วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พยาน การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ (หน้าที่นำสืบ) 1

ให้นักศึกษานิติศาสตร์ ศูนย์สระบุรี และนักศึกษา รปศ. ภาคปกติ คัดลอกไปทำสำเนาใช้ในการเรียนกับครูด้วย

การศึกษาเรื่องการกำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ จะต้องพิจารณาคำฟ้องคำให้การเป็นหลัก ซึ่งหัวข้อนี้อยู่ในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาคดีแพ่ง ในหัวข้อกำหนดประเด็นข้อพิพาทจึงได้นำมาแต่เพียงบางส่วนเพื่อเป็นการเริ่มประเด็นเท่านั้น หากต้องการศึกษาอย่างละเอียดต้องศึกษาจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีแพ่งว่าด้วยเรื่องคำให้การ ซึ่งวันนี้ ๑๑ ธ.ค. ๕๓ ผู้เขียนเข้าสอนวิชากฎหมายลักษณะพยาน จึงได้ทราบว่า นักศึกษายังไม่แตกฉานในเรื่องคำให้การ ทำให้ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าคำให้การนั้นมีกี่ลักษณะ ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าใจเรื่องการกำหนดประเด็นข้อพิพาทได้ชัดเจน ผู้เขียนจึงขอย้อนถึงคำให้การไว้สักส่วนหนึ่ง พอประมาณ

มาตรา 177 วรรค 2 ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น

ลักษณะของคำให้การนั้น จะแบ่งออกเป็นสองลักษณะใหญ่ๆ คือ

1. คำให้การรับ

2. คำให้การปฏิเสธ

1. คำให้การรับนั้น แบ่งออกอีกสองลักษณะ คือ รับโดยชัดแจ้ง และ ไม่ให้การกล่าวถึงเลย จึงถือว่าเป็นคำให้การรับ ตามหลัก Estoppel ส่งผลถึงการกำหนดประเด็นข้อพิพาทตรงที่ว่า หากคำให้การนั้นได้รับแล้ว (ไม่ว่าจะรับชัดแจ้งหรือไม่ให้การถึง เราเรียกว่ารับทั้งสิ้น) ศาลไม่ต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาท โจทก์ไม่ต้องนำสืบตามประเด็นข้อพิพาท เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทให้โจทก์สืบ จึงฟังได้ตามฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น รวมไปถึงการที่จำเลยไม่ยื่นคำให้การ ถือว่าจำเลยไมกล่าวถึงคำฟ้อง ไม่เถียงข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น ดังนั้น โจทก์จึงสามารถขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเพราะจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การได้เลย โดยไม่ต้องสืบพยานตามฟ้องอีกต่อไป ดูมาตรา 198 กฎหมายเขียนไว้ชัดเจน

2. คำให้การปฏิเสธ แบ่งออกเป็น คำให้การปฏิเสธที่ชัดแจ้ง คือปฏิเสธพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธอันนี้ไม่มีปัญหา ศาลต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาท โจทก์สืบ จำเลยสืบแก้ หรือสืบตามภาระการพิสูจน์แห่งประเด็นนั้นๆ แต่คำให้การปฏิเสธที่ไม่แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธ (ปฏิเสธลอย) นั้น ถือเป็นคำให้การปฏิเสธ ซึ่งศาลยังคงต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาท และโจทก์ต้องสืบให้สมประเด็นข้อพิพาทอยู่ เพียงแต่จำเลยไม่มีสิทธิสืบแก้เพราะตนไม่แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้จึงไม่มีอะไรจำมาสืบให้สมเหตุ เพราะตนไม่แสดงเหตุนั่นเอง แต่ศาลจะไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ได้ เป็นการไม่ชอบด้วยระเบียบวิธีพิจารณา ต้องเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27

ดังนั้น หากนักศึกษาไม่เข้าใจในเรื่องนี้ให้ชัดเจนแน่นเแฟ้นแล้ว จะหลงไปได้ แม้คำพิพากษาฎีกาบางเรื่องยังเขียนไม่ชัดเจน ยิ่งทำให้นักศึกษาที่ได้เรียนมาน้อย อ่านมาน้อย และไม่มีครูบาอาจารย์ชี้นำทาง เกิดความสับสนได้ ผู้เขียนเห็นนักกฎหมายหลายท่าน ยังอธิบายส่วนนี้คลุมเครือไม่แตกฉาน ทำให้ผู้อ่านสับสนไม่เด็ดขาด ภาษาปากเรียกว่า "เข้าใจไม่ขาด" เป็นปัญหาในการเรียนกฎหมายลักษณะพยานต่อไป

ในคดีแพ่ง เมื่อได้มีการยื่นฟ้องและศาลได้ประทับรับฟ้องไว้แล้ว และได้ส่งหมายเรียกและสำเนาให้กับจำเลยแล้ว จำเลยได้ทำคำให้การแล้ว ศาลจะนัดชี้สองสถาน การชี้สองสถานนี้จะทำการกำหนดเรื่องการสืบพยานหลักๆ ในสองเรื่อง (จึงเรียกว่าสองสถาน) คือ

1. กำหนดประเด็นข้อพิพาท

2. กำหนดภาระการพิสูจน์

ในสองเรื่องหลักนี้ จะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ที่ศาลจะดำเนินการในวันชี้สองสถานนั้น 4 เรื่อง คือ

1. การกำหนดประเด็นข้อพิพาท ตาม ม.183

2. การกำหนดหน้าที่นำสืบ ตาม ม.84

3. การกำหนดหน้าที่นำสืบก่อนหลัง ตาม ม.183 ว.1 ความท้าย

4. การกำหนดวันสืบพยาน ตาม ม.184 ว.1

การกำหนดประเด็นข้อพิพาท

มาตรา 183 ในวันชี้สองสถาน ใหคูความมาศาล และใหศาลตรวจคําคูความและคําแถลงของคูความ แลวนําขออาง ขอเถียง ที่ปรากฏในคําคูความและคําแถลงของคูความเทียบกันดูและสอบถามคูความทุกฝายถึงขออาง ขอเถียง และพยานหลักฐานที่จะยื่นตอศาลวาฝายใดยอมรับหรือโตแยงขออาง ขอ เถียงนั้นอยางไร ขอเท็จจริงใดที่คูความยอมรับกันก็เปนอันยุติไปตามนั้น สวนขอกฎหมายหรือขอเท็จจริงที่คูความฝายหนึ่งยกขึ้นอางแตคําคูความฝายอื่นไมรับและเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นขอพิพาทตามคําคูความใหศาลกําหนดไวเปนประเด็นขอพิพาท และกําหนดใหคูความฝายใดนําพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นขอใดกอนหรือหลังก็ได

ในการสอบถามคูความตามวรรคหนึ่ง คูความแตละฝายตองตอบคําถามที่ศาลถามเองหรือถามตามคําขอของคูความฝายอื่น เกี่ยวกับขอเท็จจริงที่คูความฝายอื่นยกขึ้นเปนขออางขอเถียงและพยานหลักฐานตาง ๆ ที่คูความจะยื่นตอศาล ถาคูความฝายใดไมตอบคําถามเกี่ยวกับขอเท็จจริงใด หรือปฏิเสธขอเท็จจริงใดโดยไมมีเหตุผลอันสมควร ใหถือวายอมรับขอเท็จจริงนั้นแลว เวนแตคูความฝายนั้นไมอยูในวิสัยที่จะตอบหรือแสดงเหตุผลแหงการปฏิเสธไดในขณะนั้

คู่ความมีสิทธิคัดคานวาประเด็นขอพิพาทหรือหนาที่นําสืบที่ศาลกําหนดไวนั้นไมถูกตอง โดยแถลง ดวยวาจาตอศาลในขณะนั้นหรือยื่นคํารองตอศาลภายในเจ็ดวันนับแตวันที่ศาลสั่งกําหนดประเด็นขอพิพาทหรือหนาที่นําสืบ ใหศาลชี้ขาดคําคัดคานนั้นกอนวันสืบพยาน คําชี้ขาดคำคัดค้านดังกล่าว ให้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 226

อธิบาย ประเด็นข้อพิพาท หมายถึง ข้ออ้างข้อเถียงในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่มีผลกระทบและมีนัยสำคัญต่อผลแพ้ชนะในทางคดี ที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในคำคู่ความ และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับ แต่ถ้าปัญหาข้อใดที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งรับแล้วย่อมไม่เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท นอกจากนี้ ประเด็นข้อพิพาทจะต้องเกิดจากหรือปรากฏในคำคู่ความในคดีนั้นเท่านั้นเสมอ ข้อเท็จจริง ข้อกล่าวอ้าง หรือข้อเถียง นอกเหนือจากที่ปรากฏในคำคู่ความไม่สามารถนำมากำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทได้ ประเด็นข้อพิพาทเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คู่ความต้องนำหลักฐานมาพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า ข้อเท็จจริงต่างๆ ได้เป็นไปตามที่คู่ความกล่าวอ้างไว้ในคำฟ้องคำให้การ

