วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อำนาจการพิจารณา พิพากษา ของผู้พิพากษาคนเดียว



มาตรา ๒๕ (๕) ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นมาตราที่สร้างความสงสัยให้แก่นักเรียนกฎหมายอย่างมาก ในส่วนของอำนาจการพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียว สำหรับการลงโทษจำคุกในคดีอาญา
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า อำนาจการพิจารณากับพิพากษา เป็นคนละเรื่องกัน ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน อำนาจการพิจารณาคือ อำนาจในการนั่งพิจารณาคดีอาญา  คือการนั่งพิจารณาสำนวนคดี ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล ส่วนอำนาจพิพากษาคืออำนาจในการพิจารณาลงโทษโดยทำเป็นคำพิพากษา 

ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจที่จะนั่งพิจารณาได้ในคดีอาญาที่มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ  ไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  แต่ถ้าจะลงโทษจำคุกเกินหกเดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่สามารถพิพากษาลงได้ จะต้องอาศัยองค์คณะตามมาตรา ๒๖
มาตรา ๒๕ ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้
(๑) ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง
(๒) ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย
(๓) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา
(๔) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
(๕) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้
ผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจตาม (๓) (๔) หรือ (๕)
มาตรา ๒๖ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕ ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั้งปวง



ตัวอย่าง  นายดำ เป็นผู้พิพากษาศาลชั้นต้น  พิจารณาคดีอาญาข้อหาฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๔๑ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นายดำสามารถนั่งพิจารณาคดีนี้เพียงนายเดียวได้ และสามารถลงโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนได้  (สูงสุดลงโทษได้หกเดือนเต็ม) แต่ถ้านายดำจะลงโทษจำคุกเจ็ดเดือน นายดำไม่สามารถทำคำพิพากษาเพียงคนเดียวได้ ต้องให้นายขาว ผู้พิพากษาในศาลนั้น เป็นองค์คณะด้วย

หมายเหตุ อัตราโทษที่จะลงนี้ ต้องเป็นโทษสุทธิ คือโทษที่ลดหรือเพิ่มเรียบร้อยแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ Arbitration ตอนที่ ๖ (ตอนจบ)



คำชี้ขาดและผลของคำชี้ขาด อนุญาโตตุลาการ 

คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
                        ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 บัญญัติไว้ในมาตรา 16 ว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ในกรณีที่ไม่อาจหาเสียงข้างมากได้ก็ให้อนุญาโตตุลาการทุกคนตกลงร่วมกันตั้งบุคคลหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้ชี้ขาด เพื่อความรวดเร็วในการระงับข้อพิพาท คู่กรณีอาจตกลงกำหนดระยะเวลาสำหรับการทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเอาไว้  พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ  พ.ศ.2530  บัญญัติว่าอนุญาโตตุลาการจะต้องทำคำชี้ขาดให้เสร็จภายในเวลา 180 วัน นับแต่วันตั้งอนุญาโตตุลาการคนสุดท้าย หรือผู้ชี้ขาดโดยชอบ เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น คู่กรณีอาจตกลงกันได้ระหว่างเวลาทำคำชี้ขาด   คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต้องทำเป็นหนังสือ  ลงลายมือชื่ออนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดแล้วแต่กรณีโดยระบุผลแห่งข้อวินิจฉัยทั้งปวงให้โดยชัดแจ้งด้วย    (มาตรา 20 พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530) สำหรับขอบเขตของการทำคำชี้ขาดนั้นจะเห็นว่าได้อำนาจของอนุญาโตตุลาการเกิดขึ้นจากสัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นพื้นฐาน  จึงไม่อาจกำหนดหรือชี้ขาดใดให้เกินกว่าขอบเขตของอนุญาโตตุลาการหรือคำขอของคู่กรณีได้
                        เมื่อคำชี้ขาดเสร็จสิ้นแล้ว  อนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดจะต้องจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดนั้นถึงคู่กรณีที่เกี่ยวข้องทุกคน  ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 21 วรรค 4  พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ  พ.ศ.2530  ตราบใดที่ไม่มีการส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงคู่กรณีที่เกี่ยวข้องทุกคน  คำชี้ขาดนั้นก็ยังไม่มีผลแต่อย่างใด เพราะมาตรา 22  พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ บัญญัติว่าภายใต้บังคับมาตรา 23 และสัญญาอนุญาโตตุลาการ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดให้เป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณี เมื่อได้มีการส่งสำเนาคำชี้ขาดนั้นถึงคู่กรณีตามมาตรา 21 วรรค 4 แล้ว

 ผลของคำชี้ขาดเมื่อทำเสร็จสมบูรณ์แล้ว

1.              อำนาจหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการสิ้นสุดลง
                                         2.     ข้อพิพาทยุติ หมายความว่าคู่กรณีจะนำข้อพิพาทเดียวกันนั้นไปว่ากล่าวฟ้องร้องกันในศาลหรือเสนอต่ออนุญาโตตุลาการอื่นอีกไม่ได้  ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ  พ.ศ.2530  มาตรา 22 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า       คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดให้เป็นที่สุด...
                               3.   ผูกพันคู่กรณีจะต้องปฏิบัติตาม     เมื่อได้มีการส่งสำเนาคำชี้ขาดนั้นคู่กรณีที่เกี่ยวข้องทุกคนแล้ว
                        สำหรับเรื่องค่าธรรมเนียม  ค่าใช้จ่ายและค่าป่วยการ  ในกรณีที่มิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาอนุญาโตตุลาการ  ค่าธรรมเนียม  ค่าใช้จ่าย  และค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาด  ให้เป็นไปตามที่ไว้ในคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ  แต่ถ้าสัญญาอนุญาโตตุลาการกำหนดไว้ชัดแจ้งแล้วก็ให้เป็นไปตามนั้น

การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ Arbitration ตอนที่ ๕



วิธีพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ
                         อำนาจของอนุญาโตตุลาการที่จะดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทของคู่กรณีจะต้องอาศัยสัญญาที่จะทำขึ้นระหว่างคู่กรณีเป็นพื้นฐานเบื้องต้น สิ่งแรกที่อนุญาโตตุลาการจะต้องทำหลังจากได้รับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ คือ การกำหนดวัน เวลา  และสถานที่ในการพิจารณาข้อพิพาท ในทางปฏิบัติอนุญาโตตุลาการจะปรึกษาหารือกับบุคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเสียก่อนเพื่อความสะดวกของทุกฝ่าย  และสิ่งสำคัญที่สุดในการกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการพิจารณาคดีนั้น ก็คือ จะต้องมีการบอกกล่าวแก่คู่กรณีโดยชอบ  ซึ่งอาจส่งไปยังคู่กรณีหรือทนายความโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือโดยวิธีอื่นใดตามที่คู่กรณีตกลงกันไว้ และวิธีการดังกล่าวจะต้องเป็นวิธีการที่กฎหมายยอมรับด้วย หากไม่มีการส่งคำบอกกล่าวแก่คู่กรณีโดยชอบแล้วก็จะส่งผลให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดที่ทำขึ้นนั้นเป็นกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ได้เพราะขัดกับหลักแห่งความยุติธรรม ตามมาตรา  17  พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530
                        ในการพิจารณาคดีในชั้นอนุญาโตตุลาการ คู่กรณีอาจดำเนินการด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการแทนตนได้และมีสิทธิที่จะที่ปรึกษาและทนายความอยู่ด้วยตลอดเวลาที่ทำการพิจารณาคดีตามมาตรา 19 พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ในเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบของการดำเนินกระบวนการพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการนั้น โดยสาระแล้วส่วนใหญ่จะเป็นไปตามข้อตกลงของคู่กรณี  แต่ก็พบว่าคู่กรณีมักจะไม่ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาเอาไว้ในสัญญาอนุญาโตตุลาการ ในจุดนี้เทื่อข้อพิพาทเกิดขึ้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาท เพราะคู่กรณีอาจตกลงกันไม่ได้หรือตกลงกันได้ก็ต้องใช้ระยะเวลานานซึ่งจะก่อให้เกิดความล่าช้า ถ้าพิจารณาประเด็นนี้จะเห็นถึงประโยชน์ของการอนุญาโตตุลาการแบบสถาบัน (Institutional arbitration) ว่ามีประโยชน์มากกว่าการอนุญาโตตุลาการแบบตกลงกันเอง (ad hoc arbitration) เพราะกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับของสถาบันอนุญาโตตุลาการนั้นได้กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้ค่อนข้างชัดเจน และละเอียดพอสมควร จึงทำการระงับข้อพิพาทเป็นไปด้วยความสะดวดและรวดเร็วกว่า
                        หลักการพื้นฐานของการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการนั้นจะมีลักษณะที่ยืดหยุ่นกว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลมาก อนุญาโตตุลาการจึงไม่จำเป็นที่จะต้องเคร่งครัดกับกฎเกณฑ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเหมือนกับศาล
                        ในเรื่องของการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการนั้น  พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ  พ.ศ.2530  ได้กำหนดหลักพื้นฐานของการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการไว้ในมาตรา  17  ว่า   ก่อนจะทำคำชี้ขาด ให้อนุญาโตตุลาการฟังคู่กรณีและมีอำนาจทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรในข้อพิพาทที่เสนอมานั้น
                        ในกรณีที่สัญญาอนุญาโตตุลาการหรือกฎหมายมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้อนุญาโตตุลาการมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงหลักแห่งความยุติธรรมเป็นสำคัญ
                        ตามมาตรา 17 สรุปสาระสำคัญ
1.            อนุญาโตตุลาการต้องฟังคู่กรณีก่อนทำคำชี้ขาด
2.  อนุญาโตตุลาการมีอำนาจทำการไต่สวน
3.  อนุญาโตตุลาการมีอำนาจดำเนินการพิจารณาใด ๆ ตามที่เห็นสมควร เช่น การ
สืบพยาน การเดินเผชิญสืบ การพิจารณาข้อพิพาทโดยขาดนัด การร้องขอต่อศาลในเรื่องต่างๆ อาทิเช่น การขอให้ศาลออกหมายเรียก หรือ การคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราว เป็นต้น
                        อย่างไรก็ดีการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการนั้น  จะต้องไม่ขัดกับกฎหมายและข้อตกลงของคู่กรณี  พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ  พ.ศ.2530  จึงได้บัญญัติหลักการพื้นฐานไว้อย่างกว้าง ๆ เพื่อเป็นกรอบของการใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการไว้ และถ้าคู่กรณีได้ตกลงกันเกี่ยวกับวิธีพิจารณาความไว้อย่างไร  หรือตกลงให้นำกฎเกณฑ์ของสถาบันอนุญาโตตุลาการใดมาใช้บังคับแล้ว การดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการก็ต้องเป็นไปตามนั้น

การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ Arbitration ตอนที่ ๔ Arbitarter



