วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

กฎหมายครอบครัว เงื่อนไขในการหมั้น และแบบของสัญญาหมั้น

การหมั้น

เงื่อนไขการหมั้น

1. เงื่อนไขอายุ มาตรา 1435 กำหนดอายุคู่หมั้นไว้ว่าชายและหญิงต้องมีอายุอย่างต่ำ 17 ปีบริบูรณ์ การหมั้นที่ชายและหญิงหมั้นโดยอายุไม่ถึง 17 ปีเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 การหมั้นไม่อาจขออนุญาตต่อศาลได้ การหมั้นที่เป็นโมฆะมีผลทำให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะเดิม ชายเรียกของหมั้นคืนได้

2. เงื่อนไขความยินยอม ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้นั้นต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดา หรือบิดาหรือมารดา หรือผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครอง ตามมาตรา 1436 ความยินยอมไม่มีแบบกำหนดไว้อาจให้ความยินยอมด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้ การหมั้นที่ฝ่าฝืนความยินยอมเป็นโมฆียะ

เงื่อนไขในการหมั้น

. 1435 การหมั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์

การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรค หนึ่งเป็นโมฆะ

อธิบาย การที่ชายจะทำการหมั้นหญิงได้นั้น ชายและหญิงต้องมีอายุขั้นต่ำ 17 ปีบริบูรณ์ การหมั้นที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขในข้อนี้ มีผลเป็นโมฆะ ถือเสมือนมิได้เคยหมั้นกันเลย แม้ต่อมาชายและหญิงจะอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้วก็ไม่ถือว่าการหมั้นสมบูรณ์เพราะให้สัตยาบันไม่ได้ สำหรับสินสอดและของหมั้นนั้น คงต้องพิจารณาดูว่าฝ่ายชายรู้หรือไม่ว่าหญิงคู่หมั้นนั้นมีอายุไม่ถึง 17 ปี ถ้ารู้เรียกคืนไม่ได้เพราะถือว่าฝ่ายชายชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 411 แต่ถ้าฝ่ายชายไม่รู้เรียกคืนได้

3072/2547 (ประชุมใหญ่) ในขณะที่ อ. ทำการหมั้นกับ บ. นั้น บ.อายุยังไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์ โดยมีอายุเพียง 15 ปีเศษ การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืนบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1435 วรรคหนึ่งย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 วรรคสอง นอกจากนี้มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่า บ. อายุไม่ครบ 17 ปี จำเลยและ บ. จึง

ต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตามมาตรา 412 และ 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามอำเภอใจตามมาตรา 407 หาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดาและมารดาของ อ. และ บ. ทำบันทึกข้อตกลงภายหลังที่ อ. กับ บ. เลิกการอยู่กินเป็นสามีภริยากันว่าจำเลยตกลงคืนสินสอดและของหมั้นแก่โจทก์ จึงมีมูลหนี้และใช้บังคับได้ หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

- แม้จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสแล้วแต่เมื่ออายุไม่ถึง 17 ปีก็ไม่สามารถหมั้นได้

- ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ขอความยินยอมในการหมั้นได้ ขอศาลก็ไม่ได้

มาตรา 1436 ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้

(1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา

(2) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้

(3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม

(4) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (1)(2)และ (3) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง

การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ

อธิบาย ผู้เยาว์ (อายุระหว่าง 17–ก่อน 20) ต้องได้รับความยินยอมของ

(1) บิดาและมารดา (2) บิดา หรือ มารดา (3) ผู้รับบุตรบุญธรรม (4) ผู้ปกครอง

การหมั้นที่ปราศจากความยินยอมเป็นโมฆียะ หมายความว่าผู้เยาว์มีสิทธิที่จะบอกล้างการหมั้นนั้นได้ตามมาตรา 175 (1) แม้ในระหว่างเป็นผู้เยาว์ก็บอกล้างได้ โดยการบอกล้างต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนฯ เมื่อบอกล้างแล้วถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และผู้เยาว์สามารถให้สัตยาบันในสัญญาหมั้นได้เมื่อตนเองบรรลุนิติภาวะแล้วตามมาตรา 177

แบบของสัญญาหมั้น

มาตรา 1437 การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น

เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง

สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้

ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา 412 ถึงมาตรา418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