ในการเริ่มคดีโดยคำฟ้องของโจทก์ โจทก์ได้ประเด็นข้อพิพาทมาก่อนแล้ว จำเลยจึงให้การต่อสู้คดี ถ้าจำเลยให้การปฏิเสธ ต้องเป็นการปฏิเสธโดยชัดแจ้ง คำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งคือ คำให้การปฏิเสธที่แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ด้วย ตาม ป.วิแพ่งมาตรา 177 ว. 2

มาตรา 177 วรรค 2 ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น

คำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธ ถือว่าเป็นคำให้การที่ไม่มีประเด็นต่อสู้ แต่การไม่มีประเด็นต่อสู้ไม่ได้หมายความว่า ศาลไม่ต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาท ศาลยังคงต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทอยู่ เพียงแต่จำเลยไม่มีประเด็นต่อสู้สืบแก้เท่านั้น ส่วนโจทก์ยังคงต้องสืบให้ศาลเห็นตามข้ออ้างของตนอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141 - 1157/2509

คำให้การจำเลยมีว่า นอกจากจำเลยให้การรับโดยชัดแจ้งแล้วจำเลยขอปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้นเป็นคำปฎิเสธไม่ชัดแจ้งว่าปฏิเสธในเรื่องใด อย่างใด จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2

เมื่อการเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยจะอ้างอิงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวก่อนไม่ได้

โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเช่าแผงและที่ดินขอให้ขับไล่จำเลยออกไปจากแผงพิพาท ย่อมหมายถึงให้ขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินที่ตั้งแผงนั้นด้วย การที่ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินที่ตั้งแผงจึงไม่เกินคำขอ หรือนอกฟ้องนอกประเด็น

เมื่อการเช่าที่ดินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่ได้ จะอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ได้

การงดสืบพยานนั้น เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่งได้ตามควรแก่กรณีแห่งเรื่อง เพื่อให้คดีได้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม

ข้อสังเกต ตามคำพิพากษาฎีกานี้จะสังเกตได้ว่า จำเลยให้การว่า จำเลยขอปฏิเสธทั้งสิ้น เท่ากับจำเลยไม่กล่าวถึงข้ออ้างของโจทก์เลย กล่าวง่ายๆ คือ ไม่เถียงเลย เมื่อไม่กล่าวถึงเลย ต้องถือว่าเป็นคำให้การรับ ศาลจึงไม่ต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาท งดสืบพยานแล้วพิพากษาได้เลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2511

จำเลยต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือบางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จะให้การลอยๆ ว่า นอกจากที่ให้การต่อไปนี้ ขอให้ถือว่าจำเลยปฏิเสธ โดยไม่มีเหตุผลแห่งการปฏิเสธ ย่อมเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ

เมื่อจำเลยไม่ให้การถึงข้อที่โจทก์ฟ้อง ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิเสธ โจทก์ไม่ต้องนำสืบ ข้อสังเกต ในฎีกานี้ จำเลยให้การว่า นอกจากที่ให้การต่อไปนี้ ขอให้ถือว่าจำเลยปฏิเสธทั้งสิ้น โดยไม่ได้กล่าวว่าปฏิเสธอะไรอย่างไร ในข้อใด เป็นคำให้การที่ไม่ถือว่าจำเลยปฏิเสธ ไม่ต้องกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในส่วนี้ว่า "เมื่อจำเลยไม่ให้การถึงข้อที่โจทก์ฟ้อง ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธในข้อที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่ายุ้งข้าวโจทก์ไม่จำต้องนำสืบในข้อนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงินค่ายุ้งข้าว โดยสั่งงดสืบพยาน ชอบแล้ว"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2517

