยแม่นเรื่องกฎหมาย แต่ผมไม่เห็นด้วยกับกฎหมายยุบพรรคแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพราะว่าทำผิด 2-3 คนแล้วยุบทั้งหมดเนี่ย อย่างพรรคที่ผ่านมาที่ถูกยุบ ผมก็ไม่เห็นด้วย ผมก็วิจารณ์ทุกครั้งไป ไม่เห็นด้วยตลอด

ในอดีต มีกฎหมายมังรายศาสตร์บัญญัติเรื่องความรับผิดร่วมกัน ในกฎหมายสิบหกหลังคาเรือน ที่บัญญัติให้คนที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันต้องสอดส่องดูแลกันและกัน หากมีบ้านใดที่ถูกโจรปล้น แล้วบ้านเรือนใกล้เคียงสิบหกหลังนั้น ไม่สามารถหาตัวคนกระทำความผิดได้ จะต้องร่วมกันรับผิดต่อบ้านที่ถูกปล้น ด้วยวิธีคิดดังกล่าวจึงทำให้เกิดบทบัญญัติเรืองนี้ขึ้นมา


วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กฎหมายแพ่งว่าด้วยบุคคล 2 สิทธิของทารกในครรภ์มารดา

ตอนที่ 1 สภาพบุคคล คลิี๊๊กที่นี่


ทารกในครรภ์มารดา สามารถเป็นผู้รับมรดกได้หรือไม่ หากมารดากับบิดามิได้จดทะเีบียนสมรสกัน และบิดาถึงแก่ความตายก่อนทารกนั้นจะคลอดออกมา ต้องพิจารณาตาม มาตรา 15 วรรคสอง

ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถจะมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังเกิดมารอดอยู่

ตามมาตรา 15 วรรคสอง ซึ่งเราได้ทราบแล้วว่าทารกในครรภ์มารดานั้นเราถือว่ายังไม่มีสภาพบุคคล แต่กฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิของทารกในครรภ์มารดาให้มีสิทธิเหมือนผู้มีสภาพบุคคลตามปรกติทุกประการโดยเงื่อนไขว่า ทารกนั้นเมื่อคลอดออกมาแล้วต้องรอดอยู่ด้วย ดังนั้นหากมีการคลอดออกมาในลักษณะที่ทารกไม่มีชีวิตทารกนั้นก็ไม่มีสิทธิ เช่น บิดาตายเสียตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา หากกฎหมายไม่บัญญัติรับรองสิทธิให้ ทารกนั้นก็จะไม่ได้รับมรดกของบิดาในฐานะทายาทโดยธรรมทั้ง ๆ ที่เขาเป็นทายาทโดยธรรม การที่บิดาตายเสียก่อนที่เขาจะเกิดมานั้นหาใช่ความผิดของทารกไม่ กฎหมายจึงบัญญัติสิทธิไว้ให้เขามีสิทธิเหมือนพี่คนอื่น ๆ ซึ่งเกิดก่อนเขาทุกประการ ดังนั้นหากเขาเกิดมาและมีชีวิตรอดอยู่ได้เขาก็มีสิทธิแบ่งมรดกกับพี่ ๆ ซึ่งเป็นทายาทชั้นเดียวกันได้เช่นกัน

ฎีกาที่ 489/06 ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาขณะที่บิดาตาย มีสิทธิเป็นทายาทได้ถ้าหากภายหลังได้เกิดมารอดอยู่ และโดยมีพฤติการณ์ที่บิดารับรองทารกในครรภ์ว่าเป็นบุตรของตน

ถ้าสังเกตุจากคำพิพากษาฉบับนี้ จะเห็นได้ว่ามีการวินิจฉัยเกี่ยวโยงไปถึงบรรพหกว่าด้วยมรดกด้วย ขอให้นักศึกษาค่อย ๆ ทำความเข้าใจตามไป

1. ปัญหาว่า ทารกในครรภ์มารดานั้นเป็นบุตรของผู้ตายซึ่งจะถือว่าเป็นทายาทตามมาตรา 1629 หรือไม่

ทายาทโดยธรรมลำดับแรกคือผู้สืบสันดานตาม มาตรา 1629 (1) ซึ่งการจะพิจารณาว่าเป็นผู้สืบสันดานหรือไม่ต้องพิจารณาจากมาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้หากบิดามารดาของทารกนั้นจดทะเบียนสมรสกันอยู่ก่อนก็คงไม่มีปัญหาอะไรเพราะกฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็เรียกว่าเป็นบุตรนอกกฎหมาย ต้องดูต่อไปว่าแล้วอย่างไรหล่ะ จึงจะถือว่าบิดาได้รับรองแล้ว

