พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบการสอบสวน ม.๑๙ วรรคสาม
ในกรณีที่ความผิดเกิดมากกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่พนักงานสอบสวนตาม (๑) –(๖) มีอำนาจทำการสอบสวน แต่พนักงานสอบสวนที่จะมีอำนาจสรุปสำนวนส่งฟ้อง กล่าวคือเป็นพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบการสอบสวนได้นั้น จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในวรรคสาม หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้การสอบสวนนั้นเสียไป พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
ในกรณีข้างต้นพนักงานสอบสวนต่อไปนี้
เป็นผู้รับผิดชอบในการ สอบสวน
(ก) ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับ ได้อยู่ในเขตอำนาจ
(ก) ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับ ได้อยู่ในเขตอำนาจ
(ข) ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้
คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการ กระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจ
ก่อนอื่นนักศึกษาพึงทำความเข้าใจกับคำว่า พนักงานสอบสวนที่พบการกระทำความผิดก่อน ให้เข้าใจเสียก่อน
พนักงานสอบสวนที่พบการกระทำความผิดก่อน คือพนักงานสอบสวนที่ได้เริ่มทำการสอบสวนโดยรับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษไว้เป็นที่แรก เช่น นายดำ พรากเด็กหญิงแดงไปจากนางขาวมารดา จากบ้านที่บางนา โดยพาเด็กหญิงแดงไปอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ นางขาวเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับนายดำต่อ ร.ต.อ.เขียว ที่ สน.บางนา ร.ต.อ. เขียว ได้ดำเนินการออกหมายจับนายดำ จากการสืบสวนพบว่า นายดำพา เด็กหญิงแดงไปอยู่ที่ ต.สำโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการ จึงได้ประสานงานไปยัง สภต.สำโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการให้ดำเนินการจับกุมนายแดง เมื่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวน สภต.สำโรงเหนือดำเนินการจับกุมนายแดงเรียบร้อยแล้วจึงนำส่งยัง พ.ต.ต.ฟ้า พนักงานสอบสวน สภต.สำโรงเหนือ เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานพรากผู้เยาว์ เป็นความผิดต่อเนื่องกันไปที่กระทำลงในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตาม (๓) พนักงานสอบสวน สน.บางนา และ สภต. สำโรงเหนือ จึงมีอำนาจดำเนินการสอบสวน แต่การสรุปสำนวนหรือรับผิดชอบการสอบสวนนั้น จะต้องเป็นไปตาม (ข) คือในขณะพบการกระทำความผิดยังจับตัวผู้ต้องหาไม่ได้ ต่อมาจับได้ในภายหลัง ผู้ที่จะมีอำนาจสอบสวนคือ พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน ได้แก่ท้องที่ที่มีการเริ่มทำการสอบสวนก่อนนั่นเอง ในกรณีตัวอย่างนี้คือ สน.บางนา
(ก) นั้น จะใช้ต่อเมื่อ จับตัวผู้ต้องหาได้ โดยไม่มีการเริ่มทำการสอบสวนมาก่อนเลย ไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์มาก่อนเลยเท่านั้น เช่น นายดำกับพวกโดยสารรถไฟไปยังจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างทาง นายดำกับพวกร่วมกันเล่นการพนันบนรถไฟ เมื่อรถจอดถึงสถานีนครสวรรค์ เจ้าพนักงานตำรวจพบว่านายดำกับพวกกระทำความผิดตาม พรบ. การพนันจึงดำเนินการจับกุม จะเห็นได้ว่า กรณีนี้ ไม่มีการร้องทุกข์หรือเริ่มทำการสอบสวนมาก่อน ดังนั้น พนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์ จึงเป็นพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนตาม (๕) และเป็นผู้มีอำนาจรับผิดชอบการสอบสวนตาม (ก) เพราะเป็นผู้จับตัวผู้ต้องหาได้แล้ว
สิ่งที่ทำให้นักศึกษาสับสนคือคำว่า จับตัวได้กับจับตัวไม่ได้ ตาม (ก) และ (ข) นั่นเอง ดังนั้น เพื่อความเข้าใจ ขอให้นักศึกษาทำความเข้าใจว่า
(ก) จับตัวได้ หมายถึง จับได้โดยไม่มีการเริ่มสอบสวนมาก่อน
(ข) จับตัวยังไม่ได้ หมายถึง ขณะเริ่มทำการสอบสวนยังจับตัวไม่ได้