อธิบาย การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น

525/09 การหมั้น และจะเรียกว่าหมั้นก็ต่อเมื่อฝ่ายชายนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิงอันเป็นเรื่องที่เข้าใจกันตามธรรมดาและตามประเพณี เมื่อมีการหมั้นแล้วถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 โดยที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ เช่นนี้ เมื่อฝ่ายชายเพียงแต่ตกลงว่าจะสมรสโดยไม่มีการหมั้น ดังนี้ จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้ จะเรียกค่าทดแทนหาได้ไม่ การที่ไม่มีประเพณีท้องถิ่นว่าจะต้องมีของหมั้น มิใช่เหตุอันจะพึงยกขึ้นลบล้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 ได้

ของหมั้น ตามมาตรานี้ หมายถึง ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง ของหมั้นจึงมีลักษณะสำคัญดังนี้

- ของหมั้นต้องเป็นทรัพย์สิน

- ต้องเป็นของฝ่ายชายให้ไว้แก่หญิง

- ต้องให้ไว้ในวันหมั้นและหญิงได้รับแล้ว

- ต้องให้เพื่อเป็นหลักฐานหรือสัญญาว่าจะสมรสกับหญิงและต้องให้ไว้ก่อนสมรส

1852/06 จำเลยขอหมั้นน้องสาวโจทก์เพื่อให้แต่งงานกับบุตรจำเลย แต่จำเลยไม่มีเงิน จึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ยึดถือไว้ และโจทก์จำเลยตกลงกับว่าถ้าจำเลยปลูกเรือนหอ โจทก์จะลดเงินกู้ให้บ้างตามราคาของเรือนหอ ต่อมาจำเลยไม่ปลูกเรือนหอ และบุตรจำเลยไม่ยอมแต่งงานกับน้องสาวโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้สัญญากู้ดังกล่าวนี้เป็นเพียงสัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นกันในวันข้างหน้า ยังไม่ได้มีการมอบทรัพย์สินให้แก่กันอย่างแท้จริงเจตนา อันแท้จริงของคู่สัญญาก็มิได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่งในสภาพของหมั้น และไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสแล้วในกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่ามีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย โจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ในฐานะเป็นของหมั้นมิได้ ทั้งสัญญากู้รายนี้ก็ไม่มีมูลหนี้เดิมอันจะมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ ตามสัญญาได้ด้วย

3865/26 สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยมีสาระสำคัญว่าให้จำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หากจำเลยไม่ยอมจด ถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องใช้ค่าเสียหายนั้น เป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน เพราะไม่ใช่สัญญาหมั้น จึง

ไม่อาจบังคับได้ คดีไม่จำเป็นจะต้องสืบพยานกันต่อไป

1507/2531 เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ประกอบพิธีสมรสโดยมิได้มีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย เงินที่โจทก์อ้างว่าได้มอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงหาได้ให้ในฐานะเป็นของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิ

เรียกคืน

คู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามสัญญาหมั้น

1. ชาย หญิง ที่เป็นคู่หมั้น ในกรณีที่ชาย หญิง คู่หมั้นกระทำการหมั้นกันเอง

2. บิดา มารดา ของชายหญิงคู่หมั้น ในกรณีที่บิดา มารดา ของชายหญิงคู่หมั้นจัดการงานหมั้นให้ทั้งนี้ไม่ว่าชายหญิงนั้นจะได้บรรลุนิติภาวะแล้วหรือไม่

3. ผู้กระทำในฐานะเช่นบิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้น ในกรณีผู้กระทำในฐานะเช่นบิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้น เช่น ญาติผู้ใหม่อื่นนอกจากบิดามารดาจัดการงานหมั้นให้

สินสอด คือ ทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส หรือที่เข้าใจกันง่ายๆ ว่าเป็น ค่าน้ำนม นั่นเอง สินสอดมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ

- ต้องเป็นทรัพย์สิน และไม่จำเป็นต้องให้ในขณะทำสัญญาให้ในภายหลังได้

- เป็นของที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง

- เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส

ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หมายถึงเหตุที่จะกระทบกระเทือนถึงการสมรสที่จะมีต่อไประหว่างชายและหญิง เช่น หญิงคู่หมั้นไปร่วมประเวณีกับชายอื่น หรือ เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง หรือถูกจำคุกหรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้