การรับรองบุตรนอกกฎหมายทำได้ 2 อย่าง คือ

ก. จดทะเบียนรับเป็นบุตรตามกฎหมาย

ข. รับรองโดยพฤตินัย คือมีการแสดงออกยอมรับว่าเด็กเป็นบุตร เช่น ขณะมารดาตั้งครรภ์บิดดามารดาได้อยู่ร่วมกัน ยอมให้ใช้นามสกุล แจ้งเกิด ส่งเสียเล่าเรียน เป็นต้น

ตามฎีกานี้นายพินผู้ตายได้แสดงออกว่านางพุดทอง เป็นภรรยา และอยู่ร่วมกันในขณะที่นางพุดทองตั้งครรภ์ ดังนั้น หากเด็กคลอดออกมาและมีชีวิตอยู่จึงถือว่าเป็นทายาทในฐานะผู้สืบสันดานตาม 1629 และมีสิทธิรับมรดกผู้ตายได้



สำหรับเรื่องต่อไปจะเป็นเรื่องของการนับอายุบุคคล

ที่ต้องศึกษาเรื่องนี้เพราะเกี่ยวพันกับการทำนิติกรรม หากยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จะเป็นโมฆียะ ถ้าหากไม่รู้วัน เดือน ปีเกิด จะนับอายุอย่างไร ต่อตอนที่ 3

กฎหมายแพ่งว่าด้วยบุคคล 1 สภาพบุคคล

สภาพบุคคลมีความสำคัญอย่างไร ทำใมเราต้องศึกษาเกี่ยวกับสภาพของบุคคล เพราะ การจะมีสิทธิต่างๆ ได้ต้องมีสภาพบุคคลเสียก่อน และในการวินิจฉัยคดีอาญาก็ต้องพิจารณาเรื่องการมีสภาพบุคคลของคนเสียก่อน เช่น ดำยิงแดง แต่แดงได้ตายไปก่อนหน้านั้นแล้ว ถ้าเราไม่เข้าใจเรื่องของสภาพบุคคล เราจะไม่สามารถวินิจฉัยความรับผิดของดำได้เลย ด้วยเหตุว่า สภาพบุคคลเป็นองค์ประกอบภายนอกของการกระทำความผิด ฐาน " ฆ่าผู้อื่น"

หรือการที่จอมขมังเวช ผ่าท้องศพตายทั้งกลม (ไม่ใช่ท้องกลม ต้องอ่านและเขียนว่าทั้งกลมซึ่งแปลว่า ทั้งหมด คือทั้งแม่ทั้งลูก) แล้วเอาเด็กในท้องศพมาทำกุมาร มีความผิดฐานทำลายศพหรือไม่ ถ้าเราไม่เข้าใจว่า สภาพบุคคลเริ่มเมื่อไหร่ เราจะวินิจฉัยผิดพลาด เพราะไปเข้าใจว่าผิดฐานทำลายศพ จะเป็นศพได้ต้องเกิดก่อน เกิดแล้วตายจึงเรียกว่า ศพ หากยังไม่เกิด ยังไม่คลอดจะตายไม่ได้้ เมื่อตายไม่ได้ ก็ไม่เป็นศพ


ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก สิ้นสุดลงเมื่อตาย

ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วรอดอยู่เป็นทารก

อธิบาย การพิจารณาสภาพบุคคลมีความสำคัญมาทั้งในทางแพ่งและทางอาญา

ในทางแพ่งเพื่อวินิจฉัยถึงสิทธิหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือผูกพันกับบุคคลอื่นด้วย

มาตรา 1604 บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้นเป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

หมายความว่า บุคคลธรรมดา หรือมนุษย์เรานี่เอง จะมีสิทธิรับมรดกของบุคคลอื่นต้องมีสภาพบุคคลเสียก่อน เช่น นายดำ เป็นบิดาของเด็กชายแดง เมื่อนายดำถึงแก่ความตายทรัพย์สินของนายดำเรียกวา มรดก จะตกได้แก่เด็กชายแดง ถ้าเด็กชายแดงยังไม่คลอดออกมาหล่ะ ยังอยู่ในท้องของนางเหลือง ภรรยาของนายดำ แต่นายดำตายเสียก่อนเด็กชายแดงจะคลอดออกมาหล่ะ เด็กชายแดงยังอยู่ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกหรือไม่ ต้องดูว่าเด็กชายแดงเมื่อคลอดแล้วสามารถอยู่รอดเป็นทารกได้หรือไม่ ถ้าอยู่รอดได้ เด็กชายแดงก็มีสิทธิได้รับมรดก ตาม มาตรา 1604 ประกอบกับ มาตรา 15