ถ้าทำความเข้าใจเช่นนี้และจดจำได้การวินิจฉัยจะง่ายและรวดเร็ว
เทคนิคในการทำข้อสอบ ม.๑๙ ป.วิอาญา ที่สามารถทำให้นักศึกษาตอบข้อสอบได้เร็ว ถ้าเป็นข้อสอบปรนัย สามารถตอบได้ภายในเวลา ๓๐ วินาที คือ
๑. หาคำว่า ร้องทุกข์ แจ้งความ หรือคำที่หมายถึงการเริ่มการสอบสวน แล้วขีดเส้นใต้ชื่อ สน. นั้นได้
๒. หาคำว่า จับตัวได้ แล้วขีดเส้นใต้ชื่อ สน.นั้นไว้
กรณีนี้เป็นกรณี ที่มีการเริ่มทำการสอบสวนก่อนจับตัวได้ ใช้ (ข) ให้เลือกข้อที่มีชื่อ สน.ที่รับคำร้องทุกข์เป็นคำตอบ
ถ้าไม่มีชื่อ สน.ที่รับคำร้องทุกข์ มีแต่ สน.ที่จับตัวได้ กรณีนี้เป็นกรณีตาม (ก) ให้เลือกชื่อ สน.ที่จับตัวได้เป็นคำตอบ
ก่อนอื่นนักศึกษาพึงทำความเข้าใจกับคำว่า พนักงานสอบสวนที่พบการกระทำความผิดก่อน ให้เข้าใจเสียก่อน
พนักงานสอบสวนที่พบการกระทำความผิดก่อน คือพนักงานสอบสวนที่ได้เริ่มทำการสอบสวนโดยรับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษไว้เป็นที่แรก เช่น นายดำ พรากเด็กหญิงแดงไปจากนางขาวมารดา จากบ้านที่บางนา โดยพาเด็กหญิงแดงไปอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ นางขาวเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับนายดำต่อ ร.ต.อ.เขียว ที่ สน.บางนา ร.ต.อ. เขียว ได้ดำเนินการออกหมายจับนายดำ จากการสืบสวนพบว่า นายดำพา เด็กหญิงแดงไปอยู่ที่ ต.สำโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการ จึงได้ประสานงานไปยัง สภต.สำโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการให้ดำเนินการจับกุมนายแดง เมื่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวน สภต.สำโรงเหนือดำเนินการจับกุมนายแดงเรียบร้อยแล้วจึงนำส่งยัง พ.ต.ต.ฟ้า พนักงานสอบสวน สภต.สำโรงเหนือ เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานพรากผู้เยาว์ เป็นความผิดต่อเนื่องกันไปที่กระทำลงในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตาม (๓) พนักงานสอบสวน สน.บางนา และ สภต. สำโรงเหนือ จึงมีอำนาจดำเนินการสอบสวน แต่การสรุปสำนวนหรือรับผิดชอบการสอบสวนนั้น จะต้องเป็นไปตาม (ข) คือในขณะพบการกระทำความผิดยังจับตัวผู้ต้องหาไม่ได้ ต่อมาจับได้ในภายหลัง ผู้ที่จะมีอำนาจสอบสวนคือ พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน ได้แก่ท้องที่ที่มีการเริ่มทำการสอบสวนก่อนนั่นเอง ในกรณีตัวอย่างนี้คือ สน.บางนา
(ก) นั้น จะใช้ต่อเมื่อ จับตัวผู้ต้องหาได้ โดยไม่มีการเริ่มทำการสอบสวนมาก่อนเลย ไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์มาก่อนเลยเท่านั้น เช่น นายดำกับพวกโดยสารรถไฟไปยังจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างทาง นายดำกับพวกร่วมกันเล่นการพนันบนรถไฟ เมื่อรถจอดถึงสถานีนครสวรรค์ เจ้าพนักงานตำรวจพบว่านายดำกับพวกกระทำความผิดตาม พรบ. การพนันจึงดำเนินการจับกุม จะเห็นได้ว่า กรณีนี้ ไม่มีการร้องทุกข์หรือเริ่มทำการสอบสวนมาก่อน ดังนั้น พนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์ จึงเป็นพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนตาม (๕) และเป็นผู้มีอำนาจรับผิดชอบการสอบสวนตาม (ก) เพราะเป็นผู้จับตัวผู้ต้องหาได้แล้ว
สิ่งที่ทำให้นักศึกษาสับสนคือคำว่า จับตัวได้กับจับตัวไม่ได้ ตาม (ก) และ (ข) นั่นเอง ดังนั้น เพื่อความเข้าใจ ขอให้นักศึกษาทำความเข้าใจว่า
(ก) จับตัวได้ หมายถึง จับได้โดยไม่มีการเริ่มสอบสวนมาก่อน
(ข) จับตัวยังไม่ได้ หมายถึง ขณะเริ่มทำการสอบสวนยังจับตัวไม่ได้
ถ้าทำความเข้าใจเช่นนี้และจดจำได้การวินิจฉัยจะง่ายและรวดเร็ว
เทคนิคในการทำข้อสอบ ม.๑๙ ป.วิอาญา ที่สามารถทำให้นักศึกษาตอบข้อสอบได้เร็ว ถ้าเป็นข้อสอบปรนัย สามารถตอบได้ภายในเวลา ๓๐ วินาที คือ
๑. หาคำว่า ร้องทุกข์ แจ้งความ หรือคำที่หมายถึงการเริ่มการสอบสวน แล้วขีดเส้นใต้ชื่อ สน. นั้นได้
๒. หาคำว่า จับตัวได้ แล้วขีดเส้นใต้ชื่อ สน.นั้นไว้
