ผู้เขียนยังไม่เห็นมีใครพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ หรือตอบคำถามของคนเสื้อแดงต่อกรณีจะยื่นคำร้องใหม่ได้หรือไม่ จึงได้นำมาเขียนอธิบายให้เ้ข้าใจ ตามความเห็นของผู้เขียนประกอบหลักกฎหมายในการพิจารณา
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 4 ต่อ 3 ให้ยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ในการรับเงินบริจาค 258 ล้านบาท เนื่องจากกระบวนการยื่นคำร้องขอให้มีการยุบพรรคข้ามขั้นตอน
ทั้งนี้ในการพิจารณาคดีล่าช้าไปประมาณ 1.20 ชั่วโมง เนื่องจากตุลาการรัฐธรรมนูญได้ประชุมและทำความเห็นในดคีดังกล่าวในช่วงเช้า ซึ่งเดิมได้นัดพร้อมคู่ความไว้เวลา 10.00 น.ซึ่งเมื่อออกนั่งบัลลังก์ศาลรัฐธรรมนญได้ชี้แจงแนวทางการพิจารณาคดีที่สำนักงานอัยการสูงสุด ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ จากกรณีเงินบริจาคพรรคการเมืองจำนวนเงิน 258 ล้านบาท ให้คู่ความทั้ง 2 รับทราบ และระบุว่าไม่จำเป็นต้องไตร่สวนอะไรเพิ่มเติมอีก เนื่องจากมีหลักฐานเพียงพอแล้ว และไม่ต้องนำข้อกฎหมายที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นไปก่อนหน้านี้นำมาใช้
จากนั้นนายจรัญ ภักดีธนากุล และนายอนุรักษ์ มาปราณีต ก็ได้เริ่มอ่านคำวินิจฉัยทันที โดยตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติ 4-3 ให้ยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์กรณีเงินบริจาค 258 ล้านบาท เนื่องจากกระบวนที่การ กกต. ยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ข้ามขั้นตอน เพราะนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่ได้ทำความเห็นให้ที่ประชุม กกต.ทั้งที่มาตรา 95 พ.ร.บ.พรรคการเมืองกำหนดให้นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องทำความเห็นก่อนเสนอให้ กกต.รับทราบ แต่กลับอ้างว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ จึงนำเอาผลการสอบสวนของคณะกรรมการชุดที่ กกต.ตั้งขึ้นมารายงานให้ที่ประชุม กกต.รับทราบ และทำเป็นมติส่งให้อัยการสูงสุด ซึ่งการพิจารณาคดีในครั้งนี้ตุลาการรัฐธรรมนูญได้นำเอาคดีเงินพัฒนากองทุนสนับสนุนพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติยกคำร้องไปก่อนหน้านี้ มาเทียบเคียง
จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเีกี่ยวกับเรื่องนี้ เราพอสรุปประเด็นคำวินิจฉัยได้ว่าศาลยกคำร้องเพราะเหตุการดำเนินกระบวนการยื่นคำร้องนี้เป็นการข้ามขั้นตอนของกฎหมาย กล่าวโดยสรุป เหตุแห่งการยกคำร้องคือ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับกรณีเงิน 29 ล้านนั่นเอง เพียงแต่ กรณีเงิน 29 ล้านนั้น เป็นเรื่องของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนในเรื่องระยะเวลา แต่กรณีเป็นกรณีไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ เรื่องใดที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องทำตามขั้นตอนก็ต้องทำตามขั้นตอน คดีเงิน 29 ล หรือ 258 ล้านก็มีขั้นตอนตามมาตรา 93 และ 95 ให้ทำ หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบหรือศิลธรรมอันดีของประชาชน
กรณีนี้ขั้นตอนตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 95 พรบ.พรรคการเมือง คือ เมื่อปรากฏตอนายทะเบียน หรือเมื่อนายทะเบียนไดรับแจงจากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและไดตรวจสอบแลวเห็นวาพรรคการเมืองใดกระทําการตามมาตรา ๙๔ ใหนายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแจงตออัยการสูงสุด พรอมดวยหลักฐาน
ดังนั้น นายทะเบียนต้องขอความเห็นชอบในความเห็นของตน เช่นนายทะเบียนเห็นว่าผิด ต้องขอให้กกต.รับรองความเห็นแล้วส่งความเห็นพร้อมหลักฐานไปยังอัยการสูงสุด กกต.มีหน้าที่เห็นตามนายทะเบียน ไม่มีหน้าที่เห็นเอง การเห็นนี้เป็นอำนาจของนายทะเบียนไม่ใช่อำนาจของกกต. ดังนั้น กระบวนการทั้งหมดจึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย ที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ปัญหาว่า กกต. สามารถยื่นคำร้องใหม่ได้หรือไม่ การที่ศาลวิินิจฉัยชี้ขาดเรื่องอำนาจฟ้องนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี ด้วยข้อกฎหมายแม้จะไม่ใช่เนื้อหาแห่งคดีก็ตาม ก็อาจเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้ ดังนั้นหากมีการยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยใหม่ แล้วศาลไม่รับคำร้องโดยวินิจฉัยว่าเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ก็ไม่ต้องแปลกใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2546
จำเลยอุทธณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องอันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเรื่องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่แล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่อีกในประเด็นเดียวกันย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 วรรคหนึ่ง
มาตรา 144 เมื่อศาลใดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใน ศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดนั้น เว้นแต่กรณี จะอยู่ภายใต้บังคับบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
(1) การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตาม มาตรา 143
(2) การพิจารณาใหม่แห่งคดีซึ่งได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินไป ฝ่ายเดียวตาม มาตรา 209 และคดีที่เอกสารได้สูญหายหรือบุบสลายตาม มาตรา 53
(3) การยื่น การยอมรับ หรือไม่ยอมรับ ซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาตาม มาตรา 229 และ มาตรา 247และการดำเนินวิธีบังคับชั่วคราวในระหว่าง การยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาตาม มาตรา 254 วรรคสุดท้าย
(4) การที่ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ส่งคดีคืนไปยังศาลล่าง ที่ได้ พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เพื่อให้พิพากษาใหม่หรือพิจารณา และพิพากษาใหม่ตาม มาตรา 243
(5) การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม มาตรา 302
ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะบังคับตามบทบัญญัติแห่ง มาตรา 16 และ มาตรา 240 ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลอื่นแต่งตั้ง
คิดว่าเป็นกรณีที่ต้องใช้แนวคิดนิติวิธีตามหลักกฎหมายมหาชนอ่ะคับ
ตอบลบที่ว่า การกระทำใดๆต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดว่าสามารถทำได้ หรือไม่
อย่างอื่นยังม่ายรู้คับแหะๆๆ
ถูกต้องแล้วคร๊าบบบ ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลรับคดีมาพิจารณาใหม่ จึงรับไม่ได้ ตามนิติวิธีทางกฎหมายมหาชนคร๊าบบบ ประกอบกับเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ด้วยจึงไม่สามารถร้องใหม่ได้
ตอบลบ