วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ ทรัพย์สินส่วนพระองค์



สังคมมักจะมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่ คือ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และจะเหมาจับเอาทรัพย์สินทั้งสองส่วนมารวมกันไว้ในส่วนเดียว เป็นอันเดียวโดยไม่แยกกัน นั้นไม่ถูกต้อง

การแยกทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ออกเป็นสองส่วนนั้น เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยว่าส่วนใดเป็นทรัพย์มรดก ส่วนใดไม่เป็นทรัพย์มรดก และเพื่อการจัดเก็บภาษี โดยทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นไม่ต้องมีการเสียภาษี แต่ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้นต้องเสียภาษี

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คือ ทรัพย์สินสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์เท่านั้น สืบต่อกันทางตำแหน่งพระมหากษัตริย์ มิได้สืบต่อกันหรือตกทอดกันโดยทางมรดก การบริหารทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นี้ได้บริหารจัดการดูแลโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และนำมาประกอบประโยชน์เพื่อประชาชน มิใช่ทรัพย์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงนำไปใช้ตามพระราชหฤทัยความพอใจส่วนพระองค์แต่อย่างใด โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น ด้านเยาวชน ในโครงการต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นโครงการนักอนุรักษ์ตัวน้อย
โครงการพัฒนาอาชีพ ด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงโครงการฝนหลวงที่เรารู้จักกัน ก็ได้นำเงินในส่วนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นี้มาใช้สอยในการทำโครงการ และโครงการวิจัยต่างๆ ด้วย

ทรัพย์สินส่วนพระองค์ คือ ทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนนี้จะเป็นส่วนของพระองค์โดยแท้ ต้องเสียภาษีเหมือนเราๆ ที่ต้องเสียภาษี ไม่ได้รับการยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนของพระองค์ที่ต้องเสียภาษีรายได้เช่นเดียวกับเรา หรือโรงเรือนต้องเสียภาษีเช่นเดียวกัน ทรัพย์สินในส่วนนี้มีการสืบทอดโดยทางมรดก พระมหากษัตริย์ได้ทรัพย์ส่วนนี้มาจากพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกฐ จากเงินที่ประชาชนหรือหน่วยงานต่างๆ ทูลเกล้าถวาย เงินเดือนของพระองค์ ที่เป็นดอกผลยกตัวอย่างเช่น พระมหากษัตริย์ทรงมีทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หกแสนบาท ทรัพย์หกแสนบาทนี้ตกแก่ผู้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไป ทรงมีทรัพย์สินส่วนพระองค์สี่แสนบาท มีพระราชโอรสธิดารวมทั้งสิ้นสี่พระองค์ ทรัพย์ส่วนนี้เท่านั้นที่จะตกเป็นมรดกแก่ทายาทโดยส่วนเท่าๆ กัน

พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๔๗๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉะบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๔ และ (ฉะบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๑ มีสาระสำคัญเป็นการจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ โดยแบ่งทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑.ทรัพย์สินส่วนพระองค์ เป็นทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจากที่ได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ให้รวมถึงดอกผลที่เกิดจากทรัพย์สินเช่นว่านั้นด้วย

๒.ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง และ

๓.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน


ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจและแบ่งทรัพย์สินฝ่าย (ไม่พึงใช้คำว่าของ แต่พึงใช้คำว่าฝ่าย) ออกเสียให้ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาดังกล่าว


3 ความคิดเห็น:

  1. สาธุๆๆๆๆ ที่ให้ความรู้ที่จริงแท้แก่มวลชน คนทั่วไป จะได้ไม่ถูกหลอกให้โง่เง่าเหมือนใจคนปั่นหัวคร้าบบบบ

    ตอบลบ
  2. สาธุ เจ้าค่ะหลวงพี่ อิอิ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ17/7/54 02:16

    ปัญหาที่ Frobe เอามารวมเป็นทรัพย์สินของในหลวงเนื่องจากการตัดสินใจของคนที่บริหารทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ต้องผ่านความเห็นชอบจากในหลวง ถึงมีผลบังคับใช้ ขณะที่ของอังกฤษจะกลับกันต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาถึงใช้ได้

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น