อนุญาโตตุลาการ     Arbiter ,  Arbitarter,  Arbitor,  Arbitartor

ความเบื้องต้น
                      

อนุญาโตตุลาการ    
                  อนุญาโตตุลาการเป็นบุคคลที่มีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการระงับข้อพิพาทโดยวิธีการนี้ทั้งนี้เพราะการดำเนินกระบวนพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทนั้นย่อมต้องอาศัยความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และความยุติธรรม ของผู้เป็นอนุญาโตตุลาการ  ดังนั้นการระงับข้อพิพาทจะสำเร็จสมตามความมุ่งหมายหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับผู้เป็นอนุญาโตตุลาการเป็นสำคัญ  ด้วยเหตุนี้การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการแต่งตั้งบุคคลที่จะมาเป็นอนุญาโตตุลาการ  ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวิธีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ และบุคคลที่จะเป็นอนุญาโตตุลาการ  บุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นอนุญาโตตุลาการนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติหรือมีความสามารถตามกฎหมาย
                        สิ่งสำคัญของคู่กรณีที่จะตกลงกันเกี่ยวกับวิธีการและบุคคลที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นอนุญาโตตุลาการ  ที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่องของเสรีภาพในการทำความตกลงกัน ซึ่งเป็นหลักฐานของกฎหมายเอกชนและเรื่องของความเสมอภาคของคู่กรณีในการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ  ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่กรณี  คู่กรณีทุกฝ่ายต้องได้รับเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมกัน หลักแห่งความเสมอภาคในการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 11 ของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530  บัญญัติว่า อนุญาโตตุลาการอาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ในกรณีที่มีอนุญาโตตุลาการหลายคน ให้คู่กรณีตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละเท่ากัน
                        ในกรณีที่สัญญาอนุญาโตตุลาการไม่ได้กำหนดจำนวนอนุญาโตตุลาการไว้ ให้คู่กรณีตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละหนึ่งคน และให้อนุญาโตตุลาการดังกล่าวร่วมกันตั้งบุคคลภายนอกอีกหนึ่งคนร่วมเป็นอนุญาโตตุลาการด้วย
                        ตามมาตราที่ 11 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1) สัญญาอนุญาโตตุลาการจะกำหนดจำนวนอนุญาโตตุลาการไว้หรือไม่ก็ได้
2) ในกรณีที่มีการระบุจำนวนอนุญาโตตุลาการไว้ในสัญญา จะระบุให้มีจำนวน
อนุญาโตตุลาการคนเดียวหรือหลายคนก็ได้
3) กรณีที่ไม่มีการกำหนดจำนวนอนุญาโตตุลาการไว้ในสัญญา กฎหมายระบุให้มี
อนุญาโตตุลาการสามคนโดยให้คู่กรณีแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละหนึ่งคน และให้อนุญาโตตุลาการดังกล่าวร่วมกันแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการคนที่สามขึ้น
ผลภายหลังของการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการนั้น  เมื่อมีการแต่งตั้งบุคคลใดเป็นอนุญาโตตุลาการโดยชอบแล้ว  บุคคลดังกล่าวก็จะสามารถทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีได้
                        ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการนั้นคู่กรณีอาจตกลงกันดังต่อไปนี้
                        1.  การแต่งตั้งโดยคู่กรณีเอง ในกรณีมีข้อตกลงกันมาตั้งแต่ต้น โดยอาจจะมีการระบุบุคคลที่เป็นอนุญาโตตุลาการไว้ในสัญญาอนุญาโตตุลาการหรือไม่ก็ได้ หรือจะตกลงกันภายหลังข้อพิพาทเกิดขึ้นก็ได้เช่นกัน
                        2.  ให้สถาบันอนุญาโตตุลาการ เป็นผู้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการให้ กรณีนี้จะเกิดขึ้นในกรณีที่คู่กรณีตกลงกันให้ระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการ  ตามข้อบังคับของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ซึ่งในกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับของสถาบันอนุญาโตตุลาการก็อาจกำหนดวิธีการที่สถาบันอนุญาโตตุลาการจะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการไว้
                        3.  ให้บุคคลภายนอกเป็นผู้แต่งตั้ง กรณีที่สัญญาอนุญาโตตุลาการกำหนดให้บุคคลภายนอกเป็นผู้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ  ซึ่งกรณีนี้สามารถทำได้เช่นกัน  ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 บัญญัติวิธีการนี้ไว้ในมาตรา  15  วรรคแรกว่าในกรณีที่สัญญาอนุญาโตตุลาการกำหนดให้บุคคลหนึ่ง หรือหลายคนเป็นอนุญาโตตุลาการ หรือให้บุคคลภายนอกเป็นผู้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ....
                        การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการไม่ว่าโดยวิธีใด จะต้องเป็นไปตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 คือต้องทำการแต่งตั้งภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา  หรือภายในกำหนดเวลาอันสมควร โดยรับความยินยอมจากบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ
                        ผลภายหลังการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการนั้น เมื่อแต่งตั้งบุคคลใดเป็นอนุญาโตตุลาการโดยชอบแล้ว บุคคลดังกล่าวก็สามารถทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณี โดยหลักการแล้ว เมื่อมีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแล้วจะถอดถอนไม่ได้เว้นแต่คู่กรณีทุกฝ่ายได้ยินยอม  หรือปรากฏเหตุคัดค้านอนุญาโตตุลาการขึ้น  และได้มีการหยิบยกเหตุแห่งการคัดค้านนั้นขึ้น  แล้วมีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นใหม่แทนบุคคลที่ถูกคัดค้าน

