วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ข้อกฎหมายว่าด้วยการแสดงธง




ตามที่ข้าพเจ้าได้เคยเขียนบทความเรื่อง "การแสดงธงจะกระทำโดยพละการไม่ได้" ได้มีความเข้าใจผิดของท่าน ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธง ว่าข้าพเจ้าเขียนบทความทำนองว่า การนำภาพธงชาติไทยมาใช้เป็นภาพประจำตัวในเฟชบุคนั้น ทำไม่ได้ เป็นการกระทำอันเหยียดหยามหรือไม่สมควร บัดนี้ ได้มีการปรับความเข้าใจในส่วนนี้แล้ว ข้าพเจ้าได้ทำการชี้แจงประเด็นของบทความดังกล่าวแล้วว่า มิใช่กระทำไม่ได้เพราะเป็นการดูหมิ่นหรือเหยียดหยามธงแต่อย่างไร หากแต่การนำธงขึ้นแสดงโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นข้อห้ามโดยบทบัญญัติของกฎหมาย ว่า การแสดงธงต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการธง ในส่วนนี้ข้าพเจ้าเขียนโดยข้อกฎหมายไม่มีการนำความเห็นตนเองเข้าประกอบ

และเป็นการเขียนขึ้นด้วยความกังวลว่า การนำภาพธงขึ้นประกอบในเฟชบุค อาจจะทำให้เกิดปัญหา เช่น หากมีผู้ร้องเรียนหรือดำเนินคดีกับผู้แสดงภาพ ไม่ว่าจะโดยการกลั่นแกล้งส่วนตัวก็ดี แม้ในภายหลังการพิจารณาคดีจะปรากฎว่า การกระทำดังกล่าวไม่มีความผิด แต่การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมนั้นย่อมมีความยุ่งยาก จะต้องมีการสู้คดี ประกันตัว ทำให้เสียเวลาและทรัพย์สิน จึงแนะนำให้ผู้ที่นำภาพขึ้นแสดงเอาลงเสีย หากใครไม่เอาลง ข้าพเจ้าก็ไม่เคยกล่าวว่าแต่อย่างใด ส่วนลูกศิษย์ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีสิทธิในฐานะอาจารย์ที่จะห้ามไม่ให้กระทำ แต่มีผู้เข้าใจว่า ข้าพเจ้าปลุกปั่นให้หยุดการแสดงความไว้อาลัย จึงมีการด่าทอหยาบคาย ดูหมิ่น หมิ่นประมาทกันมากมายในบทความดังกล่าว เพื่อให้เรื่องราวไม่บานปลายข้าพเจ้าจึงลบบทความดังกล่าวและได้ประสานงานปรับความเข้าใจไปยังคุณ พฤติพล ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธง เพื่อเรียนชี้แจงข้อกฎหมายให้ท่านเข้าใจ

บทความนี้จึงได้เขียนขึ้นใหม่ในฐานะนักวิชาการกฎหมาย เพื่อนำเสนอข้อกฎหมายที่หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่เข้าใจ และมิได้มีเจตนาจะห้ามหรือสั่งผู้ใดไม่ให้กระทำ

โดยข้อกฎหมายดังนี้

มาตรา ๕ ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและชาติไทย ได้แก่

(๑) ธงชาติ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่ กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์


มาตรา ๔๕
การใช้ ชัก หรือแสดงธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยหรือชาติไทยตามมาตรา ๕ ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี



มาตรา ๔๘

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี


ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแสดงธงฯ พ.ศ. ๒๕๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองและสาม

การแสดงธง"

หมายความว่า การที่บุคคลหรือคณะบุคคลได้​ทําหรือสร้างให้

ปรากฏเป็นรูปร่างไม่ว่าจะเป็นวัตถุ รูป ภาพ หรือสสาร ท่ีมีลักษณะเป็นสีท่ีมีความ​หมายถึงธง หรือแถบสธงที่ กำาหนดไว้ในระเบียบนี้
http://www.opm.go.th/OpmInter/content/legal/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%20%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%9A/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%87%20update.pdf



โดยในมาตรา ๑๕ ทวิ ที่ได้แก้ไขครั้งทีสาม บัญญัติว่า

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕ ทวิ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนต​รีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงต่างประเทศในราชอาณาจั​ก พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบี​ยบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงต่างประเทศในราชอาณาจั​กร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"
ข้อ ๑๕ ทวิ การแสดงธงชาติไว้ที่สิ่งบรร​จุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อ สิ่งผูกมัดผลิตภัณฑ์ สินค้าใดๆ อาคาร สถานที่ ยานพาหนะ เครื่องแต่งกาย ร่างกายหรือสิ่งอื่นใด ที่มิได้มีลักษณะเป็นการเหย​ียดหยามต่อธงชาติ ประเทศไทย หรือชาติไทย ให้ทำได้โดยสมควรในกรณีดังต​่อไปนี้

(
๑) เป็นการแสดงธงชาติที่กระทำโ​ดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานอื่นของรัฐ

(
๒) เป็นการแสดงธงชาติที่กระทำโ​ดยเอกชนเพื่อประโยชน์ทางการ​พาณิชย์

(
๓) เป็นการแสดงธงชาติที่กระทำโ​ดยเอกชนในกรณีอื่นๆ นอกจาก (๒)

หลักเกณฑ์และวิธีการขอความเ​ห็นชอบในกรณีตาม (๒) และ (๓) ให้เป็นไปตามประกาศสำนักนาย​กรัฐมนตรี"


ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี

--------------------
ที่มา
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0E/00147241.PDF

