วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาท (อาญา) การแสดงความเห็นโดยสุจริต

ข้อยกเว้นในความผิดฐานหมิ่นประมาท (อาญา)

ในความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น ผู้กระทำอาจจะได้รับการยกเว้นความผิด โดยหากเป็นไปตามที่มาตรา ๓๒๙ ได้บัญญัติไว้ ผู้กระทำไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทเลย

มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
http://www.kodmhai.com/Pickodmhai/Spac1.gif(1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
http://www.kodmhai.com/Pickodmhai/Spac1.gif(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
http://www.kodmhai.com/Pickodmhai/Spac1.gif(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย ของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
http://www.kodmhai.com/Pickodmhai/Spac1.gif(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิด เผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

อธิบาย

การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต การแสดงความคิดเห็นนี้ไม่ใช่เรื่องของข้อเท็จจริง แต่เป็นการแสดงความเห็นโดยทั่วๆ ไป เช่นการแสดงความเห็นตามเว็บบอร์ดต่างๆ แม้ผิดพลาดก็จะได้รับความคุ้มครอง การแสดงความคิดเห็นนี้ต้องโดยสุจริต ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง ไม่มีเจตนาทำลายความเชื่อถือของผู้อื่น โดยศาลจะพิจารณาว่ามีเหตุผลอันควรให้เชื่อเช่นนั้นหรือไม่ ดังนั้น หากใส่ความโดยรู้อยู่แล้ว หรือควรจะรู้ว่าเป็นความเท็จก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4563/2544

โจทก์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว จำเลยได้พูดผ่านเครื่องกระจายเสียงว่า โจทก์เป็นคนขี้โกงเอาที่สาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง เพื่อให้ประชาชนต่อต้านการกระทำที่จำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะการที่โจทก์เสนอตัวต่อประชาชนให้เลือกตน เป็นการแสดงว่าตนเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์สุจริต ไว้วางใจให้เข้าไปมีส่วนร่วมบริหารกิจการแทนประชาชนได้ และการเรียกร้องเอาที่สาธารณประโยชน์คืนก็เพื่อประโยชน์ของประชาชนและจำเลยเองด้วย จำเลยจึงมีความชอบธรรมที่จะเปิดเผยให้ประชาชนทราบเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตลอดจนแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งการกระทำดังกล่าวอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ แม้ขณะจำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าว โจทก์ยังไม่ถูกดำเนินคดีอาญา หากจำเลยเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งใส่ร้ายโจทก์และมีมูลอันควรเชื่อ ก็เป็นการกระทำโดยสุจริตแล้ว จำเลยไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2496

หมิ่นประมาทเขาทางหนังสือแม้ในหนังสือจะมิได้กล่าวเจาะจงถึงผู้เสียหายโดยตรง คือกล่าวว่าเป็นการสุดแสนจะทนดูพวกมหาดไทยเล่นสกปรกต่อไปฯลฯนั้นเมื่อทางพิจารณาได้ความว่า พวกมหาดไทยนั้นจำเลยหมายถึงผู้เสียหายดังนี้จำเลยก็ย่อมมีผิดฐานหมิ่นประมาทผู้เสียหาย

การที่จะได้รับยกเว้นตามมาตรา 283 (กฎหมายเก่า) นั้น จะต้องเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต อันต้องด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 283 (กฎหมายเก่า) ถ้าเป็นเรื่องใส่ความโดยปราศจากความจริงแล้วไม่เป็นข้อแก้ตัว

การแสดงความคิดเห็นโดยมุ่งร้ายหรือไม่พอใจเป็นการส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2520

