วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ วิแพ่ง ม.144


ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
มาตรา 144     เมื่อศาลใดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดนั้น เว้นแต่กรณีจะอยู่ภายใต้บังคับบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
(1)   การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น  ๆ    ตามมาตรา 143
(2)   การพิจารณาใหม่แห่งคดีซึ่งได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 209 และคดีที่เอกสารได้สูญหายหรือบุบสลายตามมาตรา 53
(3)   การยื่น การยอมรับ หรือไม่ยอมรับ ซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาตามมาตรา  229   และ  247  และการดำเนินวิธีบังคับชั่วคราวในระหว่างการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาตามมาตรา   254 วรรคสุดท้าย
(4)   การที่ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ส่งคดีคืนไปยังศาลล่าง   ที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้น  เพื่อให้พิพากษาใหม่หรือพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา 243
(5)        การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 302 
ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะบังคับตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 16 และ 240  ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลอื่นแต่งตั้ง
หลักเกณฑ์สำคัญ 
1.            ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไปแล้ว (ประเด็นเดียวกัน)
2.             ต้องเป็นคู่ความเดียวกัน  (กลับกันเป็นโจทก์จำเลยได้)
3.            คำพิพากษาไม่จำต้องถึงที่สุด
4.            เป็นการดำเนินซ้ำในคดีเดิมได้  ต่างคดีก็ได้
5.            ห้ามคู่ความ   ห้ามศาล
ฎีกาที่  2773/2529      คดีก่อน   จำเลยที่ 1 ฟ้องกรมตำรวจโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลยว่า  โจทก์ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่โจทก์จ้างจำเลยที่ ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชา การศึกษาของโจทก์ และโจทก์ได้สั่งให้ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ออกแบบแปลนตัวอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยผิดพลาดให้โจทก์ใช้ค่าเสียหาย  คดีจึงมีประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่  และจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เท่าใด       ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า    โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา  แต่ให้ยกฟ้องเพราะจำเลยที่ ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญากับโจทก์   จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้  โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้ว่าจำเลยที่ 1   ผิดสัญญาก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาด   ต่อมาโจทก์ซื้อที่ดินของเอกชนดังกล่าวแล้ว    จึงขอให้จำเลยก่อสร้างอาคารต่อไปแต่จำเลยไม่ก่อสร้าง   และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสีย หายแก่โจทก์ดังนี้     มูลคดีทั้งสองคดีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยอาศัยเหตุเรื่องรุกล้ำที่ดินเป็นข้อสำคัญของคดี       จึงเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันโจทก์ฟ้องจำเลยที่ เป็นคดีนี้   จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามม.144   มิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ม.148  เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้   คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกายังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแม้ศาลชั้นต้นจะรอคดีนี้ไว้      เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม
หมายเหตุ  ไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะคดีแรกยังไม่ถึงไม่ถึงที่สุด  และไม่เป็นฟ้องซ้อนเพราะโจทก์คนละคนกันแต่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ฎีกาที่  15/2538      โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท   คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น    จำเลยกลับฟ้องโจทก์ให้ออกไปจากที่พิพาทรายเดียวกัน    โจทก์ให้การว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์       คดีทั้งสองมีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย  เมื่อศาลชั้นต้นในคดีหลังพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นของจำเลย ฟ้องของโจทก์ในคดีแรกจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ..มาตรา 144
