วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กฎหมายแพ่งว่าด้วยบุคคล 2 สิทธิของทารกในครรภ์มารดา

ตอนที่ 1 สภาพบุคคล คลิี๊๊กที่นี่


ทารกในครรภ์มารดา สามารถเป็นผู้รับมรดกได้หรือไม่ หากมารดากับบิดามิได้จดทะเีบียนสมรสกัน และบิดาถึงแก่ความตายก่อนทารกนั้นจะคลอดออกมา ต้องพิจารณาตาม มาตรา 15 วรรคสอง

ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถจะมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังเกิดมารอดอยู่

ตามมาตรา 15 วรรคสอง ซึ่งเราได้ทราบแล้วว่าทารกในครรภ์มารดานั้นเราถือว่ายังไม่มีสภาพบุคคล แต่กฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิของทารกในครรภ์มารดาให้มีสิทธิเหมือนผู้มีสภาพบุคคลตามปรกติทุกประการโดยเงื่อนไขว่า ทารกนั้นเมื่อคลอดออกมาแล้วต้องรอดอยู่ด้วย ดังนั้นหากมีการคลอดออกมาในลักษณะที่ทารกไม่มีชีวิตทารกนั้นก็ไม่มีสิทธิ เช่น บิดาตายเสียตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา หากกฎหมายไม่บัญญัติรับรองสิทธิให้ ทารกนั้นก็จะไม่ได้รับมรดกของบิดาในฐานะทายาทโดยธรรมทั้ง ๆ ที่เขาเป็นทายาทโดยธรรม การที่บิดาตายเสียก่อนที่เขาจะเกิดมานั้นหาใช่ความผิดของทารกไม่ กฎหมายจึงบัญญัติสิทธิไว้ให้เขามีสิทธิเหมือนพี่คนอื่น ๆ ซึ่งเกิดก่อนเขาทุกประการ ดังนั้นหากเขาเกิดมาและมีชีวิตรอดอยู่ได้เขาก็มีสิทธิแบ่งมรดกกับพี่ ๆ ซึ่งเป็นทายาทชั้นเดียวกันได้เช่นกัน

ฎีกาที่ 489/06 ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาขณะที่บิดาตาย มีสิทธิเป็นทายาทได้ถ้าหากภายหลังได้เกิดมารอดอยู่ และโดยมีพฤติการณ์ที่บิดารับรองทารกในครรภ์ว่าเป็นบุตรของตน

ถ้าสังเกตุจากคำพิพากษาฉบับนี้ จะเห็นได้ว่ามีการวินิจฉัยเกี่ยวโยงไปถึงบรรพหกว่าด้วยมรดกด้วย ขอให้นักศึกษาค่อย ๆ ทำความเข้าใจตามไป

1. ปัญหาว่า ทารกในครรภ์มารดานั้นเป็นบุตรของผู้ตายซึ่งจะถือว่าเป็นทายาทตามมาตรา 1629 หรือไม่

ทายาทโดยธรรมลำดับแรกคือผู้สืบสันดานตาม มาตรา 1629 (1) ซึ่งการจะพิจารณาว่าเป็นผู้สืบสันดานหรือไม่ต้องพิจารณาจากมาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้หากบิดามารดาของทารกนั้นจดทะเบียนสมรสกันอยู่ก่อนก็คงไม่มีปัญหาอะไรเพราะกฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็เรียกว่าเป็นบุตรนอกกฎหมาย ต้องดูต่อไปว่าแล้วอย่างไรหล่ะ จึงจะถือว่าบิดาได้รับรองแล้ว

การรับรองบุตรนอกกฎหมายทำได้ 2 อย่าง คือ

ก. จดทะเบียนรับเป็นบุตรตามกฎหมาย

ข. รับรองโดยพฤตินัย คือมีการแสดงออกยอมรับว่าเด็กเป็นบุตร เช่น ขณะมารดาตั้งครรภ์บิดดามารดาได้อยู่ร่วมกัน ยอมให้ใช้นามสกุล แจ้งเกิด ส่งเสียเล่าเรียน เป็นต้น

ตามฎีกานี้นายพินผู้ตายได้แสดงออกว่านางพุดทอง เป็นภรรยา และอยู่ร่วมกันในขณะที่นางพุดทองตั้งครรภ์ ดังนั้น หากเด็กคลอดออกมาและมีชีวิตอยู่จึงถือว่าเป็นทายาทในฐานะผู้สืบสันดานตาม 1629 และมีสิทธิรับมรดกผู้ตายได้



สำหรับเรื่องต่อไปจะเป็นเรื่องของการนับอายุบุคคล

ที่ต้องศึกษาเรื่องนี้เพราะเกี่ยวพันกับการทำนิติกรรม หากยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จะเป็นโมฆียะ ถ้าหากไม่รู้วัน เดือน ปีเกิด จะนับอายุอย่างไร ต่อตอนที่ 3

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ24/12/53 14:35

    นัทจ๋า เก่งจัง แล้วคุยทั่วไปทำไมโบรัณเข้าไม่ได้ล่ะ

    ตอบลบ
  2. ืืทุกคนอยู่ในห้องนั่งเล่นจ้า เข้าห้องนั่งเล่นได้เลยจ้า

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น