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ Arbitration ตอนที่ ๓


อ่านเรื่องอนุญาโตตุลาการในศาลและอนุญาโตตุลาการนอกศาลที่นี่

http://natjar2001law.blogspot.com/2012/10/arbitation.html

รูปแบบของการอนุญาโตตุลาการ       
                        การอนุญาโตตุลาการมี  2 แบบ
                        1.  แบบอนุญาโตตุลาการที่ไม่ใช่สถาบัน  (ad  hoc  arbitration)  จะไม่มีการตั้งเป็นสถาบัน  คู่กรณีต้องกำหนดรายละเอียดทั้งหมดกันเอง  ข้อเสียที่พบคือไม่มีบุคคลมาช่วยดำเนินงานในด้านธุรการ  คู่กรณีต้องทำเองทุกอย่าง
                        2.  แบบอนุญาโตตุลาการสถาบัน  (Institutional  arbitration) มีลักษณะเป็นสถาบันให้บริการทางด้านการระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการ  แต่ละสถาบันจะมีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการของตนเอง  เช่น  สถาบันอนุญาโตตุลาการ  สภาหอการค้าไทย  เป็นต้น          
                 ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ  พ.ศ. 2530  นั้น  มีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ     โดยที่ปัจจุบันนี้ความนิยมของประชาชนในการระงับข้อพิพาททางแพ่งโดยทางอนุญาโตตุลาการนอกศาลมีมากขึ้น          เพราะเป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งได้โดยสะดวก  รวดเร็วไม่สิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาในลักษณะประนีประนอมอันจะช่วยลดจำนวนคดีความที่จะขึ้นสู่ศาลอีกด้วย              การดำเนินกระบวนการพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการจะมีลักษณะยืดหยุ่นกว่าการพิจารณาในศาล              ไม่เคร่งครัดอยู่กับกฎหมายวิธีพิจารณาความที่ศาลใช้      เปิดโอกาสให้การดำเนินกระบวนพิจารณานั้นเป็นไปตามที่คู่กรณีตกลงกันและตามที่อนุญาโตตุลาการเห็นสมควรโดยคำนึงถึงหลักความยุติธรรม
                 การอนุญาโตตุลาการประกอบด้วยโครงสร้างสำคัญ  ๆ   4   ประการ   คือ   สัญญาอนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการ  กระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ และ    การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ   

สัญญาอนุญาโตตุลาการ               
                 นอกจากสัญญาอนุญาโตตุลาการต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ  พ.ศ. 2530  แล้ว        ยังต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญาด้วย  จึงมีหลักเกณฑ์ที่ควรนำมาพิจารณาในเรื่องดังต่อไปนี้
                 1.  สถานะทางกฎหมายของสัญญา     สัญญาอนุญาโตตุลาการ  หมายถึง  สัญญาหรือข้อตกลงในสัญญา        ที่คู่กรณีตกลงเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด  พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ  พ.ศ. 2530  มาตรา  5   สัญญาอนุญาโตตุลาการมีได้ทั้งกรณีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาว่าด้วยอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะแยกต่างหากจากสัญญาในทางธุรกิจการค้า  และกรณีที่คู่สัญญาได้ตกลงระบุให้มีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการไว้เป็นเงื่อนไขข้อหนึ่ง   (clause)   ของสัญญาทางธุรกิจการค้า        สำหรับกรณีหลังข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ  (Arbitration  clause)  แม้จะเป็นเพียงเงื่อนไขข้อหนึ่งรวมอยู่ในเงื่อนไขหลาย ๆ ข้อของสัญญาธุรกิจ      แต่เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการตกลงทำเงื่อนไขข้อนี้แตกต่างจากสัญญาธุรกิจอย่างสิ้นเชิง      กล่าวคือ     สัญญาธุรกิจมีวัตถุประสงค์ในการผูกนิติสัมพันธ์ทางธุรกิจ  ส่วนข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการมุ่งหมายให้คู่สัญญาต้องนำเสนอข้อพิพาทซึ่งเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญาธุรกิจต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อทำการวินิจฉัยชี้ขาด  มีลักษณะเป็นข้อตกลงที่แยกออกต่างหากเป็นคนละเรื่องกับข้อตกลงกันเป็นวัตถุประสงค์ของสัญญาธุรกิจ
2.            หลักฐานแห่งสัญญา ตามมาตรา   6   พระราชบัญญัติโตตุลาการ พ.ศ. 2530
บัญญัติว่าสัญญาณอนุโตตุลาการจะมีผลผูกพันคู่กรณีได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีข้อสัญญาปรากฏอยู่ในเอกสารโต้ตอบ  ทางจดหมาย โทรเลข โทรพิมพ์ หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าสัญญาอนุญาโตตุลาการจะทำด้วยวาจาไม่ได้
                  3.     ไม่จำเป็นต้องมีการกำหนดตัวผู้เป็นอนุญาโตตุลาการไว้ ในเรื่องนี้จะเห็นชัดได้ว่าสาระสำคัญของการทำสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นอยู่ที่คู่สัญญามีเจตนาที่จะใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท โดย จะตกลงกันกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นอนุญาโตตุลาการไว้ในสัญญาด้วยหรือจะมาตกลงกันในภายหลังก็ได้       
4. การบังคับตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ กรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาอนุญาโตตุลาการตามที่ได้ตกลงกันไว้ คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องร้องต่อศาล แทนที่จะเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามที่ได้ตกลงกันไว้ คู่สัญญาที่ฟ้องร้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพาทในกรณีไม่มีการสืบพยาน ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี และถ้าศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น ๆ  หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้  ก็ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาไปอนุญาโตตุลาการก่อน

การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ Arbitration ตอนที่ ๒



ติดตามอ่าน ประวัติศาสตร์ของอนุญาโตตุลาการได้ที่นี่

http://natjar2001law.blogspot.com/2012/10/blog-post_6445.html?spref=fb

อนุญาโตตุลาการในสมัยปัจจุบัน

หลักการของอนุญาโตตุลาการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
                        ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา  210 222  ไว้ว่าหลักเกณฑ์ของอนุญาโตตุลาการไว้ดังนี้
                        1.  การตั้งอนุญาโตตุลาการ  เป็นความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณี  โดยต้องตั้งกันเสียก่อนที่ศาลจะได้มีคำพิพากษา
                        2.  คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในกรณีที่คดีขึ้นสู่ศาลแล้ว    ศาลจะพิพากษาไปตามนั้น  หากเห็นว่าคำชี้ขาดนั้นไม่ขัดต่อกฎหมาย
                        3.  คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ชี้ขาดแล้ว  คู่ความจะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้  เว้นแต่คำชี้ขาดนั้นขัดต่อตัวบทกฎหมาย  หรือถ้าเห็นว่าคำชี้ขาดอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ศาลอาจมีคำสั่งให้อนุญาโตตุลาการ  หรือคู่ความที่เกี่ยวข้องแก้ไขเสียก่อนในเวลาอันสมควรที่กำหนดไว้ก็ได้

