วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระเป็นพยาน พระอัยการลักษณะพยาน

พระภิกษุ สามเณร ในสมัยก่อนนี้ (ครั้งกรุงศรีอยุทธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น) สามารถไปเป็นพยานในศาลได้ แต่วิธีการสืบพยานจะไม่เหมือนกันการสืบพยานฆารวาส และจะมีวิธีการสืบอย่างไร ลองติดตามอ่านบันทึกนี้ดูนะคะ

๒๐ มาตราหนึ่ง ผู้มีอรรถคดีอ้างพญาณสามประการ ๆ หนึ่งอ้างพระสงฆแลพระสงฆทรงไตรยตะพายบาตรบริกขาร ๘ สำหรับพุทธปัญญัติ คือผ้าสังฆาฏิ ๑ ผ้าจีวร ๑ ผ้าสบง ๑ บาตร ๑ มีดอะรัญญะวาศรี ๑ กล่องเขม ๑ รัตคด ๑ ผ้าตรองน้ำ ๑ ให้กระลาการพิจารณาดู ถ้าพระสงฆทรงบริกขาร ๘ ครบดั่งนี้ท่านให้ฟังเอาเปนพญาณได้ ถ้าอรรถบริกขารทัง ๘ ขาดแต่งสิ่งหนึ่งท่านว่าหมีสมโดยอ้าง ถ้ากระลาการอ่านผเดนฃ้อความให้ฟัง พระสงฆทำกิริยาล้มตาลิปัดลง ท่านว่าฃ้อนั้นไม่สม ถ้าอ่านผเดนถึงข้อใดถือตาลิปัตสำรวมนิ่งอยู่ท่านว่าฃ้อนั้นสม ถ้าแลเผชิญพระสงฆทรงไตรอรรถบริกขารทัง ๘ ครบ ถ้าแลพระสงฆนั้นกล่าวถ้อยคำสมโดยอ้าง ท่านว่าอุตริพญาณหมีได้อยู่แก่ศีลสิกขาบทพระพุทธโอวาท จะฟังเอาถ้อยคำพระสงฆนั้นหมีได้

21

๒๑ อนึ่งถ้าอ้างสามเณรห่มดองถือย่ามเครื่องย่ามมีครบกระลาการอ่านผเดนให้ฟัง สามเณรถือย่ามนิ่งอยู่ ท่านว่าสมโดยอ้าง ถ้าอ่านผเดนถึงข้อใดวางย่ามลงไว้ ท่านว่าข้อนั้นไม่สมโดยอ้าง ถ้าสมเณรห่มสใบเฉียงหมีได้ถือย่ามแลกล่าวถ้อยคำแก่กระลาการ ท่านว่าเปนอันธพาละฟังเอาคำนั้นหมีได้

การสืบพยานพระภิกษุ สามเณรในพุทธศาสนานั้น กฎหมายห้ามไม่ให้พระและเณรพูดเลย นอกจากนี้การแต่งกายของพระยังสำคัญต่อการรับฟังเ็ป็นพยานด้วย เนื่องจากพระที่น่าเชื่อถือ และปฏิบัติดีตามพระพุทธศาสนาควรที่จะนุ่งห่มตามพระธรรมวินัย ด้วยอัฐบริขารครบสมบูรณ์ หากพระสงฆ์ผู้มาเป็นพยานทรงอัฐบริขารไม่ครบไม่ให้รับฟังเป็นพยาน

ในการถามพยานจะกระทำโดยการให้ตอบด้วยการทำกิริยาล้มตาละปัดหากว่าจะตอบว่าไม่ใช่ ให้ตั้งตาละปัด หากว่าข้อนั้นจะตอบว่าใช่ จึงมีคำตอบจากพระได้แต่เพียงใช่ กับไม่ใช่

สำหรับเณรให้พิจารณาการนุ่งห่มว่าต้องห่มดอง ถ้าไม่ห่มดองถือว่าแต่งกายถูกต้องไม่น่าเชื่อถือ ไม่สามารถเอาเป็นทิพย์พยานได้ การตอบคำถามก็เช่นกัน ให้เณรพึงทำด้วยการวางย่ามลงหากต้องการตอบว่าไม่ใช่ และให้ถือย่ามนิ่งอยู่หากจะตอบว่าใช่ หากพระหรือเณรกล่าวถ้อยคำใดออกมา กฎหมายถือว่า เป็นอันธพาล คำพยานนั้นเป็นอุตริพยาน รับฟังไม่ได้เลย

หมายเหตุ

การชั่งน้ำหนักพยานแบ่งเป็น

ทิพย์พยาน พยานที่ดีมีน้ำหนักมาก ได้แก่ พระภิกษุสามเณร นักบวช ครูอาจารย์ เป็นต้น

อุดรพยาน พยานที่ดีมีน้ำหนักปานกลาง ได้แก่ ชาวบ้านทั่วไป พ่อค้า เป็นต้น

อุตริพยาน พยานที่เลวมีน้ำหนักน้อย ได้แก่ ขอทาน คนพิการหูหนวกตาบอด คนไร้ญาติ บุคคลที่เป็นพยานให้แก่ญาติตนเอง



2 ความคิดเห็น:

  1. เรียน คุณนัทจ๋า น่ารักที่สุด

    ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลนี้ มีประโยชน์มากๆ อยากให้บุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองได้อ่านและพิจารณา จะได้มีความละอาย และอายในสิ่งที่ตนได้กระทำลงไปกับบุคคลอื่นที่บริสุทธิ์

    นับถือครับ

    อนุโมทนา... สาธุ 26/3/54

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น