วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

การสมรสที่เป็นโมฆะ และผลของการสมรสที่เป็นโมฆะ

ความเป็นโมฆะของการสมรส

มาตรา 1495 การสมรสที่ฝ่าฝืน มาตรา 1449 มาตรา 145O มาตรา 1452 และมาตรา 1458 เป็นโมฆะ

มาตรา 1496 คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่า การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 และมาตรา 1458 เป็นโมฆะ

คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส อาจร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ถ้า ไม่มีบุคคลดังกล่าว ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลก็ได้

มาตรา 1497 การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้

อธิบาย การสมรสที่ฝ่าฝืน 1449 (วิกลจริต) 1450 (ญาติ) 1452 (ซ้อน) 1458 (ความยินยอม) เป็นโมฆะแต่ต้องให้ศาลมีคำพิพากษาเสียก่อนถ้าศาลยังไม่มีคำพิพากษาอยู่ตราบใด การสมรสนั้นยังคงสมบูรณ์อยู่ เว้นแต่ 1452สมรสซ้อน บุคคลผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้นหรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาก็ได้ ถ้าผู้มีส่วนได้เสียกล่าวอ้างขึ้นแล้วก็ต้องถือว่าการสมรสนั้นเสียเปล่ามาตั้งแต่เริ่มแรก (ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น คู่สมรส ผู้สืบสันดานของคู่สมรส บิดามารดา พนักงานอัยการ)

อย่างไรก็ดีการกล่าวอ้างว่าการสมรสซ้อนเป็นโมฆะอีกฝ่ายหนึ่งนั้นอาจจะไม่ยอมรับและอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้ เพราะยังไม่มีการบันทึกความเป็นโมฆะไว้ในทะเบียนสมรส เช่นหากมีการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินให้บุคคลภายนอกโดยภริยาน้อย ภริยาหลวงถ้าเพียงแต่กล่าวอ้างก็ไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้เพราะบุคคลภายนอกสุจริต

ผลของการสมรสที่เป็นโมฆะ

มาตรา 1498 การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาไม่ว่าก่อนหรือหลังการสมรสรวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรสั่งเป็นประการอื่นเมื่อได้พิเคราะห์ถึงภาระในครอบครัว ภาระในการหาเลี้ยงชีพ และฐานะของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ตลอดจนพฤติการณ์ อื่นทั้งปวงแล้ว

มาตรา 1499 การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา1450 หรือมาตรา1458 ไม่ทำให้ชายหรือหญิง ผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นโมฆะ

การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 ไม่ทำให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนที่ชายหรือหญิงนั้น รู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ แต่การสมรสที่เป็นโมฆะดังกล่าวไม่ทำให้คู่สมรสเกิดสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง

การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 หรือมาตรา 1458 หรือฝ่าฝืนมาตรา 1452 ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดได้สมรสโดยสุจริตฝ่ายนั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ และถ้าการสมรสที่เป็นโมฆะนั้นทำให้ฝ่ายที่ได้

สมรสโดยสุจริตต้องยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานที่เคยทำอยู่ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือก่อนที่จะได้รู้ว่าการสมรสของเป็นโมฆะ แล้วแต่กรณี ฝ่ายนั้นมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ด้วยสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพในกรณีนี้ให้นำมาตรา 1526 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1528 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

สิทธิเรียกร้องค่าทดแทน หรือค่าเลี้ยงชีพตามวรรคสาม มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด สำหรับกรณีการสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 หรือมาตรา 1458 หรือนับแต่วันที่

รู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ สำหรับกรณีการสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452

อธิบาย 1. การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน คือไม่มีการสมรสมาตั้งแต่ต้นจึงไม่มีทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่จะต้องแบ่งกัน แต่อย่างไรก็ดี ทรัพย์สินที่คู่สมรสทำมาหาได้ร่วมกันต้องถือว่าเป็นกรรมสิทธิรวมต้องแบ่งกันคนละครึ่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรกำหนดอย่างไร

949/2531 เมื่อการสมรสเป็นโมฆะแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยไม่ได้

2. การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ทำให้คู่สมรสที่สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสและยังมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพและค่าทดแทนได้อีกด้วย มาตรา 1499 ให้ความคุ้มครองไว้ 3 กรณีคือ

2.1 ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น

) การสมรสเป็นโมฆะในกรณีปกติ ได้แก่ วิกลจริต เป็นญาติ ฝ่าฝืนความยินยอม คู่สมรสที่สุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาเช่นสิทธิในการหักลดหย่อนภาษี ของหมั้นที่ตกได้แก่หญิง หรือหากมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้การสมรสเป็นโมฆะภายหลังจากที่ชายตายแล้วหญิงมีสิทธิในการรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แต่ถ้าไม่สุจริตไม่มีสิทธิรับมรดก

) กรณีโมฆะเพราะสมรสซ้อน ชายหรือหญิงที่สมรสโดยสุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนที่ชายหรือหญิงนั้นจะรู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ

อย่างไรก็ดีการสมรสซ้อนนั้นแม้คู่สมรสที่จะทำการสมรสโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของอีกฝ่ายหนึ่ง (เพราะเขามีคู่สมรสที่ถูกต้องจะได้รับอยู่แล้ว) หากเป็นพินัยกรรมไม่ห้ามแต่อย่างใด

2.2 ชายหรือหญิงที่สมรสโดยสุจริตมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ สิทธิเรียกค่าทดแทนมีอายุความ 2 ปีนับแต่

วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการสมรสเป็นโมฆะ หรือนับแต่วันที่รู้ถึงเหตุที่เป็นโมฆะ (ซ้อนกล่าวอ้าง) กฎหมายให้สิทธิเฉพาะคู่สมรสฝ่ายที่สุจริตเรียกจากฝ่ายไม่สุจริตเท่านั้น เช่น ชายหลอกหญิงว่าไม่มีภรรยาหญิงจึงยอมจดทะเบียน สมรสด้วย หญิงเรียกค่าทดแทนได้ แต่ถ้าต่างฝ่ายต่างไม่สุจริตเรียกกันไม่ได้

2.3 ชายหรือหญิงที่สมรสโดยสุจริตมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ คู่สมรสที่สุจริตมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพจากคู

สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ถ้าความเป็นโมฆะนี้ทำให้ตนต้องยากจนลงเพราะไม่มีรายได้เพียงพอจากทรัพย์สินหรือจากการงานที่เคยทำอยู่ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้การสมรสเป็นโมฆะ หรือก่อนที่จะได้รู้ว่าการสมรสของตนเป็นโมฆะกรณีสมรสซ้อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น