ในปัจจุบัน เฟชบุค เป็นช่องทางการสื่อสารช่องทางหนึ่งที่สามารถขยายวงการสื่อสารได้กว้างมาก และมีประโยชน์มาก แต่ก็มีหลายท่านที่นำเฟชบุคไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น เปิดเฟชบุคขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการกระจายข้อความหรือรูปภาพหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และรัชทายาท ปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือ ผู้กระทำความผิด มิได้นำรูปของตนเองแสดงในหน้าเพจของเฟชบุค แต่กลับไปคัดลอกรูปของผู้อื่นมาใช้ เพื่อปิดบังตัวตนที่แท้จริง ทำให้เจ้าของภาพอาจจะถูกมองจากผู้ที่ขาดความเข้าใจว่าเป็นเจ้าของเพจที่ผิดกฎหมายนั้นเอง สำหรับบทความนี้จะได้นำเสนอปัญหาข้อกฎหมายของการนำภาพของผู้อื่นมาใช้ในเฟชบุคของตน ในหลายๆ กรณี รวมถึงกรณีนำมาใช้ในทางผิดกฎหมายด้วย
โปรแกรมของเฟชบุค สามารถแสดงภาพของเจ้าของเพจได้ และมีโปรแกรมให้อัพโหลดรูปภาพต่างๆ เป็นอัลบัม เจ้าของเพจสามารถนำภาพต่างๆ ขึ้นอัพโหลดเพื่อแสดงต่อสาธารณชนได้ รวมถึงอัพโหลดรูปภาพมาเป็นรูปประจำตัวของตน หลายๆ ท่าน มิได้แสดงรูปของตนขึ้นเป็นรูปประจำตัว แต่ได้นำภาพที่มีการเผยแพร่ในระบบอินเตอร์เนตขึ้นแสดงเป็นภาพประจำตัว ทั้งนี้ บางท่าน ได้แสดงภาพของผู้อื่นให้เข้าใจว่าเป็นภาพตน บางท่านมิได้มีเจตนาแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นภาพตน เช่น ผู้เขียนเอง บางครั้งใช้ภาพเด็กไหว้เป็นภาพประจำตัวในเฟชบุค เพราะเฟชบุคของผู้เขียนใช้ประโยชน์ในการเผยแผ่พระสัทธรรมตามพระไตรปิฎก และเผยแพร่และสอนกฎหมาย รวมถึงใช้ในการติดต่อสื่อสารกับลูกศิษย์ บางครั้งผู้เขียนก็แสดงภาพของตนเอง แต่ผู้เขียนได้จัดทำอัลบัมภาพของตนเองไว้ ผู้ที่ได้อ่านเฟชบุคก็จะทราบได้ว่าผู้เขียนเป็นใคร และการที่ผู้เขียนเผยแผ่พระสัทธรรมตามพระไตรปิฎกก็ดี การสอนกฎหมายก็ดี ย่อมไม่เจือสมกับภาพ (เด็กไม่สามารถทำได้) การกระทำดังกล่าว จึงไม่ใช่การแสดงภาพบุคคลอื่นโดยมีเจตนาให้เข้าใจว่าเป็นภาพตน ทั้งผู้เขียนไม่ได้ใช้ภาพต่างๆ ที่แสดงเพื่อประโยชน์ในทางการค้าแต่อย่างใด รวมถึงได้พิจารณาว่าภาพถ่ายนั้นเป็นภาพถ่ายทั่วไป ไม่ใช่ภาพที่ระบุไว้ว่ามีลิขสิทธิ์ เช่นมีลายน้ำ หรือชื่อของผู้ถ่ายภาพระบุไว้ จึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายของผู้อื่น
โปรแกรมของเฟชบุค สามารถแสดงภาพของเจ้าของเพจได้ และมีโปรแกรมให้อัพโหลดรูปภาพต่างๆ เป็นอัลบัม เจ้าของเพจสามารถนำภาพต่างๆ ขึ้นอัพโหลดเพื่อแสดงต่อสาธารณชนได้ รวมถึงอัพโหลดรูปภาพมาเป็นรูปประจำตัวของตน หลายๆ ท่าน มิได้แสดงรูปของตนขึ้นเป็นรูปประจำตัว แต่ได้นำภาพที่มีการเผยแพร่ในระบบอินเตอร์เนตขึ้นแสดงเป็นภาพประจำตัว ทั้งนี้ บางท่าน ได้แสดงภาพของผู้อื่นให้เข้าใจว่าเป็นภาพตน บางท่านมิได้มีเจตนาแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นภาพตน เช่น ผู้เขียนเอง บางครั้งใช้ภาพเด็กไหว้เป็นภาพประจำตัวในเฟชบุค เพราะเฟชบุคของผู้เขียนใช้ประโยชน์ในการเผยแผ่พระสัทธรรมตามพระไตรปิฎก และเผยแพร่และสอนกฎหมาย รวมถึงใช้ในการติดต่อสื่อสารกับลูกศิษย์ บางครั้งผู้เขียนก็แสดงภาพของตนเอง แต่ผู้เขียนได้จัดทำอัลบัมภาพของตนเองไว้ ผู้ที่ได้อ่านเฟชบุคก็จะทราบได้ว่าผู้เขียนเป็นใคร และการที่ผู้เขียนเผยแผ่พระสัทธรรมตามพระไตรปิฎกก็ดี การสอนกฎหมายก็ดี ย่อมไม่เจือสมกับภาพ (เด็กไม่สามารถทำได้) การกระทำดังกล่าว จึงไม่ใช่การแสดงภาพบุคคลอื่นโดยมีเจตนาให้เข้าใจว่าเป็นภาพตน ทั้งผู้เขียนไม่ได้ใช้ภาพต่างๆ ที่แสดงเพื่อประโยชน์ในทางการค้าแต่อย่างใด รวมถึงได้พิจารณาว่าภาพถ่ายนั้นเป็นภาพถ่ายทั่วไป ไม่ใช่ภาพที่ระบุไว้ว่ามีลิขสิทธิ์ เช่นมีลายน้ำ หรือชื่อของผู้ถ่ายภาพระบุไว้ จึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายของผู้อื่น
ติดตามอ่านเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายของผู้อื่น
http://natjar2001law.blogspot.com/2011/07/blog-post_24.html
ประเด็นสำคัญสำหรับบทความนี้ คือ การที่มีบุคคลนำภาพถ่ายบุคคลอื่นมาแสดงในเฟชบุคของตนแล้วนำไปใช้กระทำความผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ เช่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และรัชทายาท จะต้องรับผิดอย่างไรต่อเจ้าของภาพในทางอาญาและทางแพ่งหรือไม่ มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ต้องนำมาพิจารณาเป็นหลักดังนี้
พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
http://www.mof.go.th/contact/19072550.pdf
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
กรณีมาตรา ๑๖ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฎเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่ผู้กระทำความผิดทำการตัดต่อ หรือดัดแปลงด้วยวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่น (เจ้าของภาพ) เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง มาตรานี้ยังคงมีความไม่ชัดเจนต่อกรณีนี้ ทั้งยังไม่เคยมีคดีตัวอย่างในการใช้บทบัญญัติมาตรานี้ ปัญหาว่า ผู้กระทำความผิด นำภาพถ่ายบุคคลอื่นไปใช้โดยมิได้มีการตัดต่อ และมิใช่เพื่อประโยชน์ในทางการค้า จะมีความผิดหรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่า เมื่อกฎหมายฉบับดังกล่าวมีลักษณะเป็นกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายมหาชนต้องตีความโดยเคร่งครัดจะตีความโดยขยายความเพื่อเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดหรือจำเลยมิได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักทฤษฎีการใช้กฎหมายอาญา อีกทั้งเมื่อกฎหมายไม่บัญญัติห้ามโดยชัดแจ้งย่อมไม่มีความผิด ผู้เขียนจึงเห็นว่า พฤติกรรมดังกล่าวไม่ผิดต่อบทบัญญัติมาตรานี้
กรณีมาตรา ๑๖ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฎเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่ผู้กระทำความผิดทำการตัดต่อ หรือดัดแปลงด้วยวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่น (เจ้าของภาพ) เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง มาตรานี้ยังคงมีความไม่ชัดเจนต่อกรณีนี้ ทั้งยังไม่เคยมีคดีตัวอย่างในการใช้บทบัญญัติมาตรานี้ ปัญหาว่า ผู้กระทำความผิด นำภาพถ่ายบุคคลอื่นไปใช้โดยมิได้มีการตัดต่อ และมิใช่เพื่อประโยชน์ในทางการค้า จะมีความผิดหรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่า เมื่อกฎหมายฉบับดังกล่าวมีลักษณะเป็นกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายมหาชนต้องตีความโดยเคร่งครัดจะตีความโดยขยายความเพื่อเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดหรือจำเลยมิได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักทฤษฎีการใช้กฎหมายอาญา อีกทั้งเมื่อกฎหมายไม่บัญญัติห้ามโดยชัดแจ้งย่อมไม่มีความผิด ผู้เขียนจึงเห็นว่า พฤติกรรมดังกล่าวไม่ผิดต่อบทบัญญัติมาตรานี้
แต่อย่างไรก็ดี การกระทำของผู้กระทำความผิดย่อมเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติกฎหมายแพ่ง เจ้าของภาพเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ มีสิทธิขัดขวางการใช้ภาพถ่ายของตนเองได้ การที่ผู้กระทำความผิดนำภาพของผู้อื่นไปใช้เพื่อแสดงว่าตนเป็นบุคคลอื่น เจ้าของภาพถ่ายที่แท้จริงย่อมได้รับความเสียหาย เป็นการจงใจทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เป็นละเมิด เจ้าของภาพย่อมมีสิทธิฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้ (ถ้าหากตามตัวผู้กระทำความผิดได้) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๒๐
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเพื่อคุ้มครองกรณีการนำภาพของผู้อื่นไปใช้ในทางเสื่อมเสียหรือเสียหายไว้โดยตรง ผู้เขียนเห็นว่า หากต้องการให้ พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ครอบคลุมถึงกรณีนี้ สมควรที่จะแก้ไขกฎหมายโดยเพิ่มเติมกรณีนำภาพถ่ายของผู้อื่นไปใช้ในทางเสื่อมเสียนี้เสียให้ชัดเจนเสีย และตราบเท่าที่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง ภาพถ่ายของท่านจึงอาจถูกนำไปใช้ในทางเสื่อมเสียได้ตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อท่านได้นำภาพถ่ายของตนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แล้ว ในส่วนนี้ต้องพร้อมรับกับความเสียหายด้วยกฎหมายยังไม่สามารถเยียวยาได้ตรงจุดและเข้าถึงการกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อคุ้มครองท่านได้อย่างชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น