วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คดียุบพรรค ปชป. ระยะเวลา 15 วันยืดหยุนไม่ได้หรือ

ตอบว่าไม่ได้ ทำใมถึงไม่ได้ นั่นเป็นเพราะกฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดเจนไม่เปิดโอกาสให้ศาลใช้ดุลยพินิจได้เลย

มาตรา 93 ให้นายทะเบียนยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่พบเหตุที่นำไปสู่การยุบพรรค
ทำจะเห็นว่ากฎหมายใช้คำว่า "ให้" คำว่าให้นี้มีความหมายเป็นการบังคับอย่างเด็ดขาด ว่า "ต้อง" เหมือนกับบอกนักเรียนให้ทำการบ้านส่ง แปลว่าต้องทำส่ง ถ้าไม่ทำมีปัญหาแน่นอน ดังนั้น ศาลไม่สามารถใช้ดุลยพินิจยืดหยุ่นใดๆ ได้ ลองเปรียบเทียบกับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 177 เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลย ทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน

ถ้าหากจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในสิบห้าวัน ผลก็คือจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ต้องแพ้ฟาวน์ไปเช่นกัน กฎหมายนี้มิใช่เพิ่งบัญญัติวันนี้ แต่บัญญัติมาเป็นร้อยปีแล้ว


มาตรา 42 ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล ได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณา ไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทน ที่ผู้มรณะ โดยมีคำขอเข้ามาเองหรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว คำขอเช่นว่านี้ จะต้องยื่นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ

ดังนั้นหากปรากฎว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะเสียก่อนในระหว่างพิจารณาศาลจะไม่เลื่อนคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2539

การชี้สองสถานเป็นการนั่งพิจารณาอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1(9) แม้ศาลชั้นต้นจะได้กำหนดวันนัดชี้สองสถานในวันที่ 7 พฤษภาคม 2536 และทนายโจทก์ได้รับหมายนัดชี้สองสถานเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2536 แล้วแต่โจทก์ได้ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2536 ก่อนที่ทนายโจทก์จะได้รับหมายและก่อนวันชี้สองสถานเมื่อ นาง ย. ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ได้ยื่นคำร้องแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบถึงความมรณะของโจทก์ศาลชั้นต้นต้องสั่งเลื่อนการนัดชี้สองสถานที่นัดไว้ไปก่อนจนกว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ นาง ย. เข้ามาเป็นคู่ความแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว ศาลชั้นต้นต้องแจ้งกำหนดวันนัดชี้สองสถานใหม่ให้คู่ความทราบล่วงหน้าตามกฎหมายการที่ศาลชั้นต้นดำเนินการชี้สองสถานไปเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2536 เป็นการไม่ชอบ

แต่ถ้ากฎหมายประสงค์จะเปิดโอากาสให้ศาลใช้ดุลยพินิจได้ กฎหมายจะเขียนคำว่า ก็ได้ เช่น

มาตรา 198 ทวิ ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี โดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายในการนี้ ศาล ยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนก็ได้

หรือในมาตรา 177 วรรคสสาม "จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่อง อื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก"
หมายถึง จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การของจำเลยเป็นฉบับเดียว หรือจะแยกฟ้องแย้งเป็นอีกฉบับก็ได้ แล้วแต่จำเลยจะทำ

ดังนั้น คำว่า "ให้" กับคำว่า "ก็ได้" มีนัยยะสำคัญ คำว่าให้จึงเป็นบทบังคับให้ต้องปฏิบัติตาม ไม่สามารถยืดหยุ่นได้

และเมื่อถามว่า นี่เป็นธรรมแล้วหรือ ขอให้ท่านลองตรองดูว่า หากท่านสู้คดีกับนายดำ แล้วนายดำไม่ยื่นคำให้การภายในสิบห้าวัน ผลคือนายดำต้องแพ้คดี แต่ถ้าท่านบอกว่า ศาลสมควรยืดหยุ่นกับระยะเวลาตามมาตรา 93 ในคดียุบพรรค ท่านก็จะต้องให้ศาลยืดหยุ่นกับระยะเวลาในคดีท่านด้วย หากศาลยืดหยุ่น ก็หมายความว่า นายดำแทนที่จะแพ้ อาจจะชนะท่านได้ เพราะเนื้อหาของคดีหรือข้อเท็จจริงยังไม่ได้พิจารณา ท่านอาจจะแพ้ในข้อเท็จจริง เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ต้องถามตัวเองว่า ท่านจะยังพูดอยู่อย่างนี้หรือไม่ ดังนั้น การมองกฎหมาย ไม่ใช่มองเพียงด้านเดียว ต้องมองทั้งโจทก์และจำเลยจึงจะอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ทั้งสองฝ่ายได้




2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ6/12/53 20:35

    หนูเข้าใจมาตรา93มากที่สุดเลยค่ะ.....

    อาจารย์อธิบายให้เข้าใจดี.....

    แต่งงตรงมาตรา42น่ะค่ะ.....

    ตรงคำว่าศาลมรณะหมายความว่าอย่างไรค่ะ.....

    ตอบลบ
  2. อ๋อ ครูไปแก้ตรงแยกคำแล้ว ต้นฉบับเขาแยกคำมาไม่ดี ไปอ่านใหม่อีกทีสิ

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น