วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ผู้ป่วยไม่ใช่ผู้ต้องหา กับการบังคับบำบัด

พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545
เป็นกฎหมายที่มุ่งประสงค์ลดปริมาณผู้เสพยาโดยนำผู้เสพยาเสพติดมาบำบัดภายใต้ระบบบังคับบำบัดโดยมีหลักการและวิธีคิดว่า
"ผู้เสพ คือผู้ป่วย ไม่ใช่ผู้ต้องหาหรืออาชญากร" ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณการนำป่วยเสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาและเดินหน้าเข้าสู่คุกตารางและให้โอกาสผู้เสพยาเสพติดไม่ปรับปรุงแก้ไขผิดพลาดในชีวิตและสามารถกลับเข้าสู่สังคมและใช้ชีวิตร่วมกับสังคมได้อย่างปกติสุขในแบบไม่มีความผิดติดตัวเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2546 เป็นต้นมาโดยมีกรมคุมประพฤติเป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่นสถาบันธัญญารักษ์และศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดในจังหวัดต่างๆ


โดยกฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นถึงกระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดอย่างแท้จริงผู้เสพยาเสพติดที่จะเข้าสู่กระบวนการนี้ได้จะต้องถูกจับในความผิดฐานเสพและมียาเสพติดหรือยาบ้าไว้ในครอบครองจำนวนไม่เกิน5 เม็ด จึงจะสามารถเข้าสู่กระบวนการบังคับบำบัดได้หากเกินกว่า 5 เม็ดไม่เข้าข่ายที่จะได้รับการบำบัดในระบบบังคับบำบัดนี้ผู้ถูกจับกุมจะต้องถูกส่งตัวไปตรวจพิสูจน์โดยวิธีทางการแพทย์ว่าเป็นผู้เสพหรือไม่และระหว่างนี้จะต้องอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานหากผู้ถูกจับเป็นเด็กหรือเยาวชนจะต้องอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจโดยผู้อำนวยการสถานพินิจหากเป็นผู้ใหญ่จะถูกควบคุมในเรือนจำ โดยแยกควบคุมต่างหากจากนักโทษทั่วไปซึ่งเป็นแต่เพียงการควบคุมเท่านั้น ยังมิได้ตกเป็นจำเลยในคดีแต่อย่างใด


ระบบบังคับบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดนี้ถือว่าเป็นกระบวนการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลได้อย่างดีโดยผู้ที่แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นผู้เสพ จะได้รับการส่งตัวเข้าบำบัดและกลายเป็นผู้ป่วยสำหรับระยะเวลาฟื้นฟูจะอยู่ที่ 4 เดือน และมีการติดตามผลหลังการบำบัดรักษาหากไม่สามารถฟื้นฟูได้ เช่น ผู้ป่วยหนีออกจากการควบคุมตัวของเจ้าพนักงานที่ให้การรักษา จะถูกส่งเข้าดำเนินคดีอาญาตามปกติทันทีผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดแล้ว และหายดีแล้วจะไม่ถูกนำตัวขึ้นสู่ศาลเพื่อพิจารณาคดีและไม่มีความผิดหรือความด่างพร้อยในชีวิตในลักษณะเป็นประวัติอาชญากรติดตัว จะสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติสมัครงาน ทำกิจกรรมทางสังคมได้เหมือนคนทั่วไปที่ไม่เคยใช้ยามาก่อนเลย


อนุเคราะห์ข้อมูลทางการบำบัด โดย นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด อุดรธานี

5 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29/12/54 17:11

    แล้วถ้าไม่เคยรายงานตัวจะต้องทำอย่างไรค่ะคือว่าตอนนี้แฟนหนูเค้าอยากสอบนายสิบค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ29/1/55 08:22

    แต่ว่าต้องใช้บัตรเหลืองบัตรเหลืองคืออะไรคับ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ1/7/55 12:08

    รู้ว่าคนใกล้ตัวเสพและไม่ยอมไปบำบัดจะต้องทำอย่างไรคะ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ23/10/55 20:22

    อยากทราบว่า ถ้าเคยโดนจับในข้อหาเสพ เป็นคดีอาญา
    แล้วถ้าไปรายงานตัวครบ จะสามารถไปสมัครงานในราชการ ครู ทหาร ได้ไหมครับ
    และถ้าได้ จะมีเอกสารอะไรไหมเพื่อที่ต้องแสดงเป้นหลักฐาน หรือ ไม่จำเป็น

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น