กรณีนี้เป็นกรณี ที่มีการเริ่มทำการสอบสวนก่อนจับตัวได้ ใช้ (ข) ให้เลือกข้อที่มีชื่อ สน.ที่รับคำร้องทุกข์เป็นคำตอบ
ถ้าไม่มีชื่อ สน.ที่รับคำร้องทุกข์ มีแต่ สน.ที่จับตัวได้ กรณีนี้เป็นกรณีตาม (ก) ให้เลือกชื่อ สน.ที่จับตัวได้เป็นคำตอบ
.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2542
|
จำเลยขับรถยนต์กระบะบรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คันของกลาง มุ่งออกจากจังหวัดปราจีนบุรีจะข้ามไปฝั่งประเทศกัมพูชา
แล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวง อำเภอกบินทร์บุรี ตรวจค้นและควบคุมตัวไว้
เมื่อทราบว่าผู้เสียหายได้แจ้งความ ไว้แล้วที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางว่ารถจักรยานยนต์
ของกลางถูกยักยอกไป เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธร
อำเภอเมืองลำปางจึงเดินทางไปร่วมจับกุมจำเลยกับ
เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงอำเภอกบินทร์บุรี
ดังกล่าวเมื่อผู้เสียหายเดินทางมาที่ทำการตำรวจทางหลวง อำเภอ กบินทร์บุรี
ตรวจดูรถจักรยานยนต์ที่ถูกยึดไว้ แล้วยืนยันว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้เสียหาย
จึงชี้ให้จับกุมจำเลย เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางกับพวก
ได้ร่วมจับกุมจำเลยและได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ
โดยมีเจ้าพนักงานตำรวจชั้นสัญญาบัตรของตำรวจทางหลวงและ
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางร่วมจับกุมด้วย
จึงถือว่าจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอ
เมืองลำปางจับกุมโดยชอบแล้วและการที่จำเลยกับพวกร่วมกัน บรรทุกรถจักรยานยนต์ 2
คัน ของกลางบนรถยนต์กระบะ
เดินทางมาเขตอำเภอกบินทร์บุรีเพื่อจะนำไปจำหน่ายยังประเทศกัมพูชาก็เป็นการกระทำผิดฐานรับของโจรต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง
ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(3)
ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ
เมืองลำปางซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง กับเหตุที่เกิด
ทั้งยังมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธร
อำเภอเมืองลำปางเป็นผู้ร่วมจับกุมจำเลยกับพวกในท้องที่ อำเภอกบินทร์บุรีด้วย
พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
ในการสอบสวนตามมาตรา 19 วรรคสาม(ข)
เพราะเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำผิดอยู่ก่อนโดยเริ่มสอบสวนตั้งแต่
ยังจับตัวจำเลยกับพวกไม่ได้
แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยกับพวกถูกจับกุมที่ท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีก็ตามก็หาทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางพ้นจากเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปไม่
จึงมิใช่กรณีตามมาตรา 19 วรรคสาม(ก)
ดังนี้พนักงานอัยการโจทก์จึงฟ้องจำเลยกับพวกที่ศาลจังหวัดลำปางได้
โดยถือว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 120
จากคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว ยาวแค่ไหน ตอบได้ไม่เกิน สามสิบวินาที คือ
สภอ.เมืองลำปาง
ถ้าเป็นกรณีที่ ไปแจ้งความแล้ว พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้ง ไม่ถือว่า เป็นพนักงานสอบสวนที่พบการกระทำความผิดก่อน ท้องที่ใด รับแจ้ง ท้องที่นั้นพบการกระทำความผิดก่อน
ถ้าเป็นกรณีที่ ไปแจ้งความแล้ว พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้ง ไม่ถือว่า เป็นพนักงานสอบสวนที่พบการกระทำความผิดก่อน ท้องที่ใด รับแจ้ง ท้องที่นั้นพบการกระทำความผิดก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2548
|
ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่กับอาในเขตท้องที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต
จำเลยพรากผู้เสียหายไป
พาผู้เสียหายไปพักและกระทำชำเราผู้เสียหายในหลายท้องที่ต่างกัน
จึงเป็นกรณีไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่
และความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป
และเป็นความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง
พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ.
มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (1) (3) (6) และวรรคสอง
พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคตจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้
พ. อาของผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน
แต่พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความร้องทุกข์เนื่องจาก พ.
และผู้เสียหายพักอยู่ที่บ้านในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต
จึงเท่ากับไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน พ.
จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต ต่อมาจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ที่อำเภอเขาพนม
จังหวัดกระบี่ ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต
จึงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน
จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสาม
(ข) มีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง
ส่งไปพร้อมสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามมาตรา 140, 141 ได้ การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อ ท้องที่ สน. บางเขน ไม่รับคำร้องทุกข์ จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวนที่พบการกระทำความผิดก่อน แต่ สภต. คูคต รับแจ้ง จึงเป็นพนักงานสอบสวนที่พบการกระทำความผิดก่อน
.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3466/2547
|
กรณีที่เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่
พนักงานสอบสวน ในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ.
มาตรา 19 วรรคสอง
เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ชัดแจ้งว่าเหตุในคดีนี้เกิดในท้องที่ใดแน่
ระหว่างอำเภอบัวใหญ่ กับอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา
พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดดังกล่าวย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ แต่ตามวรรคสาม
(ก) ของมาตรา 19 ดังกล่าวระบุว่า
พนักงานสอบสวนที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้อยู่ในเขตอำนาจ
ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยถูกจับได้ที่อำเภอแก้งสนามนาง
โดยมีสารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ กับเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่อีกหลายนายเป็นผู้ร่วมจับกุม
พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนี้
คือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอแก้งสนามนาง
มิใช่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่
เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
เป็นผู้สรุปสำนวนและ ทำความเห็นว่า ควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องจำเลยคดีนี้
แล้วส่งสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140
และ 141 ก็ถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นโดยชอบตาม
ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามฎีกานี้
ยังไม่มีการร้องทุกข์มาก่อนจับกุม ใช้ (ก)
เมื่อ จำเลยถูกจับได้ที่อำเภอ
แก้งสนามนาง พนักงานสอบสวน อำเภอ แก้ง สนามนางจึงมีอำนาจสรุปสำนวน
รับผิดชอบการสอบสวน มิใช่ พนักงานสอบสวน
สภอ.บัวใหญ่หมั่นฝึกทำแบบฝึกหัดให้คล่อง โดยนำคำพิพากษาฎีกามาฝึกทำ ต่อไปจะตอบได้รวดเร็วและแม่นยำ
ขอบคุณครับ
ตอบลบ