ข้อสังเกต     ฎีกานี้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีหนึ่ง    จำเลยฟ้องโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่ง    โดยมีประเด็นข้อพิพาทเป็นอย่างเดียวกัน  เมื่อศาลมีคำพิพากษาในคดีใดคดีหนึ่ง  มีผลทำให้ในอีกคดีหนึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีซ้ำโดยไม่จำต้องคำนึงว่า คดีที่ศาลพิพากษาฟ้อง ก่อนหรือฟ้องหลัง  (ขณะยื่นฟ้องไม่เป็นดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ  ไม่เป็นฟ้องซ้ำ   ไม่เป็นฟ้องซ้อน  ศาลจึงต้องรับฟ้อง ต่อเมื่อศาลมีคำพิพากษาคดีหนึ่งแล้วจึงจะทำให้อีกคดีหนึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำทันที)

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ฟ้องซ้อน วิ.แพ่ง 173 วรรค 2 (1)






 ฟ้องซ้อน   173 วรรค 2 (1)
มาตรา 173    เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง  ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายนั้น
นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา  และผลแห่งการนี้
(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่น
หลักเกณฑ์สำคัญ
คำว่า   ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น”  หมายความว่าโจทก์จะยื่นคำฟ้องจำเลยคนเดียวกันในเรื่องเดียวกันในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาต่อศาลนั้นไม่ได้หรือต่อศาลอื่นก็ไม่ได้
1.            ห้ามโจทก์ฟ้อง
2.            ต้องเป็นคู่ความเดียวกัน
3.            ต้องเป็นเรื่องเดียวกัน
4.            คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
5.            ไม่จำกัดศาลว่าต้องเป็นศาลเดียวกัน



หลักเกณฑ์ข้อที่ 1  โจทก์หมายถึง
1.            โจทก์เดิม
2.            จำเลยผู้ฟ้องแย้ง  ซึ่งมีฐานนะเป็นโจทก์ในคำฟ้องแย้ง
3.            ผู้ร้องขัดทรัพย์  เพราะเมื่อมีการร้องขัดทรัพย์ ในคดีร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องเป็นโจทก์ โจทก์เดิมเป็นจำเลย
4.            ผู้ร้องสอดตามมาตรา 57 (1)  เข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 มีฐานะเป็นโจทก์เช่นกัน
5.            ผู้ร้องสอดโดยสมัครใจตามมาตรา 57(2)

หลักเกณฑ์ข้อที่  2    ต้องเป็นคู่ความเดียวกัน     หมายความว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายคดีก่อน และคดีหลังต้องเป็นคู่ความเดียวกัน  ต้องเป็นโจทก์ จำเลยคนเดียวกันรวมทั้งผู้สืบสิทธิ  ถ้าพลัดกันเป็นโจทก์ เป็นจำเลยก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์เรื่องฟ้องซ้อน
ฎีกาที่  2579/2525     การที่โจทก์ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีก่อนแล้วขาดนัดยื่นคำให้การ    และคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นนั้น  หาได้มีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่  เพราะไม่ใช่เป็นกรณีฟ้องซ้อนตาม ป... .173วรรคสอง (1) เนื่องจากโจทก์ในคดีนี้มิได้เป็นโจทก์ในคดีก่อน และมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ม.148    เพราะคดีก่อนยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
ฎีกาที่  702/2524    ผู้จัดการมรดกในฐานะตัวแทนของทายากรวมทั้งโจทก์ในคดีนั้นเป็นโจทก์    ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่พิพาท   คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์  โจทก์ในคดีนี้มาฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่พิพาทเดียวกันอีก  ฟ้องทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน  เพราะสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับเป็นอย่างเดียวกัน     จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป... .173  (ถ้าฟ้องในฐานนะผู้จัดการมรดกหมายถึงการฟ้องแทนทายาททุกคน)
-                   ผู้ร้องสอด  มีสองกรณี  ถ้าเข้ามาเพราะศาลเรียกไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อน  และถ้าเข้ามาในฐานะคู่ความฝ่ายที่ อาจเป็นฟ้องซ้อนได้
