วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การได้สัญชาติโดยการเกิด อังกฤษเปรีบบเทียบไทย

เรื่องของการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในดินแดน ระหว่างประเทศอังกฤษกับประเทศไทย โดยเนื้อหาของกฎหมายสองประเทศระบุไว้ เปรียบเทียบกันได้ดังนี้

มาตรา ๗ บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด
(๑) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย
(๒) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคหนึ่ง
คำว่าบิดาตาม (๑) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม
มาตรา ๗ ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น
(๑) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
(๒) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ
(๓) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

ดังนั้น ผู้ที่เกิดในแผ่นดินไทย แม้บิดา และ มารดาจะไม่ใช่ผู้มีสัญชาติไทย ก็มีสิทธิได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิด เว้นแต่ ในขณะที่บุคคลนั้นเกิด บิดา หรือ มารดา ของผู้นั้น เป็น ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย หรือเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย

เมือพิจารณาตามมาตรา 7 (2) จะได้ความว่า ผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย จะได้สัญชาติไทยโดยอัตโนมัติ บนพื้นฐานวิธีคิดว่า เด็กที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทยย่อมเป็นคนไทย แต่อย่างไรก็ดี ยังคงมีข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 7 ทวิ ว่า หาก บิดา และ มารดา ของผู้นั้นเป็นคนต่างด้าวแล้ว เขาอาจจะไม่ได้สัญชาติไทยแบบอัตโนมัติ ถ้าหากว่า บิดาหรือมารดาของเขาคนใดคนหนึ่งนั้น เป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะราย หรือ เพียงชั่วคราว เช่น มาท่องเทียว แล้วคลอดลูกในไทย หรือ มาเรียนหนังสือชั่วคราว เป็นต้น หรือเป็นผู้ที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายแล้วมาคลอดลูกในไทย เมื่อพิจารณาตามนี้แล้วทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีหรือ คนต่างด้าวที่พ่อแม่ไม่ใช่สัญชาติไทยแล้วลูกได้สัญชาติไทย มีได้กรณีที่บิดามารดาอยู่ในเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือเข้ามาทำมาหากินตั้งรกราก แต่ไม่แปลงสัญชาติเป็นไทย เช่น
นายเอ กับนางบี สองสามีภริยาสัญชาติอังกฤษ เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นคนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย และได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถาวร(มีใบอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย) ต่อมา นางบี คลอดลูกเป็น ด.ช.ดำ ในประเทศไทย ด.ช.ดำได้สัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทย

สำหรับกฎหมายเรื่องสัญชาติของประเทศอังกฤษนั้น วางหลักไว้ว่่า
Under the law in effect from 1 January 1983, a child born in the UK to a parent who is a British citizen or 'settled' in the UK is automatically a British citizen by birth.

เด็กที่เกิดในประเทศอังกฤษโดยมีบิดาและมารดาเป็นคนสัญชาติอังกฤษย่อมได้รับสัญชาติอังกฤษ โดยการเกิด

"Settled" status in this context usually means the parent is resident in the United Kingdom and has the right of abode, holdsIndefinite Leave to Remain (ILR), or is the citizen of an EU/EEA country and has permanent residence. Irish citizens in the UK are also deemed settled for this purpose

เด็กที่เกิดในประเทศอังกฤษ แต่บิดามารดามิได้เป็นอังกฤษ จะได้สัญชาติอังกฤษได้ด้วยบิดามารดาตั้งรกราก ทำมาหากินอยู่ในประเทศอังกฤษ หรือได้รับอนุญาติให้อยู่ในประเทศอังกฤษแบบถาวร เช่น นายสมชาย กับ นางสมหญิง ไปทำมาหากินได้รับอนุญาติให้ทำงานในประเทศอังกฤษ มีถิ่นที่อยู่ในประเทศอังกฤษ ไม่ว่าในฐานะใด แม้เป็นผู้อาศัยก็ตาม เมื่อเกิดบุตรในประเทศอังกฤษ เด็กที่เกิดย่อมได้สัญชาติอังกฤษตามหลักดินแดนเกิด ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับกฎหมายสัญชาติของไทย ไม่ต่างกันในเนื้อหาสาระเลย


British citizenship by birth in the United Kingdom
Under the law in effect from 1 January 1983, a child born in the UK to a parent who is a British citizen or 'settled' in the UK is automatically a British citizen by birth.
Only one parent needs to meet this requirement, either the father or the mother.
"Settled" status in this context usually means the parent is resident in the United Kingdom and has the right of abode, holds Indefinite Leave to Remain (ILR), or is the citizen of an EU/EEA country and has permanent residence. Irish citizens in the UK are also deemed settled for this purpose.
Special rules exist for cases where a parent of a child is a citizen of a European Union or European Economic Area member state, or Switzerland. The law in this respect was changed on 2 October 2000 and again on 30 April 2006. See below for details.
For children born before 1 July 2006, if only the father meets this requirement, the parents must be married. Marriage subsequent to the birth is normally enough to confer British citizenship from that point.
Where the father is not married to the mother, the Home Office usually registers the child as British provided an application is made and the child would have been British otherwise. The child must be under 18 on the date of application.
Where a parent subsequently acquires British citizenship or "settled" status, the child can be registered as British provided he or she is still aged under 18.
If the child lives in the UK until age 10 there is a lifetime entitlement to register as a British citizen. The immigration status of the child and his/her parents is irrelevant.
Special provisions may apply for the child to acquire British citizenship if a parent is a British Overseas citizen or British subject, or if the child is stateless.
Before 1983, birth in the UK was sufficient in itself to confer British nationality irrespective of the status of parents, with an exception only for children of diplomats and enemy aliens. This exception did not apply to most visiting forces, so, in general, children born in the UK before 1983 to visiting military personnel (e.g. US forces stationed in the UK) are British citizens by birth.

