วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

No fault liability. กับเงินช่วยเหลือภัยน้ำท่วม

No fault liability. กับการจ่ายค่าชดเชยกรณีความเสียหายจากกรณีภัยพิบัติทางธรรมชาติ

เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่า การขอรับเงินช่วยเหลือกรณีประสบอุทกภัยนี้มีความยุ่งยากและซับซ้อนมาก ทั้งระยะเวลาในการย่ืนขอรับความช่วยเหลือยังกำหนดไว้น้อย ทั้งๆ ที่ความเสียหายนั้นมากและกระทบในวงกว้าง ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับความยุ่งยากวุ่นวายราวกับถูกซ้ำเติมมิใช่ช่วยเหลือ

ในประเทศไทย การจ่ายเงินช่วยเหลือที่ผ่านมาตามกฎหมาย เช่น พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ใช้หลักการของทฤษฎี. No fault liability. กล่าวคือผู้ได้รับความเสียหายไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหาย เพียงแต่พิสูจน์ว่าตนเป็นผู้ได้รับความเสียหายจริง เช่นกรณีผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ ผู้เสียหายสามารถยื่นขอรับเงินช่สยเหลือได้โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าแพทย์มีความประมาทหรือไม่และตนเสียหายอย่างไร ซึ่งความเป็นผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์นั้นสามารถทราบได้จากเวชระเบียนอยู่แล้ว.

สำหรับเรื่องการชดเชยความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยก็เช่นกัน รัฐบาลสามารถตั้งกองทุนชดเชยความเสียหายโดยพิจารณาจากจำนวนผู้ประสบภัยจากทะเบียนราษฎรของแต่ละอำเภอได้โดยไม่ยาก และจัดสรรงบประมาณโดยกำหนดหลักเกณฑ์ค่าเสียหายให้ชัดเจน ให้ผู้ประสบภัยสามารถยื่นคำขอรับโดยนำหลักฐานมาแสดงว่าตนเป็นเจ้าบ้าน รายละเอียดปรากฎชัดแล้วตามสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งในแต่ละหมู่บ้านผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ดูแลย่อมทราบดีอยู่ว่าลูกบ้านตนมีใครบ้างและถูกน้ำท่วมจริง ทั้งมีทะเบียนราษฎรชัดเจน โดยผู้ประสบภัยไม่ต้องพิสูจน์ว่าตนเสียหายอย่างไรบ้างและมูลค่าเท่าไหร่ เมื่อมีการยื่นขอรับเงินช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบแต่เพียงว่าชื่อในทะเบียนบ้าน เอกสารถูกต้องตรงกับทะเบียนบ้านแล้วจ่ายเงินพร้อมให้ผู้รับเงินลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานก็เพียงพอ ระยะเวลาในการขอรับชำระควรจะใช้ตามหลักกฎหมายทั่วไปคือ 1-2 ปี ไม่ใช่ 1 เดือน ขนาดอายุความกฎหมายอาญาในความผิดอันยอมความกันได้ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยยังมีอายุความถึง 3 เดือน แต่ความเดือนร้อนของผู้ประสบภัยกลับถูกบีบให้รีบดำเนินการภายใน1 เดือน ในขณะที่ผู้ประสบภัยเองยังไม่สามารถตั้งตัวจากภัยพิบัติได้นั้น อาจจะถูกมองว่าเป็นการซ้ำเติมความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย และเพิ่มภาระแก่ผู้ประสบภัยอย่างขาดไร้เมตตาเสียมากกว่า

ที่ผ่านมา การใช้หลัก No fault liability. สามารถพิสูจน์แล้วว่า เยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายได้อย่างรวดเร็วและเป็นการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลได้ ทั้งยังได้รับความนิยมในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างมาก. เรื่องนี้นักศึกษากฎหมายระดับปริญญาโทนำไปทำวิทยานิพนธ์ได โดยไปดูสิว่าประเทศอื่นเขาใช้หลักการนี้ในการเยียวยาความเสียหายให้กับประชาชนของเขาอย่างไร แล้วประเทศไทยต่อกรณีน้ำท่วมนี้มีผลกระทบอย่างไรจากการไม่ใช้หลักการนี้ ถ้าใช้จะแก้ปัญหาได้อย่างไร

2 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ยังสงสัย อยู่ครับ
    ฐานความรับผิดมาจากไหน?
    กฎหมายเอกชน tort
    หรือกฎหมายมหาชน
    ความคิดนี้ มันแทนที่กันได้หรือ

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น