ฎีกาที่  3129/2524    ผู้ร้องตั้งสิทธิของผู้ร้องเข้ามาในคดีในฐานะคู่ความฝ่ายที่สาม    และเป็นปฏิปักษ์แก่ทั้งโจทก์และจำเลย    หาใช่เข้ามาเพียงเป็นจำเลยต่อสู้คดีกับโจทก์โดยเฉพาะไม่       ซึ่งถ้าศาลรับคำร้องสอดไว้ โจทก์จำเลยก็ต้องให้การแก้คำร้องสอด   คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง   และผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นโจทก์หาใช่เป็นจำเลยไม่      ทั้งสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์จำเลยโต้แย้งนี้ ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์จำเลยแล้วคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป....173 (1)
ถ้าศาลเรียกเข้ามาไม่สมัครใจเข้ามาไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อน
ฎีกาที่  1337/2519     คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่  ต่อศาลขอแบ่งมรดก   คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคนละคนกันจำเลยที่  2 เข้ามาเป็นจำเลยในคดีนี้ก็ด้วย    การที่ศาลเรียกให้เข้ามาตาม ป... มาตรา 57 (3) ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน



หลักเกณฑ์ข้อที่  3    ต้องเป็นเรื่องเดียวกันที่สืบสืบเนื่องมาจากมูลกรณีเดียวกับคดีก่อน แม้จะเปลี่ยนแปลงข้ออ้างหรือสภาพแห่งข้อหาหรือเรียกร้องให้รับผิดในจำนวนเงินอื่น ๆ   ก็เป็นเรื่องเดียว
ฎีกาที่  1673/2517     เดิมจำเลยฟ้องให้โจทก์รับผิดฐานละเมิด      คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา   โจทก์กลับฟ้องว่าจำเลยแกล้งฟ้องโจทก์โดยไม่มีมูลขอให้ใช้ค่าเสียหาย    จำเลยให้การสู้คดีและฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดฐานละเมิดทำนองเดียวกับคดีก่อนและเป็นการละเมิดซึ่งกระทำในคราวเดียวกัน เพียงแต่ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเพิ่มเติมอีกบางประการ ซึ่งจำเลยอาจเรียกร้องได้ในคดีเดิมอยู่แล้ว  ดังนี้   ฟ้องแย้งของจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
-                   ถ้าเป็นสิทธิที่มีอยู่แล้วในขณะฟ้อง แต่เพิ่งพบระหว่างการพิจารณาคดีแรก ก็ต้องขอแก้ไข
เพิ่มเติมคำฟ้องจะมาฟ้องใหม่ไม่ได้เป็นฟ้องซ้อน  แต่ไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
ฎีกาที่  1803/2512   โจทก์ฟ้องจำเลยในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินสำนักงาน  ก.. ให้รับผิดในยอดเงินขาดบัญชี   อยู่ในความรับผิดชอบระหว่างพิจารณาปรากฏผลการตรวจสอบครั้งหลังว่ายอดเงินขาดบัญชีมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก  9,600 บาทเช่นนี้ โจทก์ชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมตามมาตรา 179,180  โจทก์จะฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากในเรื่องเดียวกันนี้เป็นการต้องห้ามตามมาตรา   173 (1)
ข้อสังเกต   สิทธิที่เป็นมูลฟ้องต้องมีอยู่ก่อนหรือขณะฟ้องคดีแรก ถ้าไม่มีอยู่ตามฟ้องคดีแรกอาจเกิดขึ้นหลังจากฟ้องแล้วโจทก์ไม่สามารถจะอ้างเห็นเป็นมูลฟ้องในคดีเดิมได้  ฟ้องโจทก์ที่ยื่นใหม่ก็ไม่เป็นฟ้องซ้อน
***ฎีกาที่  316/2511  เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า เพราะจำเลยให้เช่าช่วงและทำให้อาคารของโจทก์เสียหาย  ในระหว่างพิจารณาคดีนั้นสัญญาเช่าหมดอายุ      โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยเรียกค่าเสียหายอีกโดยอ้างว่าสัญญาเช่าระงับแล้ว  ดังนี้   ฟ้องของโจทก์ในคดีหลังไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 173 เพราะมูลฟ้องของโจทก์คดีหลังเกิดขึ้นหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีเดิมแล้ว   จึงมิใช่เป็นเรื่องเดียวกับคดีเดิม  (ฟ้องเดิมกับฟ้องใหม่อาศัยคนละเหตุกัน)
-  คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลไม่จำกัดว่าต้องฟ้องในศาลเดียวกัน  โจทก์จะฟ้องต่อศาลอื่นก็ไม่ได้
หลักในเรื่องฟ้องซ้อนใช้กับคดีอาญาโดยอาศัยมาตรา 15   .วิอาญาด้วย
-  ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศิลธรรมอันดีของประชาชน    ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้










วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ฟ้องซ้ำ ม.148 วิแพ่ง


ฟ้องซ้ำ
มาตรา 148     คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
