วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระอัยการลักษณะทาษ (ทาส) กฎหมายตราสามดวง ทาสไทยสมัยโบราณ

ประเภทของทาษทีควรใช้ได้และไ่ม่ควรใช้ได้นั้น แบ่งแยกกัน มิใช่ทาษนั้นขึ้นชื่อว่าทาษแล้วจักใช้ได้ทั้งหมด ซึ่งทาษที่กฎหมายห้ามมิให้ใช้นั้น ไม่ค่อยมีการพูดถึงกันโดยเฉพาะในอินเตอร์เนต หาอ่านไม่ได้

อธิบายว่า ทาสวณฺณา อันว่าปรเพศแห่งทาษทังหลาย สตฺตมา มีเจตจำพวกอันควรจะใช้ได้นั้น ธเนน

วิกิเน ยฺยวา คือทาษไถ่มาด้วยทรัพย ๑ ปุตฺตทาสา คือลูกทาษเกิดในเรือนเบี้ย ๑ มาตาปิตา จทาสกา คือทาษได้มาแต่ฝ่ายข้างบิดามานดา ๑ ทินฺนกา จ คือทาษมีผู้ให้ ๑ อฏฏทาสาจ คือ ทาษอันได้ด้วยช่วยกังวลทุระทุกขแห่งคนอันต้องทันธโทษ ๑ ภตฺตกา จ คือทาษอันได้เลิ้ยงไว้ในกาลเมื่อเข้าแพง ๑ ธชาหตา จ ทาสกา คือนำธงไชยไปรบศึกแล้วแลได้มาเปนทาษชะเลย ๑ ทาส ๗ ประการดั่งนี้ควรจะใช้ได้

อนึ่งทาษอันมิควรจะใช้ได้นั้น ๖ ประการมีบาฬีดังนี้

มุญฺจนา ภิกฺขุทาสา จ พฺราหฺมณทานทาสกา

ทาโสเมติภิกฺขุ ภิกฺขุ อตฺถิสิลา อญฺเญชนา

เขตฺตทาสา ติ ฉฏฺเว ทาสกมฺเม น ลพฺภเร

อธิบายว่า ฉฏฺ เอว ทาสา อันว่าทาษไม่ควรจะว่าทาษไม่ควรจะใช้มี ๖ ประการ มุญฺจนา จ คือทาษอันโปรดเสียมิได้ใช้ ๑ ภิกฺขุทาสาจ คือทาษอันตนโปรดให้บวดเปนสมณ ๑ พฺราหฺมณทานทาสกา คือทาษอันตนโปรดให้ไปแก่พราหมณหนึ่ง ทาโส เม ติ ภิกฺขุ ภิกฺขุ คือภิกษุต่อภิษุจะว่ากันเปนทาษนั้นมิได้ ๑ อตฺถิสิลา อญฺเชนา คือผู้มาอาไศรยอยู่ในคามเขดที่เรือนสวนไร่นาแห่งตน ตนจะว่าผู้นั้นเปนทาษมิได้ ๑ เปน ๖ ประการด้วยกัน ทาส ๖ ปรการนี้ ทาสกมฺเม น ลพฺภเร อันบุทคนมิควรจะพึ่งใช้ในทาษกรรมกรแห่งตนได้

ทาสที่นายเงินจะใช้ได้นั้น กฎหมายตราสามดวงกำหนดไว้ ๗ ประเภท ได้แก่

1.ทาษสินไถ่ บุคคลที่ถูกขายหรือได้ขายตัวเป็นทาษ เช่น พ่อแม่ขายบุตร สามีขายภรรยา สามีอาจจะขายภริยาได้หากเสียการพนัน

2.ทาษในเรือนเบี้ย เด็กที่เกิดขึ้นระหว่างที่แม่เป็นทาษ

3.ทาษที่ได้รับมาด้วยมรดก ทาษที่ตกเป็นมรดกของนายทาษ เช่น พ่อแม่ตายทาษของพ่อแม่ตกได้แก่ลูก

4.ทาษท่านให้ ทาษที่ได้รับมาจากผู้อื่น

5.ทาษที่ช่วยไว้จากทัณฑ์โทษ บุคคลที่ได้รับการช่วยเหลือโดยจ่ายค่าปรับแทนให้ ไม่ต้องถูกลงโทษอาญา ก็จะมาเป็นทาษของผู้ช่วยเหลือ

6.ทาษที่ช่วยไว้ให้พ้นจากความอดอยาก ในภาวะที่ไพร่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้ประกอบอาชีพได้แล้ว ไพร่อาจขายตนเองเป็นทาษได้

7.ทาษเชลย ทาษที่ได้มาจากการชนะสงคราม ผู้ชนะจะกวาดต้อนไพร่พลไปเป็นทาษ

ทาษที่กฎหมายห้ามนำมาใช้ได้แก่

๑. ทาษอันโปรดเสียมิได้ใช้ ได้แ่ก่ทาษที่มีกฎหมายห้ามใช้ เช่น ทาษที่ไปทำภาระกิจแทนนายเงินแล้วถูกจับตัวไป หากรอดมาได้ กฎหมายไม่ให้ใช้เป็นทาษอีก ด้วยทำประโยชน์ให้แก่นายเงินมากแล้ว

๒. ทาษอันตนโปรดให้บวดเปนสมณ ทาษที่นายเงินศรัทธาในพระศาสนาให้บวชเป็นสมณแล้ว แม้ต่อมาภายหลังจะสึกออกมาก้เอามาเป็นทาษอีกไม่ได้

๓. ทาษอันตนโปรดให้ไปแก่พราหมณ ทาษที่ตนได้ยกให้แก่พราหมณ์แล้ว

๔. ภิกษุต่อภิษุจะว่ากันเปนทาษนั้นมิได้ ห้ามภิกษุผู้ใหญ่ใช้ผู้น้อยเป็นทาษ

๕. ผู้มาอาไศรยอยู่ในคามเขด ผู้มาอาศัยในเขตเรือนอยู่อย่างสหาย

๖. ผู้มาอาศัยที่เรือนสวนไร่นาแห่งตน ผู้มาอาศัยในสวนในไร่นาอย่างสหาย

ทาษ ๖ ประเภทนี้จะนำมาใช้ไม่ได้

ปุจฉา...

กรรมใดจำแนกคนให้ต่างกัน ทำให้เป็นผู้เกิดในตระกูลสูง ในตระกูลต่ำ

วิสัจชนา..

[๕๙๒] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม

เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควร

ลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง

ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ

ไม่บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ

กรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคน

เกิดในสกุลต่ำ ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้ คือ เป็นคน

กระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ

ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่

สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่

บูชาคนที่ควรบูชา ฯ

[๕๙๓] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม

เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควร

ลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง

สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคน

ที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้

พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเกิด

เป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง ดูกรมาณพ

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้ คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง

ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควร

แก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคน

ที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา ฯ

หมายเหตุ คำว่า ทาษ มิได้เขียนผิด แต่คำนี้โบราณเขียนเช่นนี้ เมื่อจะกล่าวถึงคำโบราณจึงสมควรให้ตัวสะกดเสียให้ถูกต้อง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น