15 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีครับคุณ natjar2001
    ผมได้อ่านความรู้ทางด้านกฎหมายของคุณแล้ว มีประโยชน์มาก และเมื่อดูคุณวุฒิก็ยอมรับนับถือ ดังนั้นผมขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์และขอเรียกอาจารย์ด้วยคนนะครับ เพราะผมมีปํัญหาอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยตอบคำถามขยายความในประเด็นเรื่องสัญชาติสักหน่อยครับ เนื่องจากว่าผมได้ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งให้สรุปเรื่องสัญชาติมาให้ฟัง และให้มาพรีเซ้นท์ในที่ประชุมของหน่วยงานในวันที่ ๑ เม.ย.๕๔ นี้เอง ผมเองจบปริญญาตรีนิติศาสตร์ก็จริง แต่กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่ค่อยมีความเข้าใจ อีกทั้งผู้บังคับบัญชายังให้เปรียบเท่ียบกับกฎหมายอังกฤษด้วย โดยประเด็นที่ท่านต้องการทราบคือ คนไทยถือสองสัญชาติได้หรือไม่ และการได้สัญชาติอังกฤษนั้นจะทำให้ได้สิทธิ และความคุ้มครองอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากมากสำหรับผม ความจริงแล้วไม่เห็นจะเกี่ยวอะไรกับหน่วยงานเลย ผมเห็นคำถามผมก็ดูออกแล้วว่าเจ้านายคงมุ่งตรงไปยังประเด็นของนายกที่กำลังเป็นข่าวในขณะนั้นมากกว่าจึงถาม สมัยนี้การเมืองเข้ามามีบทบาทจนแทบจะแยกไม่ออกเสียแล้วว่าอันไหนเป็นเรื่องงาน อันไหนเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยว แต่เมื่อผู้บังคับบัญชาอยากรู้ แถมให้พรีเซ้นท์ในที่ประชุม ผมก็ต้องค้นคว้าหามาตอบให้ได้ แต่ก็ยังหนักใจครับเพราะผมมีความรู้เรื่องนี้น้อยจริง ๆ ลำพัง พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย ก็แย่แล้ว นี่จะให้เปรียบเทียบกฎหมายสัญชาติอังกฤษอีก ซึ่งผมไม่รู้เลย ผมจึงขอความรบกวนถามอาจารย์ตามประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ครับ
    ๑. ตามที่อาจารย์ยกหลักกฎหมายของอังกฤษว่าเด็ก ที่เกิดในประเทศอังกฤษ แต่บิดามารดามิได้เป็นอังกฤษ จะได้สัญชาติอังกฤษได้ด้วยบิดามารดาตั้งรกราก ทำมาหากินอยู่ในประเทศอังกฤษ หรือได้รับอนุญาติให้อยู่ในประเทศอังกฤษแบบถาวร ดังนีั้น ท่านนายกอภิสิทธิ์ ฯ ก็ได้สัญชาติอังกฤษถูกต้องไหมครับ แต่มีเว็บไซด์บางแห่งบอกว่ายังไม่ได้ เพราะในสูติบัตรของนายกอภิสิทธิ์ ระบุรับรองสถานที่เกิดว่าเกิดในอังกฤษเท่านั้น แต่ถ้าอยากได้สัญชาติอังกฤษต้องไปยื่นคำร้องเพื่อให้ได้สัญชาติอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นฐานะของนายกอภิสิทธิ์ จึงเป็นแค่พลเมืองอังกฤษ อาจารย์ว่าความเห็นเขาถูกต้องไหมครับ เพราะถ้าเที่ยบกับ พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย ตามมาตรา ๗ (๒) ก็ไม่เห็นจะมีมาตราไหนบัญญัติต่อว่าให้ต้องไปยื่นคำร้องอีก หรือว่ากฎหมายของอังกฤษเขามีขั้นตอนตรงนี้เพิ่มมาอีกครับ
    ๒. จากข้อ ๑ การที่นายกอภิสิทธิ์ จะได้สัญชาติอังกฤษ แสดงว่าบิดามารดาของท่านนายกต้องเข้าไปตั้งรกรากทำมาหากินในอังกฤษ หรือได้รับอนุญาตให้อยู่แบบถาวร จึงจะได้สัญชาติอังกฤษ ถูกต้องไหมครับ ซึ่งข้อมูลตรงนี้ผมหาไม่พบว่าบิดามารดานายกเข้าไปอยู่ในอังกฤษในฐานะอะไรและได้อยู่ชั่วคราวหรือถาวร ท่านอาจารย์พอจะมีคำตอบในข้อนี้หรือไม่ครับ
    ๓. พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย มีการกล่าวถึงการเสียสัญชาติอยู่หลายกรณี เช่น แปลงสัญชาติ, สมรส, การสละ, ถูกถอนสัญชาติ และรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว อย่างไรก็ตามการถูกถอนสัญชาติ(โดยรัฐบาล) ก็ไม่มีกรณีที่คนไทยสามารถถูกถอนสัญชาติในกรณีการได้สัญชาติมาโดยการเกิด
    จากบิดาหรือมารดาที่เป็นคนไทย ดังนั้นที่มีผู้โจมตีว่านายกอภิสิทธิ์ เมื่อมีสัญชาติอังกฤษแล้ว ก็จะต้องถอนสัญชาติไทย จึงเป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้องใช่ไหมครับ ยกเว้นถ้าเขาเจตนาสละสัญชาติเอง ขณะเดียวกันอดีตนายกทักษิณ เมื่อได้สัญชาติมอนเตเนโกรแล้ว เขาก็ไม่อาจถูกถอนสัญชาติไทยได้เช่นเดียวกันถูกต้องไหมครับ ฉะนั้นผมสามารถตอบโจทย์ได้ว่าคนไทยสามารถถือสองสัญชาติได้ ถูกต้องไหมครับ ผมขอความเห็นอาจารย์ด้วยครับ
    ๔. จากข้อ ๓ กฎหมายสัญชาติของอังกฤษ กับกฤหมายสัญชาติของมอนเตเนโกร เขามีบทบังคับว่าให้ต้องสละสัญชาติเดิมก่อนไหมครับ เพราะผมไม่ทราบ และยอมรับว่าไม่ค่อยรู้เรื่องกฎหมายต่างประเทศ และไม่มีความชำนาญในการแปลภาษาอังกฤษเลย แต่ พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย ผมอ่านดูแล้วไม่เห็นมีบอกว่าต้องสละสัญชาติอื่นก่อน เว้นแต่ประสงค์จะสละเองเช่นเรื่องที่หญิงสมรสกับคนต่างด้าว เป็นต้น หรือไม่ก็คนที่ได้สัญชาติไทย (ยกเว้นโดยการเกิดจากบิดาหรือมารดาไทย) จะทำเงื่อนไขอะไรตามกฎหมายให้ถูกถอนสัญชาติเอง แสดงว่ากฎหมายของไทยเราก็ไม่ห้ามเด็ดขาดเช่นกันในการที่คนสัญชาติอื่นจะมาถือสัญชาติของเราด้วยถูกต้องไหมครับ
    ข้อสุดท้าย นอกจากกรณีที่อาจารย์ยกตัวอย่างการได้สัญชาติอังกฤษซึ่งมีสองกรณีคือ ได้มาตามหลักสืบสายโลหิต(พ่ออังกฤษแม่อังกฤษ) กับหลักดินแดนแล้ว ยังมีการได้มาโดยกรณีอื่นอีกไหมครับ เช่น การแปลงสัญชาติ
    การสมรสกับคนอังกฤษ เป็นต้น เพราะผมไม่ทราบจะค้นหาได้ที่ไหน จึงขอความกรุณาอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยตอบปัญหาแก่กระผมตามข้อต่าง ๆ ที่กล่าวมาด้วยครับ หากเป็นไปได้ขอให้ตอบอย่างช้าวันที่ ๓๑ มีนาคม ครับ
    เพราะ ๑ เมษายน ผมต้องพรีเซ้นท์ในที่ประชุมแล้ว ขอความกรุณาด้วยครับ

