เขตอำนาจสอบสวนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากและเกี่ยวข้องกับอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ เพราะถ้าหากว่า การสอบสวนไม่ได้กระทำโดยพนักงานสอบสวนที่มีเขตอำนาจสอบสวนอย่างถูกต้องตามมาตรา ๑๘ และ มาตรา ๑๙ แล้ว การสอบสวนนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2531
|
การสอบสวนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา120 ต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2(6) ประกอบด้วยมาตรา 18 เมื่อเหตุเกิดในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้
ม. เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน
เมื่อไม่มีเหตุอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสองที่จะทำให้ ม. มีอำนาจสอบสวนได้
ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการทำการแทนพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา
128 บัญญัติไว้การสอบสวนพยานผู้กล่าวหาของ ม.
จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้
จ.พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้จะสอบสวนจำเลย ทำแผนที่เกิดเหตุ
ตรวจสถานที่เกิดเหตุและทำบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุ
ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยก็ไม่ทำให้การสอบสวนคดีนี้ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ปรากฏว่าจ.
เห็นว่าการสอบสวนเฉพาะส่วนของตนเป็นการสอบสวนเสร็จแล้วตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 140 การสอบสวนของ จ. เป็นการสอบสวนเพียงบางส่วนของคดี
เมื่อการสอบสวนทั้งคดีรวมการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไว้ด้วย
การสอบสวนคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 และไม่เป็นการสอบสวนตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหายย่อมตกไปด้วย
ข้อที่ว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วย.
มาตรา 18 ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัด ธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และ ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่า นายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้
สำหรับในจังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี ให้ข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหา มีที่อยู่ หรือถูกจับ ภายในเขตอำนาจ ของตนได้
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน มาตรา 19 มาตรา 20 และ มาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดย ปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้น เป็นผู้รับผิดชอบในการ สอบสวนความผิดนั้น ๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือ เพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่ อยู่หรือถูกจับ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน
ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคน การดำเนินการ สอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้า ในท้องที่นั้นหรือผู้รักษาการแทน
ปัญหาที่จะต้องนำมาทำความเข้าใจ
คือ คำว่า ความผิดที่ เกิด อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดนั้นคืออะไร
ในการจะทราบเรื่องความผิด
เกิด อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดนั้น
เราจะต้องพิจารณาเสียก่อนว่าจะมีการฟ้องร้องดำเนินคดี กันในข้อหาใด เช่น
หากคดีที่ต้องการดำเนินคดีเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ท้องที่ที่ทรัพย์นั้นถูกลักไปเป็นท้องที่ที่ความผิดเกิด เช่น
นายดำ มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดอยุธยา แต่มาทำงานที่บ้านนายแดงที่กรุงเทพ เขตบางเขน แล้วได้ลักเอาทรัพย์จากบ้านนายแดงไป ดังนั้น สน.บางเขนจึงเป็นสถานีตำรวจที่มีเขตอำนาจการสอบสวน นายตำรวจดังกล่าว (ร้อยเวร) สามารถดำเนินการสอบสวนได้
ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น เช่น
ดำ ให้แดงดื่มยาพิษที่บ้านของแดงซึ่งอยู่ในเขต สน.ดอนเมือง ต่อมา แดงถูกนำส่งโรงพยาบาลประชาชื่น ในเขต สน.ประชาชื่น แล้วถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาล สน.ประชาชื่นไม่มีอำนาจสอบสวน เพราะการถึงแก่ความตายนั้นเป็นผลของความผิด มิใช่ท้องที่ที่ความผิดเกิด หากแต่ สน.ดอนเมืองอันเป็นสถานที่ที่วางยาพิษต่างหากเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิด สน.ดอนเมืองจึงมีอำนาจสอบสวน (๓๓๓๗/๒๕๔๓)
ความผิดเกิดขึ้นในเรือไทย อากาศยานไทย ที่เข้าข่ายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๔ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามกรมตำรวจ เป็นผู้มีอำนาจสอบสวน (๒๖๗๐/๒๕๓๕)
หมายเหตุ ความผิดที่เกิดขึ้นในเรือไทย อากาศยานไทย ตามมาตรา ๔ นี้ ต้องเป็นกรณีเรือไทยหรืออากาศยานไทย บินหรือเดินเรืออยู่นอกราชอาณาจักร ถ้าเรือไทยหรืออากาศยานไทยจอดอยู่ในราชอาณาจักร ไม่เข้าข่าย ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๔ เช่น มีการฆ่ากันตายบนเครื่องบินไทยที่บินอยู่เหนือน่านฟ้าประเทศญี่ปุ่น พนักงานสอบสวนกองปราบปรามกรมตำรวจมีอำนาจสอบสวน แต่ถ้า เครื่องบินไทย จอดอยู่ที่สนามบินดอนเมือง เป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักร มิใช่กรณีถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักรตามมาตรา ๔ พนักงานสอบสวน สน.ดอนเมืองจึงมีอำนาจสอบสวน
มีต่อบทความต่อไป พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบการสอบสวน มาตรา ๑๘ วรรคสามhttp://natjar2001law.blogspot.com/2012/02/blog-post_7947.html
นายดำ มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดอยุธยา แต่มาทำงานที่บ้านนายแดงที่กรุงเทพ เขตบางเขน แล้วได้ลักเอาทรัพย์จากบ้านนายแดงไป ดังนั้น สน.บางเขนจึงเป็นสถานีตำรวจที่มีเขตอำนาจการสอบสวน นายตำรวจดังกล่าว (ร้อยเวร) สามารถดำเนินการสอบสวนได้
ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น เช่น
ดำ ให้แดงดื่มยาพิษที่บ้านของแดงซึ่งอยู่ในเขต สน.ดอนเมือง ต่อมา แดงถูกนำส่งโรงพยาบาลประชาชื่น ในเขต สน.ประชาชื่น แล้วถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาล สน.ประชาชื่นไม่มีอำนาจสอบสวน เพราะการถึงแก่ความตายนั้นเป็นผลของความผิด มิใช่ท้องที่ที่ความผิดเกิด หากแต่ สน.ดอนเมืองอันเป็นสถานที่ที่วางยาพิษต่างหากเป็นสถานที่ที่ความผิดเกิด สน.ดอนเมืองจึงมีอำนาจสอบสวน (๓๓๓๗/๒๕๔๓)
ความผิดเกิดขึ้นในเรือไทย อากาศยานไทย ที่เข้าข่ายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๔ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามกรมตำรวจ เป็นผู้มีอำนาจสอบสวน (๒๖๗๐/๒๕๓๕)
หมายเหตุ ความผิดที่เกิดขึ้นในเรือไทย อากาศยานไทย ตามมาตรา ๔ นี้ ต้องเป็นกรณีเรือไทยหรืออากาศยานไทย บินหรือเดินเรืออยู่นอกราชอาณาจักร ถ้าเรือไทยหรืออากาศยานไทยจอดอยู่ในราชอาณาจักร ไม่เข้าข่าย ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๔ เช่น มีการฆ่ากันตายบนเครื่องบินไทยที่บินอยู่เหนือน่านฟ้าประเทศญี่ปุ่น พนักงานสอบสวนกองปราบปรามกรมตำรวจมีอำนาจสอบสวน แต่ถ้า เครื่องบินไทย จอดอยู่ที่สนามบินดอนเมือง เป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักร มิใช่กรณีถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักรตามมาตรา ๔ พนักงานสอบสวน สน.ดอนเมืองจึงมีอำนาจสอบสวน
มีต่อบทความต่อไป พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบการสอบสวน มาตรา ๑๘ วรรคสามhttp://natjar2001law.blogspot.com/2012/02/blog-post_7947.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น