วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

ข้อห้ามในการหักกลบลบหนี้



ก่อนอ่านบทความนี้ ควรอ่านบทความเรื่องการหักกลบลบหนี้ให้เข้าใจเสียก่อน

http://natjar2001law.blogspot.com/2012/03/1.html

มาตรา 346    สิทธิเรียกร้องรายใด ตามกฎหมาย ศาลจะสั่งยึด มิได้ สิทธิเรียกร้องรายนั้นหาอาจจะเอาไปหักกลบลบหนี้ได้ไม่ 

การจะทราบว่า สิทธิเรียกร้องรายใดศาลจะสั่งยึดไม่ได้ ต้องดูในตัวบทกฏหมายเป็นเรื่องๆ ไป  ในกฎหมายเฉพาะเรื่องนั้นๆ จะเขียนไว้ว่า  สิทธิดังกล่าว  “ไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี”  เป็นอันว่า สิทธิเช่นนั้นศาลจะสั่งยึดไม่ได้  ก็จะนำมาหักกลบลบหนี้กันไม่ได้ 
มาตรา 1598/41 สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น จะสละหรือ โอนมิได้ และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี


ลูกหนี้คนที่สามที่ได้รับคำสั่งศาลห้ามใช้เงินแล้ว จะยกเอาสิทธิเรียกร้องในหนี้อันตนได้มาภายหลังคำสั่งห้ามนั้นขึ้นหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้ในคดีนั้นไม่ได้ 
มาตรา 347 ลูกหนี้คนที่สามหากได้รับคำสั่งศาลห้ามมิให้ใช้เงิน แล้ว จะยกเอาหนี้ซึ่งตนได้มาภายหลังแต่นั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ ผู้ที่ขอให้ยึดทรัพย์นั้น ท่านว่าหาอาจจะยกได้ไม่ 
เช่น  ดำ  เป็นลูกหนี้เงินกู้แดง  ๕๐๐๐ บาท  แดงเป็นลูกหนี้ฟ้า  ๕๐๐๐  บาท  ต่อมาฟ้าได้ฟ้องให้แดงชำระหนี้  ศาลได้มีคำสั่งห้ามดำชำระหนี้แก่แดง (อายัดสิทธิเรียกร้อง)  ต่อมาแดงเป็นเจ้าค่าสินค้าดำ  ๕๐๐๐  บาท  แดงจะขอให้ดำนำหนี้เงินกู้ซึ่งตนเป็นลูกหนี้และศาลสั่งอายัดสิทธิแล้วหักกลบลบกับตนไม่ได้  (จะเป็นการทำให้ฟ้าเสียเปรียบ) 
มาตรานี้ใช้เฉพาะหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังคำสั่งห้ามชำระหนี้ของศาล  แต่ถ้าเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งห้าม  สามารถนำมาหักกลบลบกันได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น