วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

ปาฏิโมกข์ 227 กับกฎหมาย

ศีลและวินัยคืออะไร ต่างกันอย่างไร


ศีล คือ "ข้อปฏิบัติ" ที่เป็นไปเพื่อความไม่เบียดเบียน เป็นฐานแห่งพระนิพพาน


วินัย คือ "ข้อบังคับ" (เหมือนกฎหมาย) ต้องปฏิบัติ หรือห้ามปฏิบัติ ถ้า

ฝ่าฝืน มีโทษ โทษทางวินัยเรียกว่า อาบัติ


การที่บัญญัติวินัยที่มีอาบัติ การบังคับวินัยนั้นจะทำไม่ได้ จึงต้องมีการบัญญัติอธิกรณสมถะด้วย เหมือนกฎหมายอาญาที่มีการบัญญัติข้อบังคับและมีโทษ แต่การจะบังคับดำเนินคดีอย่างไร ต้องใช้วิธีพิจารณาความอาญา แม้วินัยและอธิกรณสมถะก็ฉันนั้นเหมือนกัน

สิ่งที่ต้องยกขึ้นสู่พระปาฏิโมกข์คือวินัยไม่ใช่ศีล วินัยสงฆ์รวมอธิกรณสมถะจึงมี ๒๒๗ ไม่ใช่สองพันกว่าข้อตามคำกล่าวของพระคึกฤทธิ์

การตัดสินพระวินัยต้องถือตามพระวินัยปิฎก ไม่ใช่ถือตามพระสูตร
เหมือนอาญาจะตัดสินคดีอาญาต้องตัดสินตามกฎหมายอาญาไม่ใช่กฎหมายแพ่ง

ถ้าสวดปาฏิโมกข์ไม่ครบ จะทำให้ภิกษุนั้นขาดความระลึก จำได้หมายรู้ในพระปาฏิโมกข์ เหมือนนักเรียนกฎหมายที่ท่องตัวบทกฎหมายไม่ครบ จะรักษากฎหมาย ใช้กฎหมายให้ถ้วนถี่นั้นยากยิ่ง

เอวัง ศีลและวินัยก็มีด้วยประการฉะนี้

วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รอการประหาร



รอการประหาร คืออะไร ทำใมเมื่อศาลพิพากษาแล้วไม่ประหารเสียที ค้างประหารเป็นร้อยชีวิต  

เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ประหารชีวิต จะประหารทันทีไม่ได้ จะต้องมีการขอพระราชทานอภัยโทษเว้นโทษประหารไปยังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อให้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย

๑. ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยพระราชทานอภัยโทษเว้นโทษตายให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต นักโทษจะได้ถอดตรวนและใช้ชีวิตอย่างปกติเหมือนมนุษย์ทั่วไป ซึ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลอย่างหนึ่งของพระองค์ตามหลักพุทธศาสนา

๒. ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยให้ฎีกาตกไป ซึ่งก็หมายถึงไม่พระราชทานอภัยโทษนั่นเอง ส่วนมากที่ไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษจะเป็นคดีค้ายาบ้าประเภทมากๆ เป็นแสนๆ เม็ด เมื่อฎีกาตก ก็สามารถนำไปประหารได้ ที่เหลือคือรอความพร้อมในการประหารซึ่งเป็นเวลาอันนับถอยหลังแล้ว

๓. พระเจ้าอยู่หัวยังไม่มีพระบรมราชวินิจฉัยก็ต้องใส่ตรวนรอต่อไป จะประหารเลยไม่ได้

๔. พระเจ้าอยู่หัวยกฎีกา แต่นักโทษวิกลจริต เพราะกลัวจนเป็นบ้า ต้องรักษาจนกว่าจะหายแล้วจึงประหาร ถ้ารักษาแล้วไม่หายภายใน ๑ ปี ให้ลดโทษเหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต

๕. พระเจ้าอยู่หัวยกฎีกา แต่จำเลยเป็นหญิงมีครรภ์ ให้รอจนคลอดและบุตรอดนมก่อนจึงจะแยกบุตรออกไปแล้วประหารชีวิตได

