วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การใช้คำนำหน้านามของภิกษุ สามเณร






คำนำหน้านามนั้นสำคัญไฉน?

จริงอยู่.. คำนำหน้านามเป็นเพียงสมมุติบัญญัติในทางธรรม  ไม่สามารถยึดมั่นถือมั่นด้วยความเป็นเราเป็นของเราได้  แต่ในทางสังคมมนุษย์แล้วคำนำหน้านามย่อมมีความสำคัญด้วยเป็นการบ่งบอกสถานะของคนในสังคม  ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม  ต่างกับสัตว์ที่แม้อยู่รวมกันก็ไม่ต้องมีคำนำหน้านามแสดงสถานะ เพราะจ่าฝูงย่อมแสดงสถานะด้วยสภาวะสัจจะคือสภาวะอำนาจตามสัญชาตญาณ 

ในอดีต  คำนำนามหน้า  ถูกเรียกขานเพื่อแสดงศักดินาของคน เช่น การใช้คำนำหน้านามของชนชั้นไพร่ว่า “อำแดง” ในกรณีเป็นหญิง  “นาย” ในกรณีเป็นชาย และ “อี”  “ไอ้”  ในกรณีเป็นทาสหญิงและทาสชาย

ในส่วนของพระภิกษุ  สังคมไทยยกย่องไว้ในที่สูงกว่าศักดินาฆารวาส  พระภิกษุ สามเณร ในพระพุทธศาสนาจึงต้องมีคำนำหน้านามที่แยกจากคนทั่วไป คือ มีคำนำหน้านามอันสูงส่งว่า “พระ”  อะไรก็ตามที่คนไทยยกเป็นของสูงจะเรียกขานด้วยคำนำหน้านามว่า “พระ” เช่น พระเจ้าอยู่หัว ฯลฯ  พระอัยการ คือคำเรียกขานกฎหมายซึ่งยกไว้เป็นของสูง    พระบาลี  คือคำเรียกขานภาษาบาลีซึ่งถือเป็นภาษาสูง  จึงมีกฎหมายยกเว้นการทำบัตรประชาชนของพระ และให้พระต้องใช้คำนำหน้านามว่า  “พระ”  หรือ “พระมหา” กรณีสอบได้เป็นเปรียญธรรมตั้งแต่ประโยคสามขึ้นไป

การพูดหรือสนทนากับพระ  ญาติโยมมักให้เกรียติพระเสมอ  แม้เป็นกษัตริย์เมื่อจักสนทนากับพระ ก็จะต้องกราบไหว้พระ  สนทนาด้วยความนอบน้อม  เป็นครูบาอาจารย์จะสอนหนังสือพระ ก็ต้องถวายความรู้ด้วยความนอบน้อม  ก่อนสอนก็กราบไหว้  สอนเสร็จก็กราบไหว้  ผิดกับการสอนหนังสือแก่ฆารวาสทั่วไปที่ศิษย์ต้องกราบไหว้ขอความรู้จากอาจารย์  เมื่อเป็นดังนี้แล้ว  การแสดงสมณเพศจึงเป็นสิ่งสำคัญ  การที่ภิกษุ สามเณร ไม่แสดงสมณเพศส่งผลกระทบถึงสังคมหลายประการ  ปัจจุบันพบว่า พระภิกษุ สามเณรที่ใช้การสื่อสารระบบออนไลน์ทุกรูปแบบเช่น Facebook  ไม่เปิดเผย ไม่แสดงสมณเพศ  ทำให้เกิดปัญหาในการสนทนากับฆารวาสที่มิทราบว่าคู่สนทนาเป็นพระคุณเจ้า สีกาอาจจะสนทนาหยอกล้อด้วยคำมิควร และพระภิกษุ สามเณร  ที่มีจิตไม่บริสุทธิ์ ไม่ซื่อตรงต่อพระธรรมวินัย ไม่รักษาเสขิยวัตร ข้อปฏิบัติอันงดงาม อาศัยการซ่อนตัวในระบบออนไลน์ปฏิบัติหรือสนทนาในสิ่งที่มิควรปฏิบัติหรือสนทนาเป็นอันมาก 
ในปี พ.ศ.๒๔๗๙  พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และมติของ มหาเถรสมาคม จึงมีคำสั่งให้ภิกษุเซนต์นามที่แน่นอน  ซึ่งรวมไปถึงการแสดงนามที่แน่นอนในลักษณะการ Analogy กฎหมายด้วย  หากภิกษุแสดงนามไม่แน่นอน  คือไม่แสดงนามตามกฎหมายว่า “พระ” หรือ “พระมหา” มีโทษถึงจับสึก 

มติมหาเถรสมาคม เรื่องการใช้คำนำหน้านามของภิกษุ สามเณร

มติมหาเถรสมาคม เรื่องการใช้คำนำหน้านามพระมหา

ดังนั้น ภิกษุ สามเณร ในพระพุทธศาสนา จึงควรแสดงนาม และแสดงความเป็นสมณเพศให้ถูกต้อง  พระคุณเจ้ามีสิทธิที่จะใช้นามหรือแสดงนาม  แต่พระคุณเจ้าจะใช้สิทธิให้ขัดต่อบทบัญญัติของกฏหมายไม่ได้   พระคุณเจ้ามีเสรีภาพที่จะแสดงนาม  แต่พระคุณเจ้าจะใช้เสรีภาพขัดต่อสิทธิของผู้อื่น คือสิทธิของพุทธบริษัทที่มีสิทธิรู้ เห็นและตรวจสอบวินัยของพระคุณเจ้าไม่ได้ 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น