การท่องตัวบทกฏหมายเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นักเรียนกฏหมายมีความรู้สึกว่ายาก และเบื่อหน่าย แต่หากเลือกการเรียนในวิชานิติศาสตร์แล้ว การท่องไม่อาจหนีไปได้เลย เลี่ยงไม่ได้เลย เพราะไม่เฉพาะแต่ในการใช้ในการสอบเท่านั้น แต่ผู้ที่สามารถจำตัวบทกฏหมายได้มากและแม่นยำ จะกลายเป็นผู้วินิจฉัยเหตุการณ์ในความผิดต่างๆ ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว
บทความนี้จึงขอนำเสนอวิธีการท่องตัวบทกฏหมาย แต่จะปฏิบัติตามวิธีการต่อไปนี้ได้ จงทำใจให้ได้เสียก่อนว่า การท่องตัวบทคืองานหลักของเรา ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ต้องทำ กำจัดความลังเลสงสัยว่าจะมีวิธีการอื่นไหมหนอที่จะไม่ต้องอาศัยการท่องออกไปเสีย แล้วเริ่มทำดังนี้
อ่านตัวบทมาตรานั้นสักสองสามรอบ
มาตรา 82 ผู้ใดพยายามกระทำความผิด หากยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให
แล้วหลับตาลง หายใจเข้าให้ลึก หายใจออกให้ยาว จิตอยู่ที่ลมหายใจ แล้วนึกถึงภาพตัวอักษรที่เราอ่า
ครูทำแบบนี้มานานเป็นยี่สิบปีก่
โลกุตรฌาณ ฌาณ ๔ นำสู่พระนิพพานเป็นไฉน?
[๗๒๑] ฌาน ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน
๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน
๔. จตุตถฌาน
[๗๒๒] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน
อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน
เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ
วิตก
วิจาร
ปีติ
สุข
เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
[๗๒๓] ทุติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน
อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าไปสู่นิพพาน
เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุทุติยฌาน
อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส
เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ
ปีติ
สุข
เอกัคคตาแห่งจิตมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
[๗๒๔] ตติยฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน
อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน
เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ
เพราะคลายปีติได้อีกด้วยจึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน
ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า
เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ
สุข
เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่าตติยฌาน
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
[๗๒๕] จตุตถฌาน เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน
อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน
เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด
ฌานมีองค์ ๒ คือ
อุเบกขา
เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน
ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=8618&Z=8653
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์
ขอบคุณครับ
ตอบลบ