    ตอบลบ
  2. สวัสดีครับคุณ natjar2001
    ผมได้อ่านความรู้ทางด้านกฎหมายของคุณแล้ว มีประโยชน์มาก และเมื่อดูคุณวุฒิก็ยอมรับนับถือ ดังนั้นผมขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์และขอเรียกอาจารย์ด้วยคนนะครับ เพราะผมมีปํัญหาอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยตอบคำถามขยายความในประเด็นเรื่องสัญชาติสักหน่อยครับ เนื่องจากว่าผมได้ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งให้สรุปเรื่องสัญชาติมาให้ฟัง และให้มาพรีเซ้นท์ในที่ประชุมของหน่วยงานในวันที่ ๑ เม.ย.๕๔ นี้เอง ผมเองจบปริญญาตรีนิติศาสตร์ก็จริง แต่กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่ค่อยมีความเข้าใจ อีกทั้งผู้บังคับบัญชายังให้เปรียบเท่ียบกับกฎหมายอังกฤษด้วย โดยประเด็นที่ท่านต้องการทราบคือ คนไทยถือสองสัญชาติได้หรือไม่ และการได้สัญชาติอังกฤษนั้นจะทำให้ได้สิทธิ และความคุ้มครองอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากมากสำหรับผม ความจริงแล้วไม่เห็นจะเกี่ยวอะไรกับหน่วยงานเลย ผมเห็นคำถามผมก็ดูออกแล้วว่าเจ้านายคงมุ่งตรงไปยังประเด็นของนายกที่กำลังเป็นข่าวในขณะนั้นมากกว่าจึงถาม สมัยนี้การเมืองเข้ามามีบทบาทจนแทบจะแยกไม่ออกเสียแล้วว่าอันไหนเป็นเรื่องงาน อันไหนเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยว แต่เมื่อผู้บังคับบัญชาอยากรู้ แถมให้พรีเซ้นท์ในที่ประชุม ผมก็ต้องค้นคว้าหามาตอบให้ได้ แต่ก็ยังหนักใจครับเพราะผมมีความรู้เรื่องนี้น้อยจริง ๆ ลำพัง พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย ก็แย่แล้ว นี่จะให้เปรียบเทียบกฎหมายสัญชาติอังกฤษอีก ซึ่งผมไม่รู้เลย ผมจึงขอความรบกวนถามอาจารย์ตามประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ครับ
    ๑. ตามที่อาจารย์ยกหลักกฎหมายของอังกฤษว่าเด็ก ที่เกิดในประเทศอังกฤษ แต่บิดามารดามิได้เป็นอังกฤษ จะได้สัญชาติอังกฤษได้ด้วยบิดามารดาตั้งรกราก ทำมาหากินอยู่ในประเทศอังกฤษ หรือได้รับอนุญาติให้อยู่ในประเทศอังกฤษแบบถาวร ดังนีั้น ท่านนายกอภิสิทธิ์ ฯ ก็ได้สัญชาติอังกฤษถูกต้องไหมครับ แต่มีเว็บไซด์บางแห่งบอกว่ายังไม่ได้ เพราะในสูติบัตรของนายกอภิสิทธิ์ ระบุรับรองสถานที่เกิดว่าเกิดในอังกฤษเท่านั้น แต่ถ้าอยากได้สัญชาติอังกฤษต้องไปยื่นคำร้องเพื่อให้ได้สัญชาติอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นฐานะของนายกอภิสิทธิ์ จึงเป็นแค่พลเมืองอังกฤษ อาจารย์ว่าความเห็นเขาถูกต้องไหมครับ เพราะถ้าเที่ยบกับ พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย ตามมาตรา ๗ (๒) ก็ไม่เห็นจะมีมาตราไหนบัญญัติต่อว่าให้ต้องไปยื่นคำร้องอีก หรือว่ากฎหมายของอังกฤษเขามีขั้นตอนตรงนี้เพิ่มมาอีกครับ
    ๒. จากข้อ ๑ การที่นายกอภิสิทธิ์ จะได้สัญชาติอังกฤษ แสดงว่าบิดามารดาของท่านนายกต้องเข้าไปตั้งรกรากทำมาหากินในอังกฤษ หรือได้รับอนุญาตให้อยู่แบบถาวร จึงจะได้สัญชาติอังกฤษ ถูกต้องไหมครับ ซึ่งข้อมูลตรงนี้ผมหาไม่พบว่าบิดามารดานายกเข้าไปอยู่ในอังกฤษในฐานะอะไรและได้อยู่ชั่วคราวหรือถาวร ท่านอาจารย์พอจะมีคำตอบในข้อนี้หรือไม่ครับ
    ๓. พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย มีการกล่าวถึงการเสียสัญชาติอยู่หลายกรณี เช่น แปลงสัญชาติ, สมรส, การสละ, ถูกถอนสัญชาติ และรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว อย่างไรก็ตามการถูกถอนสัญชาติ(โดยรัฐบาล) ก็ไม่มีกรณีที่คนไทยสามารถถูกถอนสัญชาติในกรณีการได้สัญชาติมาโดยการเกิด
    จากบิดาหรือมารดาที่เป็นคนไทย ดังนั้นที่มีผู้โจมตีว่านายกอภิสิทธิ์ เมื่อมีสัญชาติอังกฤษแล้ว ก็จะต้องถอนสัญชาติไทย จึงเป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้องใช่ไหมครับ ยกเว้นถ้าเขาเจตนาสละสัญชาติเอง ขณะเดียวกันอดีตนายกทักษิณ เมื่อได้สัญชาติมอนเตเนโกรแล้ว เขาก็ไม่อาจถูกถอนสัญชาติไทยได้เช่นเดียวกันถูกต้องไหมครับ ฉะนั้นผมสามารถตอบโจทย์ได้ว่าคนไทยสามารถถือสองสัญชาติได้ ถูกต้องไหมครับ ผมขอความเห็นอาจารย์ด้วยครับ
    ๔. จากข้อ ๓ กฎหมายสัญชาติของอังกฤษ กับกฤหมายสัญชาติของมอนเตเนโกร เขามีบทบังคับว่าให้ต้องสละสัญชาติเดิมก่อนไหมครับ เพราะผมไม่ทราบ และยอมรับว่าไม่ค่อยรู้เรื่องกฎหมายต่างประเทศ และไม่มีความชำนาญในการแปลภาษาอังกฤษเลย แต่ พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย ผมอ่านดูแล้วไม่เห็นมีบอกว่าต้องสละสัญชาติอื่นก่อน เว้นแต่ประสงค์จะสละเองเช่นเรื่องที่หญิงสมรสกับคนต่างด้าว เป็นต้น หรือไม่ก็คนที่ได้สัญชาติไทย (ยกเว้นโดยการเกิดจากบิดาหรือมารดาไทย) จะทำเงื่อนไขอะไรตามกฎหมายให้ถูกถอนสัญชาติเอง แสดงว่ากฎหมายของไทยเราก็ไม่ห้ามเด็ดขาดเช่นกันในการที่คนสัญชาติอื่นจะมาถือสัญชาติของเราด้วยถูกต้องไหมครับ
    ข้อสุดท้าย นอกจากกรณีที่อาจารย์ยกตัวอย่างการได้สัญชาติอังกฤษซึ่งมีสองกรณีคือ ได้มาตามหลักสืบสายโลหิต(พ่ออังกฤษแม่อังกฤษ) กับหลักดินแดนแล้ว ยังมีการได้มาโดยกรณีอื่นอีกไหมครับ เช่น การแปลงสัญชาติ
    การสมรสกับคนอังกฤษ เป็นต้น เพราะผมไม่ทราบจะค้นหาได้ที่ไหน จึงขอความกรุณาอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยตอบปัญหาแก่กระผมตามข้อต่าง ๆ ที่กล่าวมาด้วยครับ หากเป็นไปได้ขอให้ตอบอย่างช้าวันที่ ๓๑ มีนาคม ครับ
    เพราะ ๑ เมษายน ผมต้องพรีเซ้นท์ในที่ประชุมแล้ว ขอความกรุณาด้วยครับ