โจทก์ร่วมเคยให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์เกี่ยวกับจำเลยมีข้อความทำนองว่าจำเลยไปแจ้งความเท็จแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจหาว่าโจทก์ร่วมลักทรัพย์ เป็นการพยายามทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ฯลฯไปรับเงินสายหนังมาก็ปลอมลายมือโจทก์ร่วมว่ารับเงินจากจำเลยแล้ว จำเลยจึงเขียนข้อความส่งไปลงพิมพ์โฆษณาโต้ตอบในหนังสือพิมพ์ว่าโจทก์ร่วมเป็นเมียน้อยของจำเลย ทั้งๆ ที่จำเลยรู้อยู่ว่าโจทก์ร่วมมีสามี เป็นผลให้สามีโจทก์ร่วมเข้าใจผิด ดังนี้ การกระทำของจำเลยหาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็น หรือข้อความใดโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตน หรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมอันเกิดจากการที่โจทก์ร่วมให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์เกี่ยวกับจำเลยไม่ จำเลยไม่อาจอ้างข้อนี้ขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2520

บริษัทโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้าแห่งยุคเดลินิวส์มีโจทก์ที่ 2 เป็นผู้อำนวยการ จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการจำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการข่าวในประเทศหนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเงินสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการรวมหนึ่งล้านเก้าแสนแปดหมื่นเจ็ดพันบาทเศษ และบริษัทโจทก์ยังไม่ได้แบ่งรายได้ค่าโฆษณาเข้าสมทบอีก 1,247,402 บาท 40 สตางค์ จำเลยที่ 2,3 กับเจ้าหน้าที่ในกองบรรณาธิการหลายสิบคนเข้าชื่อกันมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 2 ให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเข้าสมทบเงินสวัสดิการ โจทก์ไม่ยอมจ่าย เพราะเกรงว่าจำเลยที่ 2 จะเอาไปจ่ายให้เฉพาะผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเหตุที่จะอ้างเช่นนั้นได้และต่อมาก็ปรากฏว่าเงินสวัสดิการหนึ่งล้านเก้าแสนบาทเศษที่อยู่ที่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้จ่ายให้ผู้ที่ออกจากงานพร้อมกับจำเลยที่ 2 จนหมดสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์บิดพลิ้วไม่ยอมจ่ายเงินฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 เขียนข้อความลงในหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิไทม์ จำหน่ายโฆษณาแก่ประชาชนทั่วราชอาณาจักรกล่าวหาว่าโจทก์โกงแม้กระทั่งเงินสวัสดิการของออฟฟิสบอยและคนถูบ้านก็ดี โจทก์มีเหลี่ยมโกงและทำความระยำก็ดีตลอดจนเปลี่ยนนามสกุลโจทก์ที่ 2 เป็นเบี้ยวตระกูล ซึ่งคำว่าเบี้ยวนี้ จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าหมายถึงฉ้อโกง ดังนี้ก็ดี หาเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตน หรือเป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมไม่ แต่เป็นเรื่องจำเลยที่ 2 มุ่งใส่ความโจทก์ทั้งสองให้ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เขียนและบรรณาธิการ จึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบด้วยมาตรา 326

