วิธีพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ
อำนาจของอนุญาโตตุลาการที่จะดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทของคู่กรณีจะต้องอาศัยสัญญาที่จะทำขึ้นระหว่างคู่กรณีเป็นพื้นฐานเบื้องต้น
สิ่งแรกที่อนุญาโตตุลาการจะต้องทำหลังจากได้รับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ คือ
การกำหนดวัน เวลา
และสถานที่ในการพิจารณาข้อพิพาท ในทางปฏิบัติอนุญาโตตุลาการจะปรึกษาหารือกับบุคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเสียก่อนเพื่อความสะดวกของทุกฝ่าย และสิ่งสำคัญที่สุดในการกำหนดวัน เวลา
และสถานที่ในการพิจารณาคดีนั้น ก็คือ จะต้องมีการบอกกล่าวแก่คู่กรณีโดยชอบ ซึ่งอาจส่งไปยังคู่กรณีหรือทนายความโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือโดยวิธีอื่นใดตามที่คู่กรณีตกลงกันไว้
และวิธีการดังกล่าวจะต้องเป็นวิธีการที่กฎหมายยอมรับด้วย
หากไม่มีการส่งคำบอกกล่าวแก่คู่กรณีโดยชอบแล้วก็จะส่งผลให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดที่ทำขึ้นนั้นเป็นกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ได้เพราะขัดกับหลักแห่งความยุติธรรม
ตามมาตรา 17 พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530
ในการพิจารณาคดีในชั้นอนุญาโตตุลาการ
คู่กรณีอาจดำเนินการด้วยตนเอง
หรือมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการแทนตนได้และมีสิทธิที่จะที่ปรึกษาและทนายความอยู่ด้วยตลอดเวลาที่ทำการพิจารณาคดีตามมาตรา
19 พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530
ในเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบของการดำเนินกระบวนการพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการนั้น
โดยสาระแล้วส่วนใหญ่จะเป็นไปตามข้อตกลงของคู่กรณี
แต่ก็พบว่าคู่กรณีมักจะไม่ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาเอาไว้ในสัญญาอนุญาโตตุลาการ
ในจุดนี้เทื่อข้อพิพาทเกิดขึ้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาท
เพราะคู่กรณีอาจตกลงกันไม่ได้หรือตกลงกันได้ก็ต้องใช้ระยะเวลานานซึ่งจะก่อให้เกิดความล่าช้า
ถ้าพิจารณาประเด็นนี้จะเห็นถึงประโยชน์ของการอนุญาโตตุลาการแบบสถาบัน (Institutional
arbitration) ว่ามีประโยชน์มากกว่าการอนุญาโตตุลาการแบบตกลงกันเอง (ad
hoc arbitration)
เพราะกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับของสถาบันอนุญาโตตุลาการนั้นได้กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ
เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้ค่อนข้างชัดเจน และละเอียดพอสมควร จึงทำการระงับข้อพิพาทเป็นไปด้วยความสะดวดและรวดเร็วกว่า
หลักการพื้นฐานของการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการนั้นจะมีลักษณะที่ยืดหยุ่นกว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลมาก
อนุญาโตตุลาการจึงไม่จำเป็นที่จะต้องเคร่งครัดกับกฎเกณฑ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเหมือนกับศาล
ในเรื่องของการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการนั้น พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530
ได้กำหนดหลักพื้นฐานของการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการไว้ในมาตรา 17
ว่า “ก่อนจะทำคำชี้ขาด
ให้อนุญาโตตุลาการฟังคู่กรณีและมีอำนาจทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรในข้อพิพาทที่เสนอมานั้น
ในกรณีที่สัญญาอนุญาโตตุลาการหรือกฎหมายมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้อนุญาโตตุลาการมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด
ๆ ตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงหลักแห่งความยุติธรรมเป็นสำคัญ”
ตามมาตรา 17
สรุปสาระสำคัญ
1.
อนุญาโตตุลาการต้องฟังคู่กรณีก่อนทำคำชี้ขาด
2.
อนุญาโตตุลาการมีอำนาจทำการไต่สวน
3.
อนุญาโตตุลาการมีอำนาจดำเนินการพิจารณาใด ๆ ตามที่เห็นสมควร เช่น การ
สืบพยาน
การเดินเผชิญสืบ การพิจารณาข้อพิพาทโดยขาดนัด การร้องขอต่อศาลในเรื่องต่างๆ
อาทิเช่น การขอให้ศาลออกหมายเรียก หรือ การคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราว เป็นต้น
อย่างไรก็ดีการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการนั้น
จะต้องไม่ขัดกับกฎหมายและข้อตกลงของคู่กรณี พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530
จึงได้บัญญัติหลักการพื้นฐานไว้อย่างกว้าง ๆ
เพื่อเป็นกรอบของการใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการไว้
และถ้าคู่กรณีได้ตกลงกันเกี่ยวกับวิธีพิจารณาความไว้อย่างไร
หรือตกลงให้นำกฎเกณฑ์ของสถาบันอนุญาโตตุลาการใดมาใช้บังคับแล้ว
การดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการก็ต้องเป็นไปตามนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น