เขตอำนาจสอบสวนตามมาตรา ๑๙ วรรคแรก
การที่นักศึกษาจะใช้มาตรา ๑๙ ในการวินิจฉัยได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ความผิดเกิดขึ้นฺในหลายท้องที่ ไม่ใช่กรณีความผิดเกิดขึ้นในท้องที่หนึ่ง หรืออ้างว่าได้เกิด เชื่อว่าได้เกิดในท้องที่หนึ่ง และผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับในอีกท้องที่หนึ่งตามมาตรา ๑๘ ความผิดเกิดขึ้นในหลายท้องที่มีได้กรณีตามมาตรา ๑๙ ดังนี้
มาตรา 19 ในกรณีดั่งต่อไปนี้
(1) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดใน
ระหว่างหลายท้องที่
(2) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง
แต่มีอีกส่วนหนึ่ง ในอีกท้องที่หนึ่ง
(3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกัน
ในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป
(4) เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม
กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน
(5) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง
(6) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง
อธิบาย
(1) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดใน ระหว่างหลายท้องที่
เป็นกรณีการกระทำความผิดไม่แน่ชัดว่าเกิดในท้องที่ใดกันแน่ (แต่มิใช่ความผิดต่อเนื่องตาม (๓)) เช่น จำเลยได้รับมอบอำนาจให้ไปเก็บเงินลูกหนี้ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำกลับมาส่งผู้เสียหายที่กรุงเทพ แต่จำเลยกลับยักยอกเงินไปเสีย เป็นการไม่แน่ชัดว่า จำเลยทำการยักยอกทรัพย์ในท้องที่จังหวัดใด พนักงานสอบสวนทุกท้องที่ที่เกี่ยวข้องในระหว่างการเดินทางกลับกรุงเทพจากเชียงใหม่ มีอำนาจสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2530
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม มีหน้าที่เก็บเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ร่วมที่อยู่ต่างจังหวัดแล้วส่งมอบให้โจทก์ร่วมซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางรัก จำเลยรับเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ร่วมในอีกท้องที่หนึ่งแล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ร่วม จึงเป็นการไม่แน่ว่าจำเลยทำการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วมในท้องที่ใด พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางรักจึงมีอำนาจสอบสวน.
ความสับสนไม่แน่ใจของพนักงานสอบสวนไม่ใช่กรณีไม่แน่ว่าความผิดเกิดขึ้นในท้องที่ใดที่จะทำให้พนักงานสอบสวนทุกท้องที่มีอำนาจสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2549
เหตุ คดีนี้เกิดในพื้นที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบ สวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอำนาจเจริญ มิได้เกิดในเขตอำนาจสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญจึงไม่มีอำนาจสอบสวนความผิดซึ่ง ได้เกิดขึ้นในคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ข้อที่โจทก์อ้างในฎีกาว่าเป็นกรณีพยานโจทก์ผู้จับกุมไม่แน่ใจว่าการกระทำผิด อาญาได้กระทำในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่ พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 นั้น หมายความเฉพาะเมื่อสภาพการกระทำผิดอาญานั้นเองเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในตัว ว่า เป็นการไม่แน่ว่ากระทำขึ้นในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ต่างเขตอำนาจสอบ สวน มิได้หมายความถึงกรณีที่ตัวพนักงานสอบสวนหรือผู้จับกุมสับสนในเรื่องพื้นที่ เขตอำนาจของตนเสียเอง ทั้งที่เป็นการแน่นอนแล้วว่าความผิดนั้นได้กระทำในท้องที่ใด เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญยังขืนสอบสวนความผิดนี้ การสอบสวนนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีการสอบสวน เมื่อยังมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
การที่นักศึกษาจะใช้มาตรา ๑๙ ในการวินิจฉัยได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ความผิดเกิดขึ้นฺในหลายท้องที่ ไม่ใช่กรณีความผิดเกิดขึ้นในท้องที่หนึ่ง หรืออ้างว่าได้เกิด เชื่อว่าได้เกิดในท้องที่หนึ่ง และผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับในอีกท้องที่หนึ่งตามมาตรา ๑๘ ความผิดเกิดขึ้นในหลายท้องที่มีได้กรณีตามมาตรา ๑๙ ดังนี้
มาตรา 19 ในกรณีดั่งต่อไปนี้
อธิบาย
เป็นกรณีการกระทำความผิดไม่แน่ชัดว่าเกิดในท้องที่ใดกันแน่ (แต่มิใช่ความผิดต่อเนื่องตาม (๓)) เช่น จำเลยได้รับมอบอำนาจให้ไปเก็บเงินลูกหนี้ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำกลับมาส่งผู้เสียหายที่กรุงเทพ แต่จำเลยกลับยักยอกเงินไปเสีย เป็นการไม่แน่ชัดว่า จำเลยทำการยักยอกทรัพย์ในท้องที่จังหวัดใด พนักงานสอบสวนทุกท้องที่ที่เกี่ยวข้องในระหว่างการเดินทางกลับกรุงเทพจากเชียงใหม่ มีอำนาจสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2530
จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม มีหน้าที่เก็บเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ร่วมที่อยู่ต่างจังหวัดแล้วส่งมอบให้โจทก์ร่วมซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางรัก จำเลยรับเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ร่วมในอีกท้องที่หนึ่งแล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ร่วม จึงเป็นการไม่แน่ว่าจำเลยทำการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วมในท้องที่ใด พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางรักจึงมีอำนาจสอบสวน.
ความสับสนไม่แน่ใจของพนักงานสอบสวนไม่ใช่กรณีไม่แน่ว่าความผิดเกิดขึ้นในท้องที่ใดที่จะทำให้พนักงานสอบสวนทุกท้องที่มีอำนาจสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2549
เหตุ คดีนี้เกิดในพื้นที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบ สวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอำนาจเจริญ มิได้เกิดในเขตอำนาจสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญจึงไม่มีอำนาจสอบสวนความผิดซึ่ง ได้เกิดขึ้นในคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ข้อที่โจทก์อ้างในฎีกาว่าเป็นกรณีพยานโจทก์ผู้จับกุมไม่แน่ใจว่าการกระทำผิด อาญาได้กระทำในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่ พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 นั้น หมายความเฉพาะเมื่อสภาพการกระทำผิดอาญานั้นเองเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในตัว ว่า เป็นการไม่แน่ว่ากระทำขึ้นในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ต่างเขตอำนาจสอบ สวน มิได้หมายความถึงกรณีที่ตัวพนักงานสอบสวนหรือผู้จับกุมสับสนในเรื่องพื้นที่ เขตอำนาจของตนเสียเอง ทั้งที่เป็นการแน่นอนแล้วว่าความผิดนั้นได้กระทำในท้องที่ใด เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญยังขืนสอบสวนความผิดนี้ การสอบสวนนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีการสอบสวน เมื่อยังมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
กรณีความผิดที่เกิดขึ้นได้เกิดขึ้นในท้องที่หลายท้องที่ แต่ละท้องที่มีองค์ประกอบของการเกิดขึ้นของความผิดนั้น เช่น ดำ ยืนอยู่บนทางเท้า ฝั่งพื้นที่ สน. เอ ยิงแดงซึ่งยืนอยู่บนทางเท้าฝั่งพื้นที่ สน. บี ดังนั้น ทั้งสน. เอ และ บี มีอำนาจสอบสวน เพราะถือเป็นท้องที่ๆ เป็นองค์ประกอบของการเกิดขึ้นสำหรับความผิดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2537 แจ้งแก้ไขข้อมูล
เมื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์เกิดที่อำเภอไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรี แม้ความผิดฐานรับของโจรจะเกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ก็เป็นความผิดที่ได้กระทำต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทรโยคจึงมีอำนาจสอบสวนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในข้อหารับของโจรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 และเมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอไทรโยค ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดกาญจนบุรีโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรี
เป็นกรณีที่ความผิดนั้นมิได้เกิดและสำเร็จในท้องที่เดียวกัน เช่น ความผิดฐานออกเช็คโดยมีเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค เป็นความผิดที่ต่อเนื่องระหว่างท้องที่ของธนาคารผู้ออกเช็ค กับท้องที่ของธนาคารที่ทำการปฏิเสธการจ่ายเงิน (๑๗๐๒-๑๗๐๓/๒๕๒๓ ปชญ.)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2528
|
การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คการออกเช็คในท้องที่ใดย่อมถือได้ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่นั้นต่อเนื่องกับการกระทำผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่อื่น
ถือว่า จำเลยได้กระทำผิดอาญาในท้องที่ดังกล่าวต่อเนื่องกัน
เมื่อได้มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่มีการออกเช็คแล้ว
พนักงานสอบสวนและศาลในท้องที่นั้นย่อมมีอำนาจสอบสวนและชำระคดีนี้ได้
แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยออกเช็คในท้องที่ใดและอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนที่สอบสวนคดีนี้หรือไม่
ยังไม่ได้ความแน่ชัด
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ประทับฟ้องและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจึงชอบแล้ว
ระวัง !
