แบบแห่งการสมรส
ตามกฎหมายไทย บรรพ 5 ใหม่ (ปัจจุบัน) การสมรสจะต้องมีการจดทะเบียนเท่านั้นตาม 1457 ไม่จำเป็นต้องมีพิธีการอย่างอื่น แต่กฎหมายบางประเทศกำหนดพิธีการเป็นสำคัญ ซึ่งเราจะได้ศึกษาต่อไป
การจดทะเบียนสมรสสามารถกระทำได้โดยยื่นคำร้องขอต่อนายทะเบียน เมื่อได้รับคำร้องดังกล่าวแล้วนายทะเบียนจะต้องจดทะเบียนสมรสให้ เว้นแต่จะเข้าหลักเกณฑ์ข้อห้ามสมรสตามที่ได้กล่าวมาแล้ว การจดทะเบียนจะต้องกระทำด้วยตัวเองมอบอำนาจไม่ได้
มาตรา 1448 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
หากชายหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายฝ่าฝืนเงื่อนไขการสมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆียะตาม 1503 ผู้มีส่วนได้เสียคือบิดามารดาและตัวชายหญิงนั้นเองมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลขอให้เพิกถอนการสมรสได้ตาม 1504 หากมิได้เพิกถอนจนชายหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือหญิงมีครรภ์ขึ้นก่อนหญิงอายุครบ 17 ปี การสมรสนั้นสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาที่สมรสจะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนอีกไม่ได้
ข้อสังเกต ในเรื่องการสมรสที่ฝ่าฝืนอายุนี้จะขอความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองก็ไม่ได้ แต่ร้องขอต่อศาลได้
ถ้ามีเหตุอันสมควร เช่นหญิงอายุ 16 ปี มีครรภ์แล้วศาลจะอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนอายุครบ 17 ได้เพื่อบุตรที่เกิดขึ้นจะได้มีกฎหมายรับรอง
มาตรา 1449 การสมรสจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือ เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
มาตรา 1450 ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการสมรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิตโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
มาตรา 1451 ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
(ถ้าฝ่าฝืนการสมรสก็สมบูรณ์ แต่ความเป็นบุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกไปตาม 1598/32)
มาตรา 1452 ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
มาตรา 1453 หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
(1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น (รวมถึงการแท้งด้วย)
(2) สมรสกับคู่สมรสเดิม
(3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์หรือ
(4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
หมายเหตุ 310 วันในที่นี้หมายถึง
1. กรณีสามีถึงแก่ความตาย นับแต่วันตายของสามี
2. กรณีหย่าขาดจากสามี ถ้าเป็นการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายให้นับแต่วันจดทะเยียนการหย่า ถ้าหย่าโดยคำพิพากษานับแต่คดีถึงที่สุด
3. กรณีเพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะ หรือศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะให้นับแต่คดีถึงที่สุด
(ถ้ามีการฝ่าฝืนการสมรสนั้นก็สมบูรณ์ ถ้ามีบุตรเกิดขึ้นภายใน 310 วัน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีคนใหม่ 1537)
มาตรา 1454 ผู้เยาว์จะทำการสมรสให้นำความในมาตรา 1436 มาใช้บังคับโดยอนุโลม (อายุเกิน 17แต่ไม่ถึง 20)
มาตรา 1455 การให้ความยินยอมโดยให้ทำการสมรสจะกระทำได้แต่
(1) ลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส
(2) ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่ายและลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอม
(3) ถ้ามีเหตุจำเป็น จะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนก็ได้
ความยินยอมนั้น เมื่อให้แล้วถอนไม่ได้
มาตรา 1459 การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้
ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทยให้พนักงานทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน
มาตรา 1460 เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งไม่อาจทำการจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนได้ เพราะชายหรือหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายหรืออยู่ในภาวะการรบหรือสงครามถ้าชายและหญิง
นั้นได้แสดงเจตนาจะสมรสกันต่อหน้าบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่ ณ ที่นั้นแล้วให้บุคคลดังกล่าวจดแจ้งการแสดงเจตนาขอทำการสมรสของชายและหญิงนั้นไว้เป็นหลักฐาน และต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันภายใน 90วันนับแต่วันที่อาจทำการจดทะเบียนต่อนายทะเบียนได้ โดยแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนและให้นาทะเบียนจดแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่แสดงเจตนาขอทำการสมรสและพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ในทะเบียนสมรส ให้ถือว่าวันแสดงเจตนาขอทำการสมรสต่อบุคคลดังกล่าวเป็นวันจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนแล้ว
ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับถ้าหากจะมีการสมรสในวันแสดงเจตนาขอทำการสมรส การสมรสนั้นจะตกเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างบุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรม
มาตรา 1451 ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
มาตรา 1494 การสมรสจะเป็นโมฆะก็แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้
มาตรา 1495 การสมรสที่ฝ่าฝืน มาตรา 1449 มาตรา 1450 มาตรา 1452 และ มาตรา 1458 เป็นโมฆะ
มาตรา 1598/32 การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการ สมรสฝ่าฝืน มาตรา 1451
อย่างไรก็ดี กฎหมายมิได้บัญญัติให้การสมรสที่ฝ่าฝืนต่อการรับบุตรบุญธรรมนั้นเป็นโมฆะ ดังนั้น จึงไม่ใช่กรณีที่กฎหมายห้ามทำการสมรส การสมรสของนายดำและด.ญ.แดงจึงสมบูรณ์
อ่านแล้ว ไม่เห็นมีคตรงไหน ที่ผุ้ชายกับ สาวประเภท2ห้ามจดทะเบียนกันเลยนี่
ตอบลบแล้วตกลงมันจดทะเบียนสมรสได้หรือไม่
จดไม่ได้ค่ะ เพราะกฎหมายบัญญัติชัดเจนว่า ชายกับหญิง
ตอบลบมาตรา 1448 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
คือว่าพ่อของดิฉันอายุมากกว่า 72 ปีแต่งงานแล้ว ได้ไปมีสัมพันธ์กับเด็กอายุต่ำกว่า15 ปีค่ะ ไม่แน่ใจเรื่องอายุเพราะน้องเค้าอยู่ประมาณม.3 ค่ะ แต่พ่อแม่เด็กเห็นยินยอมด้วยเพราะทางพ่อเค้ามีเงินจริงๆเค้าก็เป็นคนเจ้าชู้มานานแล้ว ทางแม่ไม่ทราบจนทราบเมื่อ เด็กเกิดท้องขึ้นมา แต่ทางครอบครัวของเด็กอยากให้เด็กเข้ามาอยู่ในบ้าน แม่ มีโอกาสที่จะปฎิเสธการเข้ามาอยู่หรือเปล่าค่ะ แล้วถ้าจะฟ้องสามีในโทษฐานพรากผู้เยาว์ได้หรือเปล่า เพราะพ่อแม่ของเด็กหญิงคนนั้นเต็มใจ แล้วสามีจะหาเรื่องหย่ากับภรรยาของตนได้หรือไม่ค่ะ,ไม่อยากทำร้ายเด็กแต่แม่ของดิฉันก็ถูกทำร้ายทางจิตใจเหมือนกันและเลี้ยงลูกมาด้วยความสุจริต แล้วจะแก้ปัญหาให้แม่ของดิฉันอย่างไรดีค่ะ
ตอบลบ