หลักรัฐศาสตร์ คือ หลักการปกครอง เป็นหลักที่จะใช้นำมาปกครองบ้านเมือง และประชาชนในรัฐาธิปัตย์ให้อยู่ได้อย่างสงบสุข เป็นหลักที่ต้องอาศัยความเมตตาเป็นที่ต่าง ต่างจากหลักนิติศาสตร์ ที่อาศัยอุเบกขา ความเป็นกลางเป็นที่ตั้ง บางครั้งดูเหมือนจะเป็นความใจดำ
เป็นการยากที่จะทำให้หลักสองหลักนี้ประสานเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะผู้ใช้กฎหมายต้องพิจารณาเมื่อใดควรใช้อุเบกขา แบบวางเฉยต่อสิ่งต่างๆ มุ่งมองถึงธรรมสาสตร์(กฎหมาย) เป็นที่ตั้งแต่เพียงอย่างเดียว ในบางครั้งบางคดี มุ่งใช้แต่เพียงหลักรัฐศาสตร์นำนิติศาสตร์ เช่นคดีซุกหุ้นหนึ่ง ถามว่าถ้าพูดถึงตัวบทกฎหมายแล้ว ผิดหรือไม่ ผิดแน่นอน ถ้าใช้หลักนิติศาสตร์ ฟันโทษลงไปเลย แต่ในขณะนั้น ศาลใช้หลักรัฐศาสตร์นำหลักนิติศาสตร์ โดยมองว่า หากลงโทษตามหลักนิติศาสตร์แล้วบ้านเมืองจะเสียหาย จะเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอีกมาก ศาลจึงใช้หลักรัฐศาสตร์นำนิติศาสตร์
กล่าวโดยสรุป หลักรัฐศาสตร์อาจจะถูกนำมาใช้ เมื่อนิติศาสตร์หรือกฎหมายไม่ได้กำหนดบทลงโทษหรือข้อยกเว้นไว้ การใช้หลักรัฐศาสตร์เปิดโอกาสให้ผู้พิพากษาใช้ดุลยพินิจของตนได้มาก นั่นคือคำว่า "เพื่อประโยชน์และความยุติธรรม"
และนั่นคือหลักรัฐศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ในหลักนิติศาสตร์ บางคำพิพากษาฎีกา เราจะเห็นศาลวินิจฉัยด้วยคำนี้เพื่อประโยชน์และความยุติธรรม ศาลเห็นสมควรให้...........
หลักรัฐศาสตร์นี้ หากใช้อย่างฟุ่มเฟือย จะส่งผลให้การใช้ดุลยพินิจมีกว้างขึ้นมาก ดุลยพินิจเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราดุลยพินิจเป็นสิ่งที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ เช่น นัทเป็นอาจารย์ นัทจะให้เด็กได้เกรดอย่างไร เป็นดุลยพินิจ ใครก็ไม่มีสิทธิมาสั่งมาก้าวล่วง แม้กระทั่งศาลก็สั่งไม่ได้ ศาลสูงก็สั่งไม่ได้ นายกก็สั่งไม่ได้ ใครก็สั่งไม่ได้ หากถูกนำไปใช้โดยไม่อุเบกขา (ความนิ่ง) เกิดปัญหาแน่นอน
ดังนั้น การใช้หลักรัฐศาสตร์อย่างฟุ่มเฟือย จึงเป็นการสร้างผลเสีย หรือสร้างศรีธนชัยให้เกิดขึ้นอย่างมากมายในบ้านเมือง
หลักรัฐศาสตร์นี้ หากใช้อย่างฟุ่มเฟือย จะส่งผลให้การใช้ดุลยพินิจมีกว้างขึ้นมาก ดุลยพินิจเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราดุลยพินิจเป็นสิ่งที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ เช่น นัทเป็นอาจารย์ นัทจะให้เด็กได้เกรดอย่างไร เป็นดุลยพินิจ ใครก็ไม่มีสิทธิมาสั่งมาก้าวล่วง แม้กระทั่งศาลก็สั่งไม่ได้ ศาลสูงก็สั่งไม่ได้ นายกก็สั่งไม่ได้ ใครก็สั่งไม่ได้ หากถูกนำไปใช้โดยไม่อุเบกขา (ความนิ่ง) เกิดปัญหาแน่นอน
ดังนั้น การใช้หลักรัฐศาสตร์อย่างฟุ่มเฟือย จึงเป็นการสร้างผลเสีย หรือสร้างศรีธนชัยให้เกิดขึ้นอย่างมากมายในบ้านเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น