ผู้ที่จะเป็นอนุญาโตตุลาการในศาล

                        กฎหมายไทยมิได้บัญญัติห้ามผู้พิพากษาเป็นอนุญาโตตุลาการ  อย่างไรก็ตามในคดีที่ผู้พิพากษานั้นนั่งพิจารณาอยู่    ท่านจะเป็นอนุญาโตตุลาการให้แก่คดีนั้นไม่ได้  (คำพิพากษาฎีกาที่  777/2476  และ  1648/2487)               ส่วนผู้พิพากษาที่ไม่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้น        ก็ไม่อาจรับเป็นอนุญาโตตุลาการได้             เนื่องจากประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการข้อ  32  ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นอนุญาโตตุลาการ   หรือผู้ประนอมข้อพิพาท   เพราะเหตุว่าการทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการมิใช่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี     อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษาได้
 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา  210 222  ไว้ว่าหลักเกณฑ์ของอนุญาโตตุลาการไว้ดังนี้
สามารถตกลงกันให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในบางประเด็น     หรือทั้งหมดแทนการพิจารณาคดีตามปกติของศาลได้

หลักการของอนุญาโตตุลาการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

                        ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา  210 222  ไว้ว่าหลักเกณฑ์ของอนุญาโตตุลาการไว้ดังนี้
                        1.  การตั้งอนุญาโตตุลาการ  เป็นความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณี  โดยต้องตั้งกันเสียก่อนที่ศาลจะได้มีคำพิพากษา
                        2.  คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในกรณีที่คดีขึ้นสู่ศาลแล้ว    ศาลจะพิพากษาไปตามนั้น  หากเห็นว่าคำชี้ขาดนั้นไม่ขัดต่อกฎหมาย
                        3.  คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ชี้ขาดแล้ว  คู่ความจะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้  เว้นแต่คำชี้ขาดนั้นขัดต่อตัวบทกฎหมาย  หรือถ้าเห็นว่าคำชี้ขาดอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ศาลอาจมีคำสั่งให้อนุญาโตตุลาการ  หรือคู่ความที่เกี่ยวข้องแก้ไขเสียก่อนในเวลาอันสมควรที่กำหนดไว้ก็ได้

ผู้ที่จะเป็นอนุญาโตตุลาการในศาล

                        กฎหมายไทยมิได้บัญญัติห้ามผู้พิพากษาเป็นอนุญาโตตุลาการ  อย่างไรก็ตามในคดีที่ผู้พิพากษานั้นนั่งพิจารณาอยู่    ท่านจะเป็นอนุญาโตตุลาการให้แก่คดีนั้นไม่ได้  (คำพิพากษาฎีกาที่  777/2476  และ  1648/2487)               ส่วนผู้พิพากษาที่ไม่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้น        ก็ไม่อาจรับเป็นอนุญาโตตุลาการได้             เนื่องจากประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการข้อ  32  ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นอนุญาโตตุลาการ   หรือผู้ประนอมข้อพิพาท   เพราะเหตุว่าการทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการมิใช่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี     อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษาได้

การอนุญาโตตุลาการนอกศาล
                        วิธีการอนุญาโตตุลาการ  เกิดจากความยินยอมพร้อมใจ  ดังนั้น  ข้อตกลงให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการจึงเกิดจากสัญญา      การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการมีลักษณะสำคัญดังนี้
                        1.  อนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการในการระงับข้อพิพาทวิธีหนึ่ง  ส่วนข้อพิพาทอะไรบ้างที่จะระงับโดยอนุญาโตตุลาการได้นั้น  ย่อมเป็นไปตามนโยบายของกฎหมายของแต่ละประเทศว่า  กิจการใดบ้างที่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยที่ต้องการให้ศาลเท่านั้นเป็นผู้พิจารณาและตัดสินข้อพิพาทในกิจการดังกล่าว
                        2.  บุคคลที่จะทำการระงับข้อพิพาทหรือทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการนั้น  จะต้องไม่ใช่ผู้เป็นคู่กรณีในข้อพิพาทนั้นเอง  หากแต่เป็นบุคคลภายนอกที่เป็นกลาง  จะมีจำนวนหนึ่งคนหรือหลายคนก็ได้  โดยได้รับเลือกหรือแต่งตั้งจากคู่กรณี หรือได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่คู่กรณีได้ตกลงกันไว้  หรือตามกฎหมายกำหนดเพื่อทำการชี้ขาดข้อพิพาทในเรื่องใด ๆ โดยเฉพาะ
                        3.  ขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการในการพิจารณาและชี้ขาดข้อพิพาทนั้นเป็นไปตามข้อตกลงของคู่กรณี  ดังนั้นอนุญาโตตุลาการจะกระทำการเกินขอบเขตอำนาจที่คู่กรณีกำหนดไว้ในสัญญาไม่ได้  ส่วนคู่กรณีจะมีเสรีภาพในการทำสัญญามากน้อยเพียงใด  เป็นเรื่องที่กฎหมายอนุญาโตตุลาการและกฎหมายนิติกรรมสัญญาของแต่ละประเทศจะบัญญัติไว้                            
4.  อนุญาโตตุลาการต้องทำการชี้ขาดข้อพิพาทตามกระบวนการวิธีพิจารณาความ จะตัดสิน
ตามอำเภอใจไม่ได้   แต่อนุญาโตตุลาการก็ไม่ต้องผูกติดอยู่กับตัวบทกฎหมายวิธีพิจารณาโดยเคร่งครัดเหมือนศาล   เพราะเจตนารมณ์ของการอนุญาโตตุลาการคือความต้องการที่จะลดความยุ่งยากในเรื่องของพิธีการและขั้นตอนที่ซับซ้อนของกระบวนการพิจารณาคดีในศาล       เป็นต้นว่าต้องให้คู่กรณีทุกฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกันในการต่อสู้คดี         และจะต้องตัดสินโดยอาศัยการรับฟังพยานหลักฐานที่คู่กรณีนำมาเสนอ      
                        5.  อนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการพิจารณาและชี้ขาดข้อพิพาท   อันเป็นกระบวนการพิจารณาที่เอกชนทำกันเอง  ดังนั้นกฎหมายในประเทศต่าง ๆ จึงพยายามให้เสรีภาพแก่เอกชนมากที่สุดเพื่อให้ตกลงกันในเรื่องของวิธีพิจารณาความ    การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ    และอำนาจหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ       โดยรัฐจะมีบทบาทในฐานะที่เป็นผู้คอยช่วยเหลือให้การอนุญาโตตุลาการเป็นไปด้วยดี  และพยายามหลีกเลี่ยงการแทรกแซงที่ไม่จำเป็น
                        6.  คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้น  โดยทั่วไปแล้วถือว่าถึงที่สุด  หมายความว่ามีผลเป็นการยุติข้อพิพาททั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย    และคู่กรณีจะต้องผูกพันตามคำชี้ขาดนั้น     เมื่อคู่กรณีฝ่ายที่แพ้คดีไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด     อีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถอาศัยองค์กรของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลยุติธรรม  ให้ทำการบังคับคำชี้ขาดนั้นได้
                        7.  การพิจารณาและการทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ   ไม่ใช่การใช้อำนาจอธิปไตยทางศาลของรัฐ โดยปกติแล้วศาลจะเข้ามาเกี่ยวข้องก็เพียงกรณีที่จำเป็นเพื่อให้คู่กรณีปฏิบัติตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ         ตรวจสอบกระบวนการพิจารณาคดีและบังคับตามคำชี้ขาดเท่านั้น  ซึ่งขอบเขตการแทรกแซงของศาลอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ                   เมื่อการชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ใช่การใช้อำนาจอธิปไตย       การนำคำชี้ขาดไปให้ศาลต่างประเทศยอมรับหรือบังคับให้จึงง่ายกว่าการนำคำพิพากษาของศาลไปให้ศาลต่างประเทศยอมรับและบังคับให้