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2505 และ 18 กรกฎาคม 2505จำเลยได้ยืมเงินโจทก์ไป ได้ทำสัญญากู้ไว้โดยไม่ได้ระบุเวลาชำระเงินแต่จำเลยสัญญาว่าจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้ภายใน 3 ปีครบกำหนดในพ.ศ. 2508 จำเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าได้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามฟ้อง แต่ได้หักหนี้กันไปแล้ว และคดีขาดอายุความ เรื่องกำหนดเวลาใช้เงิน 3 ปีก็ดี เรื่องหนี้ถึงกำหนดชำระในพ.ศ. 2508 ก็ดี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธไว้ ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยรับตามฟ้อง และโจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในข้อนี้เพราะฟังได้แล้วว่าครบกำหนดชำระหนี้เมื่อพ.ศ. 2508 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2515 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ

ข้อสังเกต ในเรื่องนี้ จำเลยไม่ได้ให้การว่า คดีขาดอายุความอย่างไร ได้แต่ให้การลอยๆ ว่าขาดอายุความเฉยๆ ดังนี้เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นเรื่องขาดอายุความหรือไม่ ศาลต้องฟังว่าไม่ขาดอายุความ เรื่องอายุความในคดีแพ่งนี้ไม่ถือเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศิลธรรมอันดีของประชาชน คู่ความต้องยกขึ้นต่อสู้ หากไม่ยกขึ้นต่อสู้แล้ว ศาลจะยกขึ้นกล่าวอ้างเองไม่ได้ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจาก อายุความในคดีอาญา

คำพิพากษาฎีกาที่ 812/2486

ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ขับรถเป็นปกติธุระของจำเลยที่ 1 ชนรถยนต์ของโจทก์เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ จำเลยให้การว่า การชนเกิดจากความผิดของโจทก์ ไม่ได้ปฏิเสธว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำการในทางที่จ้าง จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะโต้เถียงในข้อนี้ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบข้อที่มิได้มีประเด็นโต้เถียงนี้

คำพิพากษาฎีกาที่ 218/2488

ในคดีฟ้องหย่า จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นสามีภริยากับจำเลย ไม่ได้ปฏิเสธในเหตุหย่า โจทก์ไม่ต้องนำสืบในเหตุหย่า ศาลรับฟังตามฟ้องได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1011/2498 ปชญ.

จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นสินเดิมของโจทก์หรือไม่ จำเลยไม่ทราบ เท่ากับจำเลยปฏิเสธ โจทก์ต้องสืบให้สมอ้าง

ระวัง ! ถ้าเป็นคำให้การไม่ทราบลอยๆ แต่อย่างเดียวนั้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง แต่ในฎีกานี้ จำเลยได้ให้การว่า ไม่ทราบว่าเป็นสินเดิมของโจทก์หรือไม่ ไม่ใช่คำให้การไม่ทราบแบบ ลอยๆ

ดูเปรียบเทียบกับ

คำพิพากษาฎีกาที่ 1556/2497 จำเลยให้การว่าที่โจทก์บรรยายว่า ซื้อห้องพิพาทมานั้น จำเลยไม่ทราบ ถือว่าจำเลยไม่ปฏิเสธ ไม่มีข้อต่อสู้ในข้อนี้ โจทก์ไม่ต้องนำสืบ

ข้อสังเกต ทั้งสองฎีกานี้มีข้อเท็จจริงที่ต่างกัน ไม่ใช่ว่า ฎีกาที่ 1011/2498 จะกลับหลักฎีกาที่ 1556/2497 แต่อย่างใด เพราะหลังจากนั้น หากเป็นคำให้การไม่ทราบ ไม่รับรอง แนวฎีกายังคงถือว่าเป็นคำให้การที่ศาลไม่ต้องกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทอยู่ดี เพียงแต่บางฎีกาศาลใช้ถ้อยคำไม่ชัดเจน ทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสน ด้วยความเคารพต่อคำพิพากษาศาลฎีกา ผู้เขียนเห็นว่า หากศาลใช้ถ้อยคำให้ชัดเจน ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจและมั่นคงในหลักมากขึ้น

