มาตรา 224 ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทำความเห็นแย้งไว้ หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้
หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านี้
ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจ
แล้วแต่กรณี
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวและคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ
ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น
รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้น
ให้ศาลส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณารับรอง
อธิบาย
ในมาตรา
๒๒๔ นี้ มีปัญหาที่นักศึกษาจะต้องทำความเข้าใจอยู่หลายประเด็น จึงขอแยกบรรยาย
เป็นตอนๆ เป็นประเด็นไป
ห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่ทุนทรัพย์เกิน 50,000 บาท
ถ้าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอุทธรณ์ได้เสมอเว้นแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ได้ว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น
หรือไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยฯ หรือไม่เป็นสาระสำคัญอันควรแก่การวินิจฉัย
ประเด็นแรกที่นักศึกษาจะต้องทำความเข้าใจคือ ทุนทรัพย์คืออะไร อย่างไรชื่อว่าทุนทรัพย์ จำนวนของทุนทรัพย์คิดกันอย่างไร
1. ราคาทรัพย์สินกับจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีความหมายแตกต่างกัน
ทั้งนี้เพราะราคาทรัพย์สินเป็นการฟ้องเรียกเอาตัวทรัพย์ ส่วนทุนทรัพย์พิพาทกันนั้นเป็นการฟ้องเรียกให้ชำระตัวเงินที่กำหนดไว้แล้ว
ราคาทรัพย์สินที่ตีราคามาแต่แรกแล้วไม่เปลี่ยนไปในชั้นอุทธรณ์แต่ทุนทรัพย์อาจเปลี่ยนแปลงไปแตกต่างจากที่ฟ้องมาในศาลชั้นต้นได้ ดังนั้นราคาทรัพย์สินที่พิพาทต้องถือเอาตามที่โจทก์ยื่นฟ้องจะนำเอาราคาทรัพย์สินที่อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นมาคำนวนเป็นราคาทรัพย์สินในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
(1439/39)
2. ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์พิพาทที่ถูกจำกัดสิทธิห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงคือไม่เกิน
50,000 บาท
อนึ่ง
จำนวนทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์ของฝ่ายโจทก์กับจำเลยในการใช้สิทธิอาจแตกต่างกันเช่น โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ 100,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้หลายประการ
เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จศาลพิพากษาดังนี้
2.1
พิพากษายกฟ้อง
2.2
พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 80,000 บาท
2.3
พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 20,000 บาท
ตามข้อ
1 หากโจทก์ประสงค์จำอุทธรณ์
โจทก์ต้องขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระเงิน 100,000
บาท ซึ่งเกิน 50,000 บาท
ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ตามข้อ
2 หากโจทก์ประสงค์จะอุทธรณ์
คงต้องอุทธรณ์ขอให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ในส่วนที่ยังขาดอยู่คือ 20,000 บาท กรณีนี้เป็นทุนทรัพย์พิพาทไม่เกิน 50,000
บาท
ต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ส่วนฝ่ายจำเลยถ้าอุทธรณ์ก็คงต้องอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้องโจทก์ดังนั้นทุนทรัพย์ของฝ่ายจำเลยจึงมีจำนวน
80,000 บาท ไม่ต้องห้าม
ตามข้อ
3 หากโจทก์ประสงค์จะอุทธรณ์ต้องอุทธรณ์ขอให้ศาลแก้ไขพิพากษาในส่วนที่ขาดอีก
80,000 บาทดังนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
ส่วนฝ่ายจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์เท่ากับทุนทรัพย์ 20,000
บาท ห้ามอุทธรณ์
ฎีกาที่ 1459/39 อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งหมดมิใช่ทรัพย์มรดกหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอุทธรณ์
จำเลยย่อมได้รับผลตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งคดี
จึงเป็นคดีที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามราคาทรัพย์พิพาทคือ 54,000
บาท โดยไม่แยกทุนทรัพย์ตามที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องเมื่อที่พิพาทมีราคาเกินกว่าห้าหมื่นบาท
จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง (ส่วนฝ่ายโจทก์ต้องแยกทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนไม่คิดรวมกัน
เมื่อแยกแล้วไม่เกิน 50,000 บาท
ฝ่ายโจทก์ห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง)
ฎีกาที่ 2433/38 โจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกที่ดินของโจทก์ในลักษณะที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมแม้จะฟ้องรวมกันและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมาในคดีเดียวกัน
แต่คดีสำหรับจำเลยคนใดจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ตามที่จำเลยแต่ละคนพิพาทกับโจทก์
เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามคดีของจำเลยแต่ละคนไม่เกินห้าหมื่นบาท
จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ฎีกาที่ 53-54/40 คำฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เรียกร้องสิทธิในที่ดินเป็นคนละแปลงกัน
โดยต่างยื่นคำฟ้องและเสียค่าขึ้นศาลในส่วนคดีของตนแยกกันเป็นส่วนสัด
การรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันจึงเป็นไปเพื่อความสะดวกของคู่ความและศาลเท่านั้น
หามีผลทำให้สามารถนำทุนทรัพย์ของแต่ละสำนวนที่โจทก์ฟ้องมารวมคิดเป็นจำนวนเดียวกันได้แต่อย่างใดไม่ทั้งการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองมาทั้งสองสำนวนก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับรองให้คู่ความในสำนวนที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน
50,000 บาท อุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้โดยปริยายแต่อย่างใด เพราะการรับรองให้คู่ความอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้นั้นจะต้องเกิดจากการร้องขอคู่ความผู้ประสงค์จะอุทธรณ์โดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลให้เป็นกิจจะลักษณะและต้องมีคำสั่งศาลรับรองให้อุทธรณ์ได้โดยชัดแจ้งด้วย
ส่วนราคาทรัพย์ที่พิพาทที่จะนำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ของแต่ละคดีนั้นต้องถือเอาในขณะยื่นคำฟ้องเป็นหลัก
- ถ้าฟ้องแล้วขอหักกลบลบหนี้กับจำเลย
จำนวนทุนทรัพย์คือจำนวนตามฟ้องลบด้วยจำนวนที่ขอหักกลบลบหนี้ (จำนวนทุนทรัพย์ =
ฟ้อง – จำนวนที่ขอหักกลบ)
ฎีกาที่ 6420/40 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เนื่องจากฟังข้อเท็จจริงว่า
หนี้ที่จำเลยต้องชำระมีเพียง 28,000 บาท
เมื่อโจทก์รับว่าเป็นหนี้จำเลย 39,000 บาท และขอหักกลบลบหนี้
จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชดใช้เงิน 63,000
บาท จึงมีจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เพียง 45,000 บาท (63,000 – 28000 = 45,000 บาท) ไม่เกิน 50,000 บาท
ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาที่ 5894/41 โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน
105,000 บาท
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพียง 50,000 บาท
เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์เท่ากับโจทก์พอใจในคำพิพากษา
เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียวว่าไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามา
เท่ากับทุนทรัพย์ในคดีเป็น 50,000 บาท
จะนำดอกเบี้ยนับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จมาคำนวนเป็นทุนทรัพย์ด้วยไม่ได้ คดีนี้จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
3.
