วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

การสมรส เงื่อนไขในการสมรส

การสมรส

การสมรสหมายถึง การที่ชายและหญิงสมัครใจเข้ามาอยู่กินกันฉันสามีภริยา ชั่วชีวิตโดยจะไม่เกี่ยวข้องทางชู้สาวกับบุคคลอื่นใดอีก การสมรสประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 4 ประการคือ

1. คู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นชายและอีกฝ่ายจะต้องเป็นหญิง

2. การสมรสจะต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจของชายและหญิง หากชายหญิงไม่ยินยอมสมรสกัน การสมรสนั้นเป็นโมฆะ

3. การอยู่กินกันฉันสามีภริยาจะต้องเป็นระยะเวลาชั่วชีวิต

4. การสมรสจะต้องมีคู่สมรสเพียงคนเดียวเท่านั้น

เงื่อนไขการสมรส และผลของการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขตามกฎหมาย

1. ชายและหญิงจะต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้วทั้งสองคน ตามมาตรา 1448 การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรานี้มีผลเป็นโมฆียะตามมาตรา 1503 ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนได้

2. ชายและหญิงจะต้องไม่เป็นคนวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซี่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

ตามมาตรา 1449 การฝ่าฝืนมาตรานี้มีผลให้การสมรสเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียนำคดีขึ้นสู่ศาลขอให้มีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะได้

1. ญาติสนิทจะทำการสมรสกันไม่ได้ ตามาตรา 1450 ซึ่งญาติสนิทนี้กำหนดไว้ 4 ประเภทคือ

- ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป

- ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงมา

- พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

- พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา

การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรานี้มีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 1495

4. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ ตามมาตรา 1451 แต่เนื่องจากบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมมิใช่ญาติสืบสายโลหิตกันกฎหมายจึงมิได้กำหนดผลของการฝ่าฝืนไว้ ดังนั้นการฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อนี้การสมรสจึงมีผลสมบูรณ์ เพียงแต่ทำให้การรับบุตรบุญธรรมยกเลิกไปโดยปริยาย

5. ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ขณะทาการสมรส ตามมาตรา 1452 การฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อนี้มีผลทำให้การสมรสเป็นโมฆะตามาตรา 1495 โดยไม่จำต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลเหมือนบทบัญญัติเก่า ผู้มีส่วนได้เสียสามารถยกขึ้นกล่าวอ้างได้ หากตราบที่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลหรือยังไม่มีการยกขึ้นกล่าวอ้างอยู่ตราบใดการสมรสนี้ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่ตราบนั้น

6. ชายและหญิงต้องยินยอมเป็นสามีภรรยากัน ตามมาตรา 1458 การสมรสที่ปราศจากความยิน

ยอมเป็นโมฆะตามมาตรา 1495

อนึ่ง มาตรา 1458 ได้บัญญัติให้ชายหญิงแสดงความยินยอมเป็นสามีภรรยากันโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียน ดังนี้จึงไม่อาจตั้งตัวแทนไปจดทะเบียนสมรสได้ หากมีการตั้งตัวแทนแล้วนายทะเบียนรับจดให้การสมรสนั้นก็จะเป็นโมฆะเช่นกันเพราะเป็นการสมรสที่ปราศจากความยินยอม

7. หญิงหม้ายจะทำการสมรสได้ต่อเมื่อล่วงพ้นเวลา 360 วัน นับแต่วันที่ขาดจากการสมรสเดิมเสียก่อนตามมาตรา 1453 เว้นแต่

- ได้คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น

- สมรสกับคู่สมรสเดิม

- มีใบรับรองแพทย์ว่ามิได้มีครรภ์

- มีคำสั่งศาลให้ทำการสมรสได้

การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรานี้กฎหมายไม่ได้กำหนดผลไว้ จึงทำให้การสมรสนั้นมีผลสมบูรณ์ บุตรที่

เกิดภายใน 310 วันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง มาตรา 1537 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีใหม่

8. ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดามารดา หรือ ผู้ปกครอง ตามมาตรา 1454 ซึ่งบัญญัติให้นำ 1436 มาใช้ ดังนั้นการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรานี้จึงมีผลเป็นโมฆียะ

12 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ20/1/55 08:59

    ถ้าชื่อของคู่สมรส อยู่คนละสำเนาทะเบียนบ้าน จะสามารถทำการจดทะเบียนสมรสกันได้หรือเปล่าค่ะ

    ตอบลบ
  2. ทำการจดทะเบียนสมรสกันได้ค่ะ อย่างครูกับสามีก็มีชื่อคนละทะเบียนบ้านค

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ16/5/55 13:48

    เลิกและขาดการติดต่อกันกับสามีเป็นเวลา2ปีมาแล้วทะเบียนสมรสจะเป็นโมฆะมั้ยคะ

    ตอบลบ
  4. ไม่ขาดจากการเป็นสามีภริยาค่ะ จะต้องจดทะเบียนหย่าเท่านั้นค่ะ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ27/8/55 19:45

    ถ้าอายุ15ปีได้เสียกันจนมีลูกจะสามารถจดทะเบียนได้ป่าวคับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 1. ชายและหญิงจะต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้วทั้งสองคน ตามมาตรา 1448 การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรานี้มีผลเป็นโมฆียะตามมาตรา 1503 ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนได้

      ถ้าจะสมรส ต้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตค่ะ

      ลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ26/9/55 17:56

    การแต่งงานโดยที่ไม่ได้จดทะเบียนมรส หรือการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1458 กฎหมายไม่ได้กำหนดผลไว้ จึงทำให้การสมรสนั้นมีผลสมบูรณ์ตามที่ครูบอก อยากทราบว่าหากคู่แต่งงานที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย หากกระทำผิดต่อกัน อย่างเช่น ลักทรัพย์ จะได้รับการยกเว้นโทษเหมือนคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

    ตอบลบ
  7. ไม่ได้รับลดหย่อนหรือยกเว้นโทษค่ะ

    ตอบลบ
  8. ขอถามหน่อยคับหากกำลังจะแต่งงานแล้วฝ่ายหญิงหนีไปกับคนใหม่จะดำเนินคดีได้มั้ยคับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ได้เลยค่ะ เพราะการสมรสต้องสมัครใจเท่านั้น จะบังคับใคร หรือเอาผิดใครให้มาสมรสด้วยไม่ได้เลย ในกฏหมายโบราณ เคยมีกรณีอำแดงเหมือนกับนายฤทธิ ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ พิพากษาให้อำแดงเหมือนมีสิทธิเลือกคู่สมรสของตนเอง

      ลบ
  9. ถ้า เรา ไป หมั่น เค้า ไว้ แล้ว แล้ว เค้า ก้อ หนี เรา ไป มี คน อื่น เรา สามารถ เอา เงิน สินสอด ที่ หมั่น กาน ไว้ คืน ได้ ป่าว อ่า คัฟๆ

    ตอบลบ
  10. ฐิติพร นากา16/12/55 17:23

    ถ้าแฟนเรายังติดทะเบียนสมรสอยู่ แต่ภรรยาของเขาหนีไปกับคนอื่น แล้วสามีสามารถทำอะไรได้บ้างค่ะ นอกจากการฟ้องหย่า แล้วจะสามารถหย่าปลายทางได้ไหมค่ะ

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น