หัวใจของมาตรา 15 ก็คือการเริ่มสภาพบุคคลซึ่งต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ

1. การคลอด

2. อยู่รอดเป็นทารก

การคลอด คืออะไร การคลอดตามพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน หมายถึง การออกลูกหรือออกจากครรภ์ ฟังดูเหมือนเข้าใจง่าย แต่การวินิจฉัยพฤติการณ์ การออกลูกหรือออกจากครรภ์นี่หล่ะเป็นเรื่องยาก เช่น หัวโผล่ออกมาจากช่องคลอดแล้วแต่ตัวยังไม่โผล่ ถือเป็นการคลอดแล้วหรือยัง หรือคลอดแล้วทั้งตัวยังไม่ตัดสายสะดือเป็นการคลอดแล้วหรือยัง ต้องอาศัยหลักวิชาการแพทย์เพื่ออธิบายการคลอด

พระยาเทพวิทุร อธิบายไว้ในคำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่า ที่ว่าคลอดแล้วนั้นหมายถึงการคลอดที่สำเร็จบริบูรณ์ตามวิชาแพทย์

การคลอดที่สำเร็จบริบูรณ์ตามวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน คือการที่ทารกแยกร่างกายออกจากร่างกายมารดาแล้วทั้งสิ้นคือไม่มีส่วนใดของร่างกายทารกยังอยู่ในร่างกายมารดาอีก ชีวิต ของทารกเริ่มเมื่อมีการหายใจ การหายใจได้เองโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนจากมารดา อธิบายได้ถึงชีวิตของบุคคลคนหนึ่งได้เริ่มขึ้นแล้ว ดังนั้น ถ้าเด็กชายแดงคลอดออกมาจากครรภ์นางเหลืองทั้งตัวแล้ว และ ได้หายใจเองแล้วเด็กชายแดงมีสภาพบุคคลแล้ว มีสิทธิและหน้าที่ตามที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้แล้ว เด็กชายแดงจึงมีสิทธิรับมรดกนายดำได้ แต่ถ้าขณะทำคลอดหมอประมาทเลินเล่อทำให้คอเด็กชายแดงหัก ขณะที่ยังออกจากครรภ์มารดามาไม่หมดทั้งตัว เมื่อดึงออกมาเด็กชายแดงไม่สามารถหายใจได้ เท่ากับว่าเด็กชายแดงคลอดแล้ว แต่ไม่สามารถอยู่รอดเป็นทารกได้เด็กชายแดงไม่มีสภาพบุคคลไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย กฎหมายไม่รับรองไม่คุ้มครองให้ เด็กชายแดงไม่มีสิทธิรับมรดกนายดำ

ถ้า เด็กชายแดงคลอดออกมาแล้ว หายใจเองได้เพียงครั้งเดียว เด็กชายแดงถึงแก่ความตายเพราะภาวะแทรกซ้อน ปัญหาว่าเด็กชายแดงจะมีสภาพบุคคลหรือยัง

การที่เด็กชายแดงออกจากครรภ์มารดามาทั้งตัวแล้ว มีการหายใจแล้วแม้เพียงครั้งเดียวก็บ่งบอกได้ว่า ชีวิตของเด็กชายแดงได้มีการดำเนินอยู่แล้ว เด็กชายแดงมีสภาพบุคคลแล้ว มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว เด็กชายแดงจึงมีสิทธิได้รับมรดกของนายดำ ส่วนรับมาแล้วจะได้ใช้หรือไม่หรือจะตกได้แก่ใครต่อเป็นเรื่องที่นักศึกษาต้องไปศึกษากันใน บรรพ 6 ว่าด้วยมรดกต่อไป

ปัญหาว่า การหายใจแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นหรือที่แสดงถึงภาวะแห่งชีวิต ถ้าเด็กคลอดออกมาแล้วไม่หายใจแต่หัวใจเต้น ตัวเขียวเชียว อย่างนี้ถือว่าอยู่รอดเป็นทารกหรือยัง