2357/18 บิดามารดาชายตกลงกับมารดาผู้ปกครองหญิงจะให้สินสอด 5,000 บาท แต่ในวันแต่งงานบิดามารดาชายตกลงกับบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงให้สินสอดเพียง 3,000 บาทและชำระไปแล้ว ดังนี้ไม่ผูกพันมารดาผู้ปกครองหญิง ซึ่งเรียกให้บิดามารดาชายชำระสินสอด 5,000 บาทได้

125/18 เงินที่ชายให้แก่มารดาหญิง เพื่อขอขมาในการที่หญิงตามไปอยู่กินกับชาย โดยชายหญิงไม่มีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย ไม่ใช่สินสอดหรือของหมั้น เมื่อต่อมาหญิงไม่ยอมอยู่กินกับชาย ชายเรียกคืนไม่ได้

878/18 บิดาชายตกลงให้สินสอดแก่มารดาหญิง แต่ไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้หญิงไว้ บิดาชายต้องผูกพันตามสัญญากู้อันมีมูลหนี้และได้แปลงหนี้ใหม่ ต่อมาหญิงชายละเลยไม่จดทะเบียนสมรสโดยมิใช่ความผิดของหญิงทั้งที่มารดา

หญิงเตือนให้จดทะเบียน ชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้ หญิงเรียกเงินกู้ตามสัญญาได้

3557/24 ชายหญิงประกอบพิธีสมรสกันตามประเพณีและอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยมิได้มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนสมรสถือไม่ได้ว่าเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย เงินและทรัพย์ที่ฝ่ายชายได้มอบให้แก่ฝ่ายหญิงไว้ จึงหาได้ให้ในฐานะเป็นสินสอดและของหมั้น ตามความหมายแห่ง ป.พ.พ.ม.1437ไม่ เมื่อชายและหญิงแยกกันอยู่ ชายไม่มีสิทธิเรียกคืน

2185/30 ภายหลังจดทะเบียนสมรสแล้วในคืนส่งตัวหญิงยอมเข้าห้องหอตั้งใจจะเป็นภริยา แต่หญิงรู้สึกเหน็ดเหนื่อยขอพักผ่อนไม่ยอมร่วมประเวณีด้วยเพียงคืนเดียวไม่มีเจตนาที่จะไม่ร่วมประเวณีกับชายตลอดไปการที่หญิงไม่ยอมให้ชายร่วมประเวณีดังกล่าว ยังไม่ใช่ความผิดของหญิงและจะถือว่าฝ่ายหญิงทำกลฉ้อฉลไม่ได้ การสมรสจึงไม่เป็นโมฆียะ ฝ่ายชายไม่มีสิทธิขอเพิกถอนและเรียกแหวนหมั้นกับเงินสินสอดคืนจากฝ่ายหญิง

12 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ17/10/54 13:18

    ขอบสำหรับข้อมูล ขอบคุณมากๆ เป็นประโยชน์กับตัวผมมาเลยครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ25/7/55 16:12

    ดิฉันหมั้นแล้วฝ่ายชายไช้สัญญาหมั้นบังคับหลับนอนด้วยหลายครั้ง พอคบกันได้หลายเดือนจึงรู้ว่าฝ่ายชายไม่สามารถดูแลได้แถมยังมาขอเงินไช้อีก
    จึงบอกเลิกสัญญาหมั้น(ถามค่ะ) ฝ่ายชายหลับนอนด้วยแล้วก่อนแต่ง ดิฉันสามารถเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายชายได้มั๊ยค่ะ เพราะฝ่ายชายเรียกค่าเสียหายตามสัญญาหมั้น ดิฉันจะเสียตัวฟรีรึ ดิฉันอายุ30 ปีค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การผิดสัญญาหมั้นและบอกเลิกสัญญาหมั้น ต้องมีเหตุตามกฏหมายค่ะ อ่านตามบทความนี้ได้เลยค่ะ

      http://natjar2001law.blogspot.com/2011/01/blog-post_06.html

      ลบ
  3. ส่วนการบอกเลิกสัญญาหมั้นก็ต้องมีเหตุตามกฏหมายค่ะ เช่นถูกข่มขู่ ถูกฉ้อฉล หรือคู่หมั้นทำผิดกฏหมาย ทำชั่วอย่างร้ายแรงคือมีหญิงอื่น เป็นต้น การที่คุณยอมหลับนอนกับเขา จะบอกว่าเขาบังคับ คงไม่ได้ค่ะ ถ้าถูกข่มขืนต้องแจ้งความ การที่เขามาขอเงินคุณใช้ เป็นสิทธิของคุณที่จะไม่ให้ค่ะ แต่ถ้าคุณจะบอกเลิกสัญญาหมั้น คุณต้องมีเหตุตามกฏหมายค่ะ