การจะพิจารณาว่าคดีใดต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ไม่ต้องคำนึงว่าคดีนั้นเกี่ยวด้วยอสังหาฯ
หรือไม่
มีข้อพิจารณาเพียงราคาทรัพย์สินอันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์เกิน
50,000
บาท
4.
คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้ง ผู้เช่า ผู้อาศัย
และผู้ละเมิดด้วย
(กฎหมายเดิมผู้ละเมิดไม่อยู่ในบังคับมาตรานี้จึงอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้ กฎหมายปัจจุบันรวมผู้ละเมิดให้อยู่ในบังคับด้วย
)
5.
คดีฟ้องขับไล่หรือเรียกเอาค่าเช่า
หรืออาจให้เช่าได้ขณะยื่นฟ้องไม่เกิน 4,000 บาท
หมายความว่าการฟ้องบุคคลใด ๆ
ออกจากอสังหาริมทรัพย์ถ้าอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ
4,000 บาท ก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การจะถือว่าค่าเช่าขณะยื่นฟ้องเท่าใดมีหลักการพิจารณาว่าในชั้นแรกถ้าโจทก์ยื่นฟ้องระบุค่าเช่ามาและจำเลยมิได้โต้แย้งเรื่องค่าเข่า
ต้องถือค่าเช่าตามฟ้องโจทก์
ถ้าฟ้องเรียกค่าเช่าและค่าเสียหาย
ค่าเสียหายมิใช่ค่าเช่าดูเฉพาะค่าเช่าว่าเกิน 4,000 บาทหรือไม่
ฎีกาที่ 1466-1468/18 ฟ้องขับไล่ผู้เช่าจากที่ดินและตึกแถวค่าเช่าเดือนละ
150 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ป.ว.พ. มาตรา 224 วรรค 2
แม้จะเรียกค่าเสียหายมาด้วยเดือนละ 10,000 บาท
ก็เป็นค่าเสียหายในอนาคตเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องขับไล่
จึงอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้
- ถ้าคดีฟ้องขับไล่นั้นจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ด้วย ต้องถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามวรรคหนึ่ง ตามราคาอสังฯ
ที่พิพาทกันไม่ต้องดูเรื่องค่าเช่า
แต่ถ้าเป็นการโต้เถียงว่าเป็นของบุคคลอื่นไม่ใช่ของจำเลยไม่ใช่ต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์
ต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ต้องเถียงว่าเป็นของจำเลย
ฎีกาที่ 1501,1502/17 โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า
อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าที่ดินและห้องพิพาทเป็นของบุคคลอื่น ไม่ใช่ของโจทก์
ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ยกข้อต่อสู้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาที่ 4951/33 โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายจากจำเลย
โดยค่าเช่าเดือนละ 1,200 บาท
จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์
จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินของราชพัสดุ
แม้จำเลยจะเรียกกรมธนารักษ์เข้ามาเป็นคู่ความในคดี
ก็มิใช่กรณีจำเลยต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์เมื่อ จึงต้องฟังว่าค่าเช่า 1,200 บาทตามฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
- ถ้าเป็นการขับไล่ต่างรายกันแม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องแยกคิดทุนทรัพย์มิใช่นำเอาค่าเช่าทุกรายมารวมกัน
คำสั่งคำร้องที่ 151/20 ในกรณีรวมพิจารณาหลายสำนวนเข้าด้วยกันการพิจารณาสิทธิอุทธรณ์ฎีกาของคู่ความจะต้องแยกพิจารณาเป็นรายสำนวนไป
ฎีกาที่ 2676/28 จำเลยเช่าตึกแถวเพียงเดือนละ 100
บาท แต่จ่ายเงินล่วงหน้าให้ไปอีก
55,000 บาท
จึงเป็นการจ่ายเงินกินเปล่าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า
ในตอนที่ ๒ จะได้กล่าวถึง คดีมีทุนทรัพย์ และคดีไม่มีทุนทรัพย์ต่อไป
ในตอนที่ ๒ จะได้กล่าวถึง คดีมีทุนทรัพย์ และคดีไม่มีทุนทรัพย์ต่อไป
http://natjar2001law.blogspot.com/2012/03/blog-post.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น