    ตอบลบ
  3. ชัยณรงค์26/3/54 20:34

    สวัสดีครับคุณ natjar2001
    ผมได้อ่านความรู้ทางด้านกฎหมายของคุณแล้ว มีประโยชน์มาก และเมื่อดูคุณวุฒิก็ยอมรับนับถือ ดังนั้นผมขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์และขอเรียกอาจารย์ด้วยคนนะครับ เพราะผมมีปํัญหาอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยตอบคำถามขยายความในประเด็นเรื่องสัญชาติสักหน่อยครับ เนื่องจากว่าผมได้ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งให้สรุปเรื่องสัญชาติมาให้ฟัง และให้มาพรีเซ้นท์ในที่ประชุมของหน่วยงานในวันที่ ๑ เม.ย.๕๔ นี้เอง ผมเองจบปริญญาตรีนิติศาสตร์ก็จริง แต่กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่ค่อยมีความเข้าใจ อีกทั้งผู้บังคับบัญชายังให้เปรียบเท่ียบกับกฎหมายอังกฤษด้วย โดยประเด็นที่ท่านต้องการทราบคือ คนไทยถือสองสัญชาติได้หรือไม่ และการได้สัญชาติอังกฤษนั้นจะทำให้ได้สิทธิ และความคุ้มครองอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากมากสำหรับผม ความจริงแล้วไม่เห็นจะเกี่ยวอะไรกับหน่วยงานเลย ผมเห็นคำถามผมก็ดูออกแล้วว่าเจ้านายคงมุ่งตรงไปยังประเด็นของนายกที่กำลังเป็นข่าวในขณะนั้นมากกว่าจึงถาม สมัยนี้การเมืองเข้ามามีบทบาทจนแทบจะแยกไม่ออกเสียแล้วว่าอันไหนเป็นเรื่องงาน อันไหนเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยว แต่เมื่อผู้บังคับบัญชาอยากรู้ แถมให้พรีเซ้นท์ในที่ประชุม ผมก็ต้องค้นคว้าหามาตอบให้ได้ แต่ก็ยังหนักใจครับเพราะผมมีความรู้เรื่องนี้น้อยจริง ๆ ลำพัง พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย ก็แย่แล้ว นี่จะให้เปรียบเทียบกฎหมายสัญชาติอังกฤษอีก ซึ่งผมไม่รู้เลย ผมจึงขอความรบกวนถามอาจารย์ตามประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ครับ
    ๑. ตามที่อาจารย์ยกหลักกฎหมายของอังกฤษว่าเด็ก ที่เกิดในประเทศอังกฤษ แต่บิดามารดามิได้เป็นอังกฤษ จะได้สัญชาติอังกฤษได้ด้วยบิดามารดาตั้งรกราก ทำมาหากินอยู่ในประเทศอังกฤษ หรือได้รับอนุญาติให้อยู่ในประเทศอังกฤษแบบถาวร ดังนีั้น ท่านนายกอภิสิทธิ์ ฯ ก็ได้สัญชาติอังกฤษถูกต้องไหมครับ แต่มีเว็บไซด์บางแห่งบอกว่ายังไม่ได้ เพราะในสูติบัตรของนายกอภิสิทธิ์ ระบุรับรองสถานที่เกิดว่าเกิดในอังกฤษเท่านั้น แต่ถ้าอยากได้สัญชาติอังกฤษต้องไปยื่นคำร้องเพื่อให้ได้สัญชาติอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นฐานะของนายกอภิสิทธิ์ จึงเป็นแค่พลเมืองอังกฤษ อาจารย์ว่าความเห็นเขาถูกต้องไหมครับ เพราะถ้าเที่ยบกับ พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย ตามมาตรา ๗ (๒) ก็ไม่เห็นจะมีมาตราไหนบัญญัติต่อว่าให้ต้องไปยื่นคำร้องอีก หรือว่ากฎหมายของอังกฤษเขามีขั้นตอนตรงนี้เพิ่มมาอีกครับ
    ๒. จากข้อ ๑ การที่นายกอภิสิทธิ์ จะได้สัญชาติอังกฤษ แสดงว่าบิดามารดาของท่านนายกต้องเข้าไปตั้งรกรากทำมาหากินในอังกฤษ หรือได้รับอนุญาตให้อยู่แบบถาวร จึงจะได้สัญชาติอังกฤษ ถูกต้องไหมครับ ซึ่งข้อมูลตรงนี้ผมหาไม่พบว่าบิดามารดานายกเข้าไปอยู่ในอังกฤษในฐานะอะไรและได้อยู่ชั่วคราวหรือถาวร ท่านอาจารย์พอจะมีคำตอบในข้อนี้หรือไม่ครับ
    ๓. พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย มีการกล่าวถึงการเสียสัญชาติอยู่หลายกรณี เช่น แปลงสัญชาติ, สมรส, การสละ, ถูกถอนสัญชาติ และรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว อย่างไรก็ตามการถูกถอนสัญชาติ(โดยรัฐบาล) ก็ไม่มีกรณีที่คนไทยสามารถถูกถอนสัญชาติในกรณีการได้สัญชาติมาโดยการเกิด
    จากบิดาหรือมารดาที่เป็นคนไทย ดังนั้นที่มีผู้โจมตีว่านายกอภิสิทธิ์ เมื่อมีสัญชาติอังกฤษแล้ว ก็จะต้องถอนสัญชาติไทย จึงเป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้องใช่ไหมครับ ยกเว้นถ้าเขาเจตนาสละสัญชาติเอง ขณะเดียวกันอดีตนายกทักษิณ เมื่อได้สัญชาติมอนเตเนโกรแล้ว เขาก็ไม่อาจถูกถอนสัญชาติไทยได้เช่นเดียวกันถูกต้องไหมครับ ฉะนั้นผมสามารถตอบโจทย์ได้ว่าคนไทยสามารถถือสองสัญชาติได้ ถูกต้องไหมครับ ผมขอความเห็นอาจารย์ด้วยครับ
    ๔. จากข้อ ๓ กฎหมายสัญชาติของอังกฤษ กับกฤหมายสัญชาติของมอนเตเนโกร เขามีบทบังคับว่าให้ต้องสละสัญชาติเดิมก่อนไหมครับ เพราะผมไม่ทราบ และยอมรับว่าไม่ค่อยรู้เรื่องกฎหมายต่างประเทศ และไม่มีความชำนาญในการแปลภาษาอังกฤษเลย แต่ พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย ผมอ่านดูแล้วไม่เห็นมีบอกว่าต้องสละสัญชาติอื่นก่อน เว้นแต่ประสงค์จะสละเองเช่นเรื่องที่หญิงสมรสกับคนต่างด้าว เป็นต้น หรือไม่ก็คนที่ได้สัญชาติไทย (ยกเว้นโดยการเกิดจากบิดาหรือมารดาไทย) จะทำเงื่อนไขอะไรตามกฎหมายให้ถูกถอนสัญชาติเอง แสดงว่ากฎหมายของไทยเราก็ไม่ห้ามเด็ดขาดเช่นกันในการที่คนสัญชาติอื่นจะมาถือสัญชาติของเราด้วยถูกต้องไหมครับ
    ข้อสุดท้าย นอกจากกรณีที่อาจารย์ยกตัวอย่างการได้สัญชาติอังกฤษซึ่งมีสองกรณีคือ ได้มาตามหลักสืบสายโลหิต(พ่ออังกฤษแม่อังกฤษ) กับหลักดินแดนแล้ว ยังมีการได้มาโดยกรณีอื่นอีกไหมครับ เช่น การแปลงสัญชาติ
    การสมรสกับคนอังกฤษ เป็นต้น เพราะผมไม่ทราบจะค้นหาได้ที่ไหน จึงขอความกรุณาอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยตอบปัญหาแก่กระผมตามข้อต่าง ๆ ที่กล่าวมาด้วยครับ หากเป็นไปได้ขอให้ตอบอย่างช้าวันที่ ๓๑ มีนาคม ครับ
    เพราะ ๑ เมษายน ผมต้องพรีเซ้นท์ในที่ประชุมแล้ว ขอความกรุณาด้วยครับ