ดังนั้น การแสดงธง ยังคงต้องได้รับอนุญาตจากรัฐเสียก่อน ปัจจุบัน วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ยังไม่มีประกาศอนุญาตให้แสดงธงได้ แต่มี ประกาศอนุญาตให้เอกชน ประดับธง การประดับธง ไม่ใช่การแสดงธง
ตามบทนิยามของกฎหมาย

สำนักงานคณะกรรมการ​กฤษฎีการับไปตรวจพิจารณา โดยให้ถือเป็นหลักการว่า สถานที่ราชการ สถาบันการศึกษา สถานศึกษา ที่ทำการรัฐวิสาหกิจ และองค์กรอื่นๆ ของรัฐ นอกจากจะมีการชักธงขึ้นและล​งตามเวลาเฉพาะในแต่ละวันแล้​ว
ให้ประดับธงชาติในที่อันสมค​วรเป็นการถาวร และสม่ำเสมอด้วย เพื่อสร้างความรู้สึกนิยมแล​ะภาคภูมิใจในความเป็นชาติ อีกทั้งเป็นการเผยแพร่ธงชาติไทยให้เป็นที่ปรากฏชินตาแก่ผู้พบเห็น ส่วนสถานที่ต่างๆ ของเอกชนให้อนุโลมตามความเห​มาะสม และมอบให้กระทรวงวัฒนธรรมแล​ะสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐม​นตรีสอดส่องดูแล และให้คำแนะนำในการจัดทำธงช​าติและสีธงชาติให้ได้มาตราฐ​านและเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ลักลั่นกันหรือดัดแปลงตา​มอำเภอใจจนผิดไปจากลักษณะแล​ะสีที่ควรจะเป็น


ที่มา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

ไม่พบว่ามีการอนุญาตให้แสดงธง ได้

ในส่วนที่มีการกล่าวว่าข้าพเจ้าไม่อัพเดทกฎหมาย แสดงข้อกฎหมายผิด ไม่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่นั้น เป็นความเข้าใจผิดของท่าน ทำให้ผู้อื่นพากันเข้าใจผิดตาม จึงขออนุญาตอธิบายไว้ตรงนี้

การแก้ไขกฎหมายไม่ใช่การยกเ​ลิก กฎหมายเดิมยังคงอยู่ทุกประก​าร ตัวอย่างเช่น ระเบียบสำนักนายกว่าด้วยการ​ชักหรือแสดงธง พ.ศ.๒๕๒๙

ตามลิงค์ที่แนบ

http://www.opm.go.th/OpmInter/content/legal/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%20%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%9A/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%87%20update.pdf


ขอให้พิจารณาข้อ ๑๕ ทวิ ข้อ ๑๕ ทวินี้ เป็นการแก้ไขจาก กฎหมายปี ๒๙ โดยแก้ไขในปี ๒๕๔๖ เมื่อมีการแก้ไข ในพรบ.ปี ๒๙ ข้อ ๑๕ ทวิจะเป็นกฎหมายใหม่ แต่จะมีฟุตโนตไว้ว่า แก้ไข ปี ๔๖


ข้อ ๑๕ แก้ไขเพ่ิมเติมโดยระเบียบสํ​านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ​ใช้การชัก หรือการแสดงธงชาติและธง
ของตางประเทศในราชอาณาจ ่ กร ั (ฉบบท ั ่ี๒) พ.ศ. ๒๕๔๖

และต่อมา ปี ๒๕๔๗ ประกาศฉบับดังกล่าวได้มีการ​แก้ไขอีกครั้งหนึ่งโดยแก้ไข​ในข้อเดิมคือ ๑๕ ทวิ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0E/00147241.PDF

ขอให้สังเกตุว่า ๑๕ ทวิ เดิมตามลิงค์ที่สอง ไม่ต่างกับตามลิงค์นี้แม้แต​่ตัวอักษรเดียว

อุปมาเหมือนท่านเปลี่ยนเสื้​อผ้า จะเปลี่ยนออกเฉพาะเสื้อผ้า แต่ไม่ได้ตัดขาตัดแขนท่าน ดังนั้น แม้ข้าพเจ้าจะแสดงกฎหมายปี ๒๕๒๙ ซึ่งเป็นกฎหมายเดิม ก็ไม่ทำให้กฎหมายนั้นผิดเพี​้ยนแต่อย่างใด

ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ได้แสดงข้อกฎ​หมายผิดพลาด หรือไม่ได้บกพร่องดังที่ถู​กกล่าวหาแต่อย่างใด




3 ความคิดเห็น:

  1. เยียมยอด ค่ะ

    ตอบลบ
  2. แม่นัท คนที่เอาธงชาติไปใส่ชื่อwelcome thaksin ที่อังกฤษ แบบนี้ในกฏหมายไทยว่าลบหลุ่ธงหรือไม่?

    แม้ทำผิดนอกราชอาณาจักรก็ตาม ถ้ากลุ่มบุคคลที่กระทำผิด ได้เดินทางเข้าประเทศไทย สามารถดำเนินคดีได้หรือไม่ ในกรณี้ถ้าเป็นความผิด

    ผมยังสงสัย ถ้าเป็นการลบหลู่ธงตามกฏหมายไทย แต่ผิดนอกราชอาณาจักร ถือว่าเป็นความผิดที่เอาผิดได้หรือไม่??เมื่อกลุ่มคนคณะนั้นเดินทางเข้าไทยได้แล้ว

    ตอบลบ
  3. ถ้าเป็นความผิดนอกราชอาณาจักรที่รัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย ก็สามารถดำเนินคดีในราชอาณาจักรได้ค่ะ :-)

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น