    ตอบลบ
  4. ที่ว่าฝ่ายชายเรียกค่าเสียหายตามสัญญาหมั้น นี่เรียกเพราะเหตุอะไรคะ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ27/7/55 22:22

    ตอนนี้ดิฉันได้ทำสัญญาฉบับใหม่ คือสัญญาจะจ่ายเงินคืนที่บิดพริ้วตามสัญญาหมั้น 2 เท่า แต่คงไม่มีเงินจ่าย(แค่9,000 ค่ะ) ถ้าดิฉันไม่จ่ายตามสัญญา ดิฉันต้องรับโทษสูงสุดประมาณแค่ใหนค่ะ (คือแค่คบหายังขนาดนี้ ถ้าแต่งคงหนักหนากว่านี้มาก ) รบกวนหน่อนนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ27/7/55 22:25

    สัญญาหมั้นไม่มีระบุวันแต่ง สัญญาจะโมฆะมั๊ยค่ะ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ27/7/55 22:34

    ดิฉันบอกเลิกคบหา และจะไม่แต่ง ในสัญญาก็ไม่ได้ระบุวันแต่งค่ะ สาเหตุนี้ฝ่ายชายเลยเรียกค่าเสียหายตามสัญญาค่ะ

    ตอบลบ
  8. ที่คุณพูดมานั่นไม่ใช่สัญญาหมั้นน่ะค่ะ ลองอ่านความรู้เรื่องสัญญาหมั้นดูอีกทีให้เข้าใจนะคะ

    ตอบลบ
  9. สัญญาหมั้นไม่มีเป็นฉบับ ไม่มีเอกสาร ไม่มีอะไรทั้งสิ้น มีแต่ของหมั้นที่ให้ในวันหมั้นค่ะ ดิฉันคิดว่าเมื่อคุณไม่เข้าใจในประเด็นนี้ จึงเกิดความกังวล แนะนำให้พบทนายความ หรือปรึกษาสภาทนายความค่ะ ดิฉันไม่ทราบข้อเท็จจริง การเล่าเรื่องราวของคุณไม่ชัดเจน ขออภัยค่ะ

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ18/12/55 13:52

    ถ้าเราหมั้นกับฝ้ายหญิงแล้ว แล้วไปหลับนอนด้วยกัน นานไปเกิดไปกันไม่ได้ หรือ เรายังไม่พร้อมที่จะสมรส เค้าจะฟ้องให้เราสมรสได้ป่าวในเรื่องที่ไปหลับนอนกัน

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ24/1/56 11:33

    ขอสอบถามเกี่ยวกับการยกเลิกหมั้นค่ะ พอดีว่าดิฉันได้ทำการหมั้นมา และปรากฏว่าจับได้ว่าผู้ชายคนนั้นไปมีคนใหม่ซึ่งเขาก็มีอะไรกันด้วย ดิฉันจะสามารถยกเลิกหมั้นได้มั้ย และสามารถเรียกร้องค่าเสียหาย ชื่อเสียงได้มั้ยค่ะ นอกจากเงินสินสอดที่ฝ่ายชายได้หมั้นไว้แล้ว และจำเป็นต้องมีหลักฐานอะไรบ้างที่จะแสดงว่าชายคนนี้ไปมีคนอื่นค่ะ เนื่องจาดดิฉันมีแค่คลิปเสียงที่คุยโทรศัพท์กันกับหญิงคนนั้น และจากฝ่ายชาย กรูราตอบด่วนเลยนะค่ะ จะเคลียร์กันภายในอาทิตย์นี้ค่ะ และมีสัญญาอะไรที่เป็นการยืนว่าจะยกเลิกหมั้นมั้ยค่ะ เพื่อที่จะไม่ให้เค้ามายุ่งเกี่ยวกับเราอีก

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น