ติดตามอ่าน ประวัติศาสตร์ของอนุญาโตตุลาการได้ที่นี่
http://natjar2001law.blogspot.com/2012/10/blog-post_6445.html?spref=fb
อนุญาโตตุลาการในสมัยปัจจุบัน
หลักการของอนุญาโตตุลาการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 210 – 222 ไว้ว่าหลักเกณฑ์ของอนุญาโตตุลาการไว้ดังนี้
1. การตั้งอนุญาโตตุลาการ เป็นความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณี โดยต้องตั้งกันเสียก่อนที่ศาลจะได้มีคำพิพากษา
2.
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในกรณีที่คดีขึ้นสู่ศาลแล้ว ศาลจะพิพากษาไปตามนั้น หากเห็นว่าคำชี้ขาดนั้นไม่ขัดต่อกฎหมาย
3. คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ชี้ขาดแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ เว้นแต่คำชี้ขาดนั้นขัดต่อตัวบทกฎหมาย
หรือถ้าเห็นว่าคำชี้ขาดอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ศาลอาจมีคำสั่งให้อนุญาโตตุลาการ
หรือคู่ความที่เกี่ยวข้องแก้ไขเสียก่อนในเวลาอันสมควรที่กำหนดไว้ก็ได้
ผู้ที่จะเป็นอนุญาโตตุลาการในศาล
กฎหมายไทยมิได้บัญญัติห้ามผู้พิพากษาเป็นอนุญาโตตุลาการ
อย่างไรก็ตามในคดีที่ผู้พิพากษานั้นนั่งพิจารณาอยู่ ท่านจะเป็นอนุญาโตตุลาการให้แก่คดีนั้นไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 777/2476
และ 1648/2487)
ส่วนผู้พิพากษาที่ไม่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้น ก็ไม่อาจรับเป็นอนุญาโตตุลาการได้ เนื่องจากประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการข้อ 32
ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นอนุญาโตตุลาการ หรือผู้ประนอมข้อพิพาท เพราะเหตุว่าการทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการมิใช่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี
อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษาได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 210 – 222 ไว้ว่าหลักเกณฑ์ของอนุญาโตตุลาการไว้ดังนี้
สามารถตกลงกันให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในบางประเด็น
หรือทั้งหมดแทนการพิจารณาคดีตามปกติของศาลได้
หลักการของอนุญาโตตุลาการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 210 – 222 ไว้ว่าหลักเกณฑ์ของอนุญาโตตุลาการไว้ดังนี้
1. การตั้งอนุญาโตตุลาการ เป็นความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณี โดยต้องตั้งกันเสียก่อนที่ศาลจะได้มีคำพิพากษา
2.
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในกรณีที่คดีขึ้นสู่ศาลแล้ว ศาลจะพิพากษาไปตามนั้น หากเห็นว่าคำชี้ขาดนั้นไม่ขัดต่อกฎหมาย
3. คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ชี้ขาดแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ เว้นแต่คำชี้ขาดนั้นขัดต่อตัวบทกฎหมาย
หรือถ้าเห็นว่าคำชี้ขาดอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ศาลอาจมีคำสั่งให้อนุญาโตตุลาการ
หรือคู่ความที่เกี่ยวข้องแก้ไขเสียก่อนในเวลาอันสมควรที่กำหนดไว้ก็ได้
ผู้ที่จะเป็นอนุญาโตตุลาการในศาล
กฎหมายไทยมิได้บัญญัติห้ามผู้พิพากษาเป็นอนุญาโตตุลาการ
อย่างไรก็ตามในคดีที่ผู้พิพากษานั้นนั่งพิจารณาอยู่ ท่านจะเป็นอนุญาโตตุลาการให้แก่คดีนั้นไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 777/2476
และ 1648/2487)
ส่วนผู้พิพากษาที่ไม่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้น ก็ไม่อาจรับเป็นอนุญาโตตุลาการได้ เนื่องจากประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการข้อ 32
ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นอนุญาโตตุลาการ หรือผู้ประนอมข้อพิพาท เพราะเหตุว่าการทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการมิใช่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี
อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษาได้
การอนุญาโตตุลาการนอกศาล
วิธีการอนุญาโตตุลาการ เกิดจากความยินยอมพร้อมใจ ดังนั้น
ข้อตกลงให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการจึงเกิดจากสัญญา
การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการมีลักษณะสำคัญดังนี้
1.
อนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการในการระงับข้อพิพาทวิธีหนึ่ง
ส่วนข้อพิพาทอะไรบ้างที่จะระงับโดยอนุญาโตตุลาการได้นั้น ย่อมเป็นไปตามนโยบายของกฎหมายของแต่ละประเทศว่า กิจการใดบ้างที่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยที่ต้องการให้ศาลเท่านั้นเป็นผู้พิจารณาและตัดสินข้อพิพาทในกิจการดังกล่าว
2.