    ตอบลบ
  4. สวัสดีครับคุณ natjar2001
    ผมได้อ่านความรู้ทางด้านกฎหมายของคุณแล้ว มีประโยชน์มาก และเมื่อดูคุณวุฒิก็ยอมรับนับถือ ดังนั้นผมขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์และขอเรียกอาจารย์ด้วยคนนะครับ เพราะผมมีปํัญหาอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยตอบคำถามขยายความในประเด็นเรื่องสัญชาติสักหน่อยครับ เนื่องจากว่าผมได้ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งให้สรุปเรื่องสัญชาติมาให้ฟัง และให้มาพรีเซ้นท์ในที่ประชุมของหน่วยงานในวันที่ ๑ เม.ย.๕๔ นี้เอง ผมเองจบปริญญาตรีนิติศาสตร์ก็จริง แต่กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่ค่อยมีความเข้าใจ อีกทั้งผู้บังคับบัญชายังให้เปรียบเท่ียบกับกฎหมายอังกฤษด้วย โดยประเด็นที่ท่านต้องการทราบคือ คนไทยถือสองสัญชาติได้หรือไม่ และการได้สัญชาติอังกฤษนั้นจะทำให้ได้สิทธิ และความคุ้มครองอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากมากสำหรับผม ความจริงแล้วไม่เห็นจะเกี่ยวอะไรกับหน่วยงานเลย ผมเห็นคำถามผมก็ดูออกแล้วว่าเจ้านายคงมุ่งตรงไปยังประเด็นของนายกที่กำลังเป็นข่าวในขณะนั้นมากกว่าจึงถาม สมัยนี้การเมืองเข้ามามีบทบาทจนแทบจะแยกไม่ออกเสียแล้วว่าอันไหนเป็นเรื่องงาน อันไหนเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยว แต่เมื่อผู้บังคับบัญชาอยากรู้ แถมให้พรีเซ้นท์ในที่ประชุม ผมก็ต้องค้นคว้าหามาตอบให้ได้ แต่ก็ยังหนักใจครับเพราะผมมีความรู้เรื่องนี้น้อยจริง ๆ ลำพัง พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย ก็แย่แล้ว นี่จะให้เปรียบเทียบกฎหมายสัญชาติอังกฤษอีก ซึ่งผมไม่รู้เลย ผมจึงขอความรบกวนถามอาจารย์ตามประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ครับ
    ๑. ตามที่อาจารย์ยกหลักกฎหมายของอังกฤษว่าเด็ก ที่เกิดในประเทศอังกฤษ แต่บิดามารดามิได้เป็นอังกฤษ จะได้สัญชาติอังกฤษได้ด้วยบิดามารดาตั้งรกราก ทำมาหากินอยู่ในประเทศอังกฤษ หรือได้รับอนุญาติให้อยู่ในประเทศอังกฤษแบบถาวร ดังนีั้น ท่านนายกอภิสิทธิ์ ฯ ก็ได้สัญชาติอังกฤษถูกต้องไหมครับ แต่มีเว็บไซด์บางแห่งบอกว่ายังไม่ได้ เพราะในสูติบัตรของนายกอภิสิทธิ์ ระบุรับรองสถานที่เกิดว่าเกิดในอังกฤษเท่านั้น แต่ถ้าอยากได้สัญชาติอังกฤษต้องไปยื่นคำร้องเพื่อให้ได้สัญชาติอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นฐานะของนายกอภิสิทธิ์ จึงเป็นแค่พลเมืองอังกฤษ อาจารย์ว่าความเห็นเขาถูกต้องไหมครับ เพราะถ้าเที่ยบกับ พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย ตามมาตรา ๗ (๒) ก็ไม่เห็นจะมีมาตราไหนบัญญัติต่อว่าให้ต้องไปยื่นคำร้องอีก หรือว่ากฎหมายของอังกฤษเขามีขั้นตอนตรงนี้เพิ่มมาอีกครับ
    ๒. จากข้อ ๑ การที่นายกอภิสิทธิ์ จะได้สัญชาติอังกฤษ แสดงว่าบิดามารดาของท่านนายกต้องเข้าไปตั้งรกรากทำมาหากินในอังกฤษ หรือได้รับอนุญาตให้อยู่แบบถาวร จึงจะได้สัญชาติอังกฤษ ถูกต้องไหมครับ ซึ่งข้อมูลตรงนี้ผมหาไม่พบว่าบิดามารดานายกเข้าไปอยู่ในอังกฤษในฐานะอะไรและได้อยู่ชั่วคราวหรือถาวร ท่านอาจารย์พอจะมีคำตอบในข้อนี้หรือไม่ครับ
    ๓. พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย มีการกล่าวถึงการเสียสัญชาติอยู่หลายกรณี เช่น แปลงสัญชาติ, สมรส, การสละ, ถูกถอนสัญชาติ และรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว อย่างไรก็ตามการถูกถอนสัญชาติ(โดยรัฐบาล) ก็ไม่มีกรณีที่คนไทยสามารถถูกถอนสัญชาติในกรณีการได้สัญชาติมาโดยการเกิด
    จากบิดาหรือมารดาที่เป็นคนไทย ดังนั้นที่มีผู้โจมตีว่านายกอภิสิทธิ์ เมื่อมีสัญชาติอังกฤษแล้ว ก็จะต้องถอนสัญชาติไทย จึงเป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้องใช่ไหมครับ ยกเว้นถ้าเขาเจตนาสละสัญชาติเอง ขณะเดียวกันอดีตนายกทักษิณ เมื่อได้สัญชาติมอนเตเนโกรแล้ว เขาก็ไม่อาจถูกถอนสัญชาติไทยได้เช่นเดียวกันถูกต้องไหมครับ ฉะนั้นผมสามารถตอบโจทย์ได้ว่าคนไทยสามารถถือสองสัญชาติได้ ถูกต้องไหมครับ ผมขอความเห็นอาจารย์ด้วยครับ
    ๔. จากข้อ ๓ กฎหมายสัญชาติของอังกฤษ กับกฤหมายสัญชาติของมอนเตเนโกร เขามีบทบังคับว่าให้ต้องสละสัญชาติเดิมก่อนไหมครับ เพราะผมไม่ทราบ และยอมรับว่าไม่ค่อยรู้เรื่องกฎหมายต่างประเทศ และไม่มีความชำนาญในการแปลภาษาอังกฤษเลย แต่ พ.ร.บ.สัญชาติ ของไทย ผมอ่านดูแล้วไม่เห็นมีบอกว่าต้องสละสัญชาติอื่นก่อน เว้นแต่ประสงค์จะสละเองเช่นเรื่องที่หญิงสมรสกับคนต่างด้าว เป็นต้น หรือไม่ก็คนที่ได้สัญชาติไทย (ยกเว้นโดยการเกิดจากบิดาหรือมารดาไทย) จะทำเงื่อนไขอะไรตามกฎหมายให้ถูกถอนสัญชาติเอง แสดงว่ากฎหมายของไทยเราก็ไม่ห้ามเด็ดขาดเช่นกันในการที่คนสัญชาติอื่นจะมาถือสัญชาติของเราด้วยถูกต้องไหมครับ
    ข้อสุดท้าย นอกจากกรณีที่อาจารย์ยกตัวอย่างการได้สัญชาติอังกฤษซึ่งมีสองกรณีคือ ได้มาตามหลักสืบสายโลหิต(พ่ออังกฤษแม่อังกฤษ) กับหลักดินแดนแล้ว ยังมีการได้มาโดยกรณีอื่นอีกไหมครับ เช่น การแปลงสัญชาติ
    การสมรสกับคนอังกฤษ เป็นต้น เพราะผมไม่ทราบจะค้นหาได้ที่ไหน จึงขอความกรุณาอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยตอบปัญหาแก่กระผมตามข้อต่าง ๆ ที่กล่าวมาด้วยครับ หากเป็นไปได้ขอให้ตอบอย่างช้าวันที่ ๓๑ มีนาคม ครับ
    เพราะ ๑ เมษายน ผมต้องพรีเซ้นท์ในที่ประชุมแล้ว ขอความกรุณาด้วยครับ

