ความรู้เบื้องต้นเกียวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ควรทราบก่อนอ่านต่อไป
http://natjar2001law.blogspot.com/2011/03/blog-post_02.html
http://natjar2001law.blogspot.com/2011/03/blog-post_02.html
งานภาพถ่ายเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์(5) งานภาพถ่าย ได้แก่งานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือบันทึกภาพโดยใช้แสงผ่านเลนซ์ไปยังฟิล์มหรือกระจก และล้างด้วยน้ำยาซึ่งมีสูตรเฉพาะหรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันทำให้เกิดภาพขึ้น หรือการบันทึกภาพโดยเครื่องมือหรือวิธีการอย่างอื่น
ใครมีสิทธิในงานลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"ผู้สร้างสรรค์" หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
ดังนั้น กรณีภาพถ่าย ผู้มีสิทธิในภาพถ่ายคือผู้ถ่ายภาพและหากเป็นการถ่ายภาพบุคคล บุคคลตามภาพนั้นเป็นผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์นั่นเอง (พิจารณาเปรียบเทียบกับ ผู้เขียนและผลงานเขียน ผู้ถ่ายภาพคือผู้เขียน บุคคลตามภาพคือผลงานที่เขียน)
ดังนั้น กรณีภาพถ่าย ผู้มีสิทธิในภาพถ่ายคือผู้ถ่ายภาพและหากเป็นการถ่ายภาพบุคคล บุคคลตามภาพนั้นเป็นผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์นั่นเอง (พิจารณาเปรียบเทียบกับ ผู้เขียนและผลงานเขียน ผู้ถ่ายภาพคือผู้เขียน บุคคลตามภาพคือผลงานที่เขียน)
การนำภาพถ่ายของผู้อื่นมาใช้เป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
เช่น นางสาวสุดสวย ได้ถ่ายภาพของตนไว้ แล้วนำขึ้นจัดอัลบัมในเฟชบุค หรือเผยแพร่ในระบบอินเตอร์เนต ต่อมา สถานเสริมความงามสุดแสบ เห็นภาพของนางสาวสุดสวย สวยดี ผิวหน้าเรียบเนียน จึงได้นำภาพของนางสาวสุดสวยมาทำเป็นแผ่นพับโฆษณา หรือนำไปประกอบการโฆษณาสถานเสริมความงามของตนในเว็บไซด์ของตน กรณีดังกล่าวเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นางสาวสุดสวย
แต่อย่างไรก็ดี การนำภาพต่างๆ ที่มีการเผยแพร่ในระบบอินเตอร์เนตมาใช้เพื่อประโยชน์ที่มิใช่ในการแสวงหากำไร เช่น นำภาพมาประกอบกระทู้ธรรมะ ประกอบการเรียนการสอนต่างๆ ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตรา ๓๒ ถึง ๔๓
http://www.lawsiam.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=46
ดังนั้น การนำภาพใดๆ มาใช้ในงานวิชาการ หรืองานใดๆ ที่ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และไม่เป็นการทำให้เจ้าของภาพได้รับความเสียหาย จึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
บทความต่อไป ผู้เขียนจะได้เขียนถึง กรณีนำภาพของผู้อื่นไปใช้เป็นภาพของตน (ในหน้าเพจเฟชบุค) เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าตนเป็นบุคคลนั้นๆ จะมีความผิดตามกฎหมายอย่างไร
เช่น นางสาวสุดสวย ได้ถ่ายภาพของตนไว้ แล้วนำขึ้นจัดอัลบัมในเฟชบุค หรือเผยแพร่ในระบบอินเตอร์เนต ต่อมา สถานเสริมความงามสุดแสบ เห็นภาพของนางสาวสุดสวย สวยดี ผิวหน้าเรียบเนียน จึงได้นำภาพของนางสาวสุดสวยมาทำเป็นแผ่นพับโฆษณา หรือนำไปประกอบการโฆษณาสถานเสริมความงามของตนในเว็บไซด์ของตน กรณีดังกล่าวเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นางสาวสุดสวย
แต่อย่างไรก็ดี การนำภาพต่างๆ ที่มีการเผยแพร่ในระบบอินเตอร์เนตมาใช้เพื่อประโยชน์ที่มิใช่ในการแสวงหากำไร เช่น นำภาพมาประกอบกระทู้ธรรมะ ประกอบการเรียนการสอนต่างๆ ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตรา ๓๒ ถึง ๔๓
http://www.lawsiam.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=46
ดังนั้น การนำภาพใดๆ มาใช้ในงานวิชาการ หรืองานใดๆ ที่ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ในทางการค้า และไม่เป็นการทำให้เจ้าของภาพได้รับความเสียหาย จึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
บทความต่อไป ผู้เขียนจะได้เขียนถึง กรณีนำภาพของผู้อื่นไปใช้เป็นภาพของตน (ในหน้าเพจเฟชบุค) เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่าตนเป็นบุคคลนั้นๆ จะมีความผิดตามกฎหมายอย่างไร
มาตรา ๓๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ตอบลบภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
มาตรา ๓๓ การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๔ การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
(๒) การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา
มาตรา ๓๕ การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(๕) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(๗) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(๘) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
(๙) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน
มาตรา ๓๖ การนำงานนาฏกรรม หรือดนตรีกรรมออกแสดงเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามความเหมาะสมโดยมิได้จัดทำขึ้น หรือดำเนินการเพื่อหากำไรเนื่องจากการจัดให้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้น และมิได้จัดเก็บค่าเข้าชมไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อมและนักแสดงไม่ได้รับค่าตอบแทนในการแสดงนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากเป็นการดำเนินการโดยสมาคม มูลนิธิ หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศล การศึกษา การศาสนา หรือการสังคมสงเคราะห์ และได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง
ตอบลบมาตรา ๓๗ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการกระทำใดๆ ทำนองเดียวกันนี้ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ นอกจากงานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
มาตรา ๓๘ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น
มาตรา ๓๙ การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใดๆ อันมีศิลปกรรมใดรวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมใดมีบุคคลอื่นนอกจากผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของอยู่ด้วยการที่ผู้สร้างสรรค์คนเดียวกันได้ทำศิลปกรรมนั้นอีกในภายหลังในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำบางส่วนกับศิลปกรรมเดิม หรือใช้แบบพิมพ์ ภาพร่าง แผนผัง แบบจำลอง หรือข้อมูลที่ได้จากการศึกษาที่ใช้ในการทำศิลปกรรมเดิม ถ้าปรากฏว่าผู้สร้างสรรค์มิได้ทำซ้ำหรือลอกแบบในส่วนอันเป็นสาระสำคัญของศิลปกรรมเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
มาตรา ๔๑ อาคารใดเป็นงานสถาปัตยกรรมอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ การบูรณะอาคารนั้นในรูปแบบเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ใดสิ้นสุดลงแล้ว มิให้ถือว่าการนำภาพยนตร์นั้นเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ สิ่งบันทึกเสียงหรืองานที่ใช้จัดทำภาพยนตร์นั้น
มาตรา ๔๓ การทำซ้ำ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการโดยเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานดังกล่าวซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้และที่อยู่ในความครอบครองของทางราชการ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง