วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คดียุบพรรค ปชป. ร้องใหม่ได้หรือไม่ การที่ศาลไม่วินิจฉัยข้อเท็จจริงดีอย่างไร

วันนี้ไปสอนวิชากฎหมายลักษณะพยานที่สระบุรีมา นักศึกษาที่เรียนวันเสาร์ อาทิตย์นี้ (คนทำงานส่วนใหญ่เป็นตำรวจ ทหาร นักการเมืองท้องถิ่น) มีคำถามว่า หากนายทะเบียนพรรคการเมืองจะยื่นขอให้ศาลวินิจฉัยในคดีนี้ใหม่สามารถทำได้หรือไม่

เป็นคำถามที่ตอบยากมาก เพราะข้าพเจ้าก็ไม่ใช่ศาลเสียด้วย ไม่มีพยานหลักฐานใดในมือ ถ้าหากจะตอบขอตอบเป็นสองแนว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งสองกรณี

กรณีที่ศาลจะรับคำร้อง ศาลสามารถรับคำร้องแล้วให้พิจารณาใหม่ได้ เนื่องจาก

๑. ศาลวินิจฉัยว่า การยื่นคำร้องไม่ได้กระทำโดยนายทะเบียน ดังนั้น การยืนคำร้องก็ไม่มีผล หากมีความเห็นนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า พรรคประชาธิปัตย์กระทำความผิดตามมาตรา 82 นายทะเบียนก็สามารถยื่นคำร้องได้ภายในสิบห้าวัน

๒. ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายโดยที่ยังมิได้มีการวินิจฉัยความผิด ซึ่งไม่ถือเป็นการวินิจฉัยในความผิดซึ่งได้ฟ้องอันเป็นการฟ้องซ้ำ อีกทั้งพยานหลักฐานและรูปคดีนี้ยังไม่ได้มีการเปิดเผยต่อประชาชน ดังนั้น ศาลจึงชอบที่จะรับคำร้องคดีนี้ไว้พิจารณา และให้มีการสืบพยานหลักฐานกันใหม่ หรือคู่ความอาจจะอ้างพยานหลักฐานจากสำนวนในคดีเดิมก็ได้ การวินิจฉัยจะเร็วขึ้น

กรณีศาลจะไม่รับคำร้อง

๑. ไม่มีบทบัญญััติของกฎหมายให้อำนาจนำคดีขึ้นว่ากล่าวใหม่ได้ น่าจะเป็นเหตุผลสนับสนุนที่ตรงและถูกต้องที่สุดสำหรับกรณีไม่รับคำร้องที่จะยืื่นมาใหม่นี้

๒. และหากศาลได้ทำคำวิินิจฉัยส่วนตัวเปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว ศาลไม่สามารถรับคำร้องได้เนื่องจากพยานหลักฐานและประเด็นต่างๆ รวมถึงคำวินิจฉัยได้ถูกเปิดเผยแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น