การติดตามตัวผู้กระทำความผิดนั้น ไม่ยากอย่างที่คิด จึงอย่าได้คิดว่า ไม่มีใครรู้ว่าเราเป็นใคร เราอยู่บ้านเรา ใครจะมาตามเราเจอ ไม่เช่นนั้น บิลค่าน้ำ่ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ และที่สำคัญ ค่าิอินเตอร์เนตคงจะไปถึงท่านไม่ได้ หากเป็นการเล่นตามเนตคาเฟ่ กฎหมายบังคับให้ติดตั้งกล้องวงจรปิด และบางร้าน ต้องลงทะเบียนด้วย จึงไม่เป็นการเหลือวิสัยที่จะติดตามเอาผิดกันได้
เรื่องการหมิ่นประมาททางอินเตอร์เนตนั้น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา โดยมีข้อกฎหมายสนับสนุนดังนี้
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 วางหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน หมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การหมิ่นประมาทคืออะไร
จากหลักกฎหมายมาตรา 326 การหมิ่นประมาทประกอบด้วยองค์ประกอบความผิดภายนอก คือ
1. การใส่ความ หมายถึง การพูดจาให้ร้ายผู้อื่น ด้วยลักษณะการยืนยันข้อเท็จจริงในสิ่งที่เป็นไปได้ เช่น พูดว่า ดำเป็นชู้กับแดง การเป็นชู้กันนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ หรือ ดำโกงเงินแดง การโกงเงินกันนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็แต่ถ้าพูดว่า แดงถูกผีสิง แดงเป็นผีปอบ เป็นผีบ้า อันนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่เข้าลักษณะการใส่ความ
2. ผู้อื่น หมายถึง ใครก็ได้ที่ไม่ใช่ตัวเรา
3. ต่อบุคคลที่สาม หมายถึง หูคู่ที่สอง นอกจากหูของเรา เช่น ดำพูดกับแดงว่า หนึ่งและสองเป็นชู้กัน ดังนี้ หูของแดงเป็นหูคู่ที่สองที่ได้ยินถ้อยคำใส่ความ
ข้อความอย่างใดเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท
มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน หมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การหมิ่นประมาทคืออะไร
จากหลักกฎหมายมาตรา 326 การหมิ่นประมาทประกอบด้วยองค์ประกอบความผิดภายนอก คือ
1. การใส่ความ หมายถึง การพูดจาให้ร้ายผู้อื่น ด้วยลักษณะการยืนยันข้อเท็จจริงในสิ่งที่เป็นไปได้ เช่น พูดว่า ดำเป็นชู้กับแดง การเป็นชู้กันนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ หรือ ดำโกงเงินแดง การโกงเงินกันนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็แต่ถ้าพูดว่า แดงถูกผีสิง แดงเป็นผีปอบ เป็นผีบ้า อันนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่เข้าลักษณะการใส่ความ
2. ผู้อื่น หมายถึง ใครก็ได้ที่ไม่ใช่ตัวเรา
3. ต่อบุคคลที่สาม หมายถึง หูคู่ที่สอง นอกจากหูของเรา เช่น ดำพูดกับแดงว่า หนึ่งและสองเป็นชู้กัน ดังนี้ หูของแดงเป็นหูคู่ที่สองที่ได้ยินถ้อยคำใส่ความ
ข้อความอย่างใดเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท
ข้อความที่มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาทนั้น ต้องเป็นข้อความที่ยืนยันข้อเท็จจริง การแสดงความคิดเห็นในลักษณะการยืนยันข้อเท็จจริงมีลักษณะเป็นหมิ่นประมาทได้ทั้งสิ้น เช่น กล่าวหาว่าเขาเป็นเมียน้อย กล่าวหาว่าเขาเป็นชู้กัน หรือใช้ถ้อยคำพิเศษที่แสดงออกมาได้ว่า เป็นการใส่ความ เช่น ใช้คำว่า ไอ้เสี่ยบ้ากาม อีสาวก้นแฉะ ซึ่งมีความหมายว่า เป็นผู้ชอบกามคุณอันผิดวิสัย หรือพูดให้ร้ายว่าเขาเป็นกระหรี่ เป็นลูกระหรี่ กล่าวหาตุลาการว่าใช้อำนาจโดยไม่ชอบและพิจารณาคดีไม่เป็นธรรม เหล่านี้ถือเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาททั้งสิ้น
ถ้อยคำที่ ไม่มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท คือถ้อยคำที่ไม่ได้ยืนยันในข้อเท็จจริง และไม่มีลักษณะที่จะเป็นไปได้ตามกล่าวเบื้องต้น เช่น ด่าว่า อ้ายครูชาติหมาสอนเด็กชกต่อยกัน ครูเป็นคนไม่มีวันเป็นชาติหมาไปได้ จึงไม่มีลักษณะถ้อยคำที่เป็นไปได้ แต่ถ้าด่าซึ่งหน้าเป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า เป็นคนละฐานความผิดกัน