ปัญหาของการอยู่รอดเป็นทารก เป็นปัญหาสำคัญมาก ซึ่งเดิมถือเอาการหายใจได้เองเป็นเครื่องบ่งชี้การอยู่รอดเป็นทารก แต่ต่อมาทางการแพทย์ยืนยันว่า การหายใจไม่ได้หมายถึงการมีชีวิตแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาการต่าง ๆ เช่นการร้อง การเต้นของหัวใจการกระตุกของกล้ามเนื้อ แสดงให้เห็นถึงภาวะแห่งชีวิตได้ ซึ่งหลักการนี้เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้ให้ความเห็นไว้ในเรื่ององค์ประกอบของการกระทำความผิดฐาน ฆ่าผู้อื่น ตาม ปอ.มาตรา 288 ไว้ว่า ผู้อื่นซึ่งถูกกระทำนั้นต้องมีสภาพบุคคลตามกฎหมาย โดยให้ความเห็นว่า

การมีชีวิตอยู่ภายหลังคลอดเคยถือว่า พิสูจน์ได้โดยมีลมในปอดด้วยการหายใจและโดยปกติคนมีชีวิตต้องหายใจ ถ้าไม่หายใจชั่วระยะเวลาหนึ่งก็ตาย ส่วนหัวใจนั้นตามปกติเต้นตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์ แต่อาจมีการหายใจหรือร้องตั้งแต่ยังไม่คลอดออกมาหมดตัวก็ได้และอาจคลอดออกมาแล้วไม่หายใจจนกว่าจะพ้นระยะเวลาหนึ่งจึงจะหายใจก็ได้ เหตุนี้การพิสูจน์จึงไม่ต้องอาศัยการหายใจเพียงอย่างเดียว แต่อาจพิสูจน์การมีชีวิตโดยพฤติการณ์อื่น เช่น เมื่อคลอดหมดตัวแล้วเด็กร้อง ซึ่งเป็นการหายใจนั่นเอง หรือชีพจรเต้นคือหัวใจเต้นภายหลังคลอดแล้วหรือเด็กเคลื่อนไหวตัวเองภายหลังคลอดออกมาแล้ว ถ้ามีอาการอย่างใดอย่าง หนึ่ง ดังนี้ แม้ถูกฆ่าเสียก่อนหายใจ ก็ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลมีชีวิตถูกฆ่าได้ เพราะเมื่อมีชีวิตอยู่แล้ว คลอดแล้วดังนี้ แม้จะตายทันทีหลังจากนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลตั้งแต่ขณะคลอดหมดตัวไม่ใช่ตั้งแต่เริ่มหายใจ

จริง ๆ แล้วจะบอกว่าการเริ่มชีวิตตามกฎหมายถือตามการแพทย์ก็ไม่ค่อยถูกต้องนัก คือถูกบางส่วน เนื่องจากในทางการแพทย์ชีวิตของทารกเริ่มตั้งแต่มีการปฏิสนธิในครรภ์มารดาทีเดียว (คล้ายกับการนับอายุของจีนซึ่งเริ่มนับตั้งแต่อยู่ในท้องแม่) แต่ตามกฎหมายไม่ถือเอาขณะอยู่ในครรภ์มารดาว่ามีสภาพบุคคล ดังนั้นถ้ามีการฆ่า หรือทำร้ายทารกในครรภ์มารดาจึงไม่ใช่ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น แต่เป็นความผิดฐานทำให้ผู้อื่นแท้งบุตร จะเห็นว่า ทำให้หญิง (ผู้อื่น ) แท้งบุตร ตามป.อาญามาตรา 302 ผู้อื่นในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวเด็กแต่หมายถึงแม่เด็กนั่นเอง

ปัญหาว่าเมื่อคลอดออกมาแล้วอยู่รอดแล้ว จะมีอาการครบ 32 หรือไม่ไม่สำคัญ สภาพบุคคลนี้พิจารณาเพียง คลอด และ อยู่รอด เท่านั้น


ในบทต่อไป จะเป็นเรื่องของสิทธิของทารกในครรภ์มารดา หากบิดาตายเสียก่อนทารกคลอดออกมา ทารกนั้นสามารถเป็นทายาทรับมรดกได้หรือไม่ ต่อตอนที่ 2

คำว่า "สิทธิ" คืออะไร

ความหมายของคำว่า "สิทธิ" จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก แต่ที่แน่ๆ เวลานักเรียนกฎหมาย หรือแม้กระทั่งนักกฎหมายเอง ถูกถามทีไร ใบ้รับประทานทุกที เหมือนกับถามว่า "ประชาธิปไตยคืออะไร" ประมาณนั้นเลย

คำว่า “สิทธิ” หมายถึง
อำนาจหรือประโยชน์ของบุคคล ซึ่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ จากบทนิยามดังกล่าว เราสามารถแยกคำว่าสิทธิออกมาดูส่วนประกอบว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง คือ

