วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบกฎหมาย civil law และ common law 2

ต่อมาจะได้อธิบายความแตกต่างในด้านการนำกฎหมายมาใช้ของสองระบบ

ในระบบซีวิลลอว์ สิ่งที่จะบอกว่าใครทำผิดกฎหมายหรือไม่ คือตัวบทกฎหมายที่
เป็นลายลักษณ์อักษรนั่นเอง หากกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าการกระทำอย่างใด
เป็นความผิดและต้องรับโทษ จะไปเอาผิดเอาโทษไม่ได้

เช่น เรื่องของการฟ้องอาญาเท็จ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา มาตรา 175 ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำ
ความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

กฎหมายบัญญัติเอาโทษเฉพาะเอาความเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา เช่น เอาความเท็จไปฟ้องศาลว่าเขามาลักทรัพย์เรา มาทำร้ายเรา มาข่มขืนกระทำชำเราเรา ซึ่งเป็นความผิดอาญา หากเป็นเท็จ มีความผิดต้องรับโทษ อะไรที่บอก ก็กฎหมายบอก ไม่ใช่ใครบอก ไม่ใช่ผุ้เขียนบอก คนโน้นคนนี้บอก แต่เป็นกฎหมายบอก
ถ้าเอาความแพ่งมาฟ้อง เช่น ฟ้องว่าเขากู้ยืมเงินเราทั้งๆ ที่ไม่ได้กู้ ก้ไม่เป็นความผิดฐานนี้ ใครบอก กฎหมายบอก กฎหมายบอกชัดเจนว่า เอาความเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา ดังนั้น
หากเป็นเอาความแพ่งไปฟ้องหากเป็นเท็จก็ไม่ผิดฟ้องเท็จ

ส่วนในระบบคอมมอนลอว์ การจะบอกว่าใครกระทำความผิดหรือไม่ ไม่ใช่กฎหมายบอก แต่เป็นความรุ้สึกของคนบอก บอกอย่างไร เมื่อเกิดการกระทำความผิด ก็จะต้องเอาผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ศาลตัดสิน ศาลจะตัดสินตามความรู้สึกของคนโดยอาศัยจารีตประเพณีของท้องถิ่น เช่น ในรัฐ เอ คนมีความรู้สึกว่า การยิงนกเป็นความผิด ดังนั้น หากเกิดการยิงนกขึ้นในรัฐ เอ ศาลจะตัดสินเอาตามความรู้สึกแห่งจารีตของคนในรัฐ เอ ว่าจำเลยมีความผิด แล้วนำคำพิพากษานั้นมาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วกลายเป็นกฎหมายต่อไป ต่อมาหากมีการยิงนกในรัฐเอ อีก ศาลจะตัดสินได้ทันทีว่าผู้นี้กระทำความผิด เพราะมีคำพิพากษาที่ตัดสินไว้เป็นกฎหมายแล้ว ไม่ได้อาศัยประมวลกฎหมาย หรือการโยงยึดกันของกฎหมายแต่อย่างใด

จุดสังเกตุ หากเป็นระบบประมวลกฎหมาย เวลาจะบอกว่า คนๆ นี้ทำความผิดตามกฎหมาย จะต้องอ้างตัวบทกฎหมาย มาตรานั้นมาตรานี้ แต่ถ้าเป็นกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ เวลาจะบอกว่าคนนั้นคนนี้กระทำความผิด จะอ้างคดีที่เคยตัดสินมาแล้ว เช่น คดีนี้ตัดสินตามคดีที่ นางเอ ฟ้อง นายบี ดังนี้
แล้วก็ทำการตัดสินไป

นี่คือการใช้กฎหมายที่ต่างกัน ใช้จากประมวลกฎหมาย หรือใช้จากคำพิพากษาซึ่งได้มาจากกา
ตัดสินตามจารีตประเพณีและความรู้สึกของบุคคล

ที่มาหรือกำเนิดของกฎหมายที่ต่างกัน

ในระบบซีวิลลอว์ กฎหมายเกิดขึ้นในรัฐสภา โดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัติ รัฐสภาคือ สภาที่ประกอบไปด้วยสภาสองสภา คือสภาผุ้แทนราษฎร และวุฒิสภา ทั้งสองสภามีหน้าที่ร่วมกันออกกฎหมาย เป็นการใช้อำนาจหนึ่งในอำนาจอธิปไตย คนที่อยู่ในรัฐสภา มาจากการเลือกตั้งของประชาชนส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจบริหารส่วนหนึ่ง คนเหล่านี้ มาร่วมกันออกกฎหมายเพื่อใช้บังคับแก่สังคมที่ประชาชนต้องอยู่ร่วมกันให้เกิดความสงบและปกติสุข

ในระบบคอมมอนลอว์ เช่นประเทศอังกฤษ มีรัฐสภา แต่รัฐสภาของอังกฤษไม่ได้มีหน้าที่ในการออกกฎหมาย เช่นรัฐสภาของไทย กฎหมายของอังกฤษ และอเมริกา รวมทั้งกลุ่มประเทศที่ใช้คอมมอนลอว์ เกิดขึ้นในศาล เป็นการรวบอำนาจให้องค์กรตุลาการมีอำนาจสองอำนาจคือ อำนาจออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับระบบนี้ เนื่องจากศาลจะมีอำนาจใหญ่ๆ อยู่ในมือถึงสองอำนาจ ศาลนั้นเองเป็นผุ้เขียนกฎหมายและนำกฎหมายมาใช้ในการตัดสินผุ้กระทำ ทำให้ขาดการถ่วงดุลยซึ่งกันและกัน โดยอาจจะผ่านคณะลูกขุนหรือไม่ก็แล้วแต่ระบบวิธีพิจารณาในแต่ละประเทศ จะได้กล่าวในลำดับสุดท้าย

จึงมีคำกล่าวว่า กฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ คือ judge made law กฎหมายถูกเขียนโดยผู้พิพากษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น