หน้าผีเปรต อันนี้คนไม่มีวันจะหน้าเป็นเปรตไปได้ และไม่มีใครเคยเห็นว่าหน้าเปรตเป็นอย่างไร จึงไม่ใช่ลักษณะการใส่ความหมิ่นประมาท
หน้าเหี้ย คนไม่มีวันจะหน้าเหมือนเหี้ยไปได้ จึงไม่มีลักษณะเป็นหมิ่นประมาท (เช่น(ชื่อนักการเมือง) หน้าเหี้ย) พูดอย่างไรก็ไม่ผิดหมิ่นประมาท อย่างไรก็ดี ถ้อยคำดังกล่าวหากได้กล่าวต่อหน้าบุคคลนั้น จะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าอันเป็นลหุโทษ
ถ้อยคำที่ ไม่มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท คือถ้อยคำที่ไม่ได้ยืนยันในข้อเท็จจริง และไม่มีลักษณะที่จะเป็นไปได้ตามกล่าวเบื้องต้น เช่น ด่าว่า อ้ายครูชาติหมาสอนเด็กชกต่อยกัน ครูเป็นคนไม่มีวันเป็นชาติหมาไปได้ จึงไม่มีลักษณะถ้อยคำที่เป็นไปได้ แต่ถ้าด่าซึ่งหน้าเป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า เป็นคนละฐานความผิดกัน
หน้าผีเปรต อันนี้คนไม่มีวันจะหน้าเป็นเปรตไปได้ และไม่มีใครเคยเห็นว่าหน้าเปรตเป็นอย่างไร จึงไม่ใช่ลักษณะการใส่ความหมิ่นประมาท
หน้าเหี้ย คนไม่มีวันจะหน้าเหมือนเหี้ยไปได้ จึงไม่มีลักษณะเป็นหมิ่นประมาท (เช่น(ชื่อนักการเมือง) หน้าเหี้ย) พูดอย่างไรก็ไม่ผิดหมิ่นประมาท อย่างไรก็ดี ถ้อยคำดังกล่าวหากได้กล่าวต่อหน้าบุคคลนั้น จะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าอันเป็นลหุโทษ
การหมิ่นประมาทนั้น หากได้กระทำลงบนกระดานสนทนา ทางอินเตอร์เนต จะมีโทษหนักขึ้นเพราะถือเป็นการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามมาตรา 328
การหมิ่นประมาทนั้น หากได้กระทำลงบนกระดานสนทนา ทางอินเตอร์เนต จะมีโทษหนักขึ้นเพราะถือเป็นการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามมาตรา 328
มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
การหมิ่นประมาทนั้น หากได้กระทำลงบนกระดานสนทนา ทางอินเตอร์เนต จะมีโทษหนักขึ้นเพราะถือเป็นการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามมาตรา 328
มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
อายุความ
เมื่อปรากฎพบว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทขึ้น ผู้ที่ได้รับความเสียหายจะต้องดำเนินคดีภายในกำหนดอายุความดังนี้
มาตรา 96 ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
หมิ่นประมาทเป็นความผิดอันยอมความกันได้ มีอายุความสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เช่น มีข้อความหมิ่นประมาทเราในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553 เราพบข้อความในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 และเรารู้ตัวผู้หมิ่นประมาท คือผู้ที่โพสท์ข้อความ แม้จะเป็นเพียงนามแฝงก็ตาม โดยไม่ต้องไปรู้ถึงว่าเป็นใครหน้าตายังไง อายุความที่เราจะต้องร้องทุกข์ ภายในสามเดือน นับแต่วันที่ 5 มีนาคม 2553 นับไปสามเดือน วันสุดท้ายคือวันที่ 5 มิถุนายน 2553 ถ้าวันสุดท้ายติดเสาร์อาทิตย์ ไม่เลื่อนออก เพราะโรงพักไม่มีวันหยุดราชการ
ในการหมิ่นประมาทบนเว็บบอร์ด ที่มีการเขียนกระทู้ต่างๆ การนับกรรมของการกระทำความผิดไม่ใช่นับตามจำนวนกระทู้ แต่นับตามจำนวนความเห็นที่ได้แสดงออกไป เช่นดำแสดงความเห็นหมิ่นประมาทด่าทอแดง 10 ความเห็น กรรมของการกระทำความผิดนับตามความเห็น กรณีเป็นการกระทำความผิดต่า งกรรมต่างวาระ โดยบทลงโทษจะเรียงกระทงความผิด คือ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท มีกี่กระทงเอาคูณเข้าไป
ดังนั้น อย่าคิดว่า นั่งหน้าคอมด่าทอ หมิ่นประมาทผู้อื่นแล้วจะไม่มีความผิด เพราะในโลกแห่งความจริงหรือโลกไซเบอร์ ไม่ต่างกันในเรื่องของความรับผิดทางกฎหมาย
ขอบพระคุณคับ ได้เรื่องพูดพอดีคับ เอาไปประกอบกับ พรบ.คอมพิวเตอร์ ปี50
ตอบลบลงตัวพอดีเป๊ะ
ขอโทษครับการหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ตนั้นตามมาตรา328 เป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ไม่ใช่หรือครับ จึงไม่อยู่ในข่ายอายุความ 3 เดือน ใช่ไหมครับ
ตอบลบลองอ่านคำพิพากษาฎีกานี้ค่ะ
ตอบลบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2532
อายุความในการร้องทุกข์สำหรับความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 มีกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดประกอบกันทั้งสองประการ กฎหมายหาได้บัญญัติให้นับอายุความร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดไม่ จำเลยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2528และต่อมาวันที่ 14 มกราคม 2528 หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวตามที่จำเลยให้สัมภาษณ์ ต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้กระทำความผิด ในวันดังกล่าวเมื่อโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 13 เมษายน 2528ซึ่งอยู่ภายในกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเกินสามเดือนแต่ยังอยู่ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 95 คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
ตอบลบ"สำหรับฎีกาของจำเลยข้อ 2.1 ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2528โจทก์มาร้องทุกข์เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2528 ซึ่งเกินกำหนดเวลาสามเดือน นับแต่วันกระทำผิดและโจทก์เพิ่งนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2528 เป็นเวลาเกินกว่าสามเดือนนับแต่วันกระทำความผิด คดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐาน ในสำนวนซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงมาว่า เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2528 จำเลยได้ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ต่อมาวันที่14 มกราคม 2528 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ได้ลงข่าวตามที่จำเลยให้สัมภาษณ์ โจทก์ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 13เมษายน 2528 เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทตามข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับดังกล่าว เห็นว่าอายุความในการร้องทุกข์สำหรับความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 มีกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดประกอบกันทั้งสองประการ กฎหมายหาได้บัญญัติให้นับอายุความร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดไม่ การที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันที่ 14 มกราคม 2528 ลงข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ตามที่จำเลยให้สัมภาษณ์ ย่อมต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้กระทำความผิดในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์ได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 แล้ว แม้โจทก์จะนำคดีมาฟ้องหลังจากวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเกินสามเดือน แต่โจทก์ก็นำคดีมาฟ้องภายในกำหนดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 ดังนี้คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
( สุวรรณ ตระการพันธุ์ - ศักดิ์ สนองชาติ - กู้เกียรติ สุนทรบุระ )
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
จากคำพิพากษาฎีกานี้ ชัดเจนนะคะว่า ความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๙๖ คือ ต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือน
ไม่มีกฎหมายยกเว้นให้มาตรา ๓๒๘ เป็นความผิดอันยอมความกันได้ อ่านมาตรา ๓๓๓ นะคะ
