ซึ่งหลักการในเรื่องนี้เองที่ศาลทั่วโลกต่างให้การยอมรับ แม้กระทั่งในการพิจารณาคดีในศาลไทยเอง หลายๆ คดีที่โจทก์ฟ้อง หรือกล่าวอ้างแล้ว ฝ่ายตรงข้ามนิ่ง ไม่ปฏิเสธ ศาลถือว่า จำเลย หรือคู่ความฝ่ายตรงข้ามยอมรับข้อเท็จจริงตามนั้น
อธิบายเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ การนิ่งในเรื่องที่ไม่ควรจะนิ่ง คือการนิ่งในเรื่องที่คนทั่วไปเขาไม่นิ่งกัน เช่น ถามคุณแดง คุณมีภริยาน้อยใช่หรือไม่ ถ้าคำถามนี้ถามแก่คนทั่วๆ ไป คนทั่วไปเขาไม่นิ่ง เขาต้องรีบตอบกลับมาทันทีว่า ไม่มี ถ้านิ่งแปลว่าไม่กล้าปฏิเสธ หรือเรียกว่าการยอมรับนั่นเอง อันนี้เป็นตัวอย่างง่ายๆ ของข้อสันนิษฐาน ซึ่งเราใช้กันอยู่ทุกวัน หากแต่เราไม่รู้เลยว่ามันใกล้ตัวเราขนาดนั้น
ในประเทศไทย การนิ่งในเรื่องที่ไม่ควรจะนิ่งนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานแล้วว่า เท่ากับการยอมรับข้อเท็จจริงตามนั้น ความรู้ในส่วนนี้อยู่ในกฎหมายลักษณะพยาน
โดยปกติ การต่อสู้คดี ศาลจะพิจารณากำหนดประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การ และกำหนดเอาคำฟ้องและคำให้การในส่วนที่ไม่รับกันมาเป็นประเด็นข้อพิพาท คำว่า "ในส่วนที่ไม่รับกัน" ที่ผู้เขียนกล่าวถึงนี้ หมายถึง ในส่วนที่ยังขัดแย้งกันอยู่ เช่น
ดำฟ้องว่า แดงกู้เงินดำ แดงให้การว่า แดงไม่ได้กู้ ดังนั้น ประเด็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันหรือไม่ ยังเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่รับกัน
แต่ถ้า ดำฟ้องว่าแดงกู้เงินดำ แดงให้การว่า กู้จริง แต่ชำระหนี้ไปแล้ว ดังนั้น ประเด็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันหรือไม่นั้น ไม่เป็นข้อถกเถียงกันแล้วเพราะดำและแดงได้รับกันแล้วว่ากู้จริง คงเหลือแต่ว่า ชำระหนี้กันแล้วหรือไม่เท่านั้น
หรือ ถ้าแดงนิ่ง เช่น ดำฟ้องว่าแดงกู้เงินดำ แดงไม่ปฏิเสธ และไม่ให้การถึงเลย หรือไม่ยื่นคำให้การต่อสู้คดีเลย ไม่มีหลักฐานใดมาสู้คดีเลย อันนี้เท่ากับแดงนิ่ง ศาลจึงต้องฟังว่า แดงกู้เงินดำจริง
มีคำพิพากษาฎีกาหลายเรื่องที่รองรับคำรับโดยการนิ่งในส่วนนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 326/2508 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งชำระแล้ว อีกครั้งหนึ่งยังไม่ได้ชำระ ขอให้ชำระ จำเลยให้การว่ากู้เงินโจทก์เพียงครั้งเดียวและชำระแล้ว เมื่อโจทก์รับว่าได้ชำระหนี้แล้ว แต่อ้างว่าเป็นการชำระหนี้ตามสัญญากู้อีกฉบับหนึ่ง โจทก์ต้องนำสืบในข้อนี้ เพราะจำเลยมิได้กล่าวข้อเท็จจริงอะไรขึ้นมาอีกเลย ถ้าให้จำเลยนำสืบ จำเลยคงจะสืบแต่ปฏิเสธ