    ตอบลบ
  5. สวัสดีค่ะ โห ขอโทษด้วยค่ะ ข้อความทั้งหมดติดสแปมค่ะ เพิ่งเห็นว่าติดสแปม ตอบให้นะคะ

    ๑. ตอนนี้ไม่ทราบแน่ชัดว่า กฎหมายอังกฤษต้องให้มีการยื่นขอสัญชาติอีกหรือไม่ แต่เท่าที่ทราบแต่เดิมได้โดยอัตโนมัติแบบของไทยเรานี่หล่ะค่ะ อย่างไรคำตอบนี้จะชัดหากสอบถามไปที่สถานกงศุลอังกฤษประจำประเทศไทย ลองสอบถามไปว่า เด็กที่มีบิดามารดาเป็นคนสัญชาติอื่น แต่คลอดที่อังกฤษจะได้สัญชาติอังกฤษหรือไม่และมีเงื่อนไขอย่างไร

    ๒. ไม่ปรากฎว่าบิดามารดาของท่านนายกอภิสิทธิเข้าไปอยู่อังกฤษด้วยฐานะใดโดยปรากฎเป็นหลักฐานเลยค่ะ มีแต่กล่าวกันไปมา แต่ไม่ปรากฎหลักฐานเลยค่ะ

    ๓. ไม่มีใครมีสิทธิถอนสัญชาติได้นอกจากสละสัญชาติเองถูกต้องแล้วค่ะ

    ๔. เท่าที่ทราบอังกฤษกับอเมริกาไม่บังคับให้ถอนสัญชาติค่ะ ถ้าอย่างไรลองถามไปที่กงศุลอังกฤษประจำประเทศไทยชัวร์ที่สุดสำหรับกฎหมายในเวลานี้