โปรดดู

คำพิพากษาฎีกาที่ 2155/2535

คำให้การของจำเลยที่มีข้อความเพียงว่า จ. ได้มอบอำนาจให้อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่รับรองเนื่องจากหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องทำไว้นานแล้ว ในช่องผู้ลงชื่อมอบอำนาจจะใช่ลายมือชื่อ จ. ที่แท้จริงหรือไม่ และปัจจุบัน จ. ยังคงเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโจทก์หรือไม่จำเลยไม่ทราบ และไม่ขอรับรอง เนื่องจากหนังสือรับรองเอกสารท้ายฟ้องเจ้าหน้าที่รับรองไว้นานแล้ว เป็นคำให้การที่ไม่ได้ความแจ้งชัดว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ทำให้เกิดประเด็น ถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในข้อนั้นตามฟ้องแล้ว หนังสือมอบอำนาจของโจทก์มีข้อความระบุว่า เรียกร้องทวงถามให้ชำระหนี้ แจ้งการบังคับจำนองหรือจำนำ ดำเนินคดีฟ้องร้องแก้ต่างทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา เป็นการมอบอำนาจที่ผู้รับมอบอำนาจสามารถดำเนินการฟ้องร้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ได้ เมื่อจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องจำเลยแทนโจทก์ได้ตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจโดย ไม่จำต้องระบุชื่อผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ ข้อสังเกต คำพิพากษาฎีกาฉบับนี้มีปัญหาตรงที่ใช้ถ้อยคำไม่ชัดเจนว่าคำให้การลักษณะเช่นนี้เป็นคำให้การรับโดยไม่กล่าวถึง หรือเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ชัดแจ้งกันแน่ แต่หากสังเกตดูให้ดีจะเห็นว่า ศาลวินิจฉัยว่า "เป็นคำให้การที่ไม่ได้ความแจ้งชัดว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ทำให้เกิดประเด็น ถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในข้อนั้นตามฟ้องแล้ว " ในคดีนี้จึงไม่มีการกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ผู้มอบอำนาจได้ทำการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีหรือไม่ และศาลฟังว่ามีการมอบอำนาจถูกต้องสมบูรณ์ ด้วยคำวินิจฉัยประเด็นสุดท้ายว่า "ตามข้อความในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจที่ผู้รับมอบอำนาจสามารถดำเนินการฟ้องร้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ได้ ต่อมาปรากฏว่า จำเลยทั้งสองกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ นายอนันต์ชัยจึงมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องจำเลยทั้งสองแทนโจทก์ได้ตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ โดยไม่จำต้องระบุชื่อผู้โต้แย้งสิทธิโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ" ทั้งนี้ โจทก์ไม่ต้องสืบหนังสือมอบอำนาจ เพราะศาลฟังตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายคำฟ้องของโจทก์ว่าถูกต้องสมบูรณ์แล้


คำพิพากษาฎีกาที่ 955/2508

ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมไม่สามารถเข้าใจสภาพแห่งข้อหาได้ มิได้ให้การว่าไม่สามารถเข้าใจสภาพแห่งข้อหา ข้อไหน คำไหน อย่างไร ดังนี้ถือว่าเป็นคำให้การที่ไม่มีประเด็น ข้อสังเกต กรณีนี้เป็นคำให้การปฏิเสธ ศาลต้องตั้งประเด็นให้โจทก์สืบ แต่จำเลยไม่มีประเด็นสืบแก้ เมื่อโจทก์สืบว่าไม่เคลือบคลุม ศาลต้องฟังตามที่โจทก์สืบ โดยไม่ต้องฟังจำเลย


คำพิพากษาฎีกาที่ 231 – 232 / 2509

ให้การว่าหนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายนั้น จำเลยไม่มีประเด็นสืบ เพราะมิได้ให้การว่าไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายด้วยเหตุอย่างไร


คำพิพากษาฎีกาที่ 1310/2520

โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ศาลอนุญาตแล้ว เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธฟ้องเพิ่มเติม ถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว

ข้อสังเกต ในเรื่องนี้ มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง เมื่อศาลอนุญาตแล้ว เท่ากับโจทก์มีประเด็นเพิ่ม ซึ่งจำเลยต้องให้การถึงด้วย หากจำเลยไม่ได้ขอแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมต่อสู้ในประเด็นที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมนี้ เท่ากับประเด็นที่โจทก์ขอแก้ใหม่นั้น จำเลยไม่ปฏิเสธ


กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ถือว่า จำเลยไม่มีประเด็นต่อสู้ และยอมรับทุกอย่างทุกประเด็นตามฟ้องที่โจทก์ได้ตั้งมา ในเรื่องของการกำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ หากจะแยกให้ละเอียดแล้วต้องพิจารณาคำให้การหากเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ ศาลต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาท เพียงแต่จำเลยไม่มีสิทธิสืบในประเด็นนั้นเท่านั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น