ตอบลบมาตรา 333 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
คำว่า ความผิดในหมวดนี้ หมายถึงความผิดในหมวดสามนี้ทั้งหมดค่ะ พิจารณาบทบัญญัติในหมวดสาม แล้วลองดูว่า มีบทบัญญัติยกเว้นไว้ให้เฉพาะแต่ ๓๒๘ เท่านั้นที่ยอมความกันได้หรือไม่นะคะ
หมวด 3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท
มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำ
ความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุมาตรา 326 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535
มาตรา 327 ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สามและการใส่ความนั้น น่าจะเป็นเหตุให้ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 326 นั้น
มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
หมายเหตุมาตรา 328 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535
มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับ
ตนตามคลองธรรม
(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย ของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิด เผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
มาตรา 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษ
แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
มาตรา 331 คู่ความ หรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความคิด เห็น หรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดี ของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
มาตรา 332 ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความ ผิด ศาลอาจสั่ง
(1) ให้ยึด และทำลายวัตถุหรือส่วนของวัตถุที่มีข้อความหมิ่นประมาท
(2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือ พิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับครั้งเดียวหรือหลายครั้งโดยให้จำเลย เป็นผู้ชำระค่าโฆษณา
มาตรา 333 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
ถ้ากฎหมายจะประสงค์ให้เฉพาะมาตราใดที่ยอมความได้ หรือมาตราใดที่ยอมความไม่ได้ กฎหมายจะเขียนไว้ชัดเจน เช่น
ตอบลบมาตรา 281 การกระทำความผิดตาม มาตรา 276 วรรคแรก และ มาตรา 278 นั้น ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการ กระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ใน มาตรา 285 เป็นความผิดอันยอมความได้
หรือในฐานฉ้อโกง
ตอบลบมาตรา 348 ความผิดในหมวดนี้ นอกจากความผิดตาม มาตรา 343 เป็นความผิดอันยอมความได้
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
เห็นถ้อยคำที่แตกต่างระหว่าง ๓๓๓ และ ๓๔๘ หรือไม่คะ ถ้ากฎหมายประสงค์ให้ ๓๒๘ ยอมความกันไม่ได้ ต้องบัญญัติไว้แบบเดียวกับ ๓๔๘ ค่ะ
อย่างไร ถ้ากลับมาอ่านแล้ว เข้าใจแล้ว ช่วยกรุณาแจ้งไว้ด้วยนะคะ ครูพยายามอย่างเต็มความสามารถที่จะปรับความเข้าใจให้คุณใหม่ จึงขอได้โปรดกลับมาแจ้งด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
คำพิพากษาฎีกาที่ 1954/2530 หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าจำเลยให้สัมภาษณ์โดยมีข้อความซึ่งอ่านแล้วรู้ได้ทันทีว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ ถือได้แล้วว่า โจทก์รู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่วันที่โจทก์ได้อ่านข่าวตามหนังสือพิมพ์นั้น ไม่จำเป็นต้องรอแสวงหาหลักฐานเพื่อฟ้องคดีหรือสืบสวนจนเป็นที่แน่ใจว่าโจทก์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดก่อนจึงจะร้องทุกข์ดำเนินคดี เมื่อโจทก์ไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 เมื่อศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่าคดีขาดอายุความ ก็พิพากษายกฟ้องได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อน
ตอบลบ