นัทถามว่า คนที่มีความคิดให้ประหารทันทีทราบเรื่องราวพวกนี้แค่ไหน และมีเมตตาเหลืออยู่ในใจหรือไม่ หรือคิดจะก้าวข้ามพระบรมราชวินิจฉัย และถ้าบอกว่า ไม่มีพระบรมราชวินิจฉัยเสียที ขอถามว่ามันกงการอะไรของเราต้องไปสนใจ นักโทษคนนั้น ยังไงก็ใส่ตรวนอยู่ในคุก ตกลงเราอยากให้คนตายหรืออยากบังคับโทษให้เป็นไปตามกฎหมายด้วยความยุติธรรมกันแน่

การพระราชทานอภัยโทษ




การอภัยโทษคืออะไร มีที่มาอย่างไร

การอภัยโทษ คือการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระราชา มีมาแต่ก่อนพุทธกาล ในพระไตรปิฎกก็ปรากฎ ในประเทศไทยมีมาเป็นหลายร้อยปี 

แบ่งเป็นการพระราชทานอภัยโทษเฉพาะรายยกเว้นโทษตาย (โทษประหาร) กับการอภัยโทษเป็นการทั่วไป ซึ่งมีเงื่อนไขมากมายกว่านักโทษจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ 

เมื่อการอภัยโทษเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลอันยิ่งใหญ่ของพระราชา ผู้ซึ่งขัดขวางการบำเพ็ญกุศลนั้นจึงคือคนบาป เป็นโจรปล้นบุญ เพื่อนสมาชิกบางคนนัทยุติการคบหาทั้งๆ ที่คบกันมานาน เพราะกึ่งมิจฉาทิฏฐิว่าการฆ่าคนผิดแม้บาปก็ยอมรับ และมีเจตนาขัดขวางบุญของผู้อื่นอย่างชัดเจน นัทไม่คบหาคนประเภทนี้

เมื่อการอภัยโทษมีมานานขนาดนี้ แล้วเรา เด็กปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมจะล้มล้างจารีตที่ชอบโดยธรรม และเป็นไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะความไม่พอใจส่วนตัวในคดีเดียว มันถูกหรือ ?

พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความอุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรมเราจึงรับโทษของเธอนั้น ข้อที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปนี้ เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”

ภัททาลิสูตร ม. ม. (๑๖๕)
ตบ. ๑๓ : ๑๖๗ ตท.๑๓ : ๑๔๕
ตอ. MLS. II : ๑๑๑

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์



เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

ใครมีสิทธิในงานลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"ผู้สร้างสรรค์" หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้


ดังนั้น กรณีภาพถ่าย ผู้มีสิทธิในภาพถ่ายคือผู้ถ่ายภาพและหากเป็นการถ่ายภาพบุคคล บุคคลตามภาพนั้นเป็นผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์นั่นเอง

มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒)เผยแพร่ต่อสาธารณชน

กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดงานที่ถือว่าไม่มีลิขสิทธิ์ไว้ด้วย หมายความว่า ทุกคนสามารถนำชิ้นงานทั้งหมดหรือบางส่วนไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนรวมได้โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือจ่ายค่าตอบแทนก่อน อันได้แก่
1. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
2. รัฐธรรมนูญ และ กฎหมาย
3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือ หน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆตาม ข้อ 1 ถึง 4 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

สำหรับข้อยกเว้นที่ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในแต่ละกรณีที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเขียนผลงานวิชาการ หรือรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่
(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(9) การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(10) การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร ดังต่อไปนี้
·         การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
·         การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา

ในการเขียนตำรับตำรา หนังสือต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการเขียนบันทึกบน BLOG นั้น เราอาจจะต้องใช้ "ภาพ" ประกอบคำอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เนื้อความมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
            ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ผู้เขียนดาวน์โหลดภาพจากระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต หรือสแกนมาจากหนังสืออื่น มาใช้ประกอบการเขียนผลงานได้หรือไม่ ?
            ประเด็นนี้ รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนอธิบายไว้ในหนังสือ "เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์" ว่า
 "... กรณีนี้ต้องพิจารณาและระมัดระวังว่า ภาพที่ผู้เขียนจะนำมานั้นเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์หรือไม่ หลักการในพิจารณา คือ หากภาพนั้น เป็นภาพที่มีการถ่ายโดยไม่ได้สร้างสรรค์ใด ๆ ภาพนั้นก็ไม่มีลิขสิทธิ์ เช่น ภาพโต๊ะ, ภาพเก้าอี้ อาคาร เป็นต้น แต่หากภาพนั้นมีการใช้ความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ เช่น ผู้ถ่ายได้ใช้ความพยายามอดทนเฝ้ารอเพื่อถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก หรือมีการจัดแสง ปรับแต่งภาพเป็นพิเศษ ภาพที่สร้างสรรค์เช่นนี้จะเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์
ดังนั้น หากภาพใดมีลิขสิทธิ์ การเอาภาพเขามาประกอบการเขียนผลงาน จำต้องดำเนินการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน ส่วนภาพนั้นไม่มีลิขสิทธิ์ ย่อมสามารถนำมาใช้ประกอบการเขียนได้ โดยไม่จำต้องขออนุญาต
นอกจากนั้น หากภาพใดมีลิขสิทธิ์ แม้ผู้เขียนจะนำภาพนั้นจากระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต หรือนำมาจากที่ใดก็ตาม แล้วนำมาตกแต่งดัดแปลงจนไม่เหมือนของเดิม ในกรณีนี้ ยังคงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเข้าข่ายดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ ..."
            ภาพที่อยู่ในระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต หรือแหล่งต่าง ๆ มีความยากลำบากที่เราจะทราบว่า ภาพใดผ่านการสร้างสรรค์มา
วิธีการที่ปลอดภัยที่สุด คือ ลงมือถ่ายภาพเองเลย ... ถ่ายเอง ก็เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จะตกแต่งดัดแปลงสักแค่ไหน ก็ภาพเราเอง
                การถ่ายภาพเอง ต้องระมัดระวังการถ่ายภาพโดยเจ้าของเขาไม่ยินยอมด้วย เช่น เขาติดป้าย "ห้ามถ่ายภาพ" เอาไว้ แต่เราดันไปถ่าย แบบนี้อาจจะถูกฟ้องร้องว่าละเมิดลิขสิทธิ์เขาได้นะครับ เพราะร้านค้าบางร้าน กว่าจะจัดมุมร้านให้ได้ดี อาจจะต้องผ่านกระบวนการค้นคว้าวิจัยและสำรวจความต้องการมาหลายครั้ง หากต้องการภาพนั้นจริง ๆ ควรขออนุญาตจากเจ้าของเขาก่อนครับ และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็ควรเขียนขอบคุณไว้ใต้ภาพดังกล่าวด้วย

การนำบทความจากนิตยสารมาเป็นกรณีศึกษาและวิเคราะห์ในวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย
            บทความในนิตยสาร ปกติลิขสิทธิ์ย่อมเป็นของผู้เขียนบทความ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันให้ลิขสิทธิ์ตกเป็นของนิตยสาร แต่อย่างไรก็ดี เมื่อบทความนั้นมีลิขสิทธิ์ การนำบทความมาเป็นกรณีศึกษาและวิเคราะห์ข้อบกพร่องในลักษณะที่นำมาทั้งบทความนั้น แม้จะมีการอ้างอิงระบุนามปากกาและนิตยสารอย่างชัดเจน ก็ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 
ในกรณีประเด็นปัญหานี้ หากผู้เขียนประสงค์จะเขียนตำราแล้วยกบทความของผู้อื่นมาเป็นกรณีศึกษาและวิเคราะห์ข้อบกพร่อง ผู้เขียนจะต้องดำเนินการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน
โดยติดต่อไปยังสำนักพิมพ์เจ้าของนิตยสาร โดยการทำเป็นหนังสือหรือโทรติดต่อไปเบื้องต้นว่าเราต้องทำการขอลิขสิทธิ์อย่างไรเสียก่อน แล้วปฏิบัติตามนั้น

ข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตมีการระบุไว้ในเว็บว่า ดาวน์โหลดฟรี เฉพาะอ่านเท่านั้น จะนำมาเขียนลงในวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยไม่ได้ เว้นแต่ข้อมูลนั้นเป็นงานอันไม่มีลิขสิทธิ์ หากต้องการนำมาใช้ ต้องติดต่อขอใช้ลิขสิทธิ์ไปยังเจ้าของงานนั้นทุกครั้ง
ข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตที่ให้ดาวน์โหลดฟรี ที่นักวิชาการมักพบได้บ่อย ๆ ได้แก่
·         ไฟล์เอกสารภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ นามสกุล DOC (Microsoft Word)
·         ไฟล์เอกสารภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ นามสกุล PDF (Adobe Acrobat)
·         ไฟล์การนำเสนองาน นามสกุล PPT (Microsoft Power Point)
·         ไฟล์โปรแกรมต่าง ๆ เช่น นามสกุล EXE  (ผ่านการ Compile จากภาษาคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ)
·         เป็นต้น