    นอกจากนี้แล้ว ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องแจ้งสัญชาติทุกสัญชาติในการสมัคร สส. ไม่เป็นการทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดต้องเสียหายตามมาตรา ๑๕๗ ปอ. อีกด้วย ที่กล่าวๆ กันนั้น ไม่ถูกต้องค่ะ เพราะตาม ๑๕๗ ต้องปรากฎมีความเสียหายที่กฎหมายรองรับด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  6. อีกประเด็นหนึ่งนะคะ ที่กล่าวกันว่า นายกถือสองสัญชาติทำให้ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายไทยไม่เป็นการถูกต้องค่ะ เพราะความรับผิดใดๆ เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญติเรื่องหลักดินแดนหลักบุคคลตามที่เราเรียนๆ กันมาอยู่แล้ว และไม่มีข้อยกเว้นของกฎหมายใดแม้แต่ฉบับเดียวที่บอกว่า ใช้บังคับกับคนที่ถือสัญชาติอื่นร่วมด้วยไม่ได้ นัทคิดว่า เพื่อความชัวร์ในข้อกฎหมาย ขอให้สอบถามไปยังสถานทูตอังกฤษดีที่สุด และอาจจะเดินทางไปขอเอกสารมาประกอบการบรรยายด้วยก็ดีค่ะ ถ้าได้ความอย่างไร รบกวนแจ้งด้วยนะคะ จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านมากขึ้นค่ะ

    ตอบลบ
  7. การแปลงสัญชาติเป็นอังกฤษนั้นทำได้ค่ะ คล้ายกับประเทศไทยเราเลยค่ะ คือต้องมีการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษและต้องขอต่อ รัฐมนตรีว่าการกระรวงมหาดไทยของอังกฤษ ค่ะ

    โดยมีคุณสมบัติดังนี้

    1. ถือวีซ่าถาวร (หรือมีสิทธิที่ “เทียบเท่า” ได้สำหรับจุดประสงค์เดียวกันนี้ เช่น สิทธิอยู่อาศัย มีสัญชาติไอร์แลนด์ หรือมีถิ่นที่อยู่อาศัยถาวรในสถานะพลเมืองหรือสมาชิกของสหภาพยุโรป/เขต เศรษฐกิจยุโรป เป็นต้น)


    2. ได้พักอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักรอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นระยะเวลา 3 ปี

    3. มี “บุคลิกภาพที่ดี” หรือมี “ประวัติที่ดี” ตามที่กระทรวงมหาดไทยของอังกฤษกำหนดไว้ (ในทางปฏิบัตินั้น กระทรวงมหาดไทยของอังกฤษจะดำเนินการตรวจสอบกับตำรวจและกระทรวงต่างๆ ของรัฐบาลให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าว)


    4. แสดงให้เห็นว่ามีความรู้อย่างพอเพียงในการใช้ชีวิตในสหราชอาณาจักรได้ โดยผ่านการสอบ “ชีวิตในสหราชอาณาจักร” (Life in United Kingdom Test) หรือผ่านการเข้าร่วมในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษและสิทธิความเป็นพลเมืองทั้ง
    สองอย่าง หลักฐานการพิสูจน์นี้ต้องจัดเตรียมเพื่อประกอบการสมัครขอรับการแปลงสัญชาติ
    ของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วจะมีการยกเว้นเงื่อนไขความจำเป็นทางด้านความรู้และการใช้ภาษานี้สำหรับบุคคลที่มีอายุ 65 ปีบริบูรณ์ หรือมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และอาจจะดำเนินการละเว้นได้สำหรับบุคคลที่มีอายุระหว่าง 60-65 ปี เช่นกัน


    5. มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาเวลส์ ภาษาสก็อตแกลลิก ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ สำหรับบุคคลที่ได้สอบผ่านชีวิตในสหราชอาณาจักรถือว่าผ่านเกณฑ์ทางด้านการใช้ ภาษาอังกฤษ

    6. นับย้อนหลังไปจากวันที่กรมตรวจคนเข้าเมือง (IND) ได้รับคำร้องของท่าน ท่านต้องมีวีซ่าประเภทอยู่ในสหราชอาณาจักรอย่างถาวร (Indefinite Leave to Remain) มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี และ

    7. ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ท่านไม่ได้ออกไปนอกสหราชอาณาจักรมากกว่า 270 วัน (ประมาณ 9 เดือน) และ

    8. ตลอดระยะเวลา 12 เดือนสุดท้ายที่ผ่านมา ท่านไม่ได้ออกไปนอกสหราชอาณาจักรมากกว่า 90 วัน และ


    9. ตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ท่านได้อยู่ในสหราชอาณาจักร ท่านไม่เคยทำความผิดกฎหมายเข้าเมืองเลย (เช่น วีซ่าขาด เป็นต้น)

    ตอบลบ
  8. สำหรับเรื่องที่คุณจะไปรายงานนั้นขอให้เริ่มจาก พรบ.สัญชาติ อธิบายถึงการได้มาซึ่งสัญชาติไทยเสียก่อน และการถอนสัญชาติจะกระทำไม่ได้ เช่นเดียวกันกับ คุณทักษิณที่ไม่อาจถูกถอนสัญชาติได้

    ต่อมาอธิบายถึง รัฐธรรมนูญว่าด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้ง สส. และการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การตีความกฎหมายซึ่งต้องเคร่งครัด เมื่อกฎหมายไม่ได้ตัดสิทธิจะทำไม่ได้ ถ้าให้ดีคุณลงรายละเอียดเรื่อง ทฤษฎีพื้นฐาน นิติวิธีกฎหมายเอกชนและมหาชนเลยยิ่งดี นัทเขียนไว้ค่ะ ชัดเจนมาก แต่จำไม่ได้ว่าเป้นบทความเดือนไหน คุณไปที่กูเกิ้ล พิมพ์คำว่า นิติวิธีกฎหมายมหาชน natjar2001law ก็จะพบค่ะ

    ตอบลบ
  9. หลังจากนั้นจึงอธิบายถึงการได้มาซึ่งสัญชาติอังกฤษตามกฎหมายอังกฤษเปรียบเทียบกับกฎหมายไทย ถ้าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปตามที่นัทเขียนไว้ทุกประการ ให้แน่ใจต้องตรวจสอบอีกรอบนะคะ เพราะบทความนี้เขียนได้ระยะหนึ่งแล้ว และอธิบายไปด้วยว่า ไม่มีกฎหมายบังคับให้คนไทยต้องแจ้งสัญชาติที่ตนถือทุกสัญชาติ ประเทศไทยเป็นระบบประมวลกฎหมาย ต้องพิจารณาตามากฎหมายลายลักษณ์อักษรซึ่งออกโดยสภา เพราะเป็นกฎหมายของรัฐสภา (รัฐสภาเป้นบ่อเกิดกฎหมาย) ไม่ใช่ใช้จารีตประเพณีหรืออะไร จะเอามา Analogy ไม่ได้ (เข้ากูเกิ้ลพิมพ์คำว่า การ Analogy ) จะพบบทความนัทเป็นบทความหน้าแรกเรื่องแรก เพราะคนไทยไม่ค่อยมีใครเขียนเรื่องนี้ค่ะ ส่วนใหญ่มีแต่ตำราต่างประเทศเสียมาก นอกจากต้องไปหาในมหาวิทยาลัยค่ะ ในอินเตอรืเนตไม่พบว่ามีค่ะ