1. อำนาจหรือประโยชน์ ในที่นี้หมายถึง อำนาจเหนือทรัพย์ และ อำนาจเหนือบุคคลอื่นอำนาจเหนือทรัพย์นี้เราเรียกว่า “ทรัพยสิทธิ” กล่าวโดยคร่าว ๆ ก็คือ อำนาจในการใช้สอยหรือติดตามเอาคืน หรือยึดถือทรัพย์นั้นไว้นั่นเอง ซึ่งอำนาจนี้ต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ด้วย ถ้ากฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้เราก็จะไม่มีสิทธิ

“ทรัพยสิทธิทั้งหลายนั้น ท่านว่าจะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วยอาศัยอำนาจในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น”

“ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น โดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

จะเห็นได้ว่า กฎหมายได้ให้อำนาจหรือประโยชน์ในการมีสิทธิไว้ว่าเจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิอย่างไรบ้าง ถ้าผู้ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินมายึดถือครอบครองทรัพย์สินนั้นเจ้าของก็มีสิทธิติดตามเอาคืนได้
ตัวอย่างเช่น ดำ เป็นเจ้าของหนังสือเล่มหนึ่ง ดำย่อมมีสิทธิที่จะใช้สอยหรือแม้แต่ทำลายหนังสือของตัวเองได้ โดยที่กฎหมายจะมาเอาผิดดำไม่ได้ ถ้าแดงเกิดมาหยิบเอาหนังสือของดำไป ดำก็ย่อมมีสิทธิขัดขวางไม่ให้แดงมาเอาไปได้ หรือ ดำเป็นเจ้าของบ้าน แดงเป็นขโมยมาขึ้นบ้านดำ ดำจึงทำร้ายแดง เช่นนี้ ดำมีสิทธิขัดขวางไม่ให้แดงมาเอาทรัพย์ของดำไปได้ ดำอ้างป้องกันได้ ไม่มีความผิด เหตุเพราะ ดำมีสิทธินั่นเอง
ที่กล่าวมานี้คือสิทธิในทรัพย์หรือทรัพยสิทธิ ส่วนสิทธิอีกกรณีหนึ่งคือ อำนาจเหนือบุคคลหรือบุคคลสิทธิ กรณีเช่น “บุคคลหนึ่งมีสิทธิเหนือ หรือต่อบุคคลอื่น” เมื่อกฎหมายกำหนดให้บุคคลหนึ่งมีสิทธิ บุคคลอีกคนหนึ่งจึงต้องมีหน้าที่ กล่าวโดยสรุปว่า สิทธิและหน้าที่เป็นของคู่กัน

“ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่งการชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้”
จะเห็นได้ว่า ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ คือ หนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือกฏหมายคุ้มครองหรือรับรองให้มีมูลหนี้นั่นเอง หนี้การพนันเป็นหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดให้อำนาจไว้ แต่ถ้าเป็นหนี้ซื้อขาย
“อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย” กฎหมายให้อำนาจแก่ผู้ซื้อให้มีสิทธิได้รับโอนกรรมสิทธิ และให้อำนาจแก่ผู้ขายให้มีสิทธิได้รับชำระราคา ดังนั้น เมื่อ ดำตกลงซื้อม้าตัวหนึ่งจากแดง ดำมีสิทธิจะเรียกร้องให้แดงส่งมอบม้าให้ตน และแดงมีหน้าที่ต้องส่งมอบม้าให้ดำ กลับกันแดงมีสิทธิเรียกร้องให้ดำชำระราคาค่าม้า และดำมีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าม้าให้แก่แดง กรณีนี้เรียกว่าบุคคลสิทธิ คือสิทธิหรืออำนาจที่บุคคลหนึ่งมีเหนือบุคคลหนึ่ง
ส่วนสิทธิที่บุคคลหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลอีกคนหนึ่งงดเว้นกระทำการ เช่น
“ถ้าผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สิน เพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ครอบครองมีสิทธิจะให้ปลดเปลื้องการรบกวนนั้นได้ ถ้าเป็นที่น่าวิตกว่าจะยังมีการรบกวนอีก ผู้ครอบครองจะขอให้ศาลสั่งห้ามก็ได้”