ในกรณีที่มีการโอนเช็คเปลี่ยนมือกันก่อนนำไปเรียกเก็บเงิน
ท้องที่ที่มีการโอนเช็คไม่ถือเป็นท้องที่ที่ความผิดต่อเนื่องกับท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เช่น
ดำ
สั่งจ่ายเช็คให้แดงหรือผู้ถือ ที่เขตท้องที่ สน.บางนา
แดงนำเช็คฉบับดังกล่าวโอนชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าให้เขียว ในเขตท้องที่ สน.บางพลัด
เขียวนำเช็คไปเรียกเก็บยังธนาคารถุงทอง
สาขาบางเขน ธนาคารถุงทองสาขาบางเขนปฏิเสธการจ่ายเงิน ท้องที่ที่มีอำนาจสอบสวนได้แก่ ท้องที่
สน.บางนา และ บางเขน ส่วนบางพลัด ท้องที่ๆ มีการโอนเช็คเปลี่ยนมือไม่มีอำนาจสอบสวน
(๖๕๐/๒๕๒๘)
ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ต้องหาเพื่อเรียกค่าไถ่ เป็นความผิดต่อเนื่องกันไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1586/2526
|
จำเลยกับพวกบังคับหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายชาวมาเลเซียเพื่อเรียกค่าไถ่
และบังคับให้ผู้เสียหายขับรถไปส่งยังชายแดนประเทศไทยซึ่งน่าจะได้ควบคุมเข้าไปในเขตแดนไทยด้วย
เพราะภูมิลำเนาของจำเลยกับพวกอยู่ในราชอาณาจักรจึงเป็นความผิดต่อเนื่องทั้งในและนอกราชอาณาจักร
พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ซึ่งจับจำเลย
จึงมีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยได้
บางครั้งในการกระทำครั้งหนึ่ง อาจมีเจตนาหลายเจตนา กระทำลงในวาระต่างๆ กัน แต่ละวาระ แต่ละกรรม กระทำลงในท้องที่ต่างกัน ทุกท้องที่ที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3430/2537
|
จำเลยถูกกล่าวหาตาม
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เหตุเกิดท้องที่
สภ.อ.เมืองนราธิวาส ปรากฏว่าจำเลยได้ไปแจ้งความที่ สภ.อ.สุไหงโก-ลก
ว่าเช็คที่จำเลยถูกดำเนินคดีหายไป ซึ่งเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกง
พนักงานสอบสวนสภ.อ. เมืองนราธิวาส
ย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยเกี่ยวกับความผิดฐานแจ้งความเท็จ และฉ้อโกงได้
เพราะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ
กันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(4) และโจทก์ย่อมฟ้องรวมในฟ้องเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 160 ทั้งความผิดฐานแจ้งความเท็จ
มีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานฉ้อโกง
และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรมต่างสถานที่
แต่ก็ได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกัน และเป็นความผิดเกี่ยวพันกันซึ่งจะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา
24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4
แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ.
2520 โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โดยไม่ต้องขอผัดฟ้องพร้อมกับความผิดฐานฉ้อโกง
และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้
นายดำกับพวกเดินทางด้วยรถไฟจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ ระหว่างการเดินทาง นายดำกับพวกร่วมกันเล่นการพนันอันเป็นความผิดตาม พรบ.การพนัน พนักงานสอบสวนทุกท้องที่ ที่รถไฟแล่นผ่านมีอำนาจสอบสวน
นายเขียวเดินทางด้วยรถไฟจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ นายเขียวถูกนายขาวลักทรัพย์บนรถไฟ พนักงานสอบสวนทุกท้องที่ ที่รถไฟแล่นผ่านมีอำนาจสอบสวน
ถึงแม้ว่า พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนจะมีหลายท้องที่ก็ตาม แต่การสรุปสำนวนส่งฟ้อง ต้องได้กระทำโดยพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจรับผิดชอบการสอบสวนตามมาตรา ๑๙ วรรคสาม (ก) และ (ข) เท่านั้น ติดตามอ่านในบทความต่อไป
กรณีเช็ก พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคือ สน.บางเขนถูกใหมครับ
ตอบลบบางเขนกับบางนามีอำนาจสอบสวน ส่วนพนักงานผู้รับผิดชอบการสอบสวนคือใครนั้น ตอบโดยใช้ข้อเท็จจริงนี้ไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏว่า มีการแจ้ง การจับ อยู่ที่ไหน อ่ะค่ะ ครูสร้างข้อเท็จจริงนี้ขึ้นมาเพื่ออธิบายเรื่อง อำนาจสอบสวนแต่เพียงอย่างเดียวค่ะ
ตอบลบกรณีผู้ต้องหากระทำผิดในท้องที่ ก. และ ท้องที่ ข. แต่ถูกจับตัวได้ใน ท้องที่ ค. พนักงานสอบสวนท้องที่ ค. มีอำนาจสอบสวน ได้หรือไม่ ?
ตอบลบ