ผู้ที่จะเป็นอนุญาโตตุลาการในศาล

                        กฎหมายไทยมิได้บัญญัติห้ามผู้พิพากษาเป็นอนุญาโตตุลาการ  อย่างไรก็ตามในคดีที่ผู้พิพากษานั้นนั่งพิจารณาอยู่    ท่านจะเป็นอนุญาโตตุลาการให้แก่คดีนั้นไม่ได้  (คำพิพากษาฎีกาที่  777/2476  และ  1648/2487)               ส่วนผู้พิพากษาที่ไม่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้น        ก็ไม่อาจรับเป็นอนุญาโตตุลาการได้             เนื่องจากประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการข้อ  32  ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นอนุญาโตตุลาการ   หรือผู้ประนอมข้อพิพาท   เพราะเหตุว่าการทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการมิใช่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี     อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษาได้

การอนุญาโตตุลาการนอกศาล
                        วิธีการอนุญาโตตุลาการ  เกิดจากความยินยอมพร้อมใจ  ดังนั้น  ข้อตกลงให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการจึงเกิดจากสัญญา      การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการมีลักษณะสำคัญดังนี้
                        1.  อนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการในการระงับข้อพิพาทวิธีหนึ่ง  ส่วนข้อพิพาทอะไรบ้างที่จะระงับโดยอนุญาโตตุลาการได้นั้น  ย่อมเป็นไปตามนโยบายของกฎหมายของแต่ละประเทศว่า  กิจการใดบ้างที่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยที่ต้องการให้ศาลเท่านั้นเป็นผู้พิจารณาและตัดสินข้อพิพาทในกิจการดังกล่าว
                        2.  บุคคลที่จะทำการระงับข้อพิพาทหรือทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการนั้น  จะต้องไม่ใช่ผู้เป็นคู่กรณีในข้อพิพาทนั้นเอง  หากแต่เป็นบุคคลภายนอกที่เป็นกลาง  จะมีจำนวนหนึ่งคนหรือหลายคนก็ได้  โดยได้รับเลือกหรือแต่งตั้งจากคู่กรณี หรือได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่คู่กรณีได้ตกลงกันไว้  หรือตามกฎหมายกำหนดเพื่อทำการชี้ขาดข้อพิพาทในเรื่องใด ๆ โดยเฉพาะ
                        3.  ขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการในการพิจารณาและชี้ขาดข้อพิพาทนั้นเป็นไปตามข้อตกลงของคู่กรณี  ดังนั้นอนุญาโตตุลาการจะกระทำการเกินขอบเขตอำนาจที่คู่กรณีกำหนดไว้ในสัญญาไม่ได้  ส่วนคู่กรณีจะมีเสรีภาพในการทำสัญญามากน้อยเพียงใด  เป็นเรื่องที่กฎหมายอนุญาโตตุลาการและกฎหมายนิติกรรมสัญญาของแต่ละประเทศจะบัญญัติไว้                            
      4.  อนุญาโตตุลาการต้องทำการชี้ขาดข้อพิพาทตามกระบวนการวิธีพิจารณาความ จะตัดสิน
ตามอำเภอใจไม่ได้   แต่อนุญาโตตุลาการก็ไม่ต้องผูกติดอยู่กับตัวบทกฎหมายวิธีพิจารณาโดยเคร่งครัดเหมือนศาล   เพราะเจตนารมณ์ของการอนุญาโตตุลาการคือความต้องการที่จะลดความยุ่งยากในเรื่องของพิธีการและขั้นตอนที่ซับซ้อนของกระบวนการพิจารณาคดีในศาล       เป็นต้นว่าต้องให้คู่กรณีทุกฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกันในการต่อสู้คดี         และจะต้องตัดสินโดยอาศัยการรับฟังพยานหลักฐานที่คู่กรณีนำมาเสนอ      
                        5.  อนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการพิจารณาและชี้ขาดข้อพิพาท   อันเป็นกระบวนการพิจารณาที่เอกชนทำกันเอง  ดังนั้นกฎหมายในประเทศต่าง ๆ จึงพยายามให้เสรีภาพแก่เอกชนมากที่สุดเพื่อให้ตกลงกันในเรื่องของวิธีพิจารณาความ    การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ    และอำนาจหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ       โดยรัฐจะมีบทบาทในฐานะที่เป็นผู้คอยช่วยเหลือให้การอนุญาโตตุลาการเป็นไปด้วยดี  และพยายามหลีกเลี่ยงการแทรกแซงที่ไม่จำเป็น
                        6.  คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้น  โดยทั่วไปแล้วถือว่าถึงที่สุด  หมายความว่ามีผลเป็นการยุติข้อพิพาททั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย    และคู่กรณีจะต้องผูกพันตามคำชี้ขาดนั้น     เมื่อคู่กรณีฝ่ายที่แพ้คดีไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด     อีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถอาศัยองค์กรของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลยุติธรรม  ให้ทำการบังคับคำชี้ขาดนั้นได้
                        7.  การพิจารณาและการทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ   ไม่ใช่การใช้อำนาจอธิปไตยทางศาลของรัฐ โดยปกติแล้วศาลจะเข้ามาเกี่ยวข้องก็เพียงกรณีที่จำเป็นเพื่อให้คู่กรณีปฏิบัติตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ         ตรวจสอบกระบวนการพิจารณาคดีและบังคับตามคำชี้ขาดเท่านั้น  ซึ่งขอบเขตการแทรกแซงของศาลอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ                   เมื่อการชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ใช่การใช้อำนาจอธิปไตย       การนำคำชี้ขาดไปให้ศาลต่างประเทศยอมรับหรือบังคับให้จึงง่ายกว่าการนำคำพิพากษาของศาลไปให้ศาลต่างประเทศยอมรับและบังคับให้