เช่น ดำเป็นเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่ง แดงบุกรุกเข้ามาปลูกบ้านในที่ดำ โดยไม่มีสิทธิหรือโดยไม่ได้รับอนุญาตจากดำ ดำมีสิทธิจะห้ามหรือขับไล่แดงออกไปจากที่ของดำได้ นี่คือเรียกร้องให้แดงงดเว้นกระทำการบุกรุก แต่ที่กฎหมายเขียนว่าขอให้ศาลสั่งห้ามก็ได้ ไม่ได้แปลว่าตัวเขาเองไม่มีสิทธิสั่งห้าม แต่ส่วนใหญ่ห้ามแล้วเขาไม่ฟังจึงต้องขอให้ศาลสั่งห้าม ถ้าศาลห้ามแล้วไม่เชื่อเราสามารถไปเรียกตำรวจมาจับเขาออกไปได้เพราะเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเรื่องสิทธิซึ่งกฎหมายให้อำนาจไว้

อำนาจหรือประโยชน์ของบุคคล
บุคคลซึ่งก็หมายถึงมนุษย์เรานี่เอง ไม่ว่าจะเป็นชาย หรือหญิง เด็ก หรือชรา ในชั้นนี้จะขออธิบายถึงสิทธิของบุคคลธรรมดาเสียก่อน สัตว์เดียรฉานมิใช่บุคคล กฎหมายจึงมิได้รับรองสิทธิให้แก่สัตว์ แต่การทำร้ายสัตว์ซึ่งเป็นของคน คือการละเมิดต่อสิทธิของคนไม่ใช่สิทธิของสัตว์ บุคคลได้รับการคุ้มครองสิทธิโดยกฎหมาย ดังนั้น เราต้องรู้ว่าคุณธรรมทางกฎ หมายคุ้มครองใคร คุณธรรมทางกฎหมายคือเจตนารมย์ของกฎหมายนั่นเอง เช่น
“ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่ชีวิต แก่ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด”
นิสิตเห็นหรือไม่ว่ามาตรานี้คุณธรรมทางกฎหมายคุ้มครองบุคคล ซึ่งมีสิทธิในชีวิตร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในทรัพย์ เช่น สุนัขเป็นทรัพย์ของเราถ้ามาฆ่าสุนัขเรา ก็เป็นการละเมิดต่อสิทธิของเรา

ในกฎหมายอาญา
“ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสีย ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ” คุณธรรมทางกฎหมายของมาตรานี้มุ่งคุ้มครองชื่อเสียงของบุคคล ดังนั้นหากใครกระทำให้ชื่อเสียงของบุคคลอื่นต้องเสียหายกฎหมายก็จะต้องเอาโทษ
“ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์” คุณธรรมทางกฎหมายมุ่งคุ้มครองทรัพย์สินของบุคคล หากใครกระทำความผิดต่อทรัพย์สินของบุคคล ก็ต้องรับโทษ
“ผู้ใดทำให้เกิดปฏิกูลแก่น้ำในบ่อ สระ หรือที่ขังน้ำอันมีไว้สำหรับประ ชาชนใช้สอย ต้องระวางโทษ” คุณธรรมทางกฎหมายมาตรานี้มุ่งคุ้มครองสาธารณะชน หรือประชาชนส่วนรวมซึ่งมิใช่ปัจเจกชนคนใดคนหนึ่ง แต่ก็ยังคงต้องเป็นบุคคล มาตรานี้แม้บุคคลยังไม่ได้รับความเสียหายอย่างใด ๆ กฎหมายก็เอาโทษ ในทางอาญาเรียกว่าความผิดที่ไม่ต้องการผล แล้วนิสิตจะได้ศึกษาต่อไปในกฎหมายอาญา
“ผู้ใดกระทำการทารุณต่อสัตว์ หรือฆ่าสัตว์โดยให้ได้รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็น ต้องระวางโทษ” มาตรานี้เป็นเรื่องของการกระทำต่อสัตว์ที่มีหรือไม่มีเจ้าของก็ตาม แต่ถ้ามีเจ้าของก็เป็นการกระทำต่อสิทธิในทรัพย์ของเจ้าของเขาเป็นอีกเรื่องหนึ่ง หากทำต่อสุนัขจรจัดข้างถนน กฎหมายมาตรานี้มิได้เอาโทษเพราะกระทำต่อสิทธิของสัตว์ คุณธรรมทางกฎหมายคุ้มครองศิลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งเป็นบุคคลนั่นเอง การทำร้ายหรือทำทารุณต่อสัตว์เป็นสิ่งที่บุคคลทั่ว ๆ ไป (ไม่หมายรวมถึงพวกจิตใจโหดร้าย) เห็นว่าเป็นเรื่องกระทบกระเทือนความรู้สึกทางจิตใจ หรือ ศิลธรรม กฎหมายจึงคุ้มครองให้