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2530

การที่จำเลยทำหนังสือส่งไปยังประธานคณะกรรมการตุลาการและกรรมการตุลาการอื่นทุกคนกล่าวหาว่าโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการตุลาการคนหนึ่งผูกใจเจ็บแค้นมารดาจำเลยเพราะมีคดีเรื่องบุกรุกและหาเหตุกลั่นแกล้งจนมารดาจำเลยถึงแก่กรรม แล้วโจทก์ยังมาฟ้องกล่าวหาจำเลยในมูลละเมิดโดยใช้อิทธิพลในฐานะเป็นกรรมการตุลาการทำให้ผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาคดีเกิดความกลัวบีบบังคับให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและไม่ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลยในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว อันทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง ทั้งที่จำเลยรู้ดีว่าไม่มีมูลความจริง ย่อมแสดงให้เห็นในเบื้องต้นถึงเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ของจำเลย ทั้งจำเลยก็ไม่อาจแก้ตัวได้ว่ากระทำการดังกล่าวเพื่อป้องกันผลประโยชน์อันชอบธรรมของตนหรือเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา329(1)(3) เพราะในคดีแพ่งที่โจทก์จำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับมูลละเมิด จำเลยก็มีทนายช่วยแก้ต่างจำเลยจึงย่อมทราบดีกว่าขั้นตอนของกระบวนวิธีพิจารณาเป็นอย่างไรและควรปฏิบัติอย่างไรหากเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมในปัญหาที่พิพาทกับโจทก์มิใช่ร้องเรียนไปยังบรรดาบุคคลซึ่งจำเลยทราบดีว่าไม่อาจบันดาลใด ๆ ในทางคดีได้แต่กลับเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยมุ่งประสงค์ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ และเป็นการกระทำที่มีลักษณะให้ข้อความหมิ่นประมาทดังกล่าวแพร่หลายไปในวงการของนักกฎหมายและบุคคลอื่น เพื่อให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริงเกิดเข้าใจผิดดูหมิ่นเกลียดชังโจทก์อันส่งผลกระทบต่อเกียรติและสถานะในทางสังคมของโจทก์โดยตรงสมดังเจตนาอันแท้จริงของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328



วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ผู้ป่วยไม่ใช่ผู้ต้องหา กับการบังคับบำบัด

พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545
เป็นกฎหมายที่มุ่งประสงค์ลดปริมาณผู้เสพยาโดยนำผู้เสพยาเสพติดมาบำบัดภายใต้ระบบบังคับบำบัดโดยมีหลักการและวิธีคิดว่า
"ผู้เสพ คือผู้ป่วย ไม่ใช่ผู้ต้องหาหรืออาชญากร" ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณการนำป่วยเสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาและเดินหน้าเข้าสู่คุกตารางและให้โอกาสผู้เสพยาเสพติดไม่ปรับปรุงแก้ไขผิดพลาดในชีวิตและสามารถกลับเข้าสู่สังคมและใช้ชีวิตร่วมกับสังคมได้อย่างปกติสุขในแบบไม่มีความผิดติดตัวเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2546 เป็นต้นมาโดยมีกรมคุมประพฤติเป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่นสถาบันธัญญารักษ์และศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดในจังหวัดต่างๆ


โดยกฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นถึงกระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดอย่างแท้จริงผู้เสพยาเสพติดที่จะเข้าสู่กระบวนการนี้ได้จะต้องถูกจับในความผิดฐานเสพและมียาเสพติดหรือยาบ้าไว้ในครอบครองจำนวนไม่เกิน5 เม็ด จึงจะสามารถเข้าสู่กระบวนการบังคับบำบัดได้หากเกินกว่า 5 เม็ดไม่เข้าข่ายที่จะได้รับการบำบัดในระบบบังคับบำบัดนี้ผู้ถูกจับกุมจะต้องถูกส่งตัวไปตรวจพิสูจน์โดยวิธีทางการแพทย์ว่าเป็นผู้เสพหรือไม่และระหว่างนี้จะต้องอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานหากผู้ถูกจับเป็นเด็กหรือเยาวชนจะต้องอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจโดยผู้อำนวยการสถานพินิจหากเป็นผู้ใหญ่จะถูกควบคุมในเรือนจำ โดยแยกควบคุมต่างหากจากนักโทษทั่วไปซึ่งเป็นแต่เพียงการควบคุมเท่านั้น ยังมิได้ตกเป็นจำเลยในคดีแต่อย่างใด


ระบบบังคับบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนี้ถือว่าเป็นกระบวนการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลได้อย่างดีโดยผู้ที่แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นผู้เสพ จะได้รับการส่งตัวเข้าบำบัดและกลายเป็นผู้ป่วยสำหรับระยะเวลาฟื้นฟูจะอยู่ที่ 4 เดือน และมีการติดตามผลหลังการบำบัดรักษาหากไม่สามารถฟื้นฟูได้ เช่น ผู้ป่วยหนีออกจากการควบคุมตัวของเจ้าพนักงานที่ให้การรักษา จะถูกส่งเข้าดำเนินคดีอาญาตามปกติทันทีผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดแล้ว และหายดีแล้วจะไม่ถูกนำตัวขึ้นสู่ศาลเพื่อพิจารณาคดีและไม่มีความผิดหรือความด่างพร้อยในชีวิตในลักษณะเป็นประวัติอาชญากรติดตัว จะสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติสมัครงาน ทำกิจกรรมทางสังคมได้เหมือนคนทั่วไปที่ไม่เคยใช้ยามาก่อนเลย


อนุเคราะห์ข้อมูลทางการบำบัด โดย นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด อุดรธานี

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สถานการณ์ไม่สงบในประเทศ โพสต์เรื่องใดให้ระวัง

สองสามวันมานี้ สถานการณ์ในประเทศไทย ไม่ค่อยสู้ดี ด้วยมีการศึกระหว่างไทยเขมรที่บริเวณชายแดน ข้าพเจ้าเห็นตามเว็บบอร์ดต่างๆ นำข่าวจริงบ้างเท็จบ้างมาพูดคุยแสดงหลักฐานจริงบ้างเท็จบ้างเพื่อหวังผลใดหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่ที่แน่ๆ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 384 ฐานข่าวลืออันเป็นเท็จ

มาตรา 384 ผู้ใดแกล้งบอกเล่าความเท็จให้เลื่องลือจนเป็นเหตุ ให้ประชาชนตื่นตกใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบความผิดฐานนี้คือ

ผู้ใด
แกล้ง
บอกเล่าความเท็จให้เลื่องลือ
เป็นเหตุให้ประชาชนตกใจ

การกระทำความผิดฐานนี้ต้องได้กระทำโดยเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผล ในข้อนี้พิจารณาจากผู้เล่าข่าวเลื่องลือนั้นเป็นใคร มีวิจารณญาณในการนำเสนอข่าวแค่ไหน หากเป็นเซียนนำเสนอข่าวในระบบอินเตอร์เนตย่อมต้องมีวิจารณญาณในการกลั่นกรองข่าว หรือเป็นผู้มีความรู้ ระดับเกินวิญญูชนทั่วไป ย่อมต้องมีวิจารณญาณในการนำเสนอข่าว ต้องถือว่ามีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าจะเกิดการตื่นตกใจในหมู่ประชาชน

นอกจากนี้ต้องระวังด้วยว่า หากการเล่าข่าวของตนได้กระทำไปโดยมีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาทผู้ใดหรือหน่วยงานใด อาจมีความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาร่วมด้วย

ความรับผิดมีลักษณะเป็นต่างกรรมหรือต่างวาระ ต้องรับโทษเรียงกระทงความผิด ความเห็นละหนึ่งกรรมมีกี่ความเห็นนำมาบวกกันถ้าโทษเกินสามปี ศาลไม่อาจรอการลงโทษให้ได้เลย ขอให้ทุกท่านพึงระวัง

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การได้สัญชาติโดยการเกิด อังกฤษเปรีบบเทียบไทย

เรื่องของการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในดินแดน ระหว่างประเทศอังกฤษกับประเทศไทย โดยเนื้อหาของกฎหมายสองประเทศระบุไว้ เปรียบเทียบกันได้ดังนี้

มาตรา ๗ บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด
(๑) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย
(๒) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคหนึ่ง
คำว่าบิดาตาม (๑) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม
มาตรา ๗ ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น
(๑) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
(๒) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ
(๓) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

ดังนั้น ผู้ที่เกิดในแผ่นดินไทย แม้บิดา และ มารดาจะไม่ใช่ผู้มีสัญชาติไทย ก็มีสิทธิได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิด เว้นแต่ ในขณะที่บุคคลนั้นเกิด บิดา หรือ มารดา ของผู้นั้น เป็น ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย หรือเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย

เมือพิจารณาตามมาตรา 7 (2) จะได้ความว่า ผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย จะได้สัญชาติไทยโดยอัตโนมัติ บนพื้นฐานวิธีคิดว่า เด็กที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทยย่อมเป็นคนไทย แต่อย่างไรก็ดี ยังคงมีข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 7 ทวิ ว่า หาก บิดา และ มารดา ของผู้นั้นเป็นคนต่างด้าวแล้ว เขาอาจจะไม่ได้สัญชาติไทยแบบอัตโนมัติ ถ้าหากว่า บิดาหรือมารดาของเขาคนใดคนหนึ่งนั้น เป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะราย หรือ เพียงชั่วคราว เช่น มาท่องเทียว แล้วคลอดลูกในไทย หรือ มาเรียนหนังสือชั่วคราว เป็นต้น หรือเป็นผู้ที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายแล้วมาคลอดลูกในไทย เมื่อพิจารณาตามนี้แล้วทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีหรือ คนต่างด้าวที่พ่อแม่ไม่ใช่สัญชาติไทยแล้วลูกได้สัญชาติไทย มีได้กรณีที่บิดามารดาอยู่ในเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือเข้ามาทำมาหากินตั้งรกราก แต่ไม่แปลงสัญชาติเป็นไทย เช่น
นายเอ กับนางบี สองสามีภริยาสัญชาติอังกฤษ เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นคนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย และได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถาวร(มีใบอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย) ต่อมา นางบี คลอดลูกเป็น ด.ช.ดำ ในประเทศไทย ด.ช.ดำได้สัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทย

สำหรับกฎหมายเรื่องสัญชาติของประเทศอังกฤษนั้น วางหลักไว้ว่่า
Under the law in effect from 1 January 1983, a child born in the UK to a parent who is a British citizen or 'settled' in the UK is automatically a British citizen by birth.

เด็กที่เกิดในประเทศอังกฤษโดยมีบิดาและมารดาเป็นคนสัญชาติอังกฤษย่อมได้รับสัญชาติอังกฤษ โดยการเกิด

"Settled" status in this context usually means the parent is resident in the United Kingdom and has the right of abode, holdsIndefinite Leave to Remain (ILR), or is the citizen of an EU/EEA country and has permanent residence. Irish citizens in the UK are also deemed settled for this purpose

เด็กที่เกิดในประเทศอังกฤษ แต่บิดามารดามิได้เป็นอังกฤษ จะได้สัญชาติอังกฤษได้ด้วยบิดามารดาตั้งรกราก ทำมาหากินอยู่ในประเทศอังกฤษ หรือได้รับอนุญาติให้อยู่ในประเทศอังกฤษแบบถาวร เช่น นายสมชาย กับ นางสมหญิง ไปทำมาหากินได้รับอนุญาติให้ทำงานในประเทศอังกฤษ มีถิ่นที่อยู่ในประเทศอังกฤษ ไม่ว่าในฐานะใด แม้เป็นผู้อาศัยก็ตาม เมื่อเกิดบุตรในประเทศอังกฤษ เด็กที่เกิดย่อมได้สัญชาติอังกฤษตามหลักดินแดนเกิด ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับกฎหมายสัญชาติของไทย ไม่ต่างกันในเนื้อหาสาระเลย