(2) เมื่อคำพิพากษา  หรือคำสั่งได้กำหนดวิธีการชั่วคราวให้อยู่ภายในบังคับที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเสียได้ตามพฤติการณ์
(3) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้ยกคำฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่  ในศาลเดียวกันหรือในศาลอื่น  ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
หลักเกณฑ์สำคัญ                                     
มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นรายเดียวกัน
ประเด็นที่วินิจฉัยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
อธิบาย                                                               
1. มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว  การที่จะถือว่ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีเดิมถึงที่สุดเมื่อใดนั้นต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ตาม   147     ถ้าคดีเดิมยังไม่ถึงที่สุดยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาไม่ว่าชั้นใดถึงจะเอามาฟ้องใหม่ก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำ     แต่อาจเป็นฟ้องซ้อนหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้
ฎีกาที่  2281/15 (ปชญ.)         คดีเดิมจำเลยฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อเรือนออกไปจากที่พิพาท  โจทก์ต่อสู้ว่าซื้อที่พิพาทมาจากตัวแทนจำเลย        ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการตั้งตัวแทนไม่มีหนังสือมอบอำนาจมาแสดง รับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทมาจากจำเลย      โจทก์อุทธรณ์  ระหว่างอุทธรณ์โจทก์กลับมาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างว่าซื้อที่พิพาทมาจากตัวแทนจำเลย     ขอให้บังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าเป็นฟ้องซ้ำคู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่าฟ้องซ้ำหรือไม่ ตาม  ป.วิแพ่ง  ม. 148  เมื่อปรากฎว่าขณะที่โจทก์จำเลยท้ากันศาลอุทธรณ์ยังมิได้พิพากษาคดีเดิม คดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด  ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ส่วนจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่คู่ความท้ากัน ศาลไม่หยิบยกวินิจฉัย
ฎีกาที่ 5622/2540   ตาม ป...มาตรา 1375 วรรคสอง มีความหมายว่า คดีจะขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทต่อเมื่อมีการแย่งการครอบครองเสียก่อน     การที่จำเลยขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาท แต่ไม่เคยเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทแม้โจทก์จะทราบว่าจำเลยไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เกินหนึ่งปี   คดีก็ไม่ขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาท
คดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นสำคัญในคดีที่ว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท      คดีนี้โจทก์ฟ้องเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ




2.  เป็นคู่ความรายเดียวกัน  ไม่ว่าจะกลับฐานะกันเป็นโจทก์ จำเลย ก็ตาม และหมายความรวมถึงผู้สืบสิทธิของคู่ความเดิมในคดีก่อนด้วย
ฎีกาที่  694/2540     จำเลยเป็นฝ่ายชนะในคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บ. กับพวกให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินพิพาท      ต่อมาจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยังที่ดินพิพาท   และแจ้งให้โจทก์ในฐานะบริวารของ บ. กับพวกรื้อถอนพืชผลอาสินต่าง ๆ  ออกไปจากที่ดิน โจทก์อ้างว่าที่ดินเป็นของโจทก์และฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินเป็นของโจทก์ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้อง ดังนี้     รูปคดีต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ..มาตรา 296 จัตวา (3)   แต่ตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้ หากไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศ   ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้
