วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของคำว่า ชัก ใช้ แสดง ประดับ "ธง"

หลังจากบทความเรื่องการแสดงธง ได้เผยแพร่ และเกิดปัญหาจนข้าพเจ้าต้องจัดการแก้ไขปัญหาให้เกิดความเข้าใจลุล่วงไปได้ มีผู้สอบถามและขอให้เขียนความหมายของคำว่า ใช้ ชัก แสดง ประดับ เพื่อประกอบความเข้าใจและจะได้ใช้ให้ถูกต้องเสียตามบทนิยาม

ความหมายต่างๆ มีกฎหมาย ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแสดงธงฯ พ.ศ. ๒๕๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองและสามบัญญัติไวัชัดแล้ว ดังนี้

การใช้ธงหมายความว่า การนําธงที่อยู่ในสภาพพร้อมแล้วไปทําให้ปรากฏ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์หรือใช้ในโอกาสใดโอกาสหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้

การชักธงหมายความว่า การเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสา หรือการเชิญธงลงจากยอดเสาตามกาหนดเวลาหรือตามโอกาสที่กำาหนดไว้ในระเบียบนี้


การแสดงธง"

หมายความว่า การที่บุคคลหรือคณะบุคคลได้ทําหรือสร้างให้ปรากฏเป็นรูปร่างไม่ว่าจะเป็นวัตถุ รูป ภาพ หรือสสาร ท่ีมีลักษณะเป็นสีท่ีมีความหมายถึงธง หรือแถบสธงที่ กำาหนดไว้ในระเบียบนี้


คำสามคำนี้จึงมีความหมายไม่เหมือนกัน การชักธง ใช้ธง นี้ใช้กับธงจริงๆ ที่เป็นผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ประกอบด้วยสามสีสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ส่วนการแสดงธงนี้ หมายเฉพาะวัตถุ รูป ภาพ หรือสสาร ซึงการแสดงธงต้องได้รับอนุญาต เช่น การนำภาพธงมาใช้เป็นโลโก้สินค้าต้องขออนุญาตก่อน การประดับธง ปัจจุบันมีกฎหมายอนุญาตให้กระทำได้ในสถานที่ ซึ่งเป็นอาคารสถานที่จริงๆ เท่านั้น


สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปตรวจพิจารณา โดยให้ถือเป็นหลักการว่า สถานที่ราชการ สถาบันการศึกษา สถานศึกษา ที่ทำการรัฐวิสาหกิจ และองค์กรอื่นๆ ของรัฐ นอกจากจะมีการชักธงขึ้นและลงตามเวลาเฉพาะในแต่ละวันแล้ว

ให้ประดับธงชาติในที่อันสมควรเป็นการถาวร และสม่ำเสมอด้วย เพื่อสร้างความรู้สึกนิยมและภาคภูมิใจในความเป็นชาติ อีกทั้งเป็นการเผยแพร่ธงชาติไทยให้เป็นที่ปรากฏชินตาแก่ผู้พบเห็น ส่วนสถานที่ต่างๆ ของเอกชนให้อนุโลมตามความเหมาะสม และมอบให้กระทรวงวัฒนธรรมและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีสอดส่องดูแล และให้คำแนะนำในการจัดทำธงชาติและสีธงชาติให้ได้มาตราฐานและเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ลักลั่นกันหรือดัดแปลงตามอำเภอใจจนผิดไปจากลักษณะและสีที่ควรจะเป็น


การใช้ธง กฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ในการต่างๆ เช่น ในการคลุมศพ เพื่อประดับเกรียติยศ หรือประดับร่วมกับธงชาติอื่นเป็นต้น ซึ่งล้วนแต่ต้องมีกฎหมายให้การอนุญาตเสียก่อน รวมถึงการประดับธง ก็ต้องมีกฎหมายอนุญาต ซึ่งปัจจุบันมีแล้ว ให้เอกชนสามารถประดับธงได้ตลอดเวลาการชักธง ต้องมีกฎหมายอนุญาตให้ชัก ไม่ใช่นึกอยากชักขึ้นชักลงก็ชัก กฎหมายอนุญาตให้ชักเวลา ๘.๐๐ น. และ ๑๘.๐๐ น. เท่านั้น เที่ยงบ่ายไปชักเล่นไม่ได้

การแสดงธงไม่ใช่การประดับธง เพราะการแสดงธงคือการแสดงรูป ภาพ ของธง ไม่ใช่ผืนธง การประดับธงในกรณีอื่นนอกจากตามอาคารบ้านเรือน ต้องมีกฎหมายอนุญาตเป็นครั้งๆ เช่นการประดับธงอาเซียน ไม่ใช่อนุญาตครั้งหนึ่งแล้วจะหมายถึงทุกครั้งประดับได้ ต้องมีมติให้ประดับในทุกๆ ครั้งการประดับธง
อาเซียน

มติ ครม.
11 มกราคม 2554
http://hq.prd.go.th/prTechnicalDM/ewt_news.php?nid=648&filename=index

ติดตามอ่านกฎหมายอนุญาตให้ชัก ใช้ แสดงได้ในกรณีอย่างใดบ้าง

http://www.opm.go.th/OpmInter/content/legal/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%2
A%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%87%20update.pdf


ข้อสังเกตุ ในอดีต การประดับธงตามบ้านเรือน จะทำตลอดเวลาไม่ได้ ต้องทำในวันเวลาสำคัญที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ต่อมาจึงมีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ ดังนั้น การกระทำใดๆ ต่อธง จะทำโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นไปได้เลย มิเช่นนั้นแล้ว กฎหมายแม่บทอย่าง พรบ.ธง จะมีไว้ทำใม ก็มีไว้เพื่ออนุญาตให้กระทำต่อธงได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ4/12/54 15:16

    ประดับธงชาติคู่กับธงในหลวงฉลอง 84 ปีไว้้ในอาคารบ้านเรือนตลอดปีได้หรือไม่

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น