British citizenship by birth in the United Kingdom
Under the law in effect from 1 January 1983, a child born in the UK to a parent who is a British citizen or 'settled' in the UK is automatically a British citizen by birth.
Only one parent needs to meet this requirement, either the father or the mother.
"Settled" status in this context usually means the parent is resident in the United Kingdom and has the right of abode, holds Indefinite Leave to Remain (ILR), or is the citizen of an EU/EEA country and has permanent residence. Irish citizens in the UK are also deemed settled for this purpose.
Special rules exist for cases where a parent of a child is a citizen of a European Union or European Economic Area member state, or Switzerland. The law in this respect was changed on 2 October 2000 and again on 30 April 2006. See below for details.
For children born before 1 July 2006, if only the father meets this requirement, the parents must be married. Marriage subsequent to the birth is normally enough to confer British citizenship from that point.
Where the father is not married to the mother, the Home Office usually registers the child as British provided an application is made and the child would have been British otherwise. The child must be under 18 on the date of application.
Where a parent subsequently acquires British citizenship or "settled" status, the child can be registered as British provided he or she is still aged under 18.
If the child lives in the UK until age 10 there is a lifetime entitlement to register as a British citizen. The immigration status of the child and his/her parents is irrelevant.
Special provisions may apply for the child to acquire British citizenship if a parent is a British Overseas citizen or British subject, or if the child is stateless.
Before 1983, birth in the UK was sufficient in itself to confer British nationality irrespective of the status of parents, with an exception only for children of diplomats and enemy aliens. This exception did not apply to most visiting forces, so, in general, children born in the UK before 1983 to visiting military personnel (e.g. US forces stationed in the UK) are British citizens by birth.

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ถือสองสัญชาติ เป็นนายกได้หรือไม่

ถือสองสัญชาติ เป็นนายกได้หรือไม่


รัฐธรรมนูญทุกฉบับ รวมถึงฉบับปัจจุบันจะมีบทบัญญัติว่าด้วยคุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง สส. ฉบับปัจจุบัน (๒๕๕๐) บัญญัติอยู่ในมาตรา ๑๐๑ และ ข้อห้ามในมาตรา ๑๐๒

มาตรา ๑๐๑
บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(๓) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า สามสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
(๔) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
(ข) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
(ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา
(ง) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี
(๕) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วนต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (๔) ด้วย แต่ลักษณะดังกล่าวในกรณีใดที่กำหนดถึงจังหวัด ให้หมายถึงกลุ่มจังหวัด
(๖) คุณสมบัติอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

มาตรา ๑๐๒
บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(๑) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๒) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๓) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๐๐ (๑) (๒) หรือ (๔)
(๔) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(๕) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๗) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวย ผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๘) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
(๙) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๑๐) เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงแล้ว ยังไม่เกินสองปี
(๑๑) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
(๑๒) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(๑๓) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา ๒๖๓
(๑๔) เคยถูกวุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๗๔ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง

มาตรา ๑๐๑ (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด หมายถึง ได้สัญชาติไทยมาแต่กำเนิด โดย เกิดในราชอาณาจักรไทย หรือ มีบิดา หรือมารดา (บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งก็ได้) มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย เช่น ด.ช.ดำ มีบิดาเป็นคนไทย มารดาเป็นคนอังกฤษ เกิดที่ประเทศอังกฤษ ด.ช.ดำ ได้สัญชาติไทย ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยว่า นายอภิสิทธิฯ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน มีสัญชาติไทย

ข้อห้ามในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ดูที่มาตรา ๑๐๒ มีทั้งหมด ๑๔ ข้อ มีข้อใดหรือไม่ที่บัญญัติห้ามไม่ให้บุคคลสัญชาติไทยและมีสัญชาติอื่นร่วมด้วยลงสมัครรับเลือกตั้ง ถ้าไม่มี คือทำได้ เพราะจะห้ามต้องมีกฎหมายบัญญัติห้าม เมื่อไม่ปรากฎข้อใดห้าม นายอภิสิทธิึจึงไม่ใช่ผู้ขาดคุณสมบัติในการลงสมัครรับเลือกตั้งแต่อย่างใด ขณะนี้ วันพุธที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลา ๒๑.๕๒ น. ยังไม่มีนักวิชาการคนใดในระบบอินเตอร์เนต ตอบคำถามนี้ด้วยรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นพื้นฐาน เรียกว่าสูงสุดกลับสู่สามัญ ผู้เขียนจึงปวดใจเกินบรรยาย