วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบการสอบสวน ม.๑๘ วรรค ๓


http://natjar2001law.blogspot.com/2012/02/blog-post_25.html
เขตอำนาจสอบสวน ม.๑๘ วรรคแรกและวรรคสอง

พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบการสอบสวน

ในกรณีที่การสอบสวนได้กระทำโดยพนักงานสอบสวนที่มีเขตอำนาจสอบสวนตามมาตรา  ๑๘ วรรคแรกและวรรคสอง  มีมากกว่าหนึ่งท้องที่  (กรณีความผิดเกิด อ้างว่าได้เกิด หรือเชื่อว่าได้เกิด หรือพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับ )  เช่น  แดงกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นที่ท้องที่ สน.บางเขน  แต่มาหลบซ่อนตัวและถูกจับที่  สน.ดอนเมือง  ทั้ง สน.บางเขน และ สน.ดอนเมืองมีอำนาจสอบสวน  สน.บางเขนได้ดำเนินการรับแจ้งความและเริ่มสอบสวนแล้ว  มีการออกหมายจับ  และจับตัวนายแดงได้ที่ เขตดอนเมือง โดยเจ้าพนักงานตำรวจ สน.ดอนเมือง  เมื่อจับตัวได้  สน.ดอนเมืองได้ทำการสอบสวน  แต่สุดท้ายแล้ว พนักงานสอบสวนที่จะมีอำนาจสรุปสำนวนส่งฟ้อง (รับผิดชอบการสอบสวน) จะต้องเป็น พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่ความผิดนั้นได้เกิดคือ  สน.บางเขน  เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็น หรือเพื่อความสะดวก  จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่ อยู่หรือถูกจับ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน
มาตรา ๑๘ วรรคสาม 
ภาใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน มาตรา 19 มาตรา 20 และ มาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดย ปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้น เป็นผู้รับผิดชอบในการ สอบสวนความผิดนั้น ๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือ เพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่ อยู่หรือถูกจับ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2547

เหตุคดีนี้เกิดขึ้นในซอยบ่อนไก่ ถนนพิบูลสงคราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เพียงท้องที่เดียว สถานที่ที่จำเลยถูกจับกุมภายหลังการกระทำความผิดซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจนครบาลเตาปูน หาใช่ท้องที่ที่เกิดการกระทำความผิด
ด้วยไม่ เมื่อที่เกิดเหตุอยู่ใน
เขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรีพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรีจึงมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนี้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 18 วรรคสาม

1 ความคิดเห็น:

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น