วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำว่า ระวางโทษขั้นสูง และ ระวางโทษขั้นต่ำ

คำว่าระวางโทษขั้นสูงและระวางโทษขั้นต่ำ แม้จะไม่มีเนื้อหาที่จะต้องทำความเข้าใจเยอะมากมายนัก แต่นับว่ามีความสำคัญเพราะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนในระดับสูงต่อไป โดยเฉพาะเมื่อต้องเรียนวิธีพิจารณาคดีอาญา

คำว่าระวางโทษ ต่างกับคำว่าโทษที่ศาลจะลง ระวางโทษคือโทษที่กำหนดไว้ในตัวบทกฎหมาย หาใช่โทษที่ศาลได้ลงหรือจะลงแก่จำเลยไม่ เช่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334

มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบา

ดังกล่าวนี้เป็นระวางโทษ แต่ไม่ใช่โทษที่ศาลจะลง ศาลอาจจะไม่ลงตามนี้ก็ได้ แต่ศาลจะลงโทษอย่างไรก็ตาม ก็ต้องอยู่ในอัตราตามระวางโทษ

ซึ่งแบ่งเป็น ระวางโทษขั้นสูง และ ระวางโทษขั้นต่ำ

บางมาตรามีแต่ระวางโทษขั้นสูงโดยไม่มีระวางโทษขั้นต่ำ แต่บางมาตรามีทั้งระวางโทษขั้นสูงและขั้นต่ำ ระวางโทษขั้นสูงและขั้นต่ำนั้นหมายความว่าอย่างไร

ระวางโทษขั้นต่ำหมายถึง กำหนดอัตราโทษที่ระบุไว้ในกฎหมายซึ่งศาลสามารถใช้ดุลยพินิจลงต่ำกว่ากำหนดดังกล่าวไม่ได้
ระวางโทษขั้นสูงหมายถึง กำหนดอัตราโทษที่ระบุไว้ในกฎหมายซึ่งศาลสามารถใช้ดุลยพินิจลงเกินกว่ากำหนดดังกล่าวไม่ได้
มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท

มาตรานี้กฎหมายกำหนดแต่เพียงระวางโทษขั้นสูงโดยไม่กำหนดระวางโทษขั้นต่ำไว้ ศาลจึงสามารถลงโทษต่ำอย่างไรก็ได้ แต่จะลงโทษสูงเกินสามปีไม่ได้

มาตรา 340 ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท

มาตรานี้กฎหมายกำหนดทั้งระวางโทษขั้นต่ำ และระวางโทษขั้นสูง โดยระวางโทษขั้นต่ำมีกำหนดไม่ต่ำกว่าสิบปี และระวางโทษขั้นสูงมีกำหนดไม่เกินกว่าสิบห้าปี ศาลจึงสามารถลงโทษได้ตั้งแต่ สิบปี แต่ไม่เกิน สิบห้าปี จะลง สิบสองปี สิบสามปีก็ทำได้


2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ17/7/55 21:21

    มีประโยชน์มากครับ !!!

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ11/1/56 11:48

      ใช่ค่ะ^^ไม่เข้าใจเลยว่าทำไมคนส่วนมากสนใจแต่เรื่องบันเทิงทำไมไม่สนใจเรื่องที่เป็นประโยชน์แบบนี้บ้างมีประโยชน์มากค่ะชอบๆๆค่ะ^^กฎหมายสนุกดี

      ลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น