ความรับผิดทางอาญา ตอนที่ 4 เจตนา

อรหันต์ด่านที่ 4 ของความรับผิดทางอาญาจะเป็นเรื่องของเจตนา ซึ่งผู้เรียนและแม้กระทั่งนักกฎหมายเองก็มีความเข้าใจผิด นำเอาเรื่องของเจตนามาพิจารณาการกระทำทางอาญาเป็นเรื่องแรก ซึ่งไม่ถูกต้อง หากทำเช่นนั้นจะทำให้การวินิจฉัยคดีต่างๆ ขาดความแม่นยำได้

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 วรรคสอง ได้วางหลักเกี่ยวกับเรื่องของเจตนาไว้ดังนี้

มาตรา 59 กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและ ในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการ กระทำนั้น

เมื่อพิจารณาจากตัวบทกฎหมายแล้ว เจตนาต้องผ่านการกระทำเสียก่อน กล่าวคือต้องมีการกระทำเสียก่อนจึงจะพิจารณาเจตนา ไม่ใช่พิจารณาเจตนาเป็นอันดับแรกเลยเสียทีเดียว

เจตนานั้น แบ่งออกเป็นสองกรณี

๑. เจตนาโดยตรง ได้แก่เจตนาตามมาตรา 59 แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ประสงค์ต่อผล และ ย่อมเล็งเห็นผล

๒. เจตนาโดยผลของกฎหมาย ได้แก่ เจตนาโดยพลาด และกรณีที่กฎหมายกำหนดว่า จะถือว่าไม่มีเจตนาหาได้ไม่ เช่น พลาดตามมาตรา 60 สำคัญผิดในตัวบุคคล 61

จะกล่าวเฉพาะเจตนาโดยตรง สองประเภทเท่านั้น คือ

ประสงค์ต่อผล หมายถึง ประสงค์ให้ผลร้ายนั้นเกิดขึ้น ผลที่เกิดตรงตามเจตนาที่ต้องการ เช่น ดำยกปืนเล็งยิงแดง โดยมีเจตนาฆ่า เพราะโกรธที่แดงโกงเงินดำ ดำประสงค์ต่อผลคือความตายของแด ดังนั้นความตายจึงเป็นผลของเจตนาโดยตรงประเภทนี้ หรือ สมศรีขับรถชนสมศักดิ์ ด้วยประสงค์ให้ตายเพราะเกลียดชังกันเป็นการส่วนตัว ความตายจากการขับรถชนเป็นผลของเจตนาโดยตรงประเภทนี้ อุปมาให้เข้าใจง่ายๆ เรียนหนังสืออยากได้อะไร อยากได้ความรู้ เป็นประสงค์ต่อผลของการเรียน ตรงไปตรงมา ได้ปริญญาคือประสงค์ต่อผลของการเรียนตรงไปตรงมา แต่ถ้าอยากได้แฟน ไม่ใช่แล้ว ไม่ใช่ผลของการเรียนหนังสือที่ผู้เรียนมีความประสงค์โดยตรง

เล็งเห็นผล หมายถึง เจตนาที่ไม่ได้ประสงค์ต่อผลที่จะให้เกิดแก่บุคคลนั้นโดยตรงแต่เล็งไดว่าผลจะเกิดขึ้นอย่างนั้นอย่างแน่นอน เช่น ดำอยากยิงแดง เจอแดงอยู่บนรถเมล์ ดำจึงใช้ปืนลูกปราย ยิงใส่แดง กระสุนไปถูกแดงและผู้โดยสารบนรถอีกหลายคน
กรณีนี้จะเห็นได้ว่าคนทีดำประสงค์ต่อความตายคือแดงเท่านั้น ผู้โดยสารคนอื่นดำไม่ประสงค์ต่อความตายของเขาเลย แต่การที่ดำใช้ปืนที่มีลักษณะเป็นกระสุนลูกปราย ทำให้ผู้อื่นต้องมาตายด้วยนั้น เป็นการกระทำโดยเจตนา กล่าวคือ มีการเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึกของการกระทำนั้น และสามารถเล็งผลได้ว่า หากยิงออกไปแล้ว คนที่จะโดนกระสุนไม่ใช่เฉพาะแต่คนที่ดำประสงค์ให้ตายเท่านั้น แต่เป็นบุคคลอื่นด้วย อันนี้เป็นลักษณะการกระทำโดยเล็งเห็นผล

ยกตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเรื่องหนึ่ง อันนี้อธิบายทั้งสองเจตนาได้ชัดเจน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4563/2543

