อ่านเรื่องอนุญาโตตุลาการในศาลและอนุญาโตตุลาการนอกศาลที่นี่
http://natjar2001law.blogspot.com/2012/10/arbitation.html
รูปแบบของการอนุญาโตตุลาการ
การอนุญาโตตุลาการมี 2 แบบ
1. แบบอนุญาโตตุลาการที่ไม่ใช่สถาบัน (ad
hoc arbitration) จะไม่มีการตั้งเป็นสถาบัน คู่กรณีต้องกำหนดรายละเอียดทั้งหมดกันเอง
ข้อเสียที่พบคือไม่มีบุคคลมาช่วยดำเนินงานในด้านธุรการ คู่กรณีต้องทำเองทุกอย่าง
2. แบบอนุญาโตตุลาการสถาบัน (Institutional arbitration)
มีลักษณะเป็นสถาบันให้บริการทางด้านการระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการ
แต่ละสถาบันจะมีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการของตนเอง เช่น
สถาบันอนุญาโตตุลาการ สภาหอการค้าไทย เป็นต้น
ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530
นั้น
มีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ โดยที่ปัจจุบันนี้ความนิยมของประชาชนในการระงับข้อพิพาททางแพ่งโดยทางอนุญาโตตุลาการนอกศาลมีมากขึ้น
เพราะเป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งได้โดยสะดวก
รวดเร็วไม่สิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาในลักษณะประนีประนอมอันจะช่วยลดจำนวนคดีความที่จะขึ้นสู่ศาลอีกด้วย การดำเนินกระบวนการพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการจะมีลักษณะยืดหยุ่นกว่าการพิจารณาในศาล
ไม่เคร่งครัดอยู่กับกฎหมายวิธีพิจารณาความที่ศาลใช้
เปิดโอกาสให้การดำเนินกระบวนพิจารณานั้นเป็นไปตามที่คู่กรณีตกลงกันและตามที่อนุญาโตตุลาการเห็นสมควรโดยคำนึงถึงหลักความยุติธรรม
การอนุญาโตตุลาการประกอบด้วยโครงสร้างสำคัญ ๆ
4 ประการ คือ
สัญญาอนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการ
กระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ และ
การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
สัญญาอนุญาโตตุลาการ
นอกจากสัญญาอนุญาโตตุลาการต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530
แล้ว
ยังต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญาด้วย
จึงมีหลักเกณฑ์ที่ควรนำมาพิจารณาในเรื่องดังต่อไปนี้
1. สถานะทางกฎหมายของสัญญา สัญญาอนุญาโตตุลาการ หมายถึง สัญญาหรือข้อตกลงในสัญญา ที่คู่กรณีตกลงเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 สัญญาอนุญาโตตุลาการมีได้ทั้งกรณีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาว่าด้วยอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะแยกต่างหากจากสัญญาในทางธุรกิจการค้า และกรณีที่คู่สัญญาได้ตกลงระบุให้มีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการไว้เป็นเงื่อนไขข้อหนึ่ง (clause) ของสัญญาทางธุรกิจการค้า สำหรับกรณีหลังข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ (Arbitration clause) แม้จะเป็นเพียงเงื่อนไขข้อหนึ่งรวมอยู่ในเงื่อนไขหลาย ๆ ข้อของสัญญาธุรกิจ แต่เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการตกลงทำเงื่อนไขข้อนี้แตกต่างจากสัญญาธุรกิจอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ สัญญาธุรกิจมีวัตถุประสงค์ในการผูกนิติสัมพันธ์ทางธุรกิจ ส่วนข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการมุ่งหมายให้คู่สัญญาต้องนำเสนอข้อพิพาทซึ่งเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญาธุรกิจต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อทำการวินิจฉัยชี้ขาด มีลักษณะเป็นข้อตกลงที่แยกออกต่างหากเป็นคนละเรื่องกับข้อตกลงกันเป็นวัตถุประสงค์ของสัญญาธุรกิจ
1. สถานะทางกฎหมายของสัญญา สัญญาอนุญาโตตุลาการ หมายถึง สัญญาหรือข้อตกลงในสัญญา ที่คู่กรณีตกลงเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 สัญญาอนุญาโตตุลาการมีได้ทั้งกรณีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาว่าด้วยอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะแยกต่างหากจากสัญญาในทางธุรกิจการค้า และกรณีที่คู่สัญญาได้ตกลงระบุให้มีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการไว้เป็นเงื่อนไขข้อหนึ่ง (clause) ของสัญญาทางธุรกิจการค้า สำหรับกรณีหลังข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ (Arbitration clause) แม้จะเป็นเพียงเงื่อนไขข้อหนึ่งรวมอยู่ในเงื่อนไขหลาย ๆ ข้อของสัญญาธุรกิจ แต่เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการตกลงทำเงื่อนไขข้อนี้แตกต่างจากสัญญาธุรกิจอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ สัญญาธุรกิจมีวัตถุประสงค์ในการผูกนิติสัมพันธ์ทางธุรกิจ ส่วนข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการมุ่งหมายให้คู่สัญญาต้องนำเสนอข้อพิพาทซึ่งเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญาธุรกิจต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อทำการวินิจฉัยชี้ขาด มีลักษณะเป็นข้อตกลงที่แยกออกต่างหากเป็นคนละเรื่องกับข้อตกลงกันเป็นวัตถุประสงค์ของสัญญาธุรกิจ
2.
หลักฐานแห่งสัญญา ตามมาตรา 6
พระราชบัญญัติโตตุลาการ พ.ศ. 2530
บัญญัติว่าสัญญาณอนุโตตุลาการจะมีผลผูกพันคู่กรณีได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีข้อสัญญาปรากฏอยู่ในเอกสารโต้ตอบ ทางจดหมาย โทรเลข โทรพิมพ์
หรือเอกสารอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าสัญญาอนุญาโตตุลาการจะทำด้วยวาจาไม่ได้
3. ไม่จำเป็นต้องมีการกำหนดตัวผู้เป็นอนุญาโตตุลาการไว้
ในเรื่องนี้จะเห็นชัดได้ว่าสาระสำคัญของการทำสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นอยู่ที่คู่สัญญามีเจตนาที่จะใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท
โดย จะตกลงกันกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นอนุญาโตตุลาการไว้ในสัญญาด้วยหรือจะมาตกลงกันในภายหลังก็ได้
4. การบังคับตามสัญญาอนุญาโตตุลาการ
กรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาอนุญาโตตุลาการตามที่ได้ตกลงกันไว้
คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องร้องต่อศาล
แทนที่จะเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามที่ได้ตกลงกันไว้ คู่สัญญาที่ฟ้องร้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพาทในกรณีไม่มีการสืบพยาน
ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี
และถ้าศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น
ๆ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ก็ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาไปอนุญาโตตุลาการก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น