ตอนหน้าพบกับ รูปแบบของอนุญาโตตุลาการ


การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ Arbitration ตอนที่ ๑




ประวัติศาสตร์ของการอนุญาโตตุลาการ 
                        คำว่า  อนุญาโตตุลาการ  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  หมายความว่า  ผู้ชำระตัดสินในข้อพิพาท  ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยยินยอมพร้อมใจกันตั้งให้ว่ากล่าว
                        อนุญาโตตุลาการ  คือ  บุคคลซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคนเดียวหรือหลายคนที่คู่กรณีพิพาทหรือบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมาย  ตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นคนกลางและทำหน้าที่พิจารณาชี้ขาดตัดสินข้อพิพาทของคู่กรณี 
                        สำหรับประเทศไทย  พบหลักฐานในกฎหมายตามสามดวง พระไอยการลักษณะตระลาการ  ความว่า 
อันว่ากระลาการมีลักษณ ๖ ประการดั่งนี้นักปราชญ์พึงรู้
                 อันว่ากระลาการพระมหากระษัตรตั้งแต่งนั้น ถ้าบังคับคดีผิดไซ้ควรให้กระลาการใช้ทรัพยเท่าบังคับผิดนั้น อนึ่งถ้ากระลาการบังคับชอบแล้ว แลคู่ความกล่าวโทษกระลาการไซ้ให้ไหมเปนสองเท่าทรัพยอันกระลาการบังคับนั้น เหตุใดจึ่งกล่าวดั่งนี้เหตุบุทคลผู้นั้นเลมิดกระลาการอันบังคับเปนธรรมแลเลมิดพระราชบันหยัด
                 อันว่ากระลาการคู่ความทังสองข้างยอมให้บังคับนั้น ถ้าแลบังคับบันชาผิดไซ้หาโทษมิได้ เหตุคู่ความทังสองข้างให้บังคับเอง
                 อันว่ากระลาการห้าประการ คือกระลาการเปนฝักฝ่ายคู่ความข้างหนึ่งก็ดี คือกระลาการเปนนายร้อยนายแขวงก็ดี คือกระลาการบังคับด้วยจิตรอันเสมอทังสองก็ดี คือกระลาการอันกระลาการผู้ใหญ่ ตั้งให้เปนรองอาตมานั้นก็ดี แลคือกระลาการอันพระมหากระษัตรตั้งนั้นก็ดี แลกระลาการทังห้าประการนี้ ถ้าบังคับคดีนั้นแล้วแลคู่ความมิเตมใจแลอุธรเอาเนื้อความมาให้บังคับเล่าก็ได้
                 อันว่ากระลาการแลคู่ความมันยอมกันให้บังคับนั้น ถ้าบังคับคดีนั้นคู่ความมีเตมใจ แลจะอุธรเอาเนื้อความนั้นมาให้บังคับไหม่เล่ามิได้เลย               เหตุเนื้อความนั้นคนทังสองกอปรด้วยอุส่าหยอมให้ผู้นั้นบังคับ

ในพระอัยการกระลาการแบ่งกระลาการไว้เป็น 6 ประการ  ดังนี้
                        1.  กระลาการพระมหากษัตริย์แต่งตั้ง
                        2.  กระลาการคู่ความทังสองข้างยอมให้บังคับ
                        3.  กระลาการเป็นฝักฝ่ายคู่ความข้างหนึ่ง
                        4.  กระลาการเป็นนายร้อยนายแขวง
                        5.  กระลาการบังคับด้วยจิตรอันเสมอทังสอง
                        6.  กระลาการอันกระลาการผู้ใหญ่ตั้งให้เปนรองอาตมา        
                        จะเห็นได้ว่า   หลักการของอนุญาโตตุลาการมีมาเนิ่นนานแล้ว   ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาพร้อม ๆ     กับที่มีการพูดถึงเรื่องคัมภีร์พระธรรมศาสตร์  และหลักอินทภาษ      ซึ่งกระลาการ 6 จำพวกนี้ถูกบัญญัติไว้ในอินทภาษ       แต่ต่อมาถูกตัดมายกไว้ในพระอัยการกระลาการทีหลัง      จึงไม่ปรากฎความนี้ในอินทภาษอีก     และการอนุญาโตตุลาการได้มีการใช้มาตลอดจนถึงทุกวันนี้นับเป็นเวลาหลายร้อยปี

