ตอนที่ 1
มาตรา 2 ในประมวลกฎหมายนี้
(4) "ผู้เสียหาย" หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจ จัดการแทนได้ดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 4 มาตรา 5 และ มาตรา 6
มาตรา 4 ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นหญิงมีสามี หญิงนั้นมีสิทธิ ฟ้องคดีได้เอง โดยมิต้องได้รับอนุญาตของสามีก่อน
ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 5 (2) สามีมีสิทธิฟ้องคดีอาญาแทน ภริยาได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา
(4) "ผู้เสียหาย" หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจ จัดการแทนได้ดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 4 มาตรา 5 และ มาตรา 6
มาตรา 4 ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นหญิงมีสามี หญิงนั้นมีสิทธิ ฟ้องคดีได้เอง โดยมิต้องได้รับอนุญาตของสามีก่อน
ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 5 (2) สามีมีสิทธิฟ้องคดีอาญาแทน ภริยาได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา
มาตรา 5 บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
(1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่ง ได้กระทำต่อผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิด อาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะ จัดการเองได้
(3) ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิด ซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น
มาตรา 6 ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดย ชอบธรรมหรือเป็นผู้วิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถ ไม่มีผู้อนุบาล หรือซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทำการตาม หน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถนั้น ๆ ญาติของผู้นั้นหรือผู้มีประโยชน์ เกี่ยวข้องอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้
เมื่อได้ไต่สวนแล้วให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ซึ่งยินยอมตาม ที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดี เมื่อไม่มีบุคคลใดเป็นผู้แทนให้ ศาลตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน
ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดี
(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิด อาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะ จัดการเองได้
(3) ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิด ซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น
มาตรา 6 ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดย ชอบธรรมหรือเป็นผู้วิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถ ไม่มีผู้อนุบาล หรือซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทำการตาม หน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถนั้น ๆ ญาติของผู้นั้นหรือผู้มีประโยชน์ เกี่ยวข้องอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้
เมื่อได้ไต่สวนแล้วให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ซึ่งยินยอมตาม ที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดี เมื่อไม่มีบุคคลใดเป็นผู้แทนให้ ศาลตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน
ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดี
ตัวอย่าง
นายสุข หมิ่นประมาทนายทุกข์บนกระดานสนทนาในเว็บบอร์ดการเมือง แต่นายทุกข์อยู่ต่างประเทศ ไม่สามารถเดินทางเข้าราชอาณาจักรไทยได้ ปัญหาว่า บุตรของนายทุกข์จะสามารถร้องทุกข์ หรือฟ้องร้องดำเนินคดีแก่นายสุขได้หรือไม่
จากนิยามของความเป็นผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญามาตรา 2 (4)
ผู้เสียหายนั้น หมายถึง ผู้เสียหายที่แท้จริง หากมีการหมิ่นประมาท นายทุกข์ คนที่จะเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงคือ นายทุกข์เท่านั้น
ผู้เสียหายที่มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิอาญามาตรา 5
มาตรา 5 บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
(1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่ง ได้กระทำต่อผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
ผู้ที่จะสามารถจัดการแทนได้ตามอนุมาตรานี้ คือ ผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อ นายทุกข์ไม่ใช่ผู้เยาว์ จึงไม่อยู่ในบังคับความหมายนี้
ผู้อนุบาล เมื่อนายทุกข์ไม่ใช่บุคคลวิกลจริตจนศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถแล้วตั้งผู้อนุบาล จึงไม่อยู่ในบังคับความหมายนี้
ผู้ไร้ความสามารถ เมื่อนายทุกข์ไม่ใช้ผู้ไร้ความสามารถหรือหย่อนความสามารถที่พรรคเพื่อได้เป็นผู้ดูแล จึงไม่อยู่ในความหมายนี้
(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิด อาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะ จัดการเองได้
ผู้สืบสันดานนี้ ถือเอาตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากเป็นบุตรของผู้ตายก็สามารถดำเนินคดีได้ แต่ในกรณีนี้ นายทุกข์มิได้ถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการแทนได้ บุตรของนายทุกข์จึงไม่สามารถดำเนินคดีแทนนายทุกข์ได้
(3) ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิด ซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น
กรณีมิใช่เรื่องของนิติบุคคลจึงไม่อยู่ในบังคับของอนุมาตรานี้
ผู้เสียหายนั้น หมายถึง ผู้เสียหายที่แท้จริง หากมีการหมิ่นประมาท นายทุกข์ คนที่จะเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงคือ นายทุกข์เท่านั้น
ผู้เสียหายที่มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิอาญามาตรา 5
มาตรา 5 บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
(1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่ง ได้กระทำต่อผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
ผู้ที่จะสามารถจัดการแทนได้ตามอนุมาตรานี้ คือ ผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อ นายทุกข์ไม่ใช่ผู้เยาว์ จึงไม่อยู่ในบังคับความหมายนี้
ผู้อนุบาล เมื่อนายทุกข์ไม่ใช่บุคคลวิกลจริตจนศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถแล้วตั้งผู้อนุบาล จึงไม่อยู่ในบังคับความหมายนี้
ผู้ไร้ความสามารถ เมื่อนายทุกข์ไม่ใช้ผู้ไร้ความสามารถหรือหย่อนความสามารถที่พรรคเพื่อได้เป็นผู้ดูแล จึงไม่อยู่ในความหมายนี้
(2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิด อาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะ จัดการเองได้
ผู้สืบสันดานนี้ ถือเอาตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากเป็นบุตรของผู้ตายก็สามารถดำเนินคดีได้ แต่ในกรณีนี้ นายทุกข์มิได้ถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการแทนได้ บุตรของนายทุกข์จึงไม่สามารถดำเนินคดีแทนนายทุกข์ได้
(3) ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิด ซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น
กรณีมิใช่เรื่องของนิติบุคคลจึงไม่อยู่ในบังคับของอนุมาตรานี้
ติดตามตอนสุดท้าย ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น