ตามคำพิพากษาเท่านั้น หาได้มีผลเด็ดขาดเป็นการตัดสิทธิห้ามฟ้องร้องภายหลังไม่ และเมื่อโจทก์มิได้ร้องเข้ามาในคดี โจทก์ย่อมมิได้อยู่ในฐานะคู่ความในคดีดังกล่าว จึงไม่ผูกพันในผลแห่งคดีต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องไม่ว่าจะด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องฟ้องซ้ำ   หรือฟ้องซ้อน  ตามฎีกานี้คดีเดิมคู่ความคือ  จำเลยกับ บ. มิใช่โจทก์  โจทก์จึงมิใช่คู่ความเดิม  โจทก์ถูกบังคับคดีโดยจำเลยอ้างว่าโจทก์เป็นบริวารของ บ. การที่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องคัดค้านใดๆ ก็หามีผลตัดสิทธิหรือปิดปากว่าโจทก์เป็นบริวารของ บ. ไม่)
ข้อสังเกต    คำว่าผู้สืบสิทธิ   เป็นผู้สืบสิทธิทั้งโดยนิติกรรมและโดยนิติเหตุ   และในบางคดีบางส่วนเป็นคู่ความในคดีเดิม บางส่วนไม่ได้เป็น ดังนั้นจึงเป็นการฟ้องซ้ำเฉพาะคู่ความส่วนที่เป็นเท่านั้นส่วนที่ไม่เป็นไม่ซ้ำ
ฎีกาที่  3873/2531       คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่  1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ  กับ ส. และพวกยกกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดเนื้อที่ 79 ตารางวา  ให้แก่โจทก์   ศาลพิพากษาถึงแก่ที่สุดว่าที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตั้งแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ ได้แสดงเจตนารับประโยชน์ตามสัญญาและครอบครองตลอดมาเกินกว่า  10  ปี แล้วโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382    ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยในคดีนี้อีกโดยอาศัยเหตุว่า  โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงเดียวกันกับคดีเดิมซึ่งเนื้อที่ดินทั้งหมด 114.4 ตารางวา โจทก์ฟ้องเรียกในคดีเดิม 79 ตารางวา ยังขาดอีก 35.4 ตารางวา  จำเลยที่ 1   โอนที่ดินส่วนของโจทก์ดังกล่าว  ( 35.4 ตารางวา)    ให้จำเลยที่ ถึงที่ 7 ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งเจ็ดดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ดังนี้  ประเด็นสำคัญในคดีก่อนกับคดีนี้ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่มีจำนวนเท่าใด    คดีก่อนศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยประนีประนอมยอมความและการครอบครองปรปักษ์จนโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน  คดีถึงที่สุดแล้วโจทก์จะกลับมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่  1 ถึงที่ 7   ในคดีนี้ในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7   จะมิได้เป็นคู่ความเดียวกับคดีนี้แต่ก็เป็นผู้สืบสิทธิจากจำเลยที่ 1    จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตาม 148




-                   นิติบุคคลเป็นบุคคลแยกต่างหากจากบุคคลธรรมดาไม่ถือว่าเป็นคู่ความเดียวกัน
ฎีกาที่ 2524-2525/2529   บริษัท ม. เป็นบริษัทในเครือของจำเลย แต่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันจึงไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน โจทก์เคยฟ้องบริษัท ม.    เรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามาแล้ว    มาฟ้องเรียกเงินจากจำเลยอีกได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ 
- พนักงานอัยการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และท้ายฟ้องมีการขอตามมาตรา 43 .วิอาญาแทนผู้เสียหายแล้วถือว่าผู้เสียหายเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวด้วย (583/38)
3.  ประเด็นที่วินิจฉัยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน  ในหลักเกณฑ์ข้อนี้มีสาระสำคัญอยู่สองประการ คือ
      คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้วินิจฉัยในเนื้อหาของเรื่องที่ฟ้องร้องกัน ถ้าไม่ได้วินิจฉัยไม่ถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำ เช่น กรณีโจทก์ถอนฟ้อง  หรือศาลสั่งจำหน่ายคดี   หรือศาลยกฟ้องเพราะฟ้องเคลือบคลุมหรือเพราะฟ้องโจทก์บกพร่อง     แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องก็ต้องดูว่ายกฟ้องในเนื้อหาของฟ้องหรือไม่
      ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยในตอนหลังเป็นประเด็นที่อาศัยเหตุอย่างเดียวกับประ เด็นที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว
ฎีกาที่  1855/2535       โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อน       ศาลชั้นต้นจึงยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี     การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันมาฟ้องเป็นคดีนี้   จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันดังนี้เป็นฟ้องซ้ำอันต้อง ห้าม ตาม ป.วิ.. มาตรา 148  (ไม่เป็นฟ้องซ้ำอันเป็นการต้องห้ามตาม 148  ฟ้องใหม่ได้ในอายุความ)