นอกจากนี้ยังมีคำพิพากษาฎีกาทำนองนี้อีกหลายเรื่องที่ยืนยันหลักการตามนี้
โดยปกติ การต่อสู้คดี ศาลจะพิจารณากำหนดประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การ และกำหนดเอาคำฟ้องและคำให้การในส่วนที่ไม่รับกันมาเป็นประเด็นข้อพิพาท คำว่า "ในส่วนที่ไม่รับกัน" ที่ผู้เขียนกล่าวถึงนี้ หมายถึง ในส่วนที่ยังขัดแย้งกันอยู่ เช่น
ดำฟ้องว่า แดงกู้เงินดำ แดงให้การว่า แดงไม่ได้กู้ ดังนั้น ประเด็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันหรือไม่ ยังเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่รับกัน
แต่ถ้า ดำฟ้องว่าแดงกู้เงินดำ แดงให้การว่า กู้จริง แต่ชำระหนี้ไปแล้ว ดังนั้น ประเด็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันหรือไม่นั้น ไม่เป็นข้อถกเถียงกันแล้วเพราะดำและแดงได้รับกันแล้วว่ากู้จริง คงเหลือแต่ว่า ชำระหนี้กันแล้วหรือไม่เท่านั้น
หรือ ถ้าแดงนิ่ง เช่น ดำฟ้องว่าแดงกู้เงินดำ แดงไม่ปฏิเสธ และไม่ให้การถึงเลย หรือไม่ยื่นคำให้การต่อสู้คดีเลย ไม่มีหลักฐานใดมาสู้คดีเลย อันนี้เท่ากับแดงนิ่ง ศาลจึงต้องฟังว่า แดงกู้เงินดำจริง
มีคำพิพากษาฎีกาหลายเรื่องที่รองรับคำรับโดยการนิ่งในส่วนนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 326/2508 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งชำระแล้ว อีกครั้งหนึ่งยังไม่ได้ชำระ ขอให้ชำระ จำเลยให้การว่ากู้เงินโจทก์เพียงครั้งเดียวและชำระแล้ว เมื่อโจทก์รับว่าได้ชำระหนี้แล้ว แต่อ้างว่าเป็นการชำระหนี้ตามสัญญากู้อีกฉบับหนึ่ง โจทก์ต้องนำสืบในข้อนี้ เพราะจำเลยมิได้กล่าวข้อเท็จจริงอะไรขึ้นมาอีกเลย ถ้าให้จำเลยนำสืบ จำเลยคงจะสืบแต่ปฏิเสธ
นอกจากนี้ยังมีคำพิพากษาฎีกาทำนองนี้อีกหลายเรื่องที่ยืนยันหลักการตามนี้
แต่หลักกฎหมายปิดปากนี้ ไม่ใช้ในคดีอาญา ต้องห้ามเด็ดขาด เพราะในกฎหมายอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญานั้น มีหลักกฎหมายยืนยันสิทธิของผุ้ต้องหาหรือจำเลย ทั้งได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญว่า เขาจะให้การหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นการที่เขานิ่งจึงเป็นสิทธิที่กฎหมายรองรับอยู่แล้วจะว่าเขานิ่งเท่ากับยอมรับไม่ได้ เช่น ดำเป็นคนฆ่าแดงใช่หรือไม่ ดำไม่ตอบ จะบอกว่าดำเป็นคนฆ่าเพราะดำนิ่ง ไม่ได้
อย่า นิ่ง นอน ใจ ^ ^
ตอบลบเอ่อ...ตรงดำฟ้องแดงนั้น คุณนัทพิมพ์ผิด รึผมเข้าใจผิดเองครับ
ประโยคที่ว่า "ดำฟ้องว่าแดงกู้เงินดำ (ดำ)ไม่ปฏิเสธ และไม่ให้การถึงเลย"
มันต้องเป็นแดงรึเปล่าครับที่ไม่ปฎิเสธ??
จริงๆ ด้วยค่ะ ขอบคุณมากเลยค่ะ แก้เด๋วนี้เลยค่ะ เขิลลลล จัง อิอิ
ตอบลบมือใหม่ค่ะ :)