จำเลยถอดกางเกงเดินเข้าไปเพื่อข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายในขณะที่ผู้ตายไม่ได้สวมกางเกงและยืนพิงลูกกรงระเบียงอาคารซึ่งสูงเพียงระดับสะโพก โดยผู้ตายมิได้ยินยอม จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่าหากผู้ตายหลบหลีกขัดขืนมิให้ข่มขืนกระทำชำเราแล้วอาจจะตกลงไปจากระเบียงอาคารถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้ตายดิ้นรนขัดขืนเพื่อมิให้จำเลยข่มขืนกระทำชำเราจนผู้ตายพลัดตกลงไปจากระเบียงอาคารจนได้รับบาดเจ็บและตายในเวลาต่อมา จึงเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการกระทำของจำเลยอันเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าผู้ตาย

จากคำพิพากษาเรื่องนี้ เราจะเห็นฐานความผิดอยู่สองฐานความผิดคือ ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา กับความผิดฐานฆ่าผู้อื่น การที่จำเลยเข้าหาผู้ตาย จำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลคือการข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ไม่ได้มีเจตนาฆ่าผู้ตายมาก่อน การที่ผู้ตายตกระเบียงตายจึงไม่ใช่เจตนาประเภทประสงค์ต่อผลที่จำเลยมีความต้องการต่อผู้ตายโดยตรง

แต่อย่างไรก็ดี การที่จำเลยไล่ต้อนผู้ตายไปจนถึงระเบียงอาคาร จำเลยทราบดีว่า หากผู้ตายตกลงไปต้องตายแน่นอน จำเลยยังคงไล่ต้อนผุ้ตายไปจนผู้ตายพลัดตกจากระเบียงอาคาร ดังนี้ จำเลยจึงมีเจตนาฆ่าผู้ตายประเภทเล็งเห็นผล

มีอีกคำหนึ่งที่ต้องอธิบาย คำว่า ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา

อย่าไปเข้าใจว่าเป็นการทำให้ผู้อื่นตายโดยประมาท เช่นขับรถชนคนตาย อันนี้เป็นความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผุ้อื่นถึงแก่ความตาย ไม่ใช่การทำให้ผู้อื่นตายโดยไม่เจตนา

เพราะความหมายของคำว่า โดยไม่เจตนา คือมีเจตนา และเป็นเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผล แต่เป็นเจตนาทำร้ายมิใช่เจตนาฆ่า ผลของการทำร้ายนั้นทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย คือความหมายของคำว่า "ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา"

ฎีกาที่ 1270/2526 จำเลยขับขี่รถยนต์บรรทุกดินลูกรังสูงเกินกำหนดพอถึงจุดตรวจมีแผงเหล็กเครื่องหมายหยุดและเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เป่านกหวีดให้จำเลยหยุดรถ จำเลยกลัวเลยไม่ยอมหยุด กลับเร่งความเร็วพุ่งเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยืนอยู่ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกระโดดหลบทัน ดังนี้จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่ารถยนต์ที่จำเลยขับขี่พุ่งเข้าใส่นั้นจะต้องชนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยืนอยู่บนถนนถึงแก่ความตายได้ จำเลยจึงมีความผิดฐาน พยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ ตาม ป.อาญา มาตรา 289 , 80



คำถาม ให้พิจรณาว่า แต่ละกรณีเป็นเจตนาประเภทใด

1. จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นยิงผู้เสียหาย 1 นัด ก่อนกระทำความผิดจำเลยตะโกนด่า ผู้เสียหายว่า "เย็ดแม่ยิงให้ตายโหง " แสดงว่าจำเลยจะใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธที่ร้ายแรงยิงผู้เสียหายให้ตายจำเลยหันปากกระบอกปืนไปทางหลัง ผู้เสียหายที่กำลังวิ่งหนีเล็งไปในส่วนอวัยวะสำคัญ จำเลยจึงมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย

2. การที่จำเลยที่ 2 ใช้ปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงยิงไปทางกลุ่มผู้เสียหายซึ่งมีประมาณ 10 คน โดยไม่ใยดีว่ากระสุนปืนจะถูกใครหรือไม่

3. ก่อนเกิดเหตุ 7-8 วัน จำเลยกับผู้ตายมีปากเสียงกันในการซื้อขายไม้วันเกิดเหตุก่อนผู้ตายถูกยิง อ. ได้ยินเสียงผู้ตายร้องด่าจำเลย ระหว่างนั้นมีเสียงปืนดังขึ้น 2 นัด โดยจำเลยเป็นผู้ยิงผู้ตาย

4. จำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปยังผู้ตายกับพวกหลายนัด

5. แม่นอนหลับ ดิ้นทับลูกน้อยถึงแก่ความตาย