ฎีกาที่  499/2541     ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีเดิมว่า   สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดจึงยังไม่มีการโต้แย้งสิทธิตามมาตรา 55    คดีนี้สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วจำเลยไม่ออกไปจากตึกและที่พิพาท  โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้เพราะคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี
-   ในกรณีที่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้วศาลพิพากษาตามยอม แม้ว่าจะมิได้ทำยอมกันในทุก ๆ ประเด็นก็ตาม ในกรณีเช่นนี้ถือว่าทุก ๆ    ประเด็นที่ว่ากันมาในคดีเดิมนั้นศาลได้วินิจฉัยในเนื้อหาของฟ้องแล้วห้ามนำประเด็นนั้น ๆ มาฟ้องอีก
-    ในกรณีที่คู่ความท้ากันในศาลวินิจฉัยคดีโดยเหตุใดก็ดี  หรือกรณีโจทก์ไม่มีพยานมาสืบตามเนื้อหาที่ฟ้องก็ดี    หรือศาลสั่งงดสืบพยานโจทก์เพราะความผิดหรือความบกพร่องของโจทก์ก็ดี หรือไม่มีพยานมาศาลด้วยเหตุผลที่ไม่อาจจะอ้างได้ ถือว่าศาลได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีแล้ว  (ฎีกาที่  1007/22 )
ข.       ประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยในตอนหลังเป็นประเด็นที่อาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับ
ประเด็นที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
            คำว่า    โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน”    หมายถึง   ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักเหล่งแห่งข้อหาอย่างเดียวกัน  แม้ว่าคำขอบังคับจะเป็นคนละอย่างกันก็ตามก็ต้องถือว่าอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน     ดังนั้นการที่จะพิจารณาว่าเป็นเหตุอย่างเดียวกันต้องดูที่ข้ออ้างเป็นสำคัญ  (หมายถึงที่ตั้งแห่งสิทธิตามมาตรา 55 นั่นเอง)    ดังนั้น  ถ้าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหมือนกันแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นคนละตอนกัน ก็ไม่ถือว่าเป็นเหตุหรือข้ออ้างอย่างเดียวกัน

ฎีกาที่  905/2532   คดีก่อนจำเลยทั้งสามกล่าวหาโจทก์ว่าจะเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดก     ไม่รายงานแสดงบัญชีการจัดการ   และไม่แบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี    นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายให้ถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก   ของผู้ตายคดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสามว่าละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ของผู้จัด การมรดก มิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้  ไม่ทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน 1 ปี    นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา   จำเลยทั้งสามไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดก       คดีก่อนกับคดีนี้จึงมีประเด็นข้อพิพาทคนละอย่างคนละเหตุกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ข้อสังเกต     ตามฎีกานี้ศาลชี้ถึงประเด็นข้อพิพาทว่าเป็นคนละอย่างกัน      แต่จริง ๆ  แล้วประเด็นข้อพิพาทจะอย่างเดียวกันหรือไม่ไม่สำคัญ  อยู่ที่ข้ออ้างว่าเป็นอย่างเดียวกันหรือไม่  โจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยในคดีก่อนที่จำเลยในคดีนี้ฟ้องถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นผู้จัด การมรดกเพราะเหตุอย่างเดียวกันคดีนี้    แต่เมื่อศาลตั้งให้จำเลยในคดีนี้เป็นผู้จัดการมรดกและจำเลยได้จัดการมรดกผู้ตายเป็นเหตุการณ์คนละตอนกับคดีก่อนซึ่งโจทก์ในคดีนี้จัดการ  เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยในคดีนี้ใหม่เป็นการอ้างฐานแห่งสิทธิคนละข้ออ้างกัน   (คดีก่อนโจทก์ถูกหาว่าไม่กระทำตามหน้าที่  คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่กระทำตามหน้าที่ ) จึงมิต้องห้ามไม่ให้นำมาฟ้องใหม่ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ     

            ถ้าศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้ว่าตนจะยังไม่เคยนำเอาเหตุนั้นมาฟ้องเลย  แต่ถ้าเป็นข้ออ้างอย่างเดียวกันกับคดีก่อนก็เป็นฟ้องซ้ำ