วิชาและจรณะ ของนักกฏหมาย โดยมรรคมีองค์แปด



วิชาชีพนักกฎหมาย นับว่าเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญระดับแนวหน้าของสังคม เพราะนักกฎหมาย เป็นผู้ทำให้ถึงพร้อมซึ่งความถูกต้องและยุติธรรม หากนักกฎหมายขาดความรู้และจริยธรรมเสียแล้ว ความถูกต้องและเป็นธรรมย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ในสังคม
วิชาและจรณะ จึงคือหัวใจสำคัญของนักกฏหมาย
นักกฏหมายจะต้องธำรงค์ไว้ซึ่งวิชาและจรณะ จึงจะทำความถูกต้องและยุติธรรมให้เกิดแก่ปวงชนได้
นักกฏหมายที่ไร้วิชา ย่อมไม่อาจทำความถูกต้องแห่งบทบัญญัติให้ปรากฏได้
นักกฏหมายที่ไร้จรณะ ย่อมไม่อาจทำความยุติธรรมให้ปรากฏได้ 

หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่หากนำมาปรับใช้กับจริยธรรมในวิชาชีพนักกฎหมายแล้วจะสามารถเอื้ออำนวยให้วิชาและจรณะเกิดขึ้นได้อย่างบริบูรณ์  คือ มรรคมีองค์แปด  ปรากฏหลักฐานที่ให้ความหมายตามคัมภีร์ปิฏก ดังนี้

มรรคมีองค์แปดเป็นไฉน

[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน นี้คือมรรค
มีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน ทุกขนิโรธ
ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ

สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริใน ความไม่
พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ

สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ

สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือ เอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ

สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จ
การเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ

สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่ เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่าสัมมาวายามะ ฯ

สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา สมาธิ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6555&Z=6764

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค

[๓๕] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรมความเห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

[๓๖] สัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความดำริชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มีในสมัยนั้น.

[๓๗] สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การปรารถความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละความพยายามชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะ มีในสมัยนั้น.

[๓๘] สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอยความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสติ มีในสมัยนั้น

[๓๙] สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=598&Z=847

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์

[๑๘๐] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากมิจฉาอาชีวะ กิริยา
ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัด ต้นเหตุมิจฉาอาชีวะ
การเลี้ยงชีพชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=2873&Z=2986

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์


[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็น
ส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ

[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่
พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

[๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึกมีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมากัมมันตะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมากัมมันตะที่ยังเป็น
สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมากัมมันตะของพระอริยะ
ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ

[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้น
จากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร นี้สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็น
อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด
ความเว้น เจตนางดเว้น จากกายทุจริตทั้ง ๓ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิต
หาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3724&Z=3923

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

เมื่อนำมรรคมีองค์แปดมาบูรณาการเข้าด้วยวิชาและจรณะของนักกฎหมาย จึงได้ข้อควรประพฤติปฏิบัติ ดังนี้


สัมมาทิฏฐิ  คือ ความเห็นตรง เห็นถูก เห็นชอบ  เห็นว่าความจริงคือสิ่งที่ควรปฏิบัติ เห็นว่าควรเว้นจากการรับสินบน กลับแพ้ให้เป็นชนะ กลับชนะให้เป็นแพ้ ด้วยใฝ่ในอคติทั้งสี่ประการ

สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การคิดพิจารณาตัวบทกฎหมายด้วยจิตดั่งตราชู เสมอกันทั้งสองฝ่าย  โดยเอาธรรมสาสตรต่างแว่น อินทรภาษต่างเนตร  นำเอาตัวบทกฏหมายมาวินิจฉัยด้วยจิตเป็นกลาง

สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ ไม่พูดจาโกหก  ไม่พูดเพ้อเจ้อไร้หลักการและหลักฐาน ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย เหน็บแนม ด่าทอ  นักกฎหมายมักได้ชื่อว่าเป็นผู้มีมุสาวาทเป็นที่อยู่ ที่อาศัย และในความเป็นจริง นักกฎหมาย      จำนวนมากก็เป็นเช่นนั้น อีกทั้งนักกฏหมายยังได้ชื่อว่าเป็นผู้มีปากเป็นอาวุธ  กล่าวคำเสียดสีเหน็บแนมต่อคู่ความเสมอ

สัมมากัมมันตะ  คือ การประพฤติดีงามตามที่ตนเห็นได้มีความดำริไว้

สัมมาอาชีวะ  คือ หมั่นขวนขวายหาความรู้  ติดตามกฎหมายที่ออกใหม่ ที่แก้ไข อยู่เนืองๆ การไม่รับความโดยเอาเปรียบ โดยมีจิตประทุษร้าย ไม่วินิจฉัยความโดยมีอคติทั้งสี่ประการ

สัมมาวายามะ  คือ ความอุตสาหะ ความเพียร ในการทำงานให้ปรากฏแล้วด้วยความถูกต้องและเป็นธรรม

สัมมาสติ   คือ ความละเอียดรอบคอบในการทำคดีความ ทั้งนี้ ต้องสังวรอยู่เสมอว่า ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สินของตัวความ หรือคู่ความ คือสิ่งที่อยู่ในมือเรา

สัมมาสมาธิ  คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ มิให้อคติทั้งสี่ประการเข้าแทรกได้
เมื่อปฏิบัติมรรคมีองค์แปดได้ดังนี้แล้ว วิชาและจรณะย่อมเกิดแก่นักกฎหมายท่านนั้น ชีวิตของท่าน ก็จะจำเริญดุจพระจันทร์วันศุขปักษ์