บุคคลใดได้เขียนวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก แล้วต่อมาประสงค์จะนำวิทยานิพนธ์นั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของตำราที่ได้เขียนขึ้น เช่นนี้จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ?
            ปกติโดยทั่วไป หน้าปกของวิทยานิพนธ์มักจะมีข้อความทำนองว่า "ลิขสิทธิ์เป็นของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย..............." ซึ่งทำให้เข้าใจว่าลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์เป็นของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่ให้ปริญญาในการทำวิทยานิพนธ์นั้น
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาให้ถ่อยแท้แล้วจะพบว่า หาได้เป็นอย่างที่เข้าใจกันไม่ เพราะในการเขียนวิทยานิพนธ์นั้น ผู้เขียนไม่ได้รับจ้างมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษานั้น ๆ ในการเขียน ลิขสิทธิ์จึงไม่เป็นของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษานั้น ๆ อีกทั้งข้อสำคัญคือ การเขียนวิทยานิพนธ์เป็นการใช้ความรู้ความสามารถของผู้เขียนสร้างสรรค์ขึ้นโดยแท้ จึงถือว่า ลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์เป็นของผู้เขียนวิทยานิพนธ์ไม่ใช่ของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่ให้ปริญญาในการทำวิทยานิพนธ์นั้น
เมื่อลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์เป็นของผู้เขียนวิทยานิพนธ์ ผู้เขียนย่อมนำมาเป็นส่วนหนึ่งในตำราของตนได้ ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติในสังคมไทย มักนิยมที่จะทำหนังสือขออนุญาตจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่ให้ปริญญาในการทำวิทยานิพนธ์เสียก่อน เพื่อไม่ให้ผิดพ้องหมองใจกัน และโดยปกติอีกเช่นกันว่าจะได้รับอนุญาตโดยไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ..." 

ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้นในการเขียนตำราจะสามารถนำมาใช้ได้มากน้อยเพียงใด 
 "...ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้น หน่วยงานของรัฐนั้นย่อมเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลนั้นมาใช้ประกอบการเขียน ต้องอาศัยข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๒ วรรคสอง (๓) คือ นำข้อมูลนั้นในปริมาณที่ไม่มากเกินสมควรมาประกอบการเขียนตำรา โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในข้อมูลนั้น การรับรู้ในที่นี้คือ การอ้างอิง
ข้อที่ต้องระมัดระวัง คือ หากเป็นกรณีที่นำข้อมูลของหน่วยงานของรัฐที่มีลิขสิทธิ์มาประกอบการเขียนตำรา แต่ไม่มีการอ้างอิง กรณีนี้ถือได้ว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะไม่มีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในข้อมูลนั้น
นอกจากนั้น หากนำข้อมูลของหน่วยงานของรัฐที่มีลิขสิทธิ์มาประกอบการเขียนตำรามากจนเกินไป เช่น ข้อมูลมีจำนวน ๕๐ หน้า นำทั้ง ๕๐ หน้ามาประกอบการเขียนตำรา โดยตำรานั้นรวมกับข้อมูลที่เอามาจาหน่วยงานของรัฐมีความหนารวมเพียง ๖๐ หน้า เช่นนี้ย่อมถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
อนึ่ง หากหน่วยงานของรัฐนั้นเป็นลักษณะการจัดทำรายงานตามอำนาจหน้าที่เพื่อเผยแพร่ เช่น ข้อมูลสถิติต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จัดทำเผยแพร่ตามอำนาจหน้าที่ เป็นต้น เช่นนี้จะเข้าลักษณะเป็นรายงานของทางราชการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ตามมาตรา ๗ (๔) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ ผู้เขียนย่อมนำมาเขียนประกอบตำราได้ ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่โดยปกติมักจะมีการอ้างอิงว่า เป็นข้อมูลที่จัดทำโดยหน่วยงานใด เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ผู้เขียนเป็นผู้จัดทำข้อมูลนั้น ..."