            ดำ ฟ้องแดงว่าขับรถโดยประมาททำให้ดำเสียหาย  แดงต่อสู้ว่าไม่ได้ประมาท  ศาลมีคำพิพากษาว่าดำเป็นฝ่ายประมาทให้ชดใช้ค่าเสียหาย      ดำนำคดีมาฟ้องแดงเป็นอีกคดีว่าแดงประมาท  (ในเหตุการณ์เดียวกันฟ้องดำเป็นฟ้องซ้ำ    เพราะข้ออ้างว่าแดงหรือดำเป็นฝ่ายประมาทศาลได้มีคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดไปแล้วในคดีก่อน  แม้ดำยังไม่เคยฟ้องแดงเลยก็ตาม แต่ผลของคำวินิจฉัยก็ต้องฟังว่าดำเป็นฝ่ายประมาท  ถ้าดำจะฟ้องว่าแดงประมาท  ดำต้องฟ้องแย้งมาในคดีก่อน เมื่อดำไม่ได้ฟ้องแย้ง   ข้อเท็จจริงก็ต้องฟังเป็นยุติว่าดำประมาท  สิทธิที่ดำจะนำคดีมาฟ้องว่าแดงประมาทนั้นเป็นอันหมดสิ้นไป
ถ้าคดีก่อนศาลวินิจฉัยว่าดำประมาททำให้แดงเสียหายแต่แดงก็มีส่วนประมาทอยู่ด้วย  จึงให้ลดค่าเสียหายลงตามส่วน    หมายความว่าศาลฟังเป็นยุติว่าแดงประมาทต่อดำด้วยและค่าเสียหายก็ได้ลดให้ลงตามส่วนที่แดงประมาทแล้ว  ถ้าดำมิได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายไว้ในคดีเดิม ดำก็จะนำคดีนี้มาฟ้องใหม่ไม่ได้เพราะถือว่าศาลได้มีคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดแล้ว  ถ้านำ มาฟ้องใหม่เป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเป็นฟ้องซ้ำ
การวินิจฉัยประเด็นในคดีก่อนต้องเป็นประเด็นที่ศาลวินิจฉัยโดยชอบแล้ว ถ้าเป็นการวินิจฉัยโดยไม่ชอบก็ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยในประเด็นนั้นนำมาฟ้องใหม่ก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำ  เช่น  ถ้าดำให้การต่อสู้เพียงว่าดำมิได้ประมาท      ศาลจะมีอำนาจวินิจฉัยเพียงดำประมาทหรือไม่เท่านั้น  ถ้าศาลวินิจฉัยว่าดำไม่ประมาทเป็นคำวินิจฉัยโดยชอบแล้ว          แต่ถ้าศาลเลยไปวินิจฉัยในประเด็นอื่นด้วย  เช่น    ดำมิได้ประมาทแต่แดงประมาท  เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะดำมิได้ฟ้องแย้งมาว่าแดงประมาท  

ข้อยกเว้นที่ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
1.  การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล
      การที่ได้มีการบังคับคดีกับทรัพย์ใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วไม่พอชำระหนี้ การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอบังคับเอากับทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้อีกนั้น  ไม่ถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
                 เมื่อมีปัญหาโต้แย้งกันในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาว่าบังคับอย่างนั้นเป็นการถูกต้องตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหรือไม่ก็ต้องมีการไต่สวนและดำเนินการกันในชั้นนั้นอย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำ  แม้ว่าจะต้องมีการพิจารณาทั้งคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นว่าจะต้องมีการบังคับกันอย่างไร  ที่โจทก์ขอให้บังคับนั้นถูกต้องหรือไม่ก็ตาม
ฎีกาที่  508/2507   ศาลพิพากษาให้จำเลยจัดการแบ่งแยกที่ดินโอนขายให้โจทก์ตามแผนที่ท้ายฟ้อง     ถ้าจำเลยไม่สามารถขายได้ ให้จำเลยคืนมัดจำพร้อมดอกเบี้ยและใช้ค่าเสียหาย     แม้ในชั้นแรกศาลไม่อาจปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำบังคับวิธีแรกได้จึงบังคับตามวิธีที่ 2 แต่การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้นถึงที่สุดต่อมา  ปรากฏว่าจำเลยยังไม่สามารถแบ่งที่ดินโอนขายให้โจทก์ได้    เมื่อโจทก์ร้องขอศาลย่อมเปลี่ยนแปลงการบังคับคดีตามคำบังคับวิธีแรกกับจำเลยใหม่ได้
            แม้ศาลสูงจะเคยวินิจฉัยปัญหาในเรื่องการบังคับคดีตามคำบังคับวิธีการที่ 2 มาครั้งหนึ่งแล้วก็ตามคู่ความก็ย่อยอุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงวินิจฉัยถึงการบังคับคดีตามคำบังคับวิธีการแรกอีกได้    เพราะเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดี ต้องด้วยข้อยกเว้นไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องซ้ำตาม ป.วิแพ่ง 148 (1)
ถ้าเพียงแต่เป็นกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดี     แต่ไม่ใช่ปัญหาในการบังคับคดีแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับบุคคลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีอย่างนี้ไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามข้อนี้