    ตอบลบ
  10. ต่อมา อธิบายถึง ลักษณะมาตรา ๑๕๗ และอธิบายว่า ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ในเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้มีหน้าที่แจ้งสัญชาติทุกสัญชาติ และจะละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างไร กรณีนี้เป็นกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ตามมาตรา ๒ ค่ะ หลัก ไม่มีกฎหมายไม่มีความผิด ไม่มีโทษค่ะ คิดว่าเพียงแค่นี้น่าจะชัดเจนสำหรับเจ้านายคุณแล้วหล่ะค่ะ

    ตอบลบ
  11. ขอบคุณครับ เป็นคำตอบที่มีประโยชน์มาก ทำให้ผมมีความมั่นใจมากขึ้นในการที่จะไปบรรยายสรุป ขณะนี้ผมกำลังทำความเข้าใจและเรียบเรียงเนื้อหาอยู่ จากนั้นก็จะเตรียมการถ่ายทอด และทำเพาเว่อร์พ้อยท์ต่อไปครับ ซึ่งในการถ่ายทอดในการประชุมนี้เขาคงไม่ให้เวลาผมเยอะหรอกครับ เพราะมีการประชุมหลายวาระ วาระของผมนั้นคงให้แค่ไม่เกิน ๒๐ นาที ในขณะที่ผมต้องเตรียมการค้นคว้าหาข้อมูล ทำความเข้าใจเนื้อหา เรียบเรียง และนำเสนอเรื่องนี้
    ใช้เวลาเป็นเดือน เหมือนกับ "เตรียมการเท่าลูกมะพร้าว แต่เวลาไปถ่ายทอดแค่เท่ากับลูกมะนาว" จริง ๆ ครับ ก็ขอขอบคุณท่านอาจารย์อย่างสูงอีกครั้งครับ
    ด้วยความเคารพ ชัยณรงค์

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ7/11/54 10:46

    สวัสดีค่ะ คุณ natjar2001law

    ขอเรียนสอบถามข้อมูลหน่อยนะคะ

    คือเนื่องจากสามีถือสัญชาติอังกฤษ (ก่อนหน้านี้ถือสัญชาติไทย) เนื่องจากย้ายตามคุณแม่ ซึ่งแต่งงานใหม่กับคนอังกฤษ และได้ขอเปลี่ยนสัญชาติเป็นอังกฤษ ตั้งแต่ 10 ขวบ ปัจจุบันนี้ทำงานในประเทศอังกฤษ และเสียภาษีอย่างถูกต้อง

    ปัจจุบันแต่งงานกับดิฉัน ซึ่งมีสัญชาติไทย (แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส) และกำลังตั้งครรภ์ ถ้าหากว่าคลอดลูกในเมืองไทย อยากทราบว่าลูกสามารถถือสัญชาติอังกฤษ ได้โดยกำเนิดเลยหรือไม่ และได้สิทธิเหมือนนกับคนอังกฤษเลยหรือไม่

    ดิฉันตั้งใจว่า จะคลอดลูกที่เมืองไทย และเมื่อลูกโตพอจะเดินทางได้ ถึงจะย้ายตามสามีไปอยู่อังกฤษถาวรค่ะ ไม่ทราบว่าควรจะจดทะเบียนสมรสก่อนคลอดบุตร หรือหลังคลอดบุตรดีคะ

    ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ23/11/54 01:52

    สวัสดีค่ะ คุณ natjar2001law

    ขอสอบถามข้อมูลตามคุณไม่ระบุชื่อด้านบนหน่อยนะค่ะ

    ดิฉันก็เป็นคนไทยคนหนึ่งที่ตอนนี้ได้สัญชาติอังกฤษแล้ว และสามีของดิฉันก็เป็นคนไทยที่สามารถยื่นขอสัญชาติได้แล้วเหมือนกันแต่ยังรอก่อนค่ะ

    ตอนนี้ดิฉันตั้งครรภ์และมีความตั้งใจว่าจะกลับไปคลอดบุตรที่ประเทศบ้านเกิดเมืองนอน เพราะว่าพ่อแม่อยู่ที่เมืองไทย ตามที่ดิฉันเข้าใจเอาเองนะค่ะว่าถ้าดิฉันคลอดบุตรที่เมืองไทยแล้ว บุตรของดิฉันจะได้

    1.สัญชาติไทยตามดิฉันเพราะดิฉันก็ยังถือสัญชาติไทยอยู่
    2.สัญชาติอังกฤษ โดยยื่นของทำพลาสปรอต์ตามดิฉันซึ่งจะพกเอกสารการถือสัญชาติไปด้วย

    ไม่ทราบว่ากรณีอย่างนี้ดิฉันเข้าใจถูกต้องหรือไม่ค่ะ แต่ยังสงสัยค่ะว่า ตอนที่ดิฉันเข้าประเทศไทยดิฉันยื่นพลาสปรอต์ไทยเข้าประเทศ แล้วเวลาออกดิฉันยื่นพลาสปรอต์ไทยออก แต่บุตรของดิฉันสมควรจะยื่นพลาสปอต์อังกฤษหรือไม่ เพราะถ้ายื่นไทยแต่ดิฉันไม่แน่ใจว่าต้องมีวีซ่าแบบไหน แต่ถ้ายื่นอังกฤษออกมาจะโดนค่าปรับตามกฏหมายที่อยู่เกิน สามสิบ วันหรือไม่ค่ะ

    ส่วนกรณีของคุณไม่ทราบชื่อด้านบน ดิฉันคิดว่าน่าจะจดทะเบียนให้เรียบร้อยก่อนนะค่ะ จะปลอดภัยและง่ายในการทำวีซ่าติดตามมาตอนหลังค่ะ เพราะว่ามีเพื่อนในกรณีอย่างนี้อยู่

    ขอบคุณนะค่ะที่สละเวลาอ่านและตอบคำถามค่ะ

    ขอรบกวนคำตอบหน่อยนะค่ะ เพราะกำลังร้อนข้อมูลค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    22/11/2011

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ22/12/54 23:48

    ต้องขอโทษค่ะที่บ้านน้ำท่วมเลยค่อนข้างยุ่งหน่อย นี่ยังเข้าระบบมาตอบไม่ได้เลยค่ะ เด็กเกิดในไทยได้สัญชาติไทย เดินทางออกโดยพลาสปอร์ตไทย ไปถึงอังกฤษค่อยแจ้งเกิดที่โน่นอีกทีค่ะ

    Natjar2001law

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น