การนำบทความของตนเองที่เขียนลงหนังสือพิมพ์ นิตยสาร มารวมเป็นหนังสือ จะสามารถกระทำได้มากน้อยเพียงใด 
            หากการเขียนบทความนั้นมีการว่าจ้างจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และมีการจ่ายค่าจ้างในลักษณะเป็นจ้างทำของ คือ จำนวนสูง จะเข้าลักษณะของการจ้างทำของ ซึ่งตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ กำหนดไว้ว่า
"มาตรา ๑๐ งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น"
โดยผลของมาตรา ๑๐ ลิขสิทธิ์ในบทความในกรณีแรกนี้จึงเป็นของผู้ว่าจ้าง (หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร) ผู้เขียนไม่มีสิทธิในการนำมารวมพิมพ์เป็นหนังสือ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
หากการเขียนบทความนั้นไม่มีการตกลงว่าจ้าง แต่เป็นการที่ผู้เขียนเขียนไปลงพิมพ์เผยแพร่ หนังสือพิมพ์หรือนิตยสารบางแห่งไม่มีการจ่ายค่าตอบแทน กรณีนี้ย่อมชัดเจนว่าลิขสิทธิ์ในบทความนั้นเป็นของผู้เขียนในฐานะที่เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน แต่ในบางกรณีหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารบางแห่งมีการจ่ายค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อย ค่าตอบแทนนี้เป็นเพียงค่าตอบแทนในการนำบทความนั้นลงพิมพ์ในครั้งนั้น ไม่ใช่การตอบแทนการซื้อลิขสิทธิ์ เช่นนี้บทความนั้น ๆ ยังคงเป็นของผู้เขียนบทความ ผู้เขียนบทความจึงสามารถนำมารวมพิมพ์เป็นหนังสือได้ หรือนำมาใช้ในงานวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยของตนเองได้ 



วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คำพิพากษาฎีกาที่ 13819-13820/2555 คดีแรงงาน เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คดีแรงงานฎีกาน่าสนใจ วิเคราะห์โดยครูนัท 

ฎีกาที่ ๑๓๘๑๙-๑๓๘๒๐/๒๕๕๕

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลย จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า พร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคดีที่ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน และกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นสิทธิทางแพ่งโดยเฉพาะ มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องโดยอาศัยมูลความผิดทางอาญา แม้จำเลยจะให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ลักเงิน ๔๐ บาท อันเป็นการกระทำความผิดอาญาฐานลักทรัพย์ และโจทก์ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญา ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดธัญบุรีก็หาเป็นเหตุทำให้คดีของโจทก์กลับกลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แต่อย่างใดไม่

กรณีจึงไม่อาจนำ ป.วิ.อาญา มาตรา ๔๖ ที่ระบุว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา มาบังคับใช้แก่คดีนี้ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดโดยที่ศาลแรงงานมิได้รอผลของคำพิพากษาในคดีอาญาของศาลจังหวัดธัญบุรีเสียก่อน จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฏหมาย คำพิพากษาของศาลแรงงานที่ให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ จึงชอบแล้ว

วิเคราะห์ฎีกา

กรณีคดีนี้ ลูกจ้างเป็นโจทก์ฟ้องนายจ้าง จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า พร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคดีที่ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน และกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานวินิจฉัยตามพยานหลักฐานในคดีแรงงานแล้วว่า ลูกจ้างมิได้กระทำความผิดทางอาญาต่อนายจ้าง ศาลแรงงานจึงพิพากษาให้นายจ้างรับผิดต่อลูกจ้าง แม้ว่าศาลแรงงานจะไม่ได้รอผลคำพิพากษาคดีอาญาที่นายจ้างกล่าวอ้างและฟ้องลูกจ้างเป็นคดีลักทรัพย์อีกคดีหนึ่งก็เป็นการชอบแล้ว

ด้วยเหตุเพราะ

๑. ความปรากฏชัดแก่ศาลแล้วว่า ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดทางอาญาต่อนายจ้าง

๒. กรณีตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.อาญา มาตรา ๔๖ ที่บัญญัติให้คำพิพากษาส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาส่วนอาญาแต่อย่างใด

ครูนัท


กรณีจึงไม่อาจนำ ป.วิ.อาญา มาตรา ๔๖ ที่ระบุว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา มาบังคับใช้แก่คดีนี้ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดโดยที่ศาลแรงงานมิได้รอผลของคำพิพากษาในคดีอาญาของศาลจังหวัดธัญบุรีเสียก่อน จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฏหมาย คำพิพากษาของศาลแรงงานที่ให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ จึงชอบแล้ว