ฎีกาที่  2830/2517      คดีเดิมศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยแบ่งที่พิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่ง    ในระ หว่างการบังคับคดีขายทอดตลาดที่พิพาทเพื่อนำเงินมาแบ่งกันระหว่างโจทก์จำเลยนั้น   ศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมในอีกคดีหนึ่งว่า     ผู้ร้องทั้งสามมีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลย  ผู้ร้องที่  จึงได้ร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้    ขอให้ปล่อยที่พิพาทแต่ศาลสั่งยกคำร้อง  คดีถึงที่สุดไปแล้ว ต่อมาผู้ร้องที่ 1, 2 และ 3 ได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้อีกอ้างว่า     ผู้ร้องทั้งสามกับจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลโดยจำเลยยกที่พิพาทส่วนของจำเลยให้ผู้ร้องทั้งสาม   ผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งแปลงขอให้ศาลปล่อยที่พิพาทอีก ดังนี้ สำหรับผู้ร้องที่ 1 นั้น ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า   ผู้ร้องที่  ไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทผู้ร้องที่  จะร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้ในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาด โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิแพ่ง    มาตรา 148   กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา   148 (1) เพราะตามมาตรา 288 ให้ศาลพิจารณาชี้ขาดคดีคำร้องขัดทรัพย์เหมือนคดีธรรมดาส่วนผู้ร้องที่ 2 ที่ 3  มิได้ร่วมร้องขัดทรัพย์ครั้งแรก  แต่ร้องขัดทรัพย์ในครั้งนี้โดยอ้างว่า เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่พิพาทในส่วนของจำเลยที่ได้มาโดยคำพิพากษา   และผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์มาในระหว่างที่มีการบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา     ซึ่งวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกัน เมื่อจำเลยยอมให้ส่วนของตนในที่พิพาทตกเป็นของผู้ร้อง   ผู้ร้องที่  2   ที่ 3 จึงเป็นเพียงผู้เข้าสวมสิทธิในที่ดินส่วนของจำเลย    การที่ผู้ร้องที่ 2   ที่ 3 มาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าทรัพย์ที่ยึดไม่ใช่ของโจทก์หรือจำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยการดำเนินคดีร้องขัดทรัพย์ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 288 ศาลย่อมสั่งยกคำร้อง
ข้อสังเกต  ฎีกานี้ผู้ร้องเป็นผู้สวมสิทธิของจำเลย   จำเลยมีสิทธิอย่างไรผู้ร้องมีสิทธิอย่างนั้น เมื่อศาลวินิจฉัยว่าให้ที่เป็นของโจทก์  จำเลยคนละกึ่งหนึ่งผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์มิได้      และข้อยกเว้นตาม 148 (1)  นี้ต้องเป็นเรื่องโต้เถียงกันว่าที่ได้ปฎิบัติตามคำบังคับนั้นถูกต้องตามคำพิพากษาหรือไม่เท่านั้น      เรื่องนี้มิได้โต้เถียงในส่วนการบังคับคดีตามคำพิพากษาว่าถูก ต้องหรือไม่เลย
2.    คำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดวิธีการชั่วคราวที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามพฤติการณ์ 
ตามหลักคำพิพากษาแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้   เว้นแต่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยตามมาตรา 143  แต่มาตรา 148 (2) นั้น เป็นการยกเว้นมาตรา 143  และไม่ถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำ เมื่อมีการพิพากษาหรือคำสั่งใหม่  เช่นตาม ปพพ. . 448  ค่าเสียหายแก่อนามัย  ม. 1598/39  ค่าอุปการะเลี้ยงดู    เพราะศาลไม่อาจพิจารณาได้เป็นการแน่นอนในขณะพิพากษา  ป.วิแพ่ง 148(2) จึงให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
3.  ศาลพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิที่จะนำมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความ   เมื่อคำพิพากษากำหนดไว้ดังนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องฟ้องซ้ำแม้ใน 148  วรรคแรกจะเป็นฟ้องซ้ำก็ตาม
ฎีกาที่  2522/31   โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากร      ศาลพิพากษายกฟ้อง โดยกำหนดไว้ในคำพิพากษาว่าไม่ตัดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันฟังคำพิพากษา  เช่นนี้โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ได้