วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

บัญชีระบุพยานในคดีอาญา โดย อ.จรัญ ภักดีธนากุล

บัญชีระบุพยานในคดีอาญา

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๓/๑ วรรคหนึ่ง บัญญัติหลักเกณ์ใหม่ว่า ในคดีอาญาที่จำเลยไม่ได้รับสารภาพ ศาลมีอำนาจที่จะกำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานล่วงหน้าก่อนวันสืบพยานหลักฐานกันจริงได้ มาตรา ๑๗๓/๑ วรรคหนึ่ง เพิ่มหลักการในเรื่องวันตรวจพยานหลักฐานในคดีอาญาขึ้นมาคั่นตรงกลางระหว่างวันสอบคำให้การจำเลยกับวันสืบพยาน สอบคำให้การจำเลยแล้ว จำเลยให้การปฏิเสธตั้งทนายความให้เรียบร้อย ศาลมีอำนาจที่จะกำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานกันก่อนแล้วจึงค่อยไปสืบพยานหลักฐานกันในภายหลังถ้าศาลใช้อำนาจนี้สั่งให้มีวันนัดตรวจพยานหลักฐาน คู่ความก็จะเกิดหน้าที่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานตามวรรคสองและวรรคสาม

ตามมาตรา ๑๗๓/๑วรรคสอง คู่ความมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานล่วงหน้า ก่อนวันตรวจพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่า๗วัน พร้อมกับแนบสำเนาไปให้ฝ่ายตรงข้ามด้วย ถ้ายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกล่วงหน้าก่อนวันตรวจพยานหลักฐานไม่น้อยกว่า ๗ วันไว้แล้ว ก็มีสิทธิที่จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ก่อนการตรวจพยานหลักฐานเสร็จสิ้น ซึ่งก็เป็นกฎเกณฑ์เรื่องบัญชีระบุพยานในคดีอาญาโดยเฉพาะ ใช้เฉพาะในคดีที่จำเลยปฏิเสธต่อสู้คดีและศาลสั่งให้มีวันตรวจพยานหลักฐาน ถ้าศาลสั่งให้มีวันตรวจพยานหลักฐาน คู่ความก็มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานคั้งแรกก่อนวันตรวจพยานหลักฐานครั้งแรกไม่น้อยกว่า ๗ วัน ถ้ายื่นครั้งแรกไว้แล้วแม้จะเพียงลำดับเดียวก็ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ แต่ต้องยื่นภายในเวลาก่อนเสร็จการตรวจพยานหลักฐานของศาล

มาตรา ๑๗๓/๑ วรรคสาม บัญญัติข้อยกเว้นไว้เป็นการเฉพาะว่า การยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกหรือเพิ่มเติมเมื่อล่วงพ้นเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามวรรคสอง จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล โดยผู้ร้องขอต้องแสดงเหตุอันสมควรว่าไม่ทราบถึงพยานหลักฐานนั้น หรือเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หรือเพื่อให้โอกาศแก่จำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ จะเห็นได้ว่าในคดีอาญาก็มีบัญชีระบุพยานยกเว้นให้เช่นกันใกล้เคียงกับแนวทางในการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา๘๘ วรรคสาม

ป.วิ.อ. มาตรา ๑๗๓/๑ วรรคสองและวรรคสามไม่ได้บัญญัติบท sanction เอาไว้ ไม้ได้บอกว่าถ้าไม่ยื่นบัญชีระบุพยานให้ถูกต้อง แล้วผลจะเป็นอย่างไร กรณีนี้เห็นกันว่าควรจะต้องอนุโลมเอา ป.วิ.พ. มาตรา ๘๗(๒) มาใช้ในคดีอาญา ปัญหาเกิดขึ้นทันทีว่า ในเมื่อ ป.วิ.อ. ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะแล้วเหตุใดจึงไปอนุโลมเอา ป.วิ.พ.มาใช้ด้วย มาตรา ๘๗(๒) เป็นบท sanction ของมาตรา๘๘ แต่กฎเกณฑ์ในเรื่องบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๗๓/๑ วรรคสอง วรรคสาม ไม่ใช่กฎเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา๘๘ จะไปใช้บท sanction ตามมาตรา๘๗(๒) ได้อยางไร ? เห็นว่ากฎหมายที่บังคับให้คู่ความต้องยื่นบัญชีระบุพยานในกรณีที่ศาลสั่งให้มีวันตรวจพยานหลักฐานนี้ ถ้าไม่มีบท sanction แล้วย่อมเป็นหมันไป การแปลความเช่นนั้นจะเป็นการแปลความกฎหมายให้ไร้ผลซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น ควรจะต้องแปลความกฎหมายให้มีสภาพบังคับ ทว่าสภาพบังคับนี้มีข้อแย้งว่าไม่ควรใช้ ป.วิ.พ. มาตรา ๘๗(๒) แต่ควรจะใช้มาตรา ๘๖ วรรคหนึ่ง อนุโลมมาใช้ในคดีอาญาโดยผล ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕ เพราะตามมาตรา ๘๖ วรรคหนึ่ง เป็นหลักทั่วไปที่ใช้กับพยานหลักฐานที่ยื่นไม่ถูกต้องทุกกรณี ซึ่งเอามาใช้กับคดีอาญาได้ ป.วิ.พ. มาตรา ๘๖ วรรคหนึ่งบัญญัติว่าพยานหลักฐานใดแม้จะเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ แต่ถ้ายื่นผิดต่อกฎหมายว่าด้วยการยื่นพยานหลักฐานก็ห้ามไม่ให้ศาลรับฟัง เป็นบท sanction ที่ใช้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น