วิเคราะห์ฎีกา

กรณีคดีนี้ ลูกจ้างเป็นโจทก์ฟ้องนายจ้าง จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า พร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคดีที่ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน และกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานวินิจฉัยตามพยานหลักฐานในคดีแรงงานแล้วว่า ลูกจ้างมิได้กระทำความผิดทางอาญาต่อนายจ้าง ศาลแรงงานจึงพิพากษาให้นายจ้างรับผิดต่อลูกจ้าง แม้ว่าศาลแรงงานจะไม่ได้รอผลคำพิพากษาคดีอาญาที่นายจ้างกล่าวอ้างและฟ้องลูกจ้างเป็นคดีลักทรัพย์อีกคดีหนึ่งก็เป็นการชอบแล้ว

ด้วยเหตุเพราะ

๑. ความปรากฏชัดแก่ศาลแล้วว่า ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดทางอาญาต่อนายจ้าง

๒. กรณีตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.อาญา มาตรา ๔๖ ที่บัญญัติให้คำพิพากษาส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาส่วนอาญาแต่อย่างใด

ครูนัท

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ วิแพ่ง ม.144


ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
มาตรา 144     เมื่อศาลใดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดนั้น เว้นแต่กรณีจะอยู่ภายใต้บังคับบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
(1)   การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น  ๆ    ตามมาตรา 143
(2)   การพิจารณาใหม่แห่งคดีซึ่งได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 209 และคดีที่เอกสารได้สูญหายหรือบุบสลายตามมาตรา 53
(3)   การยื่น การยอมรับ หรือไม่ยอมรับ ซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาตามมาตรา  229   และ  247  และการดำเนินวิธีบังคับชั่วคราวในระหว่างการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาตามมาตรา   254 วรรคสุดท้าย
(4)   การที่ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ส่งคดีคืนไปยังศาลล่าง   ที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้น  เพื่อให้พิพากษาใหม่หรือพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา 243
(5)        การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 302 
ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะบังคับตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 16 และ 240  ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลอื่นแต่งตั้ง
หลักเกณฑ์สำคัญ 
1.            ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไปแล้ว (ประเด็นเดียวกัน)
2.             ต้องเป็นคู่ความเดียวกัน  (กลับกันเป็นโจทก์จำเลยได้)
3.            คำพิพากษาไม่จำต้องถึงที่สุด
4.            เป็นการดำเนินซ้ำในคดีเดิมได้  ต่างคดีก็ได้
5.            ห้ามคู่ความ   ห้ามศาล
ฎีกาที่  2773/2529      คดีก่อน   จำเลยที่ 1 ฟ้องกรมตำรวจโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลยว่า  โจทก์ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่โจทก์จ้างจำเลยที่ ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชา การศึกษาของโจทก์ และโจทก์ได้สั่งให้ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ออกแบบแปลนตัวอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยผิดพลาดให้โจทก์ใช้ค่าเสียหาย  คดีจึงมีประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่  และจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เท่าใด       ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า    โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา  แต่ให้ยกฟ้องเพราะจำเลยที่ ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญากับโจทก์   จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้  โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้ว่าจำเลยที่ 1   ผิดสัญญาก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาด   ต่อมาโจทก์ซื้อที่ดินของเอกชนดังกล่าวแล้ว    จึงขอให้จำเลยก่อสร้างอาคารต่อไปแต่จำเลยไม่ก่อสร้าง   และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสีย หายแก่โจทก์ดังนี้     มูลคดีทั้งสองคดีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยอาศัยเหตุเรื่องรุกล้ำที่ดินเป็นข้อสำคัญของคดี       จึงเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันโจทก์ฟ้องจำเลยที่ เป็นคดีนี้   จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามม.144   มิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ม.148  เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้   คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกายังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแม้ศาลชั้นต้นจะรอคดีนี้ไว้      เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม
หมายเหตุ  ไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะคดีแรกยังไม่ถึงไม่ถึงที่สุด  และไม่เป็นฟ้องซ้อนเพราะโจทก์คนละคนกันแต่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ฎีกาที่  15/2538      โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท   คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น    จำเลยกลับฟ้องโจทก์ให้ออกไปจากที่พิพาทรายเดียวกัน    โจทก์ให้การว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์       คดีทั้งสองมีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย  เมื่อศาลชั้นต้นในคดีหลังพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นของจำเลย ฟ้องของโจทก์ในคดีแรกจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ..มาตรา 144
ข้อสังเกต     ฎีกานี้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีหนึ่ง    จำเลยฟ้องโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่ง    โดยมีประเด็นข้อพิพาทเป็นอย่างเดียวกัน  เมื่อศาลมีคำพิพากษาในคดีใดคดีหนึ่ง  มีผลทำให้ในอีกคดีหนึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีซ้ำโดยไม่จำต้องคำนึงว่า คดีที่ศาลพิพากษาฟ้อง ก่อนหรือฟ้องหลัง  (ขณะยื่นฟ้องไม่เป็นดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ  ไม่เป็นฟ้องซ้ำ   ไม่เป็นฟ้องซ้อน  ศาลจึงต้องรับฟ้อง ต่อเมื่อศาลมีคำพิพากษาคดีหนึ่งแล้วจึงจะทำให้อีกคดีหนึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำทันที)