บุคคลที่จะทำการระงับข้อพิพาทหรือทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการนั้น
จะต้องไม่ใช่ผู้เป็นคู่กรณีในข้อพิพาทนั้นเอง หากแต่เป็นบุคคลภายนอกที่เป็นกลาง จะมีจำนวนหนึ่งคนหรือหลายคนก็ได้ โดยได้รับเลือกหรือแต่งตั้งจากคู่กรณี
หรือได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่คู่กรณีได้ตกลงกันไว้
หรือตามกฎหมายกำหนดเพื่อทำการชี้ขาดข้อพิพาทในเรื่องใด ๆ โดยเฉพาะ
3.
ขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการในการพิจารณาและชี้ขาดข้อพิพาทนั้นเป็นไปตามข้อตกลงของคู่กรณี
ดังนั้นอนุญาโตตุลาการจะกระทำการเกินขอบเขตอำนาจที่คู่กรณีกำหนดไว้ในสัญญาไม่ได้
ส่วนคู่กรณีจะมีเสรีภาพในการทำสัญญามากน้อยเพียงใด
เป็นเรื่องที่กฎหมายอนุญาโตตุลาการและกฎหมายนิติกรรมสัญญาของแต่ละประเทศจะบัญญัติไว้
4.
อนุญาโตตุลาการต้องทำการชี้ขาดข้อพิพาทตามกระบวนการวิธีพิจารณาความ
จะตัดสิน
ตามอำเภอใจไม่ได้
แต่อนุญาโตตุลาการก็ไม่ต้องผูกติดอยู่กับตัวบทกฎหมายวิธีพิจารณาโดยเคร่งครัดเหมือนศาล
เพราะเจตนารมณ์ของการอนุญาโตตุลาการคือความต้องการที่จะลดความยุ่งยากในเรื่องของพิธีการและขั้นตอนที่ซับซ้อนของกระบวนการพิจารณาคดีในศาล
เป็นต้นว่าต้องให้คู่กรณีทุกฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกันในการต่อสู้คดี
และจะต้องตัดสินโดยอาศัยการรับฟังพยานหลักฐานที่คู่กรณีนำมาเสนอ
5.
อนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการพิจารณาและชี้ขาดข้อพิพาท อันเป็นกระบวนการพิจารณาที่เอกชนทำกันเอง ดังนั้นกฎหมายในประเทศต่าง ๆ
จึงพยายามให้เสรีภาพแก่เอกชนมากที่สุดเพื่อให้ตกลงกันในเรื่องของวิธีพิจารณาความ การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ และอำนาจหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ
โดยรัฐจะมีบทบาทในฐานะที่เป็นผู้คอยช่วยเหลือให้การอนุญาโตตุลาการเป็นไปด้วยดี และพยายามหลีกเลี่ยงการแทรกแซงที่ไม่จำเป็น
6. คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้น โดยทั่วไปแล้วถือว่าถึงที่สุด
หมายความว่ามีผลเป็นการยุติข้อพิพาททั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และคู่กรณีจะต้องผูกพันตามคำชี้ขาดนั้น เมื่อคู่กรณีฝ่ายที่แพ้คดีไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด
อีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถอาศัยองค์กรของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลยุติธรรม ให้ทำการบังคับคำชี้ขาดนั้นได้
7.
การพิจารณาและการทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ไม่ใช่การใช้อำนาจอธิปไตยทางศาลของรัฐ
โดยปกติแล้วศาลจะเข้ามาเกี่ยวข้องก็เพียงกรณีที่จำเป็นเพื่อให้คู่กรณีปฏิบัติตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ
ตรวจสอบกระบวนการพิจารณาคดีและบังคับตามคำชี้ขาดเท่านั้น
ซึ่งขอบเขตการแทรกแซงของศาลอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
เมื่อการชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ใช่การใช้อำนาจอธิปไตย การนำคำชี้ขาดไปให้ศาลต่างประเทศยอมรับหรือบังคับให้จึงง่ายกว่าการนำคำพิพากษาของศาลไปให้ศาลต่างประเทศยอมรับและบังคับให้
ผู้ที่จะเป็นอนุญาโตตุลาการในศาล
กฎหมายไทยมิได้บัญญัติห้ามผู้พิพากษาเป็นอนุญาโตตุลาการ
อย่างไรก็ตามในคดีที่ผู้พิพากษานั้นนั่งพิจารณาอยู่ ท่านจะเป็นอนุญาโตตุลาการให้แก่คดีนั้นไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 777/2476
และ 1648/2487)
ส่วนผู้พิพากษาที่ไม่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้น ก็ไม่อาจรับเป็นอนุญาโตตุลาการได้ เนื่องจากประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการข้อ 32
ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นอนุญาโตตุลาการ หรือผู้ประนอมข้อพิพาท เพราะเหตุว่าการทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการมิใช่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี
อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษาได้
การอนุญาโตตุลาการนอกศาล
วิธีการอนุญาโตตุลาการ เกิดจากความยินยอมพร้อมใจ ดังนั้น
ข้อตกลงให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการจึงเกิดจากสัญญา
การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอนุญาโตตุลาการมีลักษณะสำคัญดังนี้
1.
อนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการในการระงับข้อพิพาทวิธีหนึ่ง
ส่วนข้อพิพาทอะไรบ้างที่จะระงับโดยอนุญาโตตุลาการได้นั้น ย่อมเป็นไปตามนโยบายของกฎหมายของแต่ละประเทศว่า กิจการใดบ้างที่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยที่ต้องการให้ศาลเท่านั้นเป็นผู้พิจารณาและตัดสินข้อพิพาทในกิจการดังกล่าว
2.
บุคคลที่จะทำการระงับข้อพิพาทหรือทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการนั้น
จะต้องไม่ใช่ผู้เป็นคู่กรณีในข้อพิพาทนั้นเอง หากแต่เป็นบุคคลภายนอกที่เป็นกลาง จะมีจำนวนหนึ่งคนหรือหลายคนก็ได้ โดยได้รับเลือกหรือแต่งตั้งจากคู่กรณี
หรือได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่คู่กรณีได้ตกลงกันไว้
หรือตามกฎหมายกำหนดเพื่อทำการชี้ขาดข้อพิพาทในเรื่องใด ๆ โดยเฉพาะ
3.
ขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการในการพิจารณาและชี้ขาดข้อพิพาทนั้นเป็นไปตามข้อตกลงของคู่กรณี
ดังนั้นอนุญาโตตุลาการจะกระทำการเกินขอบเขตอำนาจที่คู่กรณีกำหนดไว้ในสัญญาไม่ได้
ส่วนคู่กรณีจะมีเสรีภาพในการทำสัญญามากน้อยเพียงใด
เป็นเรื่องที่กฎหมายอนุญาโตตุลาการและกฎหมายนิติกรรมสัญญาของแต่ละประเทศจะบัญญัติไว้
4.
อนุญาโตตุลาการต้องทำการชี้ขาดข้อพิพาทตามกระบวนการวิธีพิจารณาความ
จะตัดสิน
ตามอำเภอใจไม่ได้
แต่อนุญาโตตุลาการก็ไม่ต้องผูกติดอยู่กับตัวบทกฎหมายวิธีพิจารณาโดยเคร่งครัดเหมือนศาล
เพราะเจตนารมณ์ของการอนุญาโตตุลาการคือความต้องการที่จะลดความยุ่งยากในเรื่องของพิธีการและขั้นตอนที่ซับซ้อนของกระบวนการพิจารณาคดีในศาล
เป็นต้นว่าต้องให้คู่กรณีทุกฝ่ายมีโอกาสเท่าเทียมกันในการต่อสู้คดี
และจะต้องตัดสินโดยอาศัยการรับฟังพยานหลักฐานที่คู่กรณีนำมาเสนอ
5.
อนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการพิจารณาและชี้ขาดข้อพิพาท อันเป็นกระบวนการพิจารณาที่เอกชนทำกันเอง ดังนั้นกฎหมายในประเทศต่าง ๆ
จึงพยายามให้เสรีภาพแก่เอกชนมากที่สุดเพื่อให้ตกลงกันในเรื่องของวิธีพิจารณาความ การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ และอำนาจหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการ
โดยรัฐจะมีบทบาทในฐานะที่เป็นผู้คอยช่วยเหลือให้การอนุญาโตตุลาการเป็นไปด้วยดี และพยายามหลีกเลี่ยงการแทรกแซงที่ไม่จำเป็น
6. คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้น โดยทั่วไปแล้วถือว่าถึงที่สุด
หมายความว่ามีผลเป็นการยุติข้อพิพาททั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และคู่กรณีจะต้องผูกพันตามคำชี้ขาดนั้น เมื่อคู่กรณีฝ่ายที่แพ้คดีไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด
อีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถอาศัยองค์กรของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลยุติธรรม ให้ทำการบังคับคำชี้ขาดนั้นได้
7.
การพิจารณาและการทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ไม่ใช่การใช้อำนาจอธิปไตยทางศาลของรัฐ
โดยปกติแล้วศาลจะเข้ามาเกี่ยวข้องก็เพียงกรณีที่จำเป็นเพื่อให้คู่กรณีปฏิบัติตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ
ตรวจสอบกระบวนการพิจารณาคดีและบังคับตามคำชี้ขาดเท่านั้น
ซึ่งขอบเขตการแทรกแซงของศาลอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
เมื่อการชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ใช่การใช้อำนาจอธิปไตย การนำคำชี้ขาดไปให้ศาลต่างประเทศยอมรับหรือบังคับให้จึงง่ายกว่าการนำคำพิพากษาของศาลไปให้ศาลต่างประเทศยอมรับและบังคับให้
ตอนหน้าพบกับ รูปแบบของอนุญาโตตุลาการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น