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ฟ้องซ้อน วิ.แพ่ง 173 วรรค 2 (1)






 ฟ้องซ้อน   173 วรรค 2 (1)
มาตรา 173    เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง  ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายนั้น
นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา  และผลแห่งการนี้
(1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่น
หลักเกณฑ์สำคัญ
คำว่า   ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น”  หมายความว่าโจทก์จะยื่นคำฟ้องจำเลยคนเดียวกันในเรื่องเดียวกันในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาต่อศาลนั้นไม่ได้หรือต่อศาลอื่นก็ไม่ได้
1.            ห้ามโจทก์ฟ้อง
2.            ต้องเป็นคู่ความเดียวกัน
3.            ต้องเป็นเรื่องเดียวกัน
4.            คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
5.            ไม่จำกัดศาลว่าต้องเป็นศาลเดียวกัน



หลักเกณฑ์ข้อที่ 1  โจทก์หมายถึง
1.            โจทก์เดิม
2.            จำเลยผู้ฟ้องแย้ง  ซึ่งมีฐานนะเป็นโจทก์ในคำฟ้องแย้ง
3.            ผู้ร้องขัดทรัพย์  เพราะเมื่อมีการร้องขัดทรัพย์ ในคดีร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องเป็นโจทก์ โจทก์เดิมเป็นจำเลย
4.            ผู้ร้องสอดตามมาตรา 57 (1)  เข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 มีฐานะเป็นโจทก์เช่นกัน
5.            ผู้ร้องสอดโดยสมัครใจตามมาตรา 57(2)

หลักเกณฑ์ข้อที่  2    ต้องเป็นคู่ความเดียวกัน     หมายความว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายคดีก่อน และคดีหลังต้องเป็นคู่ความเดียวกัน  ต้องเป็นโจทก์ จำเลยคนเดียวกันรวมทั้งผู้สืบสิทธิ  ถ้าพลัดกันเป็นโจทก์ เป็นจำเลยก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์เรื่องฟ้องซ้อน
ฎีกาที่  2579/2525     การที่โจทก์ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีก่อนแล้วขาดนัดยื่นคำให้การ    และคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นนั้น  หาได้มีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่  เพราะไม่ใช่เป็นกรณีฟ้องซ้อนตาม ป... .173วรรคสอง (1) เนื่องจากโจทก์ในคดีนี้มิได้เป็นโจทก์ในคดีก่อน และมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ม.148    เพราะคดีก่อนยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
ฎีกาที่  702/2524    ผู้จัดการมรดกในฐานะตัวแทนของทายากรวมทั้งโจทก์ในคดีนั้นเป็นโจทก์    ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่พิพาท   คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์  โจทก์ในคดีนี้มาฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่พิพาทเดียวกันอีก  ฟ้องทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน  เพราะสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับเป็นอย่างเดียวกัน     จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป... .173  (ถ้าฟ้องในฐานนะผู้จัดการมรดกหมายถึงการฟ้องแทนทายาททุกคน)
-                   ผู้ร้องสอด  มีสองกรณี  ถ้าเข้ามาเพราะศาลเรียกไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อน  และถ้าเข้ามาในฐานะคู่ความฝ่ายที่ อาจเป็นฟ้องซ้อนได้
ฎีกาที่  3129/2524    ผู้ร้องตั้งสิทธิของผู้ร้องเข้ามาในคดีในฐานะคู่ความฝ่ายที่สาม    และเป็นปฏิปักษ์แก่ทั้งโจทก์และจำเลย    หาใช่เข้ามาเพียงเป็นจำเลยต่อสู้คดีกับโจทก์โดยเฉพาะไม่       ซึ่งถ้าศาลรับคำร้องสอดไว้ โจทก์จำเลยก็ต้องให้การแก้คำร้องสอด   คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง   และผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นโจทก์หาใช่เป็นจำเลยไม่      ทั้งสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์จำเลยโต้แย้งนี้ ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์จำเลยแล้วคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป....173 (1)
ถ้าศาลเรียกเข้ามาไม่สมัครใจเข้ามาไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อน
ฎีกาที่  1337/2519     คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่  ต่อศาลขอแบ่งมรดก   คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคนละคนกันจำเลยที่  2 เข้ามาเป็นจำเลยในคดีนี้ก็ด้วย    การที่ศาลเรียกให้เข้ามาตาม ป... มาตรา 57 (3) ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน



หลักเกณฑ์ข้อที่  3    ต้องเป็นเรื่องเดียวกันที่สืบสืบเนื่องมาจากมูลกรณีเดียวกับคดีก่อน แม้จะเปลี่ยนแปลงข้ออ้างหรือสภาพแห่งข้อหาหรือเรียกร้องให้รับผิดในจำนวนเงินอื่น ๆ   ก็เป็นเรื่องเดียว
ฎีกาที่  1673/2517     เดิมจำเลยฟ้องให้โจทก์รับผิดฐานละเมิด      คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา   โจทก์กลับฟ้องว่าจำเลยแกล้งฟ้องโจทก์โดยไม่มีมูลขอให้ใช้ค่าเสียหาย    จำเลยให้การสู้คดีและฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดฐานละเมิดทำนองเดียวกับคดีก่อนและเป็นการละเมิดซึ่งกระทำในคราวเดียวกัน เพียงแต่ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเพิ่มเติมอีกบางประการ ซึ่งจำเลยอาจเรียกร้องได้ในคดีเดิมอยู่แล้ว  ดังนี้   ฟ้องแย้งของจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
-                   ถ้าเป็นสิทธิที่มีอยู่แล้วในขณะฟ้อง แต่เพิ่งพบระหว่างการพิจารณาคดีแรก ก็ต้องขอแก้ไข
เพิ่มเติมคำฟ้องจะมาฟ้องใหม่ไม่ได้เป็นฟ้องซ้อน  แต่ไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
ฎีกาที่  1803/2512   โจทก์ฟ้องจำเลยในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินสำนักงาน  ก.. ให้รับผิดในยอดเงินขาดบัญชี   อยู่ในความรับผิดชอบระหว่างพิจารณาปรากฏผลการตรวจสอบครั้งหลังว่ายอดเงินขาดบัญชีมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก  9,600 บาทเช่นนี้ โจทก์ชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมตามมาตรา 179,180  โจทก์จะฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากในเรื่องเดียวกันนี้เป็นการต้องห้ามตามมาตรา   173 (1)
ข้อสังเกต   สิทธิที่เป็นมูลฟ้องต้องมีอยู่ก่อนหรือขณะฟ้องคดีแรก ถ้าไม่มีอยู่ตามฟ้องคดีแรกอาจเกิดขึ้นหลังจากฟ้องแล้วโจทก์ไม่สามารถจะอ้างเห็นเป็นมูลฟ้องในคดีเดิมได้  ฟ้องโจทก์ที่ยื่นใหม่ก็ไม่เป็นฟ้องซ้อน
***ฎีกาที่  316/2511  เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า เพราะจำเลยให้เช่าช่วงและทำให้อาคารของโจทก์เสียหาย  ในระหว่างพิจารณาคดีนั้นสัญญาเช่าหมดอายุ      โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยเรียกค่าเสียหายอีกโดยอ้างว่าสัญญาเช่าระงับแล้ว  ดังนี้   ฟ้องของโจทก์ในคดีหลังไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 173 เพราะมูลฟ้องของโจทก์คดีหลังเกิดขึ้นหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีเดิมแล้ว   จึงมิใช่เป็นเรื่องเดียวกับคดีเดิม  (ฟ้องเดิมกับฟ้องใหม่อาศัยคนละเหตุกัน)
-  คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลไม่จำกัดว่าต้องฟ้องในศาลเดียวกัน  โจทก์จะฟ้องต่อศาลอื่นก็ไม่ได้
หลักในเรื่องฟ้องซ้อนใช้กับคดีอาญาโดยอาศัยมาตรา 15   .วิอาญาด้วย
